Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

กรดไหลย้อน อาการเป็นอย่างไร ต้องรักษาอย่างไร ?
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: May 20, 2024

จุลินทรีย์ในร่างกายคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรบ้าง?

จุลินทรีย์ คืออะไร?

จุลินทรีย์ (Microorganism) คือ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ครอบคลุมทั้งแบคทีเรีย รา และไวรัส โดยส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในลำไส้และบริเวณอื่นด้วย เช่น ผิว ปาก ปอด ทางเดินปัสสาวะ หรือช่องคลอด ซึ่งจะมีจุลินทรีย์ในร่างกายมากถึง 90% ของเซลล์ทั้งหมดในร่างกาย โดยที่เซลล์ของร่างกายจริง ๆ นั้นจะมีเพียงแค่ 10% เท่านั้น

จุลินทรีย์มีอะไรบ้าง และช่วยปรับสมดุลลำไส้อย่างไร?

สำหรับจุลินทรีย์ในร่างกายที่อยู่ในลำไส้ของเรานั้นจะมีทั้งตัวที่ดีและตัวที่ไม่ดี ซึ่งล้วนมาจากพฤติกรรมต่าง ๆ ของเราทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความเครียด พฤติกรรมการกิน การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำ เป็นต้น เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะไปทำลายสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้นั่นเอง หากจุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุล ลำไส้ก็จะทำงานผิดปกติทันที อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังและโรคร้ายแรงต่าง ๆ ได้อีกด้วย

โดยจุลินทรีย์ในร่างกายจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

-> จุลินทรีย์ตัวดี (Good bacteria)

จะช่วยในเรื่องของการขับถ่าย ช่วยรักษาสุขภาพลำไส้ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ลดสารพิษในลำไส้ และเผาผลาญไขมัน

-> จุลินทรีย์ตัวร้าย (Harmful bacteria)

จะทำการย่อยโปรตีนให้กลายเป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้นหากมีปริมาณที่มากขึ้น ก็มักจะถูกกำจัดที่ตับได้ไม่หมด และยังก่อให้เกิดการอักเสบอีกด้วย อีกทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นตัวร้ายก็จะไปโจมตีจุลินทรีย์ที่เป็นตัวดี ส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนแอและเกิดโรคต่าง ๆ ตามมามากมายนั่นเอง

“จุลินทรีย์” ประโยชน์มีอะไรบ้าง?

  • ช่วยยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค
  • ช่วยให้ลำไส้ย่อยอาหารได้ดี
  • ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในระบบย่อยอาหาร
  • ช่วยชะลออัตราการแพร่กระจายของไวรัสในร่างกาย
  • ช่วยผลิตสารปฏิชีวนะตามธรรมชาติ เพื่อขับไล่จุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย
  • ช่วยควบคุมการผลิตวิตามินและสารอาหารที่จำเป็นต่อการรักษาร่างกายให้แข็งแรงและมีสุขภาพดี

จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค มีอะไรบ้าง?

จุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) คือ จุลินทรีย์ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคในมนุษย์และสัตว์ ซึ่งจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในอาหารนั้น ก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ (food poisoning) และเป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) ได้แก่ รา ไวรัส แบคทีเรีย และปรสิต ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ที่จะสามารถช่วยให้นักวิทยาศาสตร์นั้นสามารถถอดรหัสดีเอ็นเอของจุลินทรีย์ในมนุษย์ได้จำนวนหนึ่ง และจากการศึกษาจึงพบว่าประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้นั้นมีความเชื่อมโยงกับสุขภาพของคนเราจริง ๆ โดยบุคคลที่มีจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารชื่อ Helicobacter pylori จะมีโอกาสเป็นโรคเนื้องอก แผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งในกระเพาะอาหารมากกว่าคนที่ไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนี้ในลำไส้ หรือถ้าหากจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล เช่น มีจุลินทรีย์บางชนิดที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็เสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคหอบหืด ปลอกประสาทอักเสบ ผิวหนังอักเสบ โรคอ้วน โรคหัวใจ หรืออัลไซเมอร์ เป็นต้น

จุลินทรีย์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

โรงพยาบาลสมิติเวชได้ให้ข้อมูลเรื่อง “จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ไม่สมดุล เสี่ยงโรค” ไว้ว่า จุลินทรีย์จะประกอบไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิต โดยจะอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน (Symbiosis) ซึ่งจุลินทรีย์บางชนิดจะมีส่วนช่วยในการขับถ่าย การป้องกันโรค การย่อยอาหาร และกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญ ส่วนบางชนิดจะช่วยสร้างสารที่จำเป็นต่อร่างกาย และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

ใครที่ควรตรวจจุลินทรีย์ในร่างกายบ้าง?

