แคร์สุขภาพ

กินยาคุมต่อเนื่องนาน ๆ เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมจริงหรือมั่ว? วิธีกินยาคุมที่ถูกต้องกินอย่างไร?

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: June 7,2023
  
Last edited: March 19, 2024
กินยาคุม วิธีกินยาคุม

ยาคุมนั้นอาจเป็นตัวช่วยของสาว ๆ หลาย ๆ คนที่ต้องการใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์แบบไม่ได้ตั้งใจ แน่นอนว่าการกินยาคุมนั้นจำเป็นจะต้องกินอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากผลข้างเคียงยาคุมที่จะตามมา น้องแคร์จะพาสาว ๆ มือใหม่ที่เพิ่งกินยาคุมไปรู้จักวิธีกินยาคุมที่ถูกต้อง พร้อมเฉยว่ากินยาคุมนาน ๆ จะเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านมจริงหรือเปล่า?

ยาคุม คืออะไร? ยาคุมมีกี่ประเภท?

ยาคุม คือ ชนิดของยาที่ใช้ในการควบคุมการตั้งครรภ์หรือการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่ตามแผนที่ต้องการ ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้หญิงมีการควบคุมภาพรวมของสุขภาพการเจริญพันธุ์ของตนเอง รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับเวลาและความถี่ของการมีลูก ยาคุมกำเนิดมีหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก คือ ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม แบบฮอร์โมนเดี่ยวและแบบฉุกเฉิน

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    • ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม : เป็นยาแบบเม็ดสำหรับรับประทานและประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนและเอสโตรเจนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น การกินยาคุมนี้ตามที่ระบุจะสามารถช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ เพราะฮอร์โมนที่อยู่ในยาคุมจะทำให้เยื่อเมือกที่ปากมดลูกหนาขึ้น ทำให้สเปิร์มยากที่จะเข้าไปผสมกับไข่ นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งการตกไข่และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง สร้างสภาวะที่ไม่เหมาะสมสำหรับตัวอ่อนที่จะฝังตัว เหมาะกับผู้หญิงทุกคนที่ต้องการป้องกันการตั้งครรภ์แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทาน เพราะฮอร์โมนที่อยู่ในเม็ดยาคุมมีหลายชนิดและแต่ละยี่ห้อก็มีปริมาณไม่เท่ากัน จึงต้องปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกกินยาคุมให้เหมาะสมกับแต่ละคนมากที่สุด ผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้ อาจจะไม่เหมาