แคร์สุขภาพ

“โรคตาขี้เกียจ” ภัยร้ายที่ทำลายดวงตาอย่างช้าๆ

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: September 11,2017
โรคตาขี้เกียจ

โรคที่เกี่ยวข้องกับสายตานั้นมีอยู่มากมาย ส่วนใหญ่อาจดูไม่ใช่โรคร้ายแรงถึงชีวิต แต่หากลองได้เป็นดูสักครั้งจะรู้ว่า การใช้ชีวิตจะต้องเป็นไปอย่างยากลำบากแน่นอน เราจึงเรียนรู้ที่จะดูแลดวงตา ปกป้องดวงตาจากปัจจัยเสี่ยงมากมายที่จะทำให้เป็นโรคต่างๆ แต่จะเป็นอย่างไรถ้าหากมี โรคสายตาที่เป็นตั้งแต่กำเนิดและไม่สามารถป้องกันได้ละ?

ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ โรคตาขี้เกียจหนึ่งในโรคร้ายทางสายตาของเด็กๆ หากยังชะล่าใจอาจตาพล่ามัวไปตลอดชีวิต!

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    โรคตาขี้เกียจ คืออะไร

    โรคตาขี้เกียจ (Lazy eye) คือ ภาวะความผิดปกติต่าง ๆ ที่ทำให้ดวงตาถูกใช้งานน้อยลงและมีอาการพร่ามัว เนื่องจากเริ่มสูญเสียพัฒนาการด้านการมองเห็น ถ้าหากปล่อยไว้ในระยะยาวจะยิ่งส่งผลให้สายตาพร่ามัวยิ่งขึ้น ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด คือดวงตาข้างนั้นอาจสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร

    โรคชนิดนี้มักพบได้ในเด็กเล็กที่มีอายุ 2 – 3 ปีมากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่สายตาอยู่ในระหว่างการพัฒนา หากเด็กมีสายตาที่เป็นปกติจนพ้นช่วงอายุ 7 ปีขึ้นไป ก็เรียกได้ว่าพ้นช่วงอันตรายของโรคชนิดนี้แล้วละครับ

    สาเหตุของการเกิดโรคตาขี้เกียจ

    • โรคตาเขหรือตาเหล่

      โรคตาเหล่ คือ สาเหตุอันดับหนึ่งของการเกิดโรคตาขี้เกียจ เพราะผู้ป่วยที่มีอาการเหล่จะไม่สามารถใช้การมองแบบคนปกติได้ เนื่องจากต้องเลือกใช้ดวงตาเพียงข้างเดียวในการมองสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่งผลให้ดวงตาอีกข้างไม่ได้รับการใช้งานและเข้าสู่ภาวะตาขี้เกียจในที่สุด

    • อาการสายตาสั้น ยาว หรือเอียง ของดวงตาสองข้างที่ไม่เท่ากัน

      เมื่อเราใช้การมองด้วยดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หมายความว่าดวงตาอีกข้างที่มีระยะการมองเห็นต่างกันจะไม่ได้ถูกใช้งาน และส่งแผลให้เป็นโรคตาขี้เกียจได้ในที่สุด

    • การมีค่าสายตาที่ผิดปกติมากทั้งสองข้าง

      การที่สายตาทั้งสองข้างมีความผิดปกติ ย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง และอาจนำมาซึ่งการเป็นตาขี้เกียจทั้งสองข้างได้

    • การเป็นโรคที่บดบังการมองเห็น

      ไม่ว่าจะเป็นโรคกระจกตาดำขุ่น ต้อกระจก เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา หรือโรคสายตาชนิดอื่นๆ ที่มีผลทำให้การมองเห็นไม่ชัด และนำมาซึ่งการเป็นโรคตาขี้เกียจได้

    การรักษาโรคตาขี้เกียจ

    โรคตาขี้เกียจ สามารถรักษาได้

    เราสามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาด หากได้รับการรักษาก่อนเข้าสู่วัยที่การมองเห็นได้พัฒนาเต็มที่ตอนอายุ 8 ขวบ โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

    • การผ่าตัด

      สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากโรคต้อกระจก เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา หนังตาตกหรือโรคอื่นๆ ที่บดบังการมองเห็น จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด และกระตุ้นการมองเห็นในภายหลัง

    • ใช้แว่นสายตา

      หนึ่งในสาเหตุหลักของโรคชนิดนี้คือความผิดปกติของค่าสายตา การใส่แว่นสายตาจะสามารถช่วยให้สายตาค่อยๆ ดีขึ้นได้

    • ปิดตาข้างที่ดี อาจเรียกได้ว่าเป็นวิธีการที่แก้ปัญหาได้ตรงจุดที่สุด ในเมื่อโรคตาขี้เกียจเกิดจากการใช้สายตาข้างหนึ่งน้อยเกินไป ก็ทำการปิดตาข้างที่ดี เพื่อจะได้ใช้ตาข้างที่ขี้เกียจให้มากขึ้นซะเลย

    การจะรักษาให้ได้ผลต้องอาศัยความร่วมมือจากคนใกล้ชิดที่ต้องคอยช่วยเหลือดูแลเด็กให้หมั่นใช้สายตาข้างที่ผิดปกติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสายตากลับมาเป็นปกติได้อีกครั้ง

    การสังเกตอาการ โรคตาขี้เกียจ เบื้องต้น

    โดยส่วนใหญ่เรามักพบภาวะผิดปกติ ในวันที่สายเกินกว่าจะรักษาได้ การเรียนรู้ที่จะสังเกตอาการแต่เนิ่นๆ คงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าอย่างแน่นอน

    โรคตาขี้เกียจในเด็ก
    • สังเกตดวงตาตั้งแต่แรกคลอด

      เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายๆ โดยการดูลักษณะของตาทั่วไป ว่ามีอะไรมาปิดบังตาดำหรือเปล่า

    • เมื่อเด็กอายุ 2 – 3 เดือน
      พ่อแม่หรือพี่เลี้ยงต้องสังเกตดูว่า เมื่อถึงเวลาให้นมเด็กได้จ้องมองหน้าพ่อแม่บ้างหรือเปล่า หากยังไม่มีการจ้องมองอาจแปลว่าเขากำลังมีปัญหาทางสายตาเสียแล้ว
    • เมื่อเด็กอายุ 6 เดือน
      ควรสังเกตว่าเด็กมีการหยุดนิ่ง จ้องมองตามวัตถุต่างๆ บ้างหรือยัง ถ้าหากว่ายังไม่มีอาการแบบนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
    • เมื่อเด็กอายุ 3 ปี
      ถือว่าเป็นวัยที่สามารถให้ความร่วมมือในการตรวจวัดสายตาได้แล้ว พ่อแม่ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติอะไรก็ตาม

    เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถตรวจพบอาการผิดปกติได้ไม่ยาก และทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที แต่ถึงอย่างไร ก็ยังมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงอยู่ดี เพราะโรคตาขี้เกียจก็ตรวจพบในผู้ใหญ่ได้ด้วยนะ!

    ใครว่าผู้ใหญ่ ไม่เป็นโรคตาขี้เกียจ

    จากที่เราได้บอกไปตั้งแต่ต้นว่าโรคชนิดนี้ จะเกิดขึ้นกับเด็กในวัยที่กำลังมีพัฒนาการทางสายตาเท่านั้น แต่ในทุกวันนี้เราจะเห็นได้ว่า มีผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยที่มีอาการของโรคนี้

    โรคตาขี้เกียจในผู้ใหญ่

    ก็เพราะว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคนี้มาตั้งแต่เด็ก โดยที่ไม่เคยรู้ตัวเลยด้วยซ้ำ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า อาการตาพล่ามัวเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ กว่าจะรู้ว่าตัวเองเป็นตาขี้เกียจก็สายเกินไปเสียแล้ว เพราะในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคชนิดนี้ในผู้ใหญ่ที่ได้ผลอย่างชัดเจน อาจทำได้เพียงยื้อไม่ให้อาการตาพล่ามัวเลวร้ายไปกว่าเดิมเท่านั้นเอง

    ห้ามพลาด! ประกันรถชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 1,000.-/เดือน

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024