แคร์การเงิน

เคาะ! พ.ร.บ.คุมเข้ม ธนาคารโขกดอกเบี้ยสินเชื่อ 5 ประเภทสูงเกิน

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: October 11,2018
  
 
ดอกเบี้ย
  • ครม. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน จะมีการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการทางการเงินรวม 5 ประเภท
  • รูปแบบการกำกับดูแลดอกเบี้ยของสถาบันการเงินก็ต่างกันออกไป พิโกไฟแนนซ์จะคุมที่ 36% สินเชื่อทะเบียนรถจะคุมที่ 28%

ในเรื่องของปัญหาการเงิน บ่อยครั้งที่คุณอาจจะต้องพึ่งพา สถาบันการเงิน เพื่อนำเงินมาหมุนเวียนใช้จ่าย แต่แน่นอนว่าก็ต้องเสียดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินนั้นๆด้วยเช่นกัน เพราะของฟรี ไม่มีในโลก

โดยอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินก็อาจจะไม่เท่ากัน แต่เมื่อเรามีปัญหาการเงิน หาทางออกไม่ได้ ต่อให้ดอกเบี้ยสูงก็จำเป็นต้องยอมขอกู้ ด้วยเหตุนี้เองคณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงได้มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. .การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน ควบคุมดอกเบี้ยสินเชื่อ 5 ประเภท เพื่อประโยชน์ของผู้ขอสินเชื่อ แต่ต้องเสียดอกเบี้ยในราคาที่สูงเกินไป

ดอกเบี้ย

คุมเข้ม! ธนาคารโขกดอกเบี้ยสินเชื่อ 5 ประเภท

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง ได้ออกมาเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน จะมีการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการทางการเงินรวม 5 ประเภท แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ

1. ผู้ให้บริการทางการเงินประเภทให้สินเชื่อ 2 กลุ่ม ได้แก่

  • สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (พิโกไฟแนนซ์)
  • สินเชื่อที่มีการรับสมุดคู่มือจดทะเบียนรถเป็นประกันการชำระหนี้ (สินเชื่อทะเบียนรถ)

โดยผู้ให้บริการกลุ่มนี้จะต้องได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจจากสำนักงาน

ดอกเบี้ย

2.  ผู้ให้บริการทางการเงินประเภทที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ 3 กลุ่มได้แก่

  • การให้เช่าซื้อ
  • การให้เช่าแบบลีสซิ่ง
  • แฟ็กตอริ่ง

โดยผู้ให้บริการกลุ่มนี้ไม่ต้องขอใบอนุญาต แต่จะต้องขึ้นทะเบียนในการประกอบธุรกิจกับสำนักงาน

นายพรชัย ยังกล่าวอีกว่า ข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2560 กลุ่มธุรกิจของผู้ให้บริการทางการเงิน 5 ประเภทที่ยังไม่มีการควบคุม มีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนสูงกว่า 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น

  • ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ 5 แสนล้านบาท
  • เช่าซื้อแบบลีสซิ่ง 2.7 แสนล้านบาท
  • แฟ็กตอริ่ง 6.7 หมื่นล้านบาท
  • สินเชื่อทะเบียนรถ 2 แสนล้านบาท
  • พิโกไฟแนนซ์ 330 ล้านบาท

หากคุมกลุ่มนี้ได้จะทำให้สามารถบริการทางการเงินทั้งหมดครบ 100%

“หลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วนั้น ผู้ให้บริการทางการเงินประเภทสินเชื่อนั้นจะต้องมาขอใบประกอบกิจการ ซึ่งหากไม่มาขอใบอนุญาตจะมีโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับสูงสุด  100,000 บาท และกรณีที่เป็นรูปแบบการให้เช่าซื้อ หรือแฟ็กเตอริ่งจะต้องมาขึ้นทะเบียนการดำเนินงาน หากไม่มาตามกฎหมายจะมีโทษปรับสูงสุด  100,000 บาท” นายพรชัย กล่าวทิ้งท้าย

ดอกเบี้ย

รูปแบบการกำกับดูแลดอกเบี้ยสินเชื่อ

สำหรับรูปแบบการกำกับดูแลจะมีการกฎหมาย คณะกรรมการมาควบคุมโดยชัดเจน เช่น การควบคุมดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม

  • พิโกไฟแนนซ์จะคุมที่ 36%
  • สินเชื่อรถยนต์ หรือ สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ จะใกล้เคียงกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ 28%
  • ขณะที่ธุรกิจเช่าซื้ออยู่ระหว่างการประเมินผลว่าจะคุมเท่าไร

ซึ่งการผลักดันกฎหมายฉบับนี้ จะมีการเร่งให้เสร็จภายในปีหน้า จากนั้นจะมีการจัดตั้งสำนักงาน และคณะกรรมการกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน ซึ่งจะมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานใน 360 วัน

ทั้งนี้  กฎหมายฉบับนี้ จะไม่เข้าไปกำกับดูแลผู้ให้บริการที่ดำเนินโดยสถาบันการเงินตามกฎหมาย ว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง

การที่ภาครัฐเข้ามาคุมเข้มเรื่องการคิดดอกเบี้ยนี้ เป็นการช่วยเหลือประชาชน ที่ประสบปัญหาทางด้านการเงินได้เป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้ปัญหาทางการเงินที่มีอยู่เกิดปัญหาซ้ำซ้อน ที่ต้องกู้จากที่หนึ่ง ไปใช้อีกที่หนึ่งเป็นทอดๆ เนื่องจากมียอดดอกเบี้ยที่สูงเกินจ่ายไหว

ขอบคุณข้อมูลจาก khaosod 


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 97227

แคร์การเงิน

ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
คะน้าใบเขียว
14/11/2024
Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024
Rabbit Care Blog Image 93664

แคร์การเงิน

มรดกหนี้ คืออะไร ? เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกต้องใช้หนี้ต่อหรือไม่ ?

เคยได้ยินคำว่ามรดกหนี้หรือไม่ ? เคยสงสัยไหมว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วหนี้ที่มีอยู่จะต้องทำอย่างไร ใครต้องรับภาระเหล่านั้นเอาไว้ ? วันนี้ แรบบิท แคร์
คะน้าใบเขียว
22/08/2024