แคร์ไลฟ์สไตล์

แย่แล้ว ลูกแพ้นมวัว! แบบนี้รักษาได้ไหม?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: March 17,2021
  
Last edited: March 17, 2021
แพ้นมวัว

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

วันดีคืนดี ลูกน้อยแพ้นมวัวขึ้นมา คนเป็นพ่อเป็นแม่แบบเรา จะทำอย่างไรดีนะ ? มีวิธีรักษาหรือเปล่า หรือต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง วันนี้มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กับ Rabbit Care กันดีกว่า

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ลูกแพ้นมวัว

    แย่แล้ว ลูกแพ้นมวัว! แบบนี้รักษาได้ไหม? 

     

    แพ้นมวัว เกิดจากสาเหตุอะไร

    โดยทั่วไปแล้ว การแพ้นมวัว โดยเฉพาะในเด็กเล็กนั้น แบ่งออกได้หลายสาเหตุ  ไม่ว่าจะเป็น

    พันธุกรรม หากมีประวัติคนในครอบครัวเคยมีอาการแพ้นมวัวมาก่อนนั้น เด็กก็มีโอกาสสูงที่จะมีอาการแพ้นมวัวได้

    เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กที่ผิดปกติ หากเด็กคนไหนไม่เคยทานนมแม่ หรือหย่านมแม่เร็วเกินไป เปลี่ยนไปทานนมผงทันที เลยทำให้ร่างกายเกิดปฎิกิริยาต่อต้านได้ เพราะนมผงบางส่วนอาจมีส่วนผสมที่ผลิตจากนมวัว ร่างกายเกิดการเข้าใจผิด ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกาย จึงมีการสร้างภูมิคุ้มกันมาต่อต้านนั่นเอง 

    ซึ่งบางรายอาจะเป็นแค่ช่วงระยะเวลานึง ก่อนจะหายจากอาการแพ้เมื่อร่างกายเติบโต มีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น แต่ผู้ปกครองไม่ควรวางใจ เพราะบางรายเป็นอาการที่แพ้นมวัวถาวร ซึ่งต้องมีการตรวจวินิจฉัยจากทางแพทย์อีกครั้ง

    นอกจากนี้ การแพ้นมวัวนั้น ยังสามารถแยกได้อีกหลากหลาย เช่น 

    การแพ้โปรตีนในนมวัว เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนในนมวัว ผ่านกลไกการแพ้ได้หลายทาง แสดงอาการได้หลายระบบ และระดับความรุนแรงแตกต่างกัน ขึ้นกับกลไกการแพ้และระดับความรุนแรงในแต่ละราย 

    ภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่อง จริงๆ แล้ว ภาวะนี้ไม่ใช่การแพ้นม แต่เป็นอาการอันไม่พึงประสงค์หลังการทานนมเท่านั้น เกิดจากการที่ร่างกายย่อยน้ำตาลแลกโทสในนมผิดปกติ เนื่องจากเซลล์เยื่อบุลำไส้เล็กสร้างเอนไซม์แลกเทสน้อยลง หรือไม่สร้างเลย

    อาการแพ้นม

     

    อาการแบบไหน ถึงเรียก แพ้นมวัวกันนะ 

    โดยทั่วไปแล้ว จะมี  3 อาการแพ้ๆ หลัก ซึ่งอาการเหล่าีน้ ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในบางรายอาจเกิดขึ้นเพียงอาการใดอาการหนึ่ง ในขณะที่บางรายอาจจะมีอาการพร้อมๆ กันก็ได้ และจะเกิดขึ้นไม่เกิน 4 สัปดาห์หลังได้รับนมวัว ดังนี้ 

    อาการทางผิวหนัง เช่น ผื่นลมพิษ โดยจะเป็นผื่นแดง คัน สามารถเป็นได้ ทั้งบางส่วนของร่างกาย หรือทั่วตัว นอกจากนี้ ผื่นคันนั้น อาจจะมี ฝ้าขาว นูน ก็ได้ บางรายอาจมีอาการหน้าบวม ปากบวม ตาบวม

    อาการทางเดินหายใจ มีอาการตั้งแต่คัดจมูกเรื้อรัง น้ำมูกไหลเรื้อรัง มีเสมหะในลำคอ หอบเหนื่อย หรือหลอดลม จนกระทั่งเป็นปอดอักเสบก็ได้ 

    อาการทางเดินอาหาร ทีพบได้ตั้งแต่ อาการสำรอกนม หรืออาเจียนบ่อย ถ่ายเหลวเรื้อรัง หรือแม้กระทั่งท้องผูกรุนแรง สำหรับในเด็กเล็ก อาจจะมีการร้องกวนโคลิกทุกคืน 

    สำหรับอาการแพ้โปรตีนนมวัวในเด็กทารก จะแยกการเกิดอาการอีก 2 แบบ คือ 

    อาการเกิดแบบรวดเร็ว (Immediate CMA) โดยเมื่อดื่มนมเข้าไปจะเกิดอาการขึ้นทันที  เด็กจะมีอาการหายใจหอบมีเสียงหวี๊ด อาเจียน มีอาการบวม และคันตามตัว ท้องเสียและอาจถ่ายเป็นเลือด

    อาการเกิดแบบช้า (Delayed CMA) เกิดอาการแพ้แต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจเกิดภายในหลายชั่วโมงหลังดื่มนนมเข้าไป หรือเป็นวันภายหลังจากได้ดื่มนมวัว อาการใกล้เคียงกันกับแบบที่เกิดอาการแบบรวดเร็ว โดยจะมีอาการท้องเสียถ่ายเหลว และอาจจะมีเลือดปนมาด้วย

    ประกันสุขภาพเด็ก

     

    ส่วน อาการของภาวะย่อยแลตโตสบกพร่อง นั้น จะมีอาการดังนี้ 

    • อืดแน่นท้องจากก๊าซ ผายลมบ่อย มีเสียงลมในท้อง
    • ปวดท้องแถวสะดือ หรือท้องน้อย
    • คลื่นไส้อาเจียน มักพบในเด็กโต และวัยรุ่น
    • ถ่ายเหลวเป็นน้ำ และมีฟอง

     

    สรุปได้ว่า อาการแพ้โปรตีนในนมวัวที่เด็กๆ มักจะเป็น บางอาการเองก็มีลักษณะใกล้เคียงกับการแพ้น้ำตาลแลคโตส เช่น อาการท้องเสียง อาเจียน แต่ถ้าเราสังเกตให้ดี อาการเหล่านี้จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งการรักษา สาเหตุการเป็น และทางการแพทย์ก็ได้แยกอาการโรคทั้งสองออกจากกันอีกด้วย

     

    นมวัว

     

    อาการแพ้แบบนี้ รักษาได้ไหมนะ ? 

    เมื่อเด็กๆ มีอาการ เราแนะนำให้พาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยเร็ว ซึ่งการวินิจฉัย หรือการตรวจว่าแพ้หรือไม่นั้น  กจะมีการซักประวัติ และการตรวจร่างกาย

    เบื้องต้น ถ้าสงสัยว่าลูกจะแพ้นมวัว ทางแพทย์จะแนะนำให้เปลี่ยนนมที่ให้เด็กทารกทานก่อน รวมไปถึงงดผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากนม เช่น ชีส, โยเกิร์ต, ไอศกรีม, เนย หรือเนยเทียม เป็นต้น โดยนมพิเศษที่ว่า ในประเทศไทยมีนมพิเศษ ดังนี้

    • นมวัว ชนิด Extensively hydrolyzed formula (eHF) เป็นนมที่มีโปรตีนนมวัวย่อยละเอียด
    • นมชนิด amino acid formula (AAF) เป็นนมที่มีโปรตีนเป็นกรดอะมิโน เช่น นมข้าวอะมิโน
    • นมจากเนื้อไก่
    • นมถั่วเหลือง แต่จะเหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป 


    เมื่อแพทย์ได้ประเมิน และเปลี่ยนจนทราบว่าลูกเหมาะกับนมชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็ให้เด็กๆ ดื่มนมชนิดนั้นต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่เหมาะสมเสียก่อน และการงดดื่มนมวัวนั้นไม่ได้หมายความว่าต้องงดตลอดชีวิต แต่เป็นการงดเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น

