ภาษีหุ้นต่างประเทศต้องเสียยังไง? ยุ่งยากไหมนะ?

คะน้าใบเขียว
ผู้เขียน: คะน้าใบเขียว Published: February 24, 2025
คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
Nok Srihong
ตรวจทาน: Nok Srihong Last edited: February 23, 2025
Nok Srihong
Nok Srihong
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภาษีหุ้น

เรื่องภาษีนั้นฟังดูเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ลำพังแค่การเสียภาษีรายได้ธรรมดาก็หัวหมุนจะแย่ แบบนี้จะจัดการกับภาษีที่ลงทุนในหุ้นได้อย่างไหร่บ้างนะ โดยเฉพาะการจ่ายภาษีหุ้นอเมริกายุ่งยากไหม? ควรเดินหน้าเทรดหุ้นต่อ หรือพอแค่นี้ดี? ไม่ต้องกังวลไป วันนี้ แรบบิท แคร์ เอาข้อมูลเกี่ยวกับภาษีทั้งในและต่างประเทศมาฝากกัน!

ภาษีหุ้น คืออะไร? ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี?

ภาษีหุ้น คือ ภาษีธุรกิจเฉพาะที่เกิดขึ้นจากการขายหลักทรัพย์หรือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ภาษีที่นักลงทุนต้องชำระเมื่อมีรายได้จากการลงทุนในหุ้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ เช่น กำไรจากการขายหุ้น, เงินปันผล และรายได้จากการถือครองหรือเทรดหลักทรัพย์ต่างประเทศ

แต่ก็มีการยกเว้นในคนบางกลุ่มที่ไม่ต้องเสียภาษีขายหุ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มผู้ขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และหน่วยงานอีกหลายส่วนที่มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลสภาพคล่องในตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่

  • ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะไม่เสียภาษีขายหุ้นเมื่อมีการขายหลักทรัพย์ที่บุคคลนั้นเป็นผู้ดูแลสภาพคล่อง ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเป็นผู้ที่ทำให้เกิด “สภาพคล่องในตลาด” ทำให้ตลาดมีการเคลื่อนไหว เกิดการซื้อขายกัน
  • สำนักงานประกันสังคม
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
  • กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund)
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
  • กองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมแก่สำนักงานประกันสังคม หรือกองทุนที่ได้กล่าวไว้าข้างต้น

นอกจากนี้ ภาษีหุ้นจะสามารถแบ่งออกได้ 2 แบบ คือ ภาษีหุ้นที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย และภาษีหุ้นที่เกิดจากต่างประเทศ ซึ่งเราจะอธิบายในส่วนอื่นต่อไป

ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้องกับซื้อหุ้นต่างประเทศ

ซื้อหุ้นต่างประเทศ เสียภาษียังไง? หรือถ้าลงทุนหุ้นในประเทศตัวเองจะเสียภาษีเหมือนกันไหม? ทั้งนี้การเสียภาษีหุ้นนั้นสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ คือ เมื่อเกิดกำไรจากการซื้อขายหุ้น ทางภาครัฐจะถือเป็นเงินรายได้เช่นเดียวกับเงินเดือน หรือรายได้จากการประกอบอาชีพ ทั้งนี้ภาษีหุ้นจะสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

ภาษีกำไรจากการขายหุ้น

  • ในประเทศไทย : โดยทั่วไป บุคคลธรรมดาไม่ต้องเสียภาษีกำไรจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (SET) หากเทรดผ่านบัญชีในประเทศ แต่หากเทรด หุ้นต่างประเทศ (เช่น NYSE, NASDAQ) กำไรต้องรวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า
  • ในต่างประเทศ : ประเทศอย่างสหรัฐฯ มีการเก็บภาษีจากนักลงทุนต่างชาติผ่านระบบหัก ณ ที่จ่าย (บางกรณี) เช่น 30% หากไม่มีการยื่นแบบฟอร์มลดหย่อนภาษี (เช่น W-8BEN)

ภาษีจากเงินปันผล

  • ในไทย : ปันผลจากบริษัทจดทะเบียนใน SET ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% แต่สามารถเลือกวิธี “เครดิตภาษีเงินปันผล” ได้เมื่อยื่นแบบภาษีประจำปี
  • หุ้นต่างประเทศ : เช่น หุ้นสหรัฐฯ จะมี ภาษีปันผลหัก ณ ที่จ่าย 30% หากไม่มีการยื่นเอกสาร W-8BEN (หรือหัก 10-15% เมื่อยื่นแล้ว)

