คู่รัก LGBTQ+ ทำประกันให้กันได้ไหมนะ?

คะน้าใบเขียว
ผู้เขียน: คะน้าใบเขียว Published: November 25, 2021
คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
Tawan
แก้ไขโดย: Tawan Last edited: November 30, 2021
Tawan
Tawan
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต
ประกัน lgbt

เป็นเรื่องที่น่าเสียดายไม่น้อย เมื่อการสมรสเท่าเทียมยังไม่ผ่านร่างกฎหมายครั้งล่าสุดในไทย ทำให้ความหวังของเหล่ากลุ่มคน LGBTQ+ ต้องเพิ่มระยะเวลาในการเฝ้ารอกันต่อไปอีก แน่นอนว่าไม่ใช่กับทุกคู่ที่รอได้ด้วยวัยอายุ และเหตุการณ์ไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แบบนี้ถ้าต้องทำประกันชีวิตให้คู่ชีวิตของตนไปก่อนจะสามารถทำได้ไหมนะ? วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาไปหาคำตอบกัน

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ทำความเข้าใจเบื้องต้น  พ.ร.บ. คู่ชีวิต ยังไม่เท่ากับ สมรสเท่าเทียม

    มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิต ณ ปัจจุบันยังเป็นแค่การอนุมัติร่าง พ.ร.บ. เท่านั้น ยังไม่ได้ประกาศใช้จริง แต่เบื้องต้นจะส่งผลต่อการทำธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ 3 เรื่องหลัก ๆ ดังนี้

    • การกู้ร่วม การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำให้การกู้ร่วมของคู่รักเพศเดียวกันเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยธนาคารจะให้ความเชื่อถือกับคู่ที่มีการจดทะเบียนคู่ชีวิต เหมือนกับการนำเอกสารทะเบียนสมรสมายืนยันนั่นเอง แม้จะยังไม่ประกาศใช้จริง แต่ในหลายสถาบันการเงินเองก็ได้เริ่มอนุมัติให้กู้ร่วมได้แล้ว ด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป
    • สินส่วนตัวและสินสมรส จะมีการแยกทรัพย์สินว่าเป็นของที่ได้มาก่อนจดทะเบียน หรือหลังจดทะเบียนเช่นเดียวกับคู่แต่งงานชายหญิง
    • สามารถจัดการมรดกได้ สำหรับคู่รักเพศเดียวกันหากมีการจดทะเบียนคู่ชีวิตก็จะมีสิทธิในการจัดการมรดก เช่นเดียวกับคู่รักชายหญิงที่มีการจัดการมรดกตามลำดับขั้นของทายาท

    ประกันสุขภาพ

    แต่ทั้งนี้ พ.ร.บ. คู่ชีวิตเองก็ยังมีช่องโหว่งอยู่หลายประการ ที่ทำให้ยังไม่เท่าเทียมกับการสมรสของคู่รักชายหญิง ดังนี้ 

    • ยังไม่มีสิทธิในการตัดสินใจเรื่องการรักษาพยาบาลของคู่รัก เช่น หากเกิดอุบัติเหตุ ถ้าเป็นคู่สมรสจะสามารถเซ็นเอกสารด้านการรักษาต่าง ๆ ได้ทันที แต่คู่ชีวิตจะไม่สามารถตัดสินใจแทนได้ 
    • คู่ชีวิตไม่สามารถรับบุตรบุญธรรมมาเลี้ยงดูได้ตามกฎหมาย ซึ่งคู่สมรสทำได้
    • ไม่สามารถรับสวัสดิการจากรัฐของอีกฝ่ายได้ เช่น คู่สมรสจะได้รับสิทธิ์รักษาพยาบาลในกรณีที่มีผู้ทำอาชีพราชการ แต่ถ้าเป็นคู่ชีวิตจะไม่ได้สิทธิ์นี้
    • คู่ชีวิตยังไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้นามสกุลเดียวกับอีกฝ่ายเหมือนคู่สมรส
    • คู่ชีวิตไม่มีสิทธิ์เข้าถึงการลดหย่อนภาษีของอีกฝ่าย ซึ่งแตกต่างจากคู่สมรสที่สามารถนำมาช่วยลดหย่อนภาษีรายปีได้

    นี่เองที่ทำให้คู่รัก LGBTQ+ ยังต้องการกฎหมายสมรสเท่าเทียมอยู่ และเนื่องจากอยู่ในขั้นตอนการร่างต่าง ๆ หลาย ๆ คู่เองก็อาจรอไม่ได้ เพราะเหตุไม่คาดฝันนั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การเลือกทำประกันชีวิตที่รองรับคู่รัก LGBTQ+ เบื้องต้นไปก่อน จึงเป็นทางเลือกที่พอจะดำเนินการได้ในช่วงนี้!

    lgbt

    ตอนนี้เราสามารถทำประกัน LGBTQ+ ได้เลยไหม?

