แคร์ไลฟ์สไตล์

อยากรับบุตรบุญธรรมยากไหม ? บุตรบุญธรรมจะได้รับสิทธิอะไรบ้าง ?

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: March 19,2024
  
Last edited: March 21, 2024
บุตรบุญธรรม

ปัจจุบันการรับบุตรบุญธรรมเป็นทางเลือกในการมีบุตรโดยที่ไม่ต้องแต่งงานและเป็นทางเลือกของครอบครัวต้องการจะมีบุตรไว้สืบทอดเป็นทายาทแต่ไม่สามารถมีลูกด้วยตนเองได้ถือเป็นวิธีที่แพร่หลายเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อีกทั้งในบางครั้งยังเป็นการรับบุตรในลักษณะที่รับหลานหรือญาติแท้ ๆ มาเป็นบุตร บุญธรรมด้วยเหตุผลบางประการ แรบบิท แคร์ จึงเลือกหยิบยกเรื่องราวของการรับบุตรบุญธรรมและการจดทะเบียนรับบุตรที่น่าสนใจมาให้ เผื่อใครที่กำลังสนใจอยากรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรมว่ายากหรือไม่ การรับเป็นบุตรเช่นนี้นั้นจะได้รับสิทธิอะไร ? ให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจก่อนจะดำเนินการรับบุตรบุญธรรมนั่นเอง

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    บุตรบุญธรรม คืออะไร ?

    บุตรบุญธรรม คือ บุตรที่ถูกบุคคลหนึ่งทำการรับอุปการะเลี้ยงดูเหมือนบุตรของตนเอง โดยบิดามารดาบุญธรรมที่รับบุตรนั้นมิใช่บิดามารดาโดยกำเนิดของตนเอง ซึ่งผู้รับบุตรและบุตรบุญธรรมจะมีความเกี่ยวพันหรือเกี่ยวข้องกันทางเครือญาติหรือไม่ก็ได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นญาติสืบสายโลหิตกันแต่อย่างใด บุตรบุญธรรมนั้นสามารถเป็นได้ทั้งผู้เยาว์และบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว อาจจะมีหรือไม่มีสัญชาติเดียวกับผู้รับบุตรก็ได้แต่การรับบุตรบุญธรรมดังกล่าวจะต้อง

    เป็นการรับบุตรที่มีการดําเนินการจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่อย่างนั้นจะไม่ก่อให้เกิดสิทธิ และหน้าที่ระหว่างผู้รับบุตรกับบุตรบุญธรรมนั่นเอง

    การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม คืออะไร ?

    การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม คือการจดทะเบียนเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานรับรองสิทธิทางกฎหมายระหว่างบุตรและผู้รับบุตรบุญธรรม ซึ่งเมื่อทำการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วก็จะทำให้บุตรบุญธรรมนั้นมีฐานะเทียบเท่ากับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตร คือ มีสิทธิในการได้รับมรดก มีสิทธิในการใช้นามสกุลของบิดาหรือมารดาบุญธรรม ในทางกลับกันผู้รับบุตรจะไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม อีกทั้งการจดทะเบียนรับบุตรนั้นจะไม่ทำให้ตัวบุตรสูญสิ้นซึ่งสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา โดยอำนาจในการปกครองของบิดามารดาโดยกำเนิดจะหมดลงนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียน

    เอกสารที่ต้องใช้ในการรับบุตรบุญธรรม

    สำหรับเอกสารที่จะต้องใช้ในการรับบุตรบุญธรรมนั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเอกสารแบ่งเป็น 3 ฝ่ายด้วยกัน นั่นก็คือ ฝ่ายผู้ที่ต้องการรับบุตร ฝ่ายผู้ที่ต้องการยกบุตรให้ และฝ่ายของบุตรบุญธรรม ซึ่งแต่ละฝ่ายก็จะต้องมีการเตรียมเอกสาร ดังนี้

    ฝ่ายผู้ขอรับบุตร บุญธรรม

    ในส่วนของผู้ที่ต้องการรับอุปการะบุตรนั้นจะต้องมีการติดต่อส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลเพื่อทำการจัดหาเอกสารต่าง ๆ ดังนี้

    • รายงานการศึกษาภาพของครอบครัวของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตร บุญธรรม
    • หนังสือรับรองความเหมาะสมที่จะรับเด็กเป็นบุตร บุญธรรม
    • หนังสือรับรองว่าจะทำการควบคุมการทดลองเลี้ยงดูและส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูให้แก่กรมกิจการเด็กและเยาวชนไม่เกินสองเดือนต่อครั้งเป็นระยะเวลาหกเดือน
    • แบบคำขอรับบุตร (Application Form)
    • เอกสารรับรองสุขภาพของผู้ขอรับบุตรจากแพทย์
    • เอกสารรับรองการสมรส
    • ทะเบียนหย่า (กรณีเคยสมรสมาก่อน)
    • เอกสารรับรองอาชีพและรายได้
    • เอกสารรับรองการเงิน
    • เอกสารรับรองทรัพย์สิน
    • เอกสารรับรองจากผู้อ้างอิง 2 คน
    • รูปถ่ายขนาด 4.5 X 6 ซ.ม. คนละ 4 รูป
    • เอกสารการตรวจคนเข้าเมืองที่ประเทศนั้น ๆ รับรองการอนุญาตให้เด็กเข้าประเทศได้
    • กรณีติดต่อผ่านองค์การสวัสดิภาพเด็กเอกชนจะต้องมีสำเนาใบอนุญาตขององค์กร และหนังสือจากหน่วยงานรัฐบาลซึ่งรับรององค์กรนั้น ๆ

    *เอกสารทุกฉบับดังกล่าวข้างต้นจะต้องได้รับการรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่ผู้ขอรับเด็กอยู่หรือจัดส่งผ่านช่องทางทางการทูต

    ฝ่ายผู้ที่จะยกบุตรให้

    นอกจากฝ่ายที่ต้องการขอรับบุตรจะต้องมีการเตรียมเอกสาร ฝ่ายที่ต้องการจะยกบุตรให้ก็จำเป็นที่จะต้องเตรียมเอกสารให้ครบครัน ดังนี้

    • บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
    • ทะเบียนบ้าน
    • ทะเบียนสมรส
    • ทะเบียนหย่า หรือคำสั่งศาล
    • หนังสือรับรองจากสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอตามแบบ ปค.14 ในการรับรองว่าบิดามารดาเด็กมิได้จดทะเบียนสมรสกัน
    • หนังสือแสดงความยินยอมของผู้มีอำนาจให้ความยินยอม (แบบ บธ.5)
    • บันทึกสอบปากคำตามแบบ ปค.14
    • รูปถ่ายขนาด 4.5 X 6 ซ.ม. ของบิดามารดาเด็กคนละ 1 รูป
    • เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามีหรือจำเป็นต้องขอเพิ่ม)

    ฝ่ายบุตร บุญธรรม

    ในส่วนเอกสารของตัวเด็กที่ต้องเตรียมนั้นจะมีน้อยกว่าทางฝ่ายผู้ที่ต้องการรับบุตรและผู้ที่ต้องการยกบุตรให้เป็นอย่างมาก โดยเอกสารที่จะต้องเตรียมก็คือ

    • สูติบัตรเด็ก
    • ทะเบียนบ้านเด็ก
    • รูปถ่ายเด็กขนาด 4.5 X 6 ซ.ม. 1 รูป
    • หนังสือแสดงความยินยอมของเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม (แบบ บธ.6)

    และเอกสารทั้งหมดนี้ก็คือเอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเพื่อทำการรับเลี้ยงบุตร ในกรณีที่เกิดข้อสงสัยในการจัดเตรียมเอกสาร สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ส่วนงานรับผิดชอบในด้านการรับบุตรบุญธรรมได้โดยตรง

    รับบุตรบุญธรรม

    การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมยากไหม ?

    การจดทะเบียนรับบุตรนั้นความจริงแล้วไม่ได้มีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากจนเกินไป แต่ก็จะมีกฎระเบียบขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตามให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะกล่าวถึงโดยละเอียดในหัวข้อถัดไปนี้เลย

    การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมมีขั้นตอนอย่างไร ?

    สำหรับการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมนั้นจะสามารถแบ่งขั้นตอนในการจดทะเบียนออกได้เป็น 2 กรณี นั้นก็คือ

    กรณีที่บุตรเป็นผู้เยาว์

    จะต้องมีการผ่านขั้นตอน ของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเสียก่อนโดยที่..

    • กรณีที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรมีภูมิลําเนาอยู่ใน กรุงเทพมหานคร หรือต่างประเทศให้ยื่นคำขอพร้อมหนังสือ แสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอมที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมประชาสงเคราะห์
    • กรณีมีภูมิลําเนําอยู่ที่ต่างจังหวัด จะต้องมีการยื่นคําขอ พร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจ ให้ความยินยอม ยังที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด

    หลังจากที่คณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ จากนั้นจะมีการให้นำหนังสือแจ้งอนุมัติของคณะกรรมการดังกล่าวไปร้องขอจดทะเบียนรับบุตรยังที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือเขต แห่งใดก็ได้เป็นลำดับถัดไป

    กรณีที่บุตรบุญธรรมเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว

    ในกรณีนี้นั้นบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมสามารถที่จะดำเนินการ ยื่นคำขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมได้ ณ ที่ว่าการอำเภอทันทีโดยไม่ต้องฝ่านขั้นตอนเช่นเดียวกับกรณีที่บุตรบุญธรรมยังเป็นผู้เยาว์

    บุตรบุญธรรม คือ

    คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการรับบุตรบุญธรรม

    สำหรับการรับเลี้ยงเด็กสักคนเพื่อมาเป็นบุตรของตนเองนั้นแน่นอนว่าจะต้องมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้รับเลี้ยงไว้อย่างชัดเจน โดยคุณสมบัติของผู้รับบุตร บุญธรรม จะมีดังนี้

    • มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และจะต้องมีอายุมากกว่าบุตรที่จะรับเลี้ยงอย่างน้อย 15 ปี
    • ต้องได้รับการยินยอมจากผู้เป็นบุตรบุญธรรมด้วยตนเอง *กรณีที่เด็กอายุมากกว่า 15 ปี
    • ต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง *กรณีเด็กยังเป็นผู้เยาว์
    • จะต้องได้รับการยินยอมจากคู่สมรสของทั้งสองฝ่าย
    • ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีก ในขณะเดียวกันไม่ได้ *ยกเว้นกรณีเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม

    และนี่ก็คือคุณสมบัติที่พึงมีของผู้ที่ต้องการจะรับบุตร ใครที่มีคุณสมบัติครบครันก็สามารถดำเนินการตามขั้นตอนกันได้เลย

    สิทธิของบุตรบุญธรรม

    ในส่วนของสิทธิของบุตรเมื่อได้ทำการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วนั้น ก็จะได้รับสิทธิโดยชอบธรรม ดังนี้

    • สิทธิในการใช้นามสกุลของบิดามารดาบุญธรรม
    • สิทธิ์ในการได้รับการอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควร
    • สิทธิในการรับมรดกเสมือนบุตร
    • ไม่สูญเสียหน้าที่ในครอบครัวเดิม ยังมีสิทธิในมรดกของบิดามารดาโดยกำเนิด
    • ไม่สามารถใช้สิทธิเบิกตามระเบียบกรมบัญชีกลางได้ทั้งของบิดามารดาบุญธรรม

    ที่รับราชการ และบิดามารดาที่แท้จริงซึ่งรับราชการ

    • อาจใช้สิทธิเบิกสวัสดิการของทางบริษัทหรือบางหน่วยงาน/องค์กรได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
    • นโยบายของแต่ละบริษัท

    แน่นอนว่านอกจากสิทธิเหล่านี้นั้นหากคุณพ่อคุณแม่บุญธรรมอยากจะดูแลบุตรบุญธรรมคนใหม่ให้ครบครันรอบด้าน รวมทั้งวางแผนอนาคตในระยะยาวให้ ก็ควรที่จะทำประกันเสริมไว้ ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ หรือประกันออมทรัพย์ กับ แรบบิท แคร์

    บุตรบุญธรรม

    สถานที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

    กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยได้ให้ข้อมูลสถานที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ว่าในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมนั้นสามารถดำเนินการจดทะเบียนได้ยังสำนักทะเบียนอำเภอทุกแห่งหรือจะเดินทางไปจดยังสำนักงานเขตในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ใดก็ได้เช่นกัน

    จดทะเบียนรับบุตรแล้วยกเลิกได้หรือไม่ ?

    สำหรับผู้ที่สงสัยว่าเมื่อรับบุตรมาแล้ว สามารถทำการยกเลิกได้หรือไม่ คำตอบคือสามารถยกเลิกได้ ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการนี้คือ

    • ยกเลิกภายใต้ความยินยอมของทั้งฝ่ายผู้รับและบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะ
    • ยกเลิกเมื่อมีการสมรสกันเกิดขึ้น
    • ยกเลิกภายใต้คำสั่งศาล

    ใครเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร

    หลังจากที่ทำการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเรียบร้อยแล้วอำนาจในการปกครองดูแลบุตรบุญธรรมจะตกเป็นของผู้รับบุตรบุญธรรมทันที

    และข้อมูลทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมสำหรับคนผู้ที่มีความสนใจหรืออยากที่จะดำเนินการรับบุตรบุญธรรมกันไว้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมนั้นแท้จริงไม่ได้มีขั้นตอนที่ยุ่งยากอะไร แต่สิ่งที่ต้องคิดคำนึงให้ดีก็คือความรับผิดชอบที่จะตามมาจากการที่เราตัดสินใจจะรับดูแลชีวิตอีกหนึ่งชีวิตเพิ่มขึ้นมานั่นเอง


    สรุป

    สรุปบทความ

    บุตรบุญธรรม คือ บุตรที่ถูกบุคคลหนึ่งทำการรับอุปการะเลี้ยงดูเหมือนบุตรของตนเอง โดยบิดามารดาบุญธรรมที่รับบุตรนั้นมิใช่บิดามารดาโดยกำเนิดของตนเอง โดยคุณสมบัติของผู้ที่ต้องการรับบุตรบุญธรรม มีดังนี้

    • มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และจะต้องมีอายุมากกว่าบุตรที่จะรับเลี้ยงอย่างน้อย 15 ปี
    • ต้องได้รับการยินยอมจากผู้เป็นบุตรบุญธรรมด้วยตนเอง *กรณีที่เด็กอายุมากกว่า 15 ปี
    • ต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง *กรณีเด็กยังเป็นผู้เยาว์
    • จะต้องได้รับการยินยอมจากคู่สมรสของทั้งสองฝ่าย
    • ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีก ในขณะเดียวกันไม่ได้ *ยกเว้นกรณีเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม

    นอกจากนี้ ผู้ที่ต้องการรับบุตรบุญธรรมจะต้อง ได้หนังสือรับรองความเหมาะสมที่จะรับเด็กเป็นบุตร บุญธรรม และได้หนังสือรับรองว่าจะทำการควบคุมการทดลองเลี้ยงดูและส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูให้แก่กรมกิจการเด็กและเยาวชนไม่เกินสองเดือนต่อครั้งเป็นระยะเวลาหกเดือนอีกด้วย

    จบสรุปบทความ

    ที่มา


     

    บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

    Rabbit Care Blog Image 96153

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

    การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
    Thirakan T
    27/08/2024
    Rabbit Care Blog Image 89764

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    แมวอ้วก แมวอาเจียน อันตรายไหม ? เป็นสัญญาณบ่งบอกอะไร ?

    ‘แมวอ้วก’ สถานการณ์ที่สำหรับเหล่าทาสแล้วคงถือเป็นเรื่องหนักอกหนักใจ ว่านายท่านแมวของเราเกิดความเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติในร่างกายอย่างไรหรือไม่
    คะน้าใบเขียว
    31/05/2024