    หากแพทย์พบว่า มีอาการดีขึ้นหลังงดนมวัว จะให้ทดสอบโดยทานนมวัวอีกครั้งในเวลา 4 – 8 สัปดาห์ ต่อมา และค่อยๆ กลับมาทดลองดื่มใหม่โดยเริ่มจากในปริมาณน้อย ๆ ก่อน หากไม่มีการผิดปกติใดๆ ก็สามารถเพิ่มปริมาณขึ้นได้ และถ้าไม่มีอาการแพ้ใดๆ เกิดขึ้น จึงค่อยเปลี่ยนกลับมาทานนมวัวได้ตามปกติ

    ซึ่งโดยปกติแล้ว การแพ้โปรตีนนมวัว ส่วนใหญ่เกิดในช่วง 1 ขวบปีแรก ก่อจะมีอาการจะดีขึ้นจนหายขาดเมื่อเด็กโตขึ้นไม่เกินอายุ 10 ปี

    นอกจากนี้ ยังมีอีกวิธีการตรวจทดสอบ คือ ตรวจสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือ การตรวจเลือดหาภูมิต้านทานต่อโปรตีนนมวัว 

    แต่ในบางรายที่ยังมีอาการแพ้อย่างต่อเนื่อง อาจจะเป็นอาการแพ้ถาวร แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อหาหนทางรักษา หรือรับคำแนะนำต่อไป นอกจากนี้ การแพ้โปรตีนนมวัว อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคภูมิแพ้อื่นๆ ตามมาได้ เช่น โรคหืด โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น ได้

     

    ประกันสุขภาพเด็ก

     

    ส่วนการรักษาภาวะย่อยแลตโตสบกพร่องนั้น หากแพทย์ประเมินแล้ว บางรายอาจจำเป็นต้องให้น้ำย่อยแลกเทสสังเคราะห์ ร่วมกับงดบริโภคนม, ผลิตภัณฑ์ของนมที่มีน้ำตาลแลคโตสไปก่อน, เลือกกินนมสูตรเดิมปริมาณครึ่งหนึ่งของที่เคยกินอยู่ แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้น ตามคำแนะนำของแพทย์

    ในรายที่มีอาการมาก อาจจะเปลี่ยนไปเลือกกินนมสูตรนมถั่ว นมวัวสูตรแลกโทสฟรี หรือ โยเกิร์ต ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์นมที่ได้เติมจุลินทรีย์ที่ได้ย่อยแลตโตสไปบางส่วนแล้ว ก็จะช่วยได้

    และในกรณีที่เป็นเด็กทารก หรือเด็กเล็ก ที่ทานนมแม่ไม่ได้ เนื่องจากมีน้ำตาลแลคโตสในน้ำนม อาจให้คุณแม่ปั๊มนมส่วนหน้าที่มีน้ำตาลแลกโทสสูงออกก่อน และให้ทานนมส่วนหลังเมื่ออาการดีขึ้น จึงค่อยกินนมสูตรปกติ แต่ให้กินปริมาณน้อยๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มเพื่อให้ลำไส้ปรับตัว ซึ่งทุกอย่างควรอยู่ในคำแนะนำของทางแพทย์

     

    อาการแพ้นม

     

    ซึ่งการรักษาอาการแพ้ หรือย่อยแลตโตสไม่ได้เหล่านี้ เป็นการรักษาที่ต้องใช้ระยะเวลา เพราะไม่มียารักษาให้หายได้ในทันที และต้องระวังในเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ

    สุขภาพของลูกน้อยเป็นเรื่องใหญ่เสมอ ดังนั้น การซื้อประกันให้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจึงสำคัญมกา ว้ำยังช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงิน ที่ใช้ในการรักษาได้อีกด้วย คลิกเลย กับ ประกันสุขภาพเพื่อลูกน้อย จาก Rabbit Care ช่วยให้คุณได้ประกันที่โดนใจ คุ้มค่า แน่นอน!


     

    บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

    Rabbit Care Blog Image 96153

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

    การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
    Thirakan T
    27/08/2024
    Rabbit Care Blog Image 89764

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    แมวอ้วก แมวอาเจียน อันตรายไหม ? เป็นสัญญาณบ่งบอกอะไร ?

    ‘แมวอ้วก’ สถานการณ์ที่สำหรับเหล่าทาสแล้วคงถือเป็นเรื่องหนักอกหนักใจ ว่านายท่านแมวของเราเกิดความเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติในร่างกายอย่างไรหรือไม่
    คะน้าใบเขียว
    31/05/2024