  • คนที่มีลำไส้แปรปรวน
  • มีผิวหนังอักเสบ เป็นสิว
  • เป็นผื่น หรือเป็นภูมิแพ้ง่าย
  • เป็นโรคเบาหวานประเภท 2
  • เป็นโรคหอบหืด
  • มีความดันสูง เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ชอบรับประทานอาหารแปรรูปบ่อย ๆ
  • เป็นโรคอ้วน หรือมีระบบเผาผลาญบกพร่อง

วิธีการตรวจจุลินทรีย์ในร่างกายมีอะไรบ้าง?

  • ตรวจทางน้ำลาย ด้วยวิธีการ Oral Microbiome DNA Test ซึ่งเป็นโปรแกรมตรวจจุลินทรีย์ในช่องปาก โดยในช่องปากนั้นจะมีจุลินทรีย์มากเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากลำไส้ อีกทั้งยังเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์กว่า 700 สายพันธุ์ และมีจำนวนมากกว่า 50,000 ล้านตัว เพียงแค่ดื่มน้ำ ก็อาจกลืนจุลินทรีย์ไปนับล้านตัวได้
  • ตรวจจากอุจจาระ เพราะว่าจุลินทรีย์ในร่างกายของมนุษย์นั้นจะอาศัยอยู่ในลำไส้มากที่สุด ดังนั้นการตรวจจุลินทรีย์จากอุจจาระจึงจะทำให้ได้ผลการตรวจที่เที่ยงตรงมากที่สุด

โพรไบโอติกและพรีไบโอติกส์ แตกต่างกันอย่างไร?

งานวิจัยในปัจจุบันได้มีการระบุไว้ว่า “โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์นั้นมีส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย” และยังเชื่อว่าสามารถลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคที่เกี่ยวกับสมอง โรคซึมเศร้า โรคภูมิแพ้เกี่ยวกับผิวหนัง เป็นต้น

-> โพรไบโอติกส์ (Probiotic)

คือ จุลินทรีย์ชนิดดีขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในลำไส้ และมักจะพบได้ในอาหารที่มีรสชาติเปรี้ยว เช่น กิมจิ นมเปรี้ยว โยเกิร์ต มิโสะ เป็นต้น หากมีโพรไบโอติกส์ที่เพียงพอก็จะช่วยรักษาสมดุลในลำไส้ และลดโอกาสการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น ดูแลระบบย่อยอาหาร ลดการอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและช่องคลอด แก้อาการลำไส้แปรปรวน ท้องร่วง ท้องผูก รักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อที่ฉวยโอกาสในขณะที่ร่างกายกำลังอ่อนแอ จนส่งผลทำให้มีภูมิคุ้มกันที่ลดลง

-> พรีไบโอติกส์ (Prebiotics)

คือ อาหารของโพรไบโอติกส์ เพราะร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก แต่จะถูกย่อยสลายให้เป็นอาหารของโพรไบโอติกส์แทน ซึ่งจะช่วยเสริมโพรไบโอติกส์ให้ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น และจะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยในเรื่องของการเผาผลาญ และต้านโรคบางชนิดได้ ยกตัวอย่างเช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคสมองจากโรคตับ โรคมะเร็งลำไส้ โรคอ้วนภาวะเบตาบอลิกซินโดรม โรคภาวะผื่นผิวหนังอักเสบ และลดอัตราเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยพรีไบโอติกส์มักจะพบได้ในอาหารประเภทไฟเบอร์ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ และส่วนมากจะพบในรูปแบบของผลแป้ง เช่น สารกลุ่มอินูลิน และฟรุกโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ ซึ่งพบมากในหัวหอม กระเทียม เห็ด กล้วย แอปเปิล หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วเหลือง ถั่วแดง ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ธัญพืช และข้าวที่ไม่ขัดสี เป็นต้น

ควรเลือกทำประกันสุขภาพแบบไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?

เรื่องสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศใดหรือจะมีอายุเท่าไหร่ก็ตาม ดังนั้นการวางแผนป้องกันไว้ก่อนจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งการทำประกันสุขภาพ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีในการเริ่มต้นวางแผนในตอนที่เรายังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่ เพื่อที่จะได้รับความคุ้มครองได้อย่างเต็มที่ในตอนที่เกิดเจ็บป่วยกะทันหัน เพราะฉะนั้นการวางแผนเตรียมตัวไว้ก่อนจึงสามารถมั่นใจได้มากกว่านั่นเอง อีกทั้งยังช่วยรองรับความเสี่ยงด้วยวงเงินคุ้มครองในยามที่คุณเจ็บป่วยได้อีกด้วย เพราะค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษาที่มีประสิทธิภาพนั้นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นการมีสวัสดิการด้านสุขภาพทั่วไปจึงยังไม่สามารถครอบคลุมในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลได้อย่างเต็มที่เหมือนกับการทำประกันสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น ประกันสุขภาพสามารถลดภาระค่ารักษาพยาบาลได้ ประกันสุขภาพสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และประกันสุขภาพสามารถเคลมในกรณีที่เจ็บป่วยเล็กน้อยได้ เป็นต้น

ซื้อประกันสุขภาพผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

ทาง แรบบิท แคร์ มีบริการเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพที่ใช่สำหรับคุณ โดยที่ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน ดังนั้นข้อมูลส่วนตัวของทุกท่านจะปลอดภัยและมั่นใจได้โดยที่ไม่ต้องเป็นกังวลเลย โดยแรบบิท แคร์ นั้นมีทุกแผนประกันสุขภาพที่คุ้มครองครบ และตอบโจทย์ทุกความต้องการรวมอยู่ในที่นี่ที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD), ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) และประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (Critical illness Insurance) อีกทั้งลูกค้ายังสามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก Chiiwii ผ่านการวิดีโอคอลออนไลน์ได้อีกด้วย เพื่อเป็นการมอบความสะดวกสบายและความสบายใจให้กับลูกค้าอย่างเต็มที่ พร้อมบริการรับใบสั่งยาออนไลน์แล้วให้คุณไปรับยาได้เองที่ร้านเภสัชใกล้บ้าน หรือจะเลือกเป็นบริการจัดส่ง (มีค่าจัดส่ง) ให้ถึงที่บ้านก็ทำได้เช่นเดียวกัน โดยสามารถใช้บริการนี้ได้ที่ Rich menu ใน Line official account ของแรบบิท แคร์

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

Generali Health Lump Sum Plus ประกันสุขภาพเหมาจ่ายGenerali Health Lump Sum Plus

เหมาจ่าย

  • เบี้ยเริ่ม 22 บาท/วัน คุ้มครองตามใจชอบ
  • ประกันเหมาจ่าย ค่ารักษาสูงสุด 1 ล้าน
  • ค่าห้อง รพ. เราคุ้มครองสูงสุด 8,000 บาท
  • คุ้มครองค่าพยาบาลพิเศษ 1,000 บาท/วัน
  • ทันตกรรม คุ้มครอง 1,000 บาท/ปี ไม่จำกัดครั้ง
  • OPD คุ้มครอง 1,500 บาท/ครั้ง ไม่เกิน 30 ครั้ง
  • สิทธิลดหย่อนภาษี สูงสุด 25,000
AIA Health Saver ประกันสุขภาพเหมาจ่าย AIA Health Saver

เหมาจ่าย

  • เบี้ยเริ่มต้น 575 บาท/เดือน ราคาเบาๆ
  • คุ้มครองเหมาๆ ค่ารักษา 500,000 บาท
  • คุ้มครองผู้ป่วยนอก สูงสุด 30 ครั้ง/ปี
  • สมัครง่าย ทุกวัย 15 วัน - 75 ปี ต่ออายุได้
  • คุ้มครองเพิ่ม 2 เท่า เมื่อพบ 6 โรคร้าย
  • OPD คุ้มครองสูงสุด 1,500 บาท/ครั้ง
  • ลดหย่อนภาษีคุ้มๆ ตามหลักเกณฑ์สรรพากร
เติมเงินยามป่วย ประกันสุขภาพเหมาจ่ายเติมเงินยามป่วย

เหมาจ่าย

  • เบี้ยเริ่มต้นเบา ๆ เพียง 4 บาท/วัน
  • รายได้ไม่ขาด ชดเชยสูงสุด 1,500 บาท/วัน
  • รักษาตัว ICU ชดเชยสูงสุด 3,000 บาท/วัน
  • จ่ายเบี้ยสั้น 5 ปี สมัครได้ตั้งแต่ 16 - 60 ปี
  • คุ้มครองผ่าตัดใหญ่ รับเงินก้อน 30,000 บาท
  • คุ้มครองชีวิต กรณีเสียชีวิต รับ 300,000 บาท
  • มอบเงินปลอบขวัญ 1,500 บาท/ครั้ง หลังออก รพ.
วิริยะ โกลด์ บาย บีดีเอ็มเอสวิริยะ โกลด์ บาย บีดีเอ็มเอส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • เริ่มต้น 46 บาท/วัน ไม่ต้องสำรองจ่าย
  • ผู้ป่วยใน คุ้มครองสูงสุด 5 ล้านต่อครั้ง
  • แคร์ค่าห้อง รพ. สูงสุด 15,000 บาท/วัน
  • แคร์ทุกวัย สมัครได้ 15 วัน - 65 ปี
  • แคร์มะเร็ง คุ้มครองเคมีบำบัด 100,000 บาท/ปี
  • แคร์เจ็บป่วย คุ้มครอง OPD สูงสุด 2,500 บาท/วัน
  • แคร์เงินคุณ รักษา รพ. BDMS ไม่ต้องจ่ายก่อน

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา