แคร์สุขภาพ

เรื่องดี ๆ ของยาคุมกำเนิดที่คุณควรรู้ และผลข้างเคียงที่ต้องระมัดระวัง

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: January 11,2021
  
Last edited: January 10, 2021
ยาคุมกำเนิด-ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

การคุมกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนครอบครัว ในปัจจุบันมีหลายวิธี เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดมากขึ้น วิธีพื้นฐานอย่างการกินยาคุมกำเนิด ก็ยังคงเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ค่าใช้จ่ายไม่สูง

แต่ก็ยังมีหลาย ๆ คน ที่ไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิดมากพอ รวมไปถึงยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ที่ต้องใช้ให้ถูกวิธี และต้องเตรียมรับมือกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น หากตัวคุณเองหรือคู่ของคุณ เป็นอีกคนที่ใช้ยาคุมกำเนิด แน่ใจแล้วหรือยังว่าใช้ยาคุมกำเนิดได้อย่างถูกวิธี วันนี้ Rabbit Care จะพาคุณมารู้ไปพร้อม ๆ กัน


เรื่องราวของยาคุมกำเนิด และวิธีใช้ที่แตกต่างกัน

ยาคุมกำเนิดมีหลายแบบ โดยจะมีส่วนประกอบและวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน เพื่อให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้ยามากที่สุด โดยเราได้หยิบยกเอายาคุมกำเนิดที่คนส่วนมากใช้กัน มาเล่าให้ฟัง ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่

ยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิดแบบเม็ด (Birth Control Pill)

ยาคุมกำเนิดแบบเม็ด สามารถแบ่งได้อีกเป็น 2 แบบ คือแบบฮอร์โมนเดี่ยว (โปรเจสเตอโรน) และแบบฮอร์โมนรวม (เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน) การทำงานของมันก็คือฮอร์โมนนี้จะเข้าไปทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง จนตัวอ่อนที่เกิดจากการผสมกันของไข่และอสุจิไม่สามารถฝังตัวและเติบโตได้ และฮอร์โมนนี้จะทำให้เมือกบริเวณปากมดลูกมีความเหนียวข้นจนอสุจิไม่สามารถเข้ามาผสมกับไข่จนเกิดการปฏิสนธิได้

และยังสามารถแบ่งตามจำนวนเม็ดได้อีก คือแบบ 21 เม็ดและ 28 เม็ด โดยทั้ง 2 แบบนี้จะมีตัวยาเท่ากัน แต่แบบ 21 เม็ดจะมีวิธีกินคือกินเม็ดแรกแล้วเว้นไป 7 วัน จึงมาเริ่มกินใหม่ ส่วนแบบ 28 เม็ดคืออีก 7 เม็ดที่เพิ่มเข้ามาเปนเม็ดแป้ง สำหรับกินแทนการนับวัน เหมาะกับคนที่กลัวนับวันพลาด

ยาคุมกำเนิด-ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency Contraception pill)

เป็นยาที่ควรใช้ในกรณีฉุกเฉินจริง ๆ เท่านั้น อย่างเช่นการผิดพลาดจากการคุมกำเนิดอื่น ๆ เช่นการลืมกินยาคุมกำเนิดเกิน 3 วัน, ถุงยางอนามัยรั่ว-แตกขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ในการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ยินยอม (ถูกข่มขืน)

ในยาคุมแบบฉุกเฉิน 1 แผง จะได้รับยา 2 เม็ด โดยผู้ใช้ยาต้องรีบกินยาให้เร็วที่สุดหลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากมีเพศสัมพันธ์ เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจะเลือกกินพร้อมกัน 2 เม็ด หรือกินห่างกัน 12 ชั่วโมงก็ได้

เนื่องจากเป็นยาที่ใช้ในกรณีฉุกเฉิน จึงมีส่วนประกอบที่ค่อนข้างแรง ไม่แนะนำให้กินยาคุมกำเนิดฉุกเฉินบ่อย ๆ เพราะอาจส่งผลเสียต่อมดลูกในระยะยาว และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายอื่น ๆ อีกด้วย จึงเป็นยาที่ใช้ต่อเมื่อจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น

ยาฝังคุมกำเนิด

ยาฝังคุมกำเนิด (Contraceptive implant)

ยาคุมกำเนิดแบบฝัง เป็นการคุมกำเนิดชั่วคราวด้วยวิธีการฝังหลอดบรรจุยาคุมกำเนิดลงไปใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขน โดยการใช้ยาคุมกำเนิดในรูปแบบนี้ จะสามารถช่วยคุมได้เป็นเวลา 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวยาที่ถูกฝัง ยาคุมกำเนิดแบบฝังจะมาในรูปแบบหลอดพลาสติกขนาดเล็กไม่เกิน 5 เซนติเมตร ภายในประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin)

โดยการทำงานของมันคือ เมื่อหลอดยาคุมกำเนิดถูกฝังลงใต้ผิวเรียบร้อยแล้ว ตัวฮอร์โมนดังกล่าวจะถูกปล่อยออกมาจากหลอดและเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลให้ฟองไข่ไม่มีการพัฒนาและไม่มีการตกไข่ เมื่อไม่มีไข่ที่พร้อมปฏิสนธิกับอสุจิ จึงไม่เกิดการตั้งครรภ์

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคุมกำเนิด

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคุมกำเนิด ที่ควรระมัดระวัง

เพราะยาคุมกำเนิดแตกต่างจากยารักษาโรคทั่ว ๆ ไป จึงต้องใช้อย่างระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งผลข้างเคียงที่พบได้จากการใช้ยาคุมกำเนิด มักจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • อาการคลื่นไส้ ปวดหัว อาเจียน มักจะเกิดในช่วงแรก ๆ ที่รับยาคุมกำเนิด แนะนำให้ทานยาหลังอาหารมื้อเย็น หรือก่อนนอน จะช่วยบรรเทาอาการนี้ลง
  • อาการเจ็บเต้านม เต้านมคัดตึง เนื่องจากปริมาณของฮอร์โมน พบในระยะแรกที่ใช้ยาเช่นกัน และอาการเจ็บจะค่อย ๆ หายไปเอง
  • มีภาวะซึมเศร้า หรืออารมณ์แปรปรวน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จึงส่งผลต่ออารมณ์ของผู้ที่ทานยาคุมกำเนิด
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือเกิดภาวะบวมน้ำ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดได้จากปัจจัยอื่น ๆ ได้อีก ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขาดช่วง หรือไม่มาติดต่อกันหลายเดือน หากรู้สึกผิดปกติแนะนำให้ปรึกษาแพทย์
  • ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน หากใช้บ่อยจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงอันตรายต่อมดลูก เสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก หากต้องการตั้งครรภ์แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัย
  • การใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินอาจทำให้ร่างกายขาดแคลเซียม เพิ่มความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุนในอนาคต หากมีเหตุจำเป็นต้องใช้ยาชนิดนี้ แนะนำให้ดูแลร่างกายและทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อชดเชยส่วนที่สูญเสียไปด้วย

เพราะโลกสมัยนี้มีแต่เรื่องวุ่นวายชวนปวดหัว ทั้งสังคมที่ไม่น่าอยู่ขึ้นทุกวัน บวกกับปัญหาสิ่งแวดล้อม อากาศแปรปรวนและเกิดภัยธรรมชาติบ่อยขึ้น พบมลพิษปนเปื้อนในอาหารและอากาศ เรียกได้ว่าโลกนี้อยู่ยากขึ้นทุกวัน การที่คนเราจะให้กำเนิดบุตรสักคนขึ้นมาท่ามกลางสภาพแบบนี้ ต้องมีความพร้อมมากพอสมควร แต่ถ้ายังไม่พร้อม ก็คุมกำเนิดเอาไว้ก่อนจะดีกว่านะ ทั้งนี้ การใช้ยาคุมกำเนิดประเภทต่าง ๆ ก็ควรอยู่บนพื้นฐานของความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อความสุขภาพปลอดภัยของผู้ใช้ยา



 

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 89748

แคร์สุขภาพ

โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
Nok Srihong
23/05/2024