แคร์ไลฟ์สไตล์

เหตุใด “การตีลูก” อาจนำไปสู่ความรุนแรงในความสัมพันธ์ในภายหลัง

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: April 29,2021
  
Last edited: April 28, 2021
ตีลูก-ความรุนแรงในครอบครัว

การศึกษาวิจัยใหม่พบว่าเด็กที่ต้องพบเจอกับ “การตีลูก” มากกว่า มีแนวโน้มที่จะแสดงความรุนแรงทางความสัมพันธ์เมื่อพวกเขาอายุมากขึ้น ในขณะที่การตบตีถือเป็นเทคนิคการสร้างวินัยในบางครอบครัว แต่งานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่าอาจส่งผลที่ไม่ได้ตั้งใจตามมาในภายหลัง เพราะการศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นว่าเด็กที่ถูกตีมีแนวโน้มที่จะก่อความรุนแรงต่อคู่ของพวกเขาในอนาคต

การศึกษาซึ่งเผยแพร่ในวารสารกุมารเวชศาสตร์และดำเนินการโดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสสาขาการแพทย์ ได้ขอให้ชายและหญิง 758 คน ที่อายุ 19 และ 20 ปึ นึกย้อนไปว่าพวกเขาถูกลงโทษบ่อยเพียงใดเมื่อพวกเขาเป็นเด็ก ชายและหญิงที่รายงานว่าได้รับการลงโทษทางร่างกายส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะก่อความรุนแรงในความสัมพันธ์ที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ แม้ว่านักวิจัยจะควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ เพศ เชื้อชาติ การศึกษาของผู้ปกครอง และการทารุณกรรมเด็กในบ้านหรือไม่ก็ตาม

การตีเด็ก-ความรุนแรงในครอบครัว

สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกาคัดค้านการลงโทษทางร่างกายต่อเด็กอย่างรุนแรง ในขณะที่พ่อแม่บางคนรู้สึกว่ากลยุทธ์ “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการฝึกฝนลูกให้มีระเบียบวินัย และอาจเป็นไปได้ว่าพวกเขาถูกเลี้ยงดูมาอย่างนั้นเช่นกัน ความรุนแรงกับคู่เป็นเพียงผลข้างเคียงอย่างหนึ่งในงานวิจัยที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งพบว่ามีผลเสียมากมายจากการตบตีหรือตีเด็ก

Bob Sege โฆษกของสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกากล่าวว่า “การลงโทษทางร่างกายทำให้เกิดความสับสนระหว่างความรักและความรุนแรงสำหรับเด็ก ในขณะที่พวกเขาเรียนรู้วิธีปฏิบัติต่อผู้อื่น” สำหรับเด็ก ๆ “พ่อแม่ของพวกเขาเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในโลก” Sege อธิบาย และ “พวกเขาเรียนรู้จากพ่อแม่ของพวกเขาว่าบรรทัดฐานทางสังคมคืออะไร และผู้คนควรปฏิบัติต่อกันอย่างไร” อย่างไรก็ตามรายงานล่าสุดพบว่าชาวอเมริกันส่วนใหญ่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ยังคงเชื่อในการตีลูก

ในปี 2014 วารสาร Child Development ได้ตีพิมพ์งานวิจัยพาดหัวข่าวที่มีข้อความอันน่าตกใจ การตะโกนใส่ลูกของคุณอาจเลวร้ายพอ ๆ กับการลงโทษทางร่างกาย และอาจทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมและปัญหาพัฒนาการทางอารมณ์ การตะโกนจะทำให้ลูก ๆ ของคุณเข้าสู่ “โหมดปิดเครื่อง” จากผลการศึกษานักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์กในเพนซิลเวเนียและมหาวิทยาลัยมิชิแกนในเมืองแอนอาร์เบอร์ระบุว่า การลงโทษทางวาจาอย่างรุนแรงจากพ่อแม่เป็นสิ่งที่ทำลายเด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะในวัยรุ่นที่พ่อแม่ใช้การตะโกนเป็นวิธีการสร้างวินัยมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาด้านพฤติกรรมและแสดงออก ผลของฝึกวินัยทางวาจาและการดุด่าบ่อย ๆ เปรียบได้กับฝึกวินัยทางกาย (เช่น การตบและตี) ตลอดระยะเวลาการศึกษา 2 ปี

การลงโทษทางร่างกายเด็ก ทำให้เกิดผลกระทบทางอารมณ์ของเด็ก

หัวข้อนี้ได้รับการสำรวจโดยนักจิตวิทยาเด็กมานานแล้ว ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี 2003 ใน Journal of Marriage and Family พบว่า ในครอบครัวที่มีเหตุการณ์ตะโกน 25 ครั้งขึ้นไปภายในระยะเวลา 12 เดือน เด็ก ๆ อาจมีความภาคภูมิใจในตนเองลดลง ความก้าวร้าวต่อผู้อื่นที่เพิ่มขึ้น และอัตราการซึมเศร้าที่สูงขึ้น ในครอบครัวเหล่านี้ นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าประเภทของการตะโกนที่จัดอยู่ในประเภทการล่วงละเมิดทางวาจาหรือทางอารมณ์นั้น เป็นมากกว่าแค่การตะโกนใส่ลูก ๆ ของคุณ มันเป็นรูปแบบของ “ความก้าวร้าวทางจิตใจ” อย่างต่อเนื่อง และมักจะขยายไปสู่การดูหมิ่นหรือคำพูดแสดงความอัปยศอดสู เมื่อพิจารณาว่าพ่อแม่เสียอารมณ์บ่อยเพียงใด สำหรับพวกเราบางคน มันมากกว่าเดือนละ 2 ครั้ง การค้นพบนี้เป็นเหตุผลที่ดีในการตัดนิสัยของการสื่อสารที่ไม่ดีออกไปก่อนที่ลูก ๆ ของเราจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น

การตะโกนยังทำให้เกิดปฏิกิริยาทางสรีรวิทยาทั้งในพ่อแม่และเด็ก เมื่อเรารู้สึกหงุดหงิดสมองจะปล่อยคอร์ติซอล (ฮอร์โมนแห่งความเครียด) ออกมาและมันมากเกินไปทำให้เราต้องเข้าสู่โหมดต่อสู้ ไฟลท์โหมด และโหมดหยุดนิ่ง ศูนย์การรับรู้ของสมองจะปิดตัวลงและศูนย์อารมณ์จะเข้าครอบงำ สมองของเด็ก ๆ เป็นไปตามรูปแบบเดียวกัน ระดับคอร์ติซอลของพวกเขาเพิ่มขึ้นเพราะพวกเขาเครียด อารมณ์เข้าครอบงำ และพวกเขาหยุดนิ่งและไม่ทำอะไรเลย หรือตอบสนองด้วยการกรีดร้องกลับมา หรือจบลงด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว

หากความเครียดแบบนี้ยังคงมีอยู่ในช่วงหลายปี การทำงานทางอารมณ์ของเด็กอาจได้รับผลกระทบเมื่อเขาเติบโตขึ้น พ่อแม่ต้องเข้าใจเหตุผลที่แท้จริงเบื้องหลังพฤติกรรมของเด็กและไม่ใช่แค่ตีความว่าเป็นการต่อต้าน ในฐานะผู้ใหญ่เราจำเป็นต้องควบคุมตนเองเพื่อที่เราจะได้ช่วยเหลือเด็ก ๆ ในเรื่องอารมณ์ของพวกเขา

พ่อแม่ทุกคนต่างก็ตะโกน และตราบใดที่มันไม่บ่อยจนเกินไปหรือเป็นไปด้วยความดูแคลน มันก็ไม่จำเป็นต้องสร้างความเสียหาย เด็ก ๆ ต้องเห็นว่าการกระทำของพวกเขาส่งผลกระทบต่อผู้อื่น และพวกเขาต้องเข้าใจว่าพ่อแม่ของพวกเขาสามารถรู้สึกและแสดงอารมณ์ได้อย่างเต็มที่ และพ่อแม่ต้องให้อภัยตัวเองเพราะการเลี้ยงลูกเป็นงานที่ยาก จำไว้ว่าเราเป็นเพียงมนุษย์เท่านั้น

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th


ที่มา


 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 99136

แคร์ไลฟ์สไตล์

รวมที่จอดรถ mrt และอาคารจอดแล้วจร มีตรงไหนบ้าง? เช็กได้เลย!!

ถึงแม้ในปัจจุบันหลายคนจะมีรถยนต์เป็นของตัวเอง แต่ในเวลาเดินทางจริงต้องเลือกใช้บริการที่จอดรถ mrt หรือลานจอดรถ mrt
Natthamon
17/01/2025
Rabbit Care Blog Image 85349

แคร์ไลฟ์สไตล์

ปักหมุด 8 อุทยานแห่งชาติที่กำลังมาแรงแห่งปี 2568 ใครชอบธรรมชาติติดใจแน่นอน

ใช้ชีวิตในป่าคอนกรีต ทำงานเช้าเย็น เหนื่อยทั้งกายทั้งใจมานาน ลองมารีชาร์จ เติมพลังให้ตนเองซะหน่อยด้วยการกลับสู่ธรรมชาติ เข้าป่า ล่องลำธาร ส่องสัตว์ ลงทะเล
Nok Srihong
13/01/2025
Rabbit Care Blog Image 98485

แคร์ไลฟ์สไตล์

ข้อมูลสำหรับสายบินลัดฟ้า! พิกัดที่จอดรถสนามบินดอนเมือง ค่าจอดรถสนามบินดอนเมือง 2568

ใครเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบินบ่อยต้องอ่าน กับข้อมูลที่จอดรถสนามบินดอนเมืองที่ควรรู้ต่าง ๆ ทั้งรายละเอียดอาคารจอดรถสนามบินดอนเมืองว่ามีกี่อาคาร
Nok Srihong
24/12/2024