    แม้จะมี พ.ร.บ.คู่ชีวิตเข้ามาแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนร่าง และการแก้ไข ทำให้ตอนนี้ยังถือว่าไม่มีกฎหมายที่รองรับชัดเจนอยู่ และนี่เองที่ทำให้หลายคนอาจจะกังวลไม่มากก็น้อยว่า ผลประโยชน์ที่ทำกับประกันชีวิตนั้นจะตกไปถึงคู่ชีวิตจริง ๆ ?

    ทั้งนี้เราต้องบอกก่อนว่า ประกันชีวิตถูกแยกออกจากมรดกต่าง ๆ โดยสิ้นเชิง ทำให้ผู้ทำประกันสามารถใช้ชื่อของผู้อื่นเพื่อมอบผลประโยชน์ให้ได้โดยไม่จำเป็นต้องผูกพันกันตามสายเลือดแต่อย่างใด​

    แน่นอนว่า ในกรณีที่เป็นคู่รัก LGBTQ+ เอง บริษัทประกันฯหลายแห่งจะใช้ “หลักเจตนารมณ์” ของผู้ทำประกันภัยเป็นหลัก สามารถระบุใครเป็นผู้รับผลประโยชน์ก็ได้ เพราะนับว่าให้โดยเสน่หา และครอบครัวฝั่งผู้ทำประกันจะไม่สามารถแย้งเจตนารมณ์ของผู้ทำประกันได้

    หากอธิบายแบบง่าย ๆ คือ แม้จะมีญาติพี่น้องของเราที่ไม่ยอมรับใน LGBTQ+ และต้องการแย้งเรื่องเงินที่ได้จากประกันชีวิตของเราหลังจากเสียชีวิตก็ไม่สามารถทำได้ หากเป็นไปตามเงื่อนไขและมีเอกสารครบถ้วน เบื้องต้น ดังนี้

    • ผู้ทำประกัน และผู้รับผลประโยชน์ ต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์​
    • ต้องอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 2 ปี​
    • ต้องมีทะเบียนบ้านที่อาศัยอยู่ด้วยกัน​
    • ต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน หรือสัญญาซื้อหรือเช่าร่วมกัน​
    • รูปงานแต่ง (ถ้ามี)​
    • มีการเปิดบัญชีร่วมกัน ​
    • ทะเบียนสมรสในประเทศที่รับรอง (ถ้ามี)​

    และเอกสารอื่น ๆ ตามเงื่อนไขแต่ละบริษัทประกันฯเรียกพิจารณา ทั้งนี้หากมีวงเงินประกันที่สูง ทางบริษัทประกันฯอาจใช้เวลาตรวจสอบนานไปด้วย แต่หากมีเอกสารครบถ้วนก็ไม่ต้องห่วง คู่ชีวิตของคุณได้รับผลประโยชน์อย่างแน่นอน!

    ประกันชีวิต

    แล้วถ้าประกันอื่น ๆ เราจะทำให้คู่ชีวิตเราได้ไหมนะ? 

    ทุกวันนี้ก็มีประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ หรือแม้แต่ประกันออมทรัพย์ สำหรับคู่รักเพศเดียวกันหลายเจ้า เบื้องต้นแล้วสามารถซื้อและทำประกันให้กันได้เช่นเดียวกับประกันชีวิต แต่จะมีเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่แตกต่างกันออกไป 

    นอกจากนี้ เราควรเช็กให้ดีก่อนการทำประกันสุขภาพให้กับคู่ชีวิตของเราเสมอว่า ผู้รับผลประโยชน์ สามารถเป็นคู่ชีวิตของเราได้ไหม และถ้าได้ต้องมีเอกสาร หรือเอกสารอะไรเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่า เป็นคู่ชีวิตหรือไม่ ในกรณีที่ พ.ร.บ.คู่ชีวิตยังอยู่ในขั้นตอนต่าง ๆ ? ทั้งนี้ก็เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของคู่ชีวิตเรานั่นเอง

    กู้สินเชื่อ

    แล้วในกรณีที่อยากจะซื้อบ้าน กู้สินเชื่อ สามารถทำได้ไหม?

    ในกรณีที่คู่ชีวิต LGBTQ+ ตั้งใจจะซื้อบ้าน ซื้อคอนโด หรือกู้สินเชื่อต่างๆ ร่วมกันนั้นสามารถทำได้ เพียงแต่ต้อง ตรวจสอบรายชื่อธนาคารที่ให้กู้สินเชื่อบ้านสำหรับคู่รัก LGBTQ+ และควรเช็กเงื่อนไขต่าง ๆ ในการกู้สินเชื่อโดยละเอียด เพราะถ้าเป็นสินเชื่อทั่วไปที่ไม่ได้ระบุเอาไว้ คู่รัก LGBTQ+ หลายคู่อาจติดเรื่องของหลักฐานแสดงความเป็นคู่สมรสตามกฎหมาย ทำให้กู้ร่วมได้ยากขึ้น หรืออาจถูกปฎิเสธได้

    สำหรับธนาคารที่เปิดให้คู่รัก LGBTQ+ สามารถกู้ร่วมสินเชื่อต่าง ๆ ได้ ก็อาจมีเงื่อนไขพิเศษแตกต่างกันไป หรือบางแห่งก็อาจสงวนสิทธิ์เฉพาะลูกค้าอสังหาริมทรัพย์บางโครงการเท่านั้น 

    ส่วนหลักฐานเอกสารต่าง ๆ สามารถยื่นเอกสารหรือหลักฐานอื่น ๆ ทดแทนการยื่นทะเบียนสมรสได้เหมือนกับการยื่นเอกสารในการทำประกันต่าง ๆ ให้ เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน, บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน หรือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขึ้นอยู่ทางสถาบันการเงินจะขอประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม เป็นต้น

    นอกจากนี้ ควรระบุในใบสมัครกู้สินเชื่อให้ชัดเจนด้วยว่า ผู้กู้ร่วมมีความสัมพันธ์เป็น “คู่รัก” กับผู้กู้หลัก เพื่อยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างผู้กู้ร่วม และเป็นการชี้แจ้งให้ทางสถาบันการเงินรับทราบด้วย

    เพราะแรบบิท แคร์ เข้าใจถึงความแคร์ของคุณที่มีต่อคู่ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นต่างเพศ หรือเพศเดียวกันก็ตาม ดังนั้นเราจึงพร้อมให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาให้ทุกการทำประกันให้คู่ชีวิตของคุณนั้นราบรื่นที่สุด คลิกเลย!

    บทความแคร์เรื่องประกันสุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 99737

    แคร์เรื่องประกันสุขภาพ

    Hospitals for Foreigners and Navigating Healthcare Guide in Thailand

    Thailand, renowned for its vibrant culture, stunning landscapes, and affordable cost of living, is increasingly becoming a popular destination for expatriates and medical tourists alike. Access to quality healthcare is a crucial consideration for anyone planning to live or travel abroad, and Thailand offers a robust and sophisticated healthcare system. For foreigners, understanding the nuances of this system, from navigating hospital options to
    Nok Srihong
    13/03/2025
    Rabbit Care Blog Image 99730

    แคร์เรื่องประกันสุขภาพ

    Navigating Health Insurance in Tak for Foreigners: Your Comprehensive Guide

    Securing reliable health insurance is a critical step for any foreigner residing in Tak, Thailand. Understanding the nuances of the Thai healthcare system and the available insurance options can feel overwhelming. This guide aims to simplify the process, providing you with the essential information needed to choose the best health insurance in Tak for foreigners for your specific needs and budget. We will cover everything from understanding
    Nok Srihong
    12/03/2025
    Rabbit Care Blog Image 99750

    แคร์เรื่องประกันสุขภาพ

    Securing Your Health: Expat Health Insurance Bangkok

    Bangkok, a vibrant metropolis, offers a compelling blend of culture, opportunity, and affordability, attracting expats from across the globe. However, navigating the healthcare system as a foreigner can be daunting, making comprehensive expat health insurance Bangkok an absolute necessity. Choosing the right plan ensures you receive quality medical care without facing crippling financial burdens in case of illness or injury. This guide delves
    Nok Srihong
    10/03/2025