ซื้อประกันให้พ่อแม่! ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เลือกทำแบบไหนดี?
ไม่ว่าจะซื้อประกันสุขภาพให้ตัวเองหรือซื้อประกันให้พ่อแม่ในวัยใกล้เกษียณ แต่ตัวเลือกและเบี้ยประกันสุขภาพผู้สูงวัยดูสูงมากจนน่าตกใจ หลายคนอาจเริ่มสงสัยว่าจะจัดการอย่างไรกับค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพของพ่อแม่ หรือค่ารักษาพยาบาลหลังเกษียณของตัวเองแบบไหนดี จะยังมีประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์คนที่อายุมากกว่า 60 ปีอยู่บ้างไหม?
แรบบิท แคร์ รวบรวมแนวทางการจัดการค่ารักษาพยาบาลด้วยการเลือกซื้อประกันสุขภาพผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ชาว Pantip แนะนำมาฝากกัน
1. เลือกทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุก่อนอายุ 55-60 ปี
สำหรับใครที่กำลังมองหาประกันสุขภาพให้กับตัวเองหรือพ่อแม่ที่อายุใกล้ครบ 60 ปีนั้น การตัดสินใจทำประกันสุขภาพตั้งเเต่เนิ่น ๆ นับเป็นความคิดที่ดีสำหรับการเตรียมรับมือกับค่ารักษาพยาบาลในวันที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เพราะนอกจากจะการันตีการรับประกันภัยในวันที่สุขภาพร่างกายยังแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีประวัติโรคที่ทำให้บริษัทประกันภัยต้องปฏิเสธการรับทำประกันสุขภาพ และให้ความคุ้มครองต่อเนื่องยาวนานไปได้สูงสุดถึงอายุ 80 ปี ตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันเเล้ว
การตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพก่อนช่วงอายุ 55-60 ปี ยังช่วยเพิ่มอิสระในจัดการค่ารักษาพยาบาลได้จากทั้งแบบประกันสุขภาพและประกันชีวิตผู้สูงอายุ 60 ขึ้นไป รูปแบบอื่น ๆ ที่มีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ครอบคลุมการรักษาทั้งแบบผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) ประกันสุขภาพโรคร้ายแรงที่ให้ความคุ้มครองมะเร็งและโรคร้ายแรง
หรือประกันชีวิตผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไปที่ชาว Pantip แนะนำ เช่น ประกันออมทรัพย์ที่อาจสมัครได้ถึงอายุ 70 ปี ซึ่งจะคืนเงินก้อนพร้อมผลประโยชน์ในระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงประกันชีวิตบำนาญที่จะทยอยคืนเงินให้รายเดือนในวันที่เริ่มเกษียณ
จุดที่ต้องวางแผนเมื่อตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพ คือ การวางแผนจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพต่อเนื่องในระยะยาว และผู้รับภาระค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะกรณีที่ลูกซื้อประกันสุขภาพให้กับพ่อแม่สูงวัย เพราะแม้ว่าเบี้ยประกันสุขภาพที่ต้องจ่ายในช่วงเริ่มต้นเมื่ออายุยังน้อย จะมีเบี้ยประกันที่ไม่สูงมาก
แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้น เบี้ยประกันสุขภาพย่อมสูงขึ้นตาม ทำให้เบี้ยที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงหากต้องรับผิดชอบจ่ายเบี้ยประกันให้คนอื่น ๆ ในครอบครัวร่วมด้วย อาจนำไปสู่ภาระทางการเงินที่มากเกินไป และอาจนำไปสู่การขาดส่งเบี้ยประกันกลางคันซึ่งทำให้เสียสิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสุขภาพตามที่ตั้งใจทำไว้ได้
2. เลือกทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุที่มีอายุรับสมัครถึง 65 ปี
กรณีที่ต้องการซื้อประกันสุขภาพให้พ่อแม่หรือตนเองเมื่ออายุเกินช่วง 55- 60 ปีไปแล้วนั้น อาจจะยังสามารถเลือกซื้อประกันสุขภาพได้อยู่ แต่ประเด็นสำคัญที่ผู้สนใจทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจะต้องไม่ลืมนึกถึง คือ ตัวเลือกประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป จะมีให้เลือกน้อยลง โดยจะมีเฉพาะกลุ่มประกันสุขภาพผู้สูงอายุที่มีอายุรับสมัครทำประกันใหม่ถึง 65 ปีให้เลือกเท่านั้น
อย่างที่ทราบกันดีว่าประกันสุขภาพโดยส่วนใหญ่แล้วจะเปิดรับสมัครประกันภัยถึงช่วงอายุระหว่าง 55-60 ปีเท่านั้น ทำให้ตัวเลือกแบบประกันสุขภาพสำหรับกลุ่มผู้ทำประกันที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปที่สามารถเลือกซื้อได้นั้น อาจมีเงื่อนไขความคุ้มครองที่มีข้อจำกัดมากขึ้น อาจมีค่าเบี้ยประกันสูงกว่าปกติ รวมถึงอาจไม่สามารถทำประกันสุขภาพได้ เนื่องจากอาจมีปัญหาสุขภาพรุมเร้าในวันที่ตัดสินใจทำประกันเมื่ออายุเกิน 60 ปีไปเเล้วนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม หากสามารถทำประกันสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุได้ทันในช่วงอายุไม่เกิน 65 ปี อาจจะสามารถต่ออายุความคุ้มครองได้ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงอายุ 70-80 ปี ทำให้ได้รับความคุ้มครองไปต่อเนื่องอีกระยะหนึ่ง แต่หากต้องการทุนความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่สูงหลักล้านเพื่อให้เพียงพอต่อค่ารักษาพยาบาลในปัจจุบัน อาจต้องเเลกมาด้วยเบี้ยประกันที่สูงเฉลี่ยหลักครึ่งแสนก็เป็นได้
แม้ว่าตัวเลือกประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุจะมีให้เลือกน้อยลงเมื่อผู้ทำประกันมีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป แต่ผู้ที่สนใจยังสามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาหรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของโบรคเกอร์ พร้อมเลือกเปรียบเทียบแบบประกันสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุที่โบรคเกอร์ประกันภัยรวบรวมจากทุกบริษัทชั้นมาไว้ให้ได้เปรียบเทียบด้วยตัวเอง ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการไล่เปรียบเทียบแบบประกันจากแต่ละบริษัทด้วยตัวเอง
3. เลือกใช้สิทธิรักษาพยาบาลของรัฐ
หากเช็กดูเเล้วพบว่าประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายหรือประกันออมทรัพย์อาจไม่ใช่ทางเลือกสำหรับการจัดการสิทธิการรักษาพยาบาลให้กับพ่อแม่หรือตนเอง ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดทางด้านการเงิน หรือเงื่อนไขอายุที่เกินช่วงอายุรับประกันสุขภาพไปแล้ว
“สิทธิรักษาพยาบาลของรัฐ” นับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่หลาย ๆ คนอาจมองข้ามไป ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตรทอง หรือสิทธิประกันสังคม ซึ่งเป็นสิทธิการรักษาขั้นพื้นฐานที่ไม่มีข้อจำกัดด้านอายุในการใช้สิทธิรักษา ให้ความคุ้มครองการรักษาตั้งเเต่อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ไปจนถึงการผ่าตัดใหญ่ หรือแม้กระทั่งการรักษามะเร็งร้ายแรง ให้การรักษาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อเนื่อง ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเงื่อนไขประวัติโรคที่เป็นมาก่อนเข้าใช้สิทธิ์รับการรักษา รวมถึงค่าธรรมเนียมร่วมจ่ายค่าบริการเริ่มต้นที่ 30 บาทเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อแตกต่างสำคัญจากประกันสุขภาพ
อย่างไรก็ตาม การใช้สิทธิรักษาพยาบาลของรัฐอาจมีเงื่อนไขในและข้อจำกัดอยู่บ้างพอสมควร เช่น การเลือกโรงพยาบาลที่จะใช้สิทธิ์ในการเข้ารับการรักษา จากกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลที่ลงทะเบียนสิทธิการรักษาบัตรทอง 30 บาทไว้ หรือการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ที่จำกัด ด้วยตัวยาและอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาจะต้องอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติที่กำหนดเท่านั้น
หากต้องใช้ยาหรือเวชภัณฑ์ที่อยู่นอกบัญชีฯ จะต้องร่วมจ่าย (Co-pay) หรือจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนเกินเอง รวมถึงการใช้สิทธิพยาบาลบัตร 30 บาท จะไม่มีค่าชดเชยกรณีขาดรายได้ อาจต้องรอทำนัดหมายล่วงหน้าก่อนได้พบแพทย์หรือได้เข้ารับการผ่าตัด หรืออาจจะไม่สามารถเลือกห้องพิเศษได้เหมือนกับประกันสุขภาพ
เมื่อตัดสินใจเลือกใช้สิทธิรักษาพยาบาลของรัฐเป็นสิทธิในการรักษาหลักให้กับพ่อแม่หรือตนเอง แทนการมีประกันสุขภาพผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปแล้วนั้น การมีประกันความเสี่ยงในด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายยังเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามไป ไม่ว่าจะเป็นประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันชีวิตสูงวัย หรือแม้กระทั่งประกันไข้เลือดออกที่ยังให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอยู่บ้างเช่นกันเมื่อเกิดเหตุ
แรบบิท แคร์ สรุปมาให้แล้วว่าประกันสุขภาพผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปที่ชาว Pantip ลงความเห็นว่าไม่ว่าจะตัดสินใจเลือกซื้อประกันสุขภาพให้พ่อแม่หรือตัวเองเพื่อจัดการค่ารักษาพยาบาล หรือตัดสินใจไม่ถูกว่าจะวางแผนจัดการค่ารักษาพยาบาลอย่างไรดี
สามารถขอรับคำปรึกษาก่อนตัดสินใจได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย! จากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของ แรบบิท แคร์ หรือ
เปรียบเทียบประกันสุขภาพจากทุกบริษัทชั้นนำได้ด้วยตัวเองทันที พร้อมรับสิทธิพิเศษขอรับคำปรึกษาจาก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านวีดีโอคอล (Health Caresultant) เฉพาะลูกค้าที่เลือกซื้อประกันสุขภาพ โทร.1438 หรือ rabbitcare.com
สรุป
สรุปข้อดี-ข้อเสียของแผนประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย
- ข้อดี: ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด
- ข้อเสีย: ค่าเบี้ยประกันสูง
ประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอก
- ข้อดี: ค่าเบี้ยประกันต่ำกว่าประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย
- ข้อเสีย: ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกเท่านั้น
ประกันสุขภาพสำหรับโรคร้ายแรง
- ข้อดี: ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยเมื่อป่วยเป็นโรคร้ายแรง
- ข้อเสีย: ค่าเบี้ยประกันสูงกว่าแผนประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายและผู้ป่วยนอก
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต