เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
Toggle
ทำความรู้จักทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี รวมสิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มทำการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี ว่ามีวิธีการประมูลอย่างไรบ้าง มีกฎระเบียบในการประมูลอะไรที่ต้องทราบ อธิบายขั้นตอนการทำการประมูล และเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับผู้ที่ต้องการทำการประมูลฉบับรวบรัด เข้าใจง่าย จาก แรบบิท แคร์
ทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี คืออะไร ?
ทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี คือ ทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ซึ่งถูกเจ้าหนี้ทำการฟ้องร้อง ทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ต้องถูกขายเพื่อนำเงินไปชดใช้หนี้ซึ่งกรมบังคับคดีจะมีหน้าที่นำบ้าน คอนโด หรือทรัพย์สินต่าง ๆ ของลูกหนี้ออกประมูลขายตามคำสั่งของศาล (เรียกว่าหมายเลขคดีแดง) ซึ่งในการขายบ้าน คอนโด หรือทรัพย์สินเหล่านี้จะมีจุดประสงค์ในการขายเพื่อจ่ายชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้เป็นหลัก ส่งผลให้ราคาเปิดประมูลเริ่มต้นของทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีจะมีราคาต่ำกว่าราคาตลาดพอสมควร จึงเป็นสาเหตุให้หลายคนที่ต้องการซื้อทรัพย์สินเหล่านั้นให้ความสนใจในการค้นหาทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี และทำการซื้อประมูลกับที่นี่นั่นเอง
วิธีการประมูลทรัพย์กรมบังคับคดี
หลังจากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีกันไปพอประมาณแล้วลำดับต่อไปก็มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการประมูลหรือซื้อทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีกัน
วิธีการซื้อประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี คือ
กรอกรายละเอียดและทำการวางเงินสด : ผู้เข้าร่วมการประมูลต้องลงทะเบียนและทำการกรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มของกรมบังคับคดี ทำการวางเงินสดหรือแคชเชียร์เช็ค (ซึ่งจะต้องวางเป็นจำนวนเงินตามหลักเกณฑ์ที่จะพูดถึงรายละเอียดในหัวข้อถัด ๆ ไป) เพื่อใช้เป็นหลักประกันต่อเจ้าหน้าที่การเงิน สำหรับกรณีเป็นผู้มีสิทธิ์ขอหักส่วนได้ใช้แทนไม่จำเป็นจะต้องวางเงินประกัน แต่จะต้องทำการแสดงตัวกับเจ้าหน้าที่แทน
ทำการรับป้ายประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี : หลังจากที่ทำการลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าร่วมประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีจะได้รับป้ายประมูลและลำดับเลขจากเจ้าหน้าที่
เข้าประจำที่นั่งเพื่อรอประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี : จะต้องเข้าไปนั่งในสถานที่ที่เจ้าหน้าที่กำหนดเอาไว้ จะมีเจ้าหน้าที่อธิบายเงื่อนไขการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีและเริ่มทำการประมูล
เริ่มทำการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี : เมื่อการประมูลได้เริ่มขึ้นนั้นทางพนักงานกรมบังคับคดีจะเป็นผู้กำหนดราคาเริ่มต้นของทรัพย์กรมบังคับคดี โดยการประมูลจะกำหนดไว้ที่ 4 ครั้งด้วยกัน หากในแต่ละครั้งยังไม่มีผู้ทำการประมูล การประมูลครั้งถัด ๆ ไปจะลดราคาเริ่มต้นครั้งละ 10% ตัวอย่างเช่น
ครั้งที่ 2 ราคาทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีเริ่มต้นลดเหลือ 90%
ครั้งที่ 3 ราคาทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีเริ่มต้นลดเหลือ 80%
ครั้งที่ 4 ราคาทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีเริ่มต้นลดเหลือ 70%
ในขั้นตอนนี้หากผู้เข้าร่วมการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีต้องการประมูล ทรัพย์กรมบังคับคดีนั้น ๆ ก็สามารถยกป้ายประมูลเพื่อเสนอราคาซื้อทรัพย์ชิ้นนั้น ๆ ได้ ทั้งนี้หากมีผู้ต้องการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีดังกล่าวหลายคนก็จะเริ่มทำการเสนอราคาที่สูงกว่าเพื่อแข่งขันกัน
ชำระเงินส่วนที่เหลือหลังจากประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีได้ : เมื่อทำการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีที่ต้องการได้เรียบร้อยแล้วลำดับถัดไปจะต้องทำการชำระเงินส่วนที่เหลือภายในระยะเวลา 15 วัน แต่หากไม่สามารถชำระเงินภายใน 15 วันได้ อาจด้วยเหตุผล เช่น อยู่ในระหว่างดำเนินการกู้เงิน รวบรวมเงินให้ครบจำนวนก็สามารถยื่นเรื่องแก่เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีได้ ซ่งทางเจ้าหน้าที่จะพิจารณายืดระยะเวลาการชำระเงินให้ แต่จะเป็นการขยายเวลาให้เป็นภายในระยะเวลา 3 เดือน และจะไม่มีการขยายเวลาการชำระเงินให้อีก
สำหรับใครที่ต้องการกู้เงินเพื่อไปทำการชำระการซื้อประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีอย่างรวดเร็วทันใจ สามารถขอสินเชื่อส่วนบุคคล กับ แรบบิท แคร์ ได้ อนุมัติว่องไว ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน
รับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี : หลังจากที่ได้ชำระเงินครบถ้วนแล้วทางเจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดีจะทำการมอบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ซื้อประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี เพื่อให้ไว้เป็นหลักฐานในการโอนกรรมสิทธิ์แก่เจ้าพนักงานที่ดินนั่นเอง
กฎระเบียบที่ต้องรู้ก่อนเข้าประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี
ก่อนที่จะเข้าร่วมการประมูลทรัพย์สิน ทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี แรบบิท แคร์ ขอแนะนำให้ศึกษากฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อน หากไม่ทำเช่นนั้นอาจส่งผลให้เสียประโยชน์หรือถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่ประสงค์ดีได้ โดยสิ่งที่ควรรู้ก่อนเข้าประมูลทรัพย์สิน กรมบังคับคดี มีดังนี้
หากผู้เข้าร่วมการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี สามารถประมูลและซื้อทรัพย์สินได้ จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลง การเพิ่มหรือลดชื่อผู้ซื้อในทรัพย์สินนั้นได้ ดังนั้น ควรตรวจสอบรายชื่อผู้ประมูลและตรวจสอบว่าหากได้ทำการประมูลและเป็นผู้ชนะการประมูลแล้ว จะสามารถชำระเงินตามกำหนดหรือไม่
หากต้องการให้บุคคลอื่นเข้าร่วมการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี แทน จำเป็นต้องมีการยื่นหนังสือมอบอำนาจก่อนที่จะเข้าร่วมประมูล ถ้าหากไม่มีหนังสือมอบอำนาจ การเข้าร่วมประมูลจะถูกพิจารณาว่าเป็นการเข้าร่วมโดยตรงของบุคคลนั้น
ในกระบวนการประมูลราคาทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี จะใช้วิธีปากเปล่าในการประกาศราคาของทรัพย์สิน
หากเจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดีพิจารณาว่าราคาในการประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี ต่ำเกินไป เจ้าหน้าที่จะสามารถยกเลิกกระบวนการประมูลและถอนทรัพย์สินออกจากการประมูลได้
กระบวนการประมูลราคาทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี จะถูกพิจารณาเสร็จสมบูรณ์เมื่อเจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดีประกาศราคาประมูลและเริ่มนับเวลา 1 ถึง 3 แล้วครั้งสุดท้ายเจ้าหน้าที่จะเคาะไม้
หากผู้ประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี สามารถประมูลและชำระเงินสำหรับทรัพย์สินได้ แต่ไม่สามารถชำระเงินครบตามที่กำหนดได้ กรมบังคับคดีสามารถนำทรัพย์สินมาประมูลใหม่ ถ้าในการประมูลใหม่ราคาที่ได้เป็นต่ำกว่าราคาในครั้งก่อนหน้า ผู้ชนะการประมูลเดิมจะต้องชำระเงินส่วนต่างให้ครบถ้วน
ประมูลทรัพย์สิน กรมบังคับคดี ใช้หลักฐานอะไรบ้าง ?
หลังจากที่ได้เตรียมความพร้อมโดยการศึกษากฎระเบียบการประมูลทรัพย์กรมบังคับคดีกันไปแล้ว ต่อมาเราจะเตรียมความพร้อมในเรื่องหลักฐานหรือเอกสารที่จะต้องนำไปในวันที่เข้าร่วมการประมูลทรัพย์สิน กรมบังคับคดี ซึ่งจะต้องประกอบด้วยหลักฐานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมกับสำเนาและการรับรองถูกต้องแล้ว 1 สำเนา
ในกรณีที่ผู้ซื้อเป็นนิติบุคคล จะต้องมีเอกสารรับรองนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 1 เดือน
หากต้องการให้บุคคลอื่นเข้าร่วมการประมูลแทน จะต้องมีเอกสารตามขั้นตอนดังนี้
สำหรับบุคคลทั่วไป จะต้องมีใบมอบอำนาจ ที่ได้ประทับอากรแสตมป์มูลค่า 30 บาท พร้อมกับสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ที่ได้รับการรับรองถูกต้อง
สำหรับนิติบุคคล จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ หนังสือรับรองนิติบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวของผู้มีอำนาจในนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ ที่ได้รับการรับรองถูกต้อง
เงินสด หรือเช็คเงินสดที่จ่ายให้แก่สำนักงานกรมบังคับคดี เพื่อเป็นการประกันในการเข้าร่วมประมูล จำนวนเงินที่ต้องนำมาประกัน สามารถแบ่งตามขั้นตอนนี้ได้
สำหรับราคาประเมินไม่เกิน 500,000 บาท ต้องวางเป็นหลักประกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของราคาประเมิน
สำหรับราคาประเมิน 500,000 บาทขึ้นไป ต้องวางเป็นหลักประกัน 50,000 บาท
สำหรับราคาประเมิน 1,000,000 บาทขึ้นไป ต้องวางเป็นหลักประกัน 250,000 บาท
สำหรับราคาประเมิน 5,000,000 บาทขึ้นไป ต้องวางเป็นหลักประกัน 500,000 บาท
สำหรับราคาประเมิน 10,000,000 บาทขึ้นไป ต้องวางเป็นหลักประกัน 1,000,000 บาท
สำหรับราคาประเมิน 20,000,000 บาทขึ้นไป ต้องวางเป็นหลักประกัน 2,500,000 บาท
สำหรับราคาประเมิน 50,000,000 บาทขึ้นไป ต้องวางเป็นหลักประกัน 5,000,000 บาท
สำหรับราคาประเมิน 100,000,000 บาทขึ้นไป ต้องวางเป็นหลักประกัน 10,000,000 บาท
สำหรับราคาประเมิน 200,000,000 บาทขึ้นไป
สำหรับเงินประกันส่วนนี้จะมีข้อยกเว้นให้แก่ผู้เข้าประมูลที่เป็นผู้มีสิทธิ์ขอหักส่วนได้ใช้แทน เช่น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา คู่สมรสของลูกหนี้ที่ศาลอนุมัติแล้ว เจ้าหนี้ตามคำสั่งศาล บุคคลเหล่านี้จะไม่ต้องวางหลักประกัน แต่หลังจากการทำการประมูล/ซื้อได้แล้วจะต้องวางเงินสดหรือวางแคชเชียร์เช็ค 5% ของราคาเริ่มต้นในวันนั้นนั่นเอง
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต