เช็กอาการคนท้อง พร้อมการรับมือสำหรับคุณแม่คุณพ่อมือใหม่
อาการคนท้องเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนสำคัญที่กำลังจะบอกคุณให้รู้ว่ามีอีกหนึ่งสิ่งมหัศจรรย์กำลังจะถือกำเนิดขึ้นมา โดยอาการคนท้องถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาในคนที่ตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่คุณพ่อมือใหม่หลาย ๆ คนอาจมีความกังวลเกี่ยวกับอาการตั้งครรภ์ว่าจะมีอาการเป็นอย่างไร ส่งผลกระทบอะไรต่อตัวคุณแม่บ้าง โดยในบทความนี้น้องแคร์จะพาเพื่อน ๆ ออกไปสำรวจอาการท้องที่พบได้บ่อยๆ ตั้งแต่อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ไปจนถึง 9 เดือน อธิบายถึงสาเหตุทางและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการจัดการ ดูแล และรับมืออาการตั้งครรภ์เหล่านี้ให้กับคุณ
อาการคนท้องคืออะไร? เกิดจากอะไรได้บ้าง
อาการคนท้อง คือ สภาวะหรืออาการผิดปกติที่เกิดกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ลูกอยู่ ซึ่งสาเหตุของอาการคนท้องหรืออาการตั้งครรภ์เกิดจากการที่ฮอร์โมนของตัวคุณแม่หรือคนตั้งครรภ์เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายสำหรับการมีลูก จนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องขึ้นมานั่นเอง จึงสามารถพูดได้ว่าอาการคนท้องหรืออาการคนตั้งครรภ์เป็นอีกหนึ่งเรื่องปกติที่สามารถเกิดได้ในผู้หญิงทุกคนที่กำลังมีลูกนั่นเอง
รวมอาการคนท้องที่พบได้บ่อย
อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ถึง 4 สัปดาห์ หรืออาการตั้งครรภ์ระยะแรก
อาการตั้งครรภ์ระยะแรกเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนสำคัญว่าคุณกำลังจะให้กำเนิดชีวิตน้อย ๆ ออกมาบนโลก ซึ่งถ้าคุณเริ่มมีอาการคล้ายกับอาการคนท้องขอแนะนำให้ใช้ที่ตรวจครรภ์เพื่อเช็กว่าคุณกำลังตั้งท้องอยู่หรือไม่ โดยอาการท้องในช่วง 1-4 สัปดาห์จะมีอาการการดังต่อไปนี้
- ประจำเดือนขาด : อาการคนท้องที่พบได้บ่อยคือประจำเดือนขาดหรือมาช้า ซึ่งเป็นอาการบ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์
- ร่างกายอ่อนเพลีย : เกิดจากเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น ทำให้ร่างกายของคุณแม่จะทำงานหนักมากขึ้นเพื่อบำรุงตัวอ่อนทารก
- มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน : เป็นอาการอาการท้องที่มักเกิดขึ้นภายใน 1 เดือน
- อาการเวียนศีรษะ หน้ามืด : ผลพวงจากฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้รู้เกิดอาการตั้งครรภ์เวียนศีรษะ หน้ามืด
- มีอารมณ์แปรปรวน : ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย ส่งผลให้เกิดอารมณ์แปรปรวนขึ้น
- มีพฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนไป : ไม่ว่าจะเป็นการกินที่มากขึ้นหรือการเบื่ออาหารรับประทานอาหารแปลกๆ อยากอาหารรสเปรี้ยว ล้วนแต่เป็นอาการคนท้องที่เกิดขึ้นได้
- เต้านมเกิดการเปลี่ยนแปลง : มีอาการตึงคัดเต้านม เต้านมและหัวนมมีการเปลี่ยนแปลง อาการเหล่านี้อาจค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นจนทำให้รู้สึกไม่สบายตัว
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น : เกิดจากการที่มดลูกที่มีขนาดโตขึ้นไปกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อยรวมไปถึงอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- อาการท้องผูก : เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อระบบขับถ่ายจนเกิดอาการท้องผูกขึ้น
- อาการเลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation Bleeding) : ตัวอ่อนที่ไปฝังตัวอยู่บนผนังมดลูกก่อให้เกิดอาการคนท้องที่มีเลือดออกจากช่องคลอด ปริมาณเล็กน้อย
- ตกขาวมากกว่าปกติ : เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนมีการเปลี่ยนแปลง
อาการคนท้อง 1 เดือนเป็นอาการท้องที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ตั้งครรภ์ทุกคน โดยอาการท้องเหล่านี้ก็ยังจะคงเกิดขึ้นในช่วงการตั้งท้องในเดือนต่อ ๆ ไปร่วมกับอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
อาการคนท้อง 2 เดือน
- อาการแพ้ท้องหรือ Morning Sickness ส่งผลให้เกิดอาการคนท้องเช่น เวียนศีรษะ อาเจียน มักเกิดอาการแพ้ท้องในช่วงเช้าของวัน
- คัดตึงเต้านม เต้านมขยาย
- อยากอาหารมากขึ้น หรือมีอาการเบื่ออาหาร
- เกิดอารมณ์แปรปรวนง่าย
- ปวดปัสสาวะบ่อย
- มีน้ำลายมากผิดปกติ
- อาการอ่อนเพลีย
อาการคนท้อง 3 เดือน
- น้ำหนักเพิ่มสูงขึ้น
- หน้าท้องเริ่มมีการขยายตัว อาการคนท้องเช่นนี้ก่อให้เกิดรอยแตกลายบริเวณหน้าท้องขึ้น
- สภาพผิวหนังเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เกิดฝ้าบนใบหน้าจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน
- มีการตกขาวเพิ่มขึ้น
- สามารถตรวจเจอยอดมดลูกได้อย่างชัดเจน
อาการคนท้อง 4 เตือน
- เกิดปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร : มีอาการแสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย
- เกิดผิวแตกลายมาขึ้น
- อาการประสาทมือชา (Carpal Tunnel Syndrome: CTS) บริเวณมือกับแขน
- มีอาการปวดร้าวลงขา : อาการคนท้องนี้เกิดจากขนาดของครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น จนไปกดทับเส้นประสาท
- มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- พบปัญหาเส้นเลือดขอด
อาการคนท้อง 5 เดือน
- พบอาการท้องอย่างเจ็บท้องหลอก
- มีอาการที่เท้าและข้อเท้าบวม
- ใบหน้ามันและเกิดสิวขึ้น
- มีอาการในช่องปาก : โดยอาการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 5 อาจก่อให้เกิดอาการอย่างเหงือกบวมหรือมีเลือดออกตามไรฟัน
- ผิวหนังเปลี่ยนแปลงมากขึ้น : อาการคนท้องนี้ทำให้ท้องหรือผิวแตกลายจนไปถึงหัวนมคล้ำมากขึ้น
อาการคนท้อง 6 เดือน
- มีอาการแพ้ท้องมากขึ้น
- ปวดเมื่อยตามตัว : สำหรับอาการคนท้องในเดือนที่ 6 นี้จะมีอาการปวดบริเวณหลัง สะโพก รวมถึงอุ้งเชิงกราน เนื่องจากขนาดตัวของคุณแม่ที่เพิ่มมากขึ้น
- อาการตะคริวบริเวณเท้า : พบมากบริเวณเท้าและข้อเท้าโดยเกิดร่วมกับอาการบวม ซึ่งอาการท้องนี้เกิดจากการที่เส้นเลือดทำงานหนักขึ้น
- มีอาการคันตามส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะหน้าท้อง
- พบอาการวิงเวียนศีรษะ
อาการคนท้อง 7 เดือน
- เกิดอาการปวดแบบไซติก้า (Sciatica) : เป็นการปวดตามเส้นประสาทบริเวณเอวไปถึงขา
- อาการปวดกระดูกเชิงกราน : ข้อต่อกระดูกเชิงกรานคลายตัวจากฮอร์โมนในร่างกาย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด
- ท้องแข็งเนื่องจากมดลูกหดรัดตัว (Braxton Hick Contraction) : สำหรับอาการตั้งครรภ์นี้เกิดขึ้นบ่อยควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจทำให้คลอดก่อนกำหนด
- วิงเวียนศีรษะอาการคนท้องที่พบได้บ่อย
อาการคนท้อง 8 เดือน
ยังคงมีอาการคนท้องคล้ายกับเดือนก่อน ๆ แต่จะพบในอัตราที่มากขึ้นร่วมด้วยกับอาการต่อไปนี้
- มีการหายใจถี่ขึ้น
- ปวดอุ้งเชิงกราน
- รู้สึกร้อนตามร่างกาย รวมถึงมีอาการอ่อนเพลีย
อาการคนท้อง 9 เดือน
- เกิดอาการท้องลด : เนื่องจากทารกเริ่มมีการเคลื่อนตัวลงมาใกล้กระดูกเชิงกราน
- มีมูกสีขาวไหลออกมาทางช่องคลอด (Mucus Plug) : โดยเป็นอาการคนท้องที่จะเกิดก่อนการคลอดประมาณ 2 สัปดาห์
- ปวดตามร่างกายส่วนต่าง ๆ : อาการปวดหลัง ปวดอุ้งเชิงกราน ร่วมกับอาการอ่อนเพลีย
- มีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น
ดูแลอาการคนท้องอย่างไรให้ถูกวิธี
ฝากครรภ์กับแพทย์
เป็นการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ตั้งแต่อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ที่อาการเกิดขึ้น ติดตามการเจริญเติบโตของทารกตั้งแต่ในครรภ์ รวมถึงเป็นการวางแผนการคลอดเจ้าตัวน้อยอย่างปลอดภัยอีกด้วย
รับประทานอาหารให้ครบถ้วน
สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารครบ 5 หมู่เพื่อให้ตัวเองและเด็กในครรภ์ได้รับสารอาหารครบถ้วน โดยเน้นโปรตีนไม่ว่าจะเป็ฯ เนื้อสัตว์ นม ไข่ รับประทานปริมาณน้อย แต่บ่อยๆ ประมาณ 5-6 มื้อต่อวัน หรือปรับตามอาการคนท้องที่เกิดขึ้น
รักษาความสะอาดของร่างกายและแต่งตัวให้เหมาะสม
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าอาการคนท้องหลาย ๆ อย่างอาจทำให้พบกับการใช้ชีวิตที่ผิดกับหลักสุขอนามัย ดังนั้นคุณแม่ควรหมั่นรักษาความสะอาดของร่างกายเพื่อสุขภาพที่ดี นอกจากนี้เรื่องกายแต่งกายของคุณแม่มือใหม่ควรที่จะใส่เสื้อผ้าที่หลวม งดการใส่ส้นสูงเพราะร่างกายตนเป็นแม่ต้องรับภาระหนัก อาจมีความผิดปกติของอาการท้องเกิดขึ้นมาได้
งดการทำงานหนักทุกชนิด แต่ก็อย่าลืมออกกำลังกาย
อาการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้โครงสร้างรวมถึงร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนไปจากเดิมตั้งแต่อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ซึ่งการที่ทำกิจกรรมหนักหรือการทำงานที่ต้องออกแรงอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและเด็กในครรภ์ แต่ก็ควรออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรงเพื่อเตรียมตัวในการคลอด และยังถือว่าเป็นการลดอาการคนท้องไม่พึงประสงค์ด้วย
มีความเข้าใจคนท้อง รวมถึงอาการคนท้องเกิดขึ้น
สำหรับคนใกล้ชิดหรือคนที่ต้องดูและคนท้องควรให้ความเข้าใจกับอาการคนท้องที่เกิดขึ้น เพราะในบางที่คนท้องอาจเกิดอาการท้องอย่างอารมณ์แปรปรวนขึ้น ซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงต้องเข้าใจคนท้องด้วยว่ากิจกรรมรวมถึงการใช้ชีวิตในขณะตั้งครรภ์จะต่างไปจากเดิมอันเนื่องมาจากอาการคนท้องนั่นเอง
อาการคนท้องเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ทุกคน จะมากจะน้อยหรือเกิดอาการท้องอะไรบ้างนั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ซึ่งการรับมือที่ดีควรเริ่มจากความเข้าใจของคนรอบข้างถึงสถาวะและอาการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้น และอย่าลืมพาคุณแม่ไปฝากครรภ์กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัยที่เกิดขึ้น มีหนึ่งสิ่งที่เราอยากแนะนำให้กับคุณพ่อคุณแม่ทุกคนเตรียมตัววางแผนไว้ให้กับเจ้าตัวน้อยที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือประกันเด็ก เนื่องจากเป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองในหลาย ๆ ด้าน อีกทั้งค่ารักษาเด็กจะมีราคาสูง การทำประกันเด็กไว้ย่อมเป็นตัวช่วยที่ดีในเรื่องค่าใช้จ่าย อีกทั้งเมื่อครบสัญญายังได้รับเงินคืนอีกด้วย หากเพื่อน ๆ สนใจทำประกันเด็กแล้วล่ะก็สามารถมาสมัครได้ง่าย ๆ ที่ แรบบิท แคร์ เพราะที่นี้มีหลากหลายโปรแกรมที่เหมาะสมให้เพื่อน ๆ ได้เลือกสรร
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct
และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น