ภาษีจากการลงทุนหุ้นต่างประเทศ

  • นักลงทุนไทยที่ซื้อหุ้นผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศ ต้อง นำรายได้กลับมายื่นเสียภาษีกับกรมสรรพากรไทยด้วย (ถ้ามีกำไร) ตามมาตรา 40(4) ด้วย
  • หากมีกำไรจากการขายหรือปันผล ต้องรวมเป็น “เงินได้พึงประเมิน” แล้วเสียภาษีตามขั้นเงินได้ 

ซึ่งเราสามารถสรุปเป็นตารางได้ง่าย ๆ ดังนี้

ประเภทรายได้หุ้นไทย (SET)หุ้นต่างประเทศ
กำไรจากขายหุ้นไม่เสียภาษีเสียภาษีตามขั้นบันได
เงินปันผลหัก ณ ที่จ่าย 10%หัก ณ ที่จ่าย 10–30% แล้วแต่ประเทศ
รายงานภาษีไม่ต้องรายงานหากเทรดในประเทศจำเป็นต้องรายงานและยื่นภาษีปลายปี

ทั้งนี้ หากไม่มั่นใจในเรื่องของการลงทุน หรือการเสียภาษีหุ้นต่างประเทศ แนะนำให้เลือกใช้บริการที่ปรึกษาภาษีหากลงทุนในหลายประเทศ รวมถึงควรเก็บหลักฐานการซื้อขายและปันผลให้ครบถ้วน สำหรับการยื่นภาษีปลายปี เพื่อป้องกันเอกสารตกหล่น ขาดหาย หรือเกิดปัญหาในอนาคตเผื่อเอาไว้ด้วย

มีอะไรบ้างที่นักลงทุนไทยควรรู้ กับการจ่ายภาษีหุ้นสหรัฐ

หลังจากที่ทุกคนได้เรียนรู้เรื่องภาษีหุ้นกันไปบ้างแล้ว เราคงปฎิเสธไม่ได้เลยว่า การลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่นักลงทุนไทยค่อนข้างมาก ด้วยโอกาสในการเข้าถึงหุ้นของบริษัทชั้นนำระดับโลก อย่าง Apple, Microsoft, Amazon หรือ Tesla

อย่างที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้น ตามหลักการของกรมสรรพากรไทย หากนักลงทุนไทยที่มีรายได้จากการลงทุนต่างประเทศ เช่น ปันผล หรือขายหุ้นได้กำไร ต้องนำรายได้เหล่านี้ มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีการนำเงินกลับเข้าประเทศภายในปีเดียวกันที่เกิดรายได้

ล่าสุดมีข้อกำหนดเอาไว้ว่า ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา กรมสรรพากรไทยเริ่มเข้มงวดกับภาษีหุ้นต่างประเทศมากขึ้น และมีการปรับกฎเกณฑ์ให้ครอบคลุมถึงการลงทุนผ่านบัญชีต่างประเทศ รวมไปถึงการนำเงินเข้าประเทศด้วย โดยเราสามารถทำความเข้าใจ ภาษีหุ้น US กันได้ดังนี้

ภาษีจากเงินปันผล (Dividend Tax)

หากได้รับเงินปันผลจากบริษัทในสหรัฐฯ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตโนมัติในอัตรา 30% ตามข้อกำหนดของ IRS (Internal Revenue Service) ซึ่งเป็นหน่วยงานภาษีของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีสนธิอนุสัญญาภาษี (Double Tax Agreement – DTA) กับสหรัฐฯ จึงสามารถลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 30% เหลือ 15% ได้ หากกรอกแบบฟอร์ม W-8BEN ให้กับโบรกเกอร์ที่ใช้ เพื่อขอลดภาษีปันผล

ภาษีกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gains Tax)

สำหรับนักลงทุนต่างชาติจะไม่ต้องเสียภาษี capital gain เมื่อขายหุ้นในตลาดสหรัฐฯ แล้วได้กำไร ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบหนึ่งของนักลงทุนต่างชาติอย่างเรา ๆ ที่ต้องการไปลงทุน

ที่สำคัญคือต้องระวังการภาษีจากการลงทุนหุ้นสหรัฐซ้ำซ้อน หาก “เงินปันผล” หรือ “ดอกเบี้ยเงินฝาก” มีการเสียภาษีที่ต่างประเทศแล้ว เช่น สหรัฐฯ เสีย 30% แต่ถ้าหากลงทะเบียน W-8BEN เพื่อรับรองว่าเราไม่ได้เป็นบุคคลสัญชาติอเมริกัน และไม่ได้ประกอบธุรกิจใด ๆ ในสหรัฐฯ จะเสียภาษีที่ 15% แต่ไม่ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง แม้จะอยู่ไทยมากกว่า 180 วันก็ตาม

ทั้งนี้ อย่าลืมขอหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย หากคุณต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในไทย หรือใช้ประกอบการยื่นภาษีอย่างถูกต้องจากโบรกเกอร์ที่คุณใช้งาน หรือเลือกโบรกเกอร์ที่ให้บริการแบบครบวงจร มีการกรอก W-8BEN ให้อัตโนมัติ และให้เอกสารภาษีครบถ้วนก็จะช่วยลดภาระส่วนนี้ลงได้

ภาษีหุ้นต่างประเทศ

แล้วแบบนี้ การลงทุนหุ้นต่างประเทศยังน่าทำไหม?

หลังจากมีข่าวเกี่ยวกับการปรับรูปแบบการจัดเก็บภาษีที่รวมถึงรายได้จากการลงทุนในต่างประเทศ หลายคนอาจตั้งคำถามว่า ยังควรลงทุนหุ้นต่างประเทศอยู่หรือไม่? คำตอบคือ “ยังน่าสนใจ” อยู่

การลงทุนในต่างประเทศช่วยเปิดโลกของการลงทุนให้กว้างขึ้น นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในธุรกิจระดับโลกที่มีแนวโน้มเติบโตสูง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเทคโนโลยี การแพทย์ การศึกษา หรือภาคนวัตกรรมอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างจากธุรกิจที่เราคุ้นเคยในตลาดไทย ทั้งยังเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้นในระยะยาว

นอกจากนี้ การลงทุนในต่างประเทศยังเป็นวิธีที่ดีในการ กระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน เพราะไม่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศเพียงอย่างเดียว

แม้การเปลี่ยนแปลงเรื่องภาษีจะมีผลต่อกลยุทธ์การลงทุน แต่นักลงทุนอย่างเรา ๆ ก็สามารถปรับตัวได้ ซึ่งเราสามารถวางแนวทางในการบริหารภาษได้ ดังนี้

  • เงินปันผล/ดอกเบี้ย ให้เสียภาษีตั้งแต่ต้นทางในอัตราที่ต่ำกว่าฐานภาษีเรา
  • ต้องไม่ลืมเคลมคืนผ่านเครดิตภาษี หากเสียภาษีที่ต่างประเทศในอัตราที่สูงกว่าฐานภาษีในไทยไปแล้ว
  • ศึกษาเรื่องอนุสัญญาภาษี เพื่อที่จะได้ไม่เสียภาษีซ้ำซ้อนกับประเทศนั้น ๆ เช่น สหรัฐฯ
  • ขายหุ้นหรือ ETF เมื่ออยู่ไทยไม่ถึง 180 วัน
  • ETF บางตัว มีให้ลงทุนผ่านกองทุน Index ในไทย ให้เลือกลงทุนผ่านกองทุน Index แทนเพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษี Realized Gain และภาษีปันผล
  • บางคนอาจเลือกซื้อกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ หรือ DR หรือ DRx แทนการซื้อหลักทรัพย์จากต่างประเทศ
  • แยกพอร์ตลงทุนระหว่างในประเทศและต่างประเทศ เพื่อบริหารภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ที่สำคัญ อย่าลืมอัพเดทข้อมูลเรื่องภาษีจากการลงทุนหุ้นสหรัฐอย่างสม่ำเสมอ เพราะกฎหมายภาษีอาจมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี หรือแม้แต่การวางแผนพอร์ตระยะยาวให้สอดรับกับภาษีที่เปลี่ยนไป ซึ่งหากการลงทุนยังให้ผลตอบแทนที่ดี ก็สามารถชดเชยภาษีได้โดยไม่กระทบต่อรายได้ในภาพรวมได้เช่นกัน

ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้น US คืออะไร? ต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง?

ไม่เพียงแต่ภาษีเท่านั้นที่เราจะต้องจ่ายเมื่อได้กำไร แต่การลงทุนในหุ้น US เองก็มีเรื่องค่าธรรมเนียมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน โดยค่าธรรมเนียมที่เราควรรู้ไว้เพื่อนำไปวางแผนการลงทุน จะมีดังนี้ 

ค่าคอมมิชชัน ขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์ที่ใช้ และบางโบรกเกอร์ ไม่มีค่าคอมมิชชัน แต่โบรกเกอร์ที่รองรับนักลงทุนไทยมักมีค่าคอมมิชชัน เช่น $0.99–$4.99 ต่อรายการเทรด และบางรายคิดตามจำนวนหุ้น) หรือคิดเป็น 0.1% – 0.25% ของมูลค่าการซื้อขาย อย่างที่ Webull เอง ก็มีค่าธรรมเนียมต่ำเพียง 0.10% ให้ทุกการเทรดของคุณคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

ค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงิน โดยธนาคารหรือโบรกเกอร์จะคิด ส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 0.5% – 1.5% ดังนั้นเพื่อประยชน์สูงสุดของผู้เทรด ควรตรวจสอบเรตแลกเปลี่ยนล่วงหน้าเสมอ

ค่าธรรมเนียมโอนเงิน หากโอนเงินข้ามประเทศ อาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากธนาคาร ประมาณ 300 – 1,500 บาท/ครั้ง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับช่องทางและธนาคารที่ใช้ 

ค่าธรรมเนียมฝาก/ถอนจากโบรกเกอร์ บางโบรกเกอร์ไม่มีค่าใช้จ่ายในการฝากหรือถอน แต่บางรายอาจมีค่าธรรมเนียม เช่น $5–$20 ต่อการถอนเงิน

ค่าธรรมเนียมดูแลบัญชี บางแแห่งจะมีเรียกเก็บรายปีหรือรายเดือน เช่น $10/ปี หรือ $1/เดือน และในบางโบรกเกอร์ให้บริการฟรี

เพียงเท่านี้ การเสียภาษีหุ้นต่างประเทศก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากอีกต่อไป ที่สำคัญอย่าลืมอัพเดทข้อมุลการเสียภาษีทุกปี เนื่องจากแต่ละปีอาจมีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การเสียภาษีนั่นเอง และใครที่กำลังมองหาโบรกเกอร์ชั้นนำรายแรกของสหรัฐฯ ที่ได้รับใบอนุญาตในประเทศไทย และได้รับใบอนุญาตซื้อขายหลักทรัพย์ใน 15 ภูมิภาคทั่วโลก ต้องนี่เลย Webull ที่ช่วยให้คุณเทรดหุ้นได้อย่างเรียลไทม์ ค่าธรรมเนียมต่ำ ที่สำคัญ ช่วยให้คุณประหยัดภาษีเงินปันผลจาก 30% เหลือ 15% และกรอกภาษีง่ายผ่านแอป! คลิกเลย!

สรุป

ภาษีกำไรจากการขายหุ้นเมื่อซื้อหุ้นผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศ ต้อง นำรายได้กลับมายื่นเสียภาษีกับกรมสรรพากรไทยด้วย (ถ้ามีกำไร) ตามมาตรา 40(4) ด้วย หลักๆ ให้ระวังเรื่อง ภาษีเงินปันผล ที่จะถูกหักจากประเทศต้นทาง ส่วนกำไรจากการขายหุ้นต่างประเทศยังไม่ต้องเสียภาษีในไทย (ณ ปัจจุบัน) ทั้งนี้ กฎหมายภาษีมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบรายปีทุกครั้งเพื่ออัพเดทกฎนั่นเอง

ที่มา

บทความแคร์การลงทุน

Rabbit Care Blog Image 101256

แคร์การลงทุน

NYSE คืออะไร? ทำไมพอร์ตนักลงทุนถึงขาดไม่ได้

อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่า ตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกานั้น หลัก ๆ มีอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ New York Stock Exchange (NYSE) และอีกตลาดก็คือ NASDAQ แล้วตลาดทั้งสองนั้นแตกต่างกันอย่างไรนะ?
คะน้าใบเขียว
21/01/2025
Rabbit Care Blog Image 101241

แคร์การลงทุน

ตลาดหุ้น NASDAQ อีกหนึ่งทางเลือกของเหล่านักลงทุน

เหล่านักลงทุนน่าจะเคยได้ยินชื่อของ NASDAQ กันมาบ้าง ไม่มากก็น้อย วันนี้ แรบบิท แคร์ และ Webull จะพาคุณไปรู้จักกับตลาดหุ้น NASDAQ ให้มากยิ่งขึ้น มีหุ้นอะไรบ้างที่น่าสนใจ?
คะน้าใบเขียว
20/01/2025
Rabbit Care Blog Image 101235

แคร์การลงทุน

รู้จักกับตลาดหุ้นอเมริกา ฉบับมือใหม่หัดลงทุน

เชื่อว่าหลายคนอาจจะยังใหม่กับการลงทุนในคตลาดหุ้นอเมริกา แม้จะให้ผลกำไรที่น่าสนใจ แต่เราปฎิเสธไม่ได้เลยว่ามีความเสี่ยงเรื่องกำไรสูง
คะน้าใบเขียว
20/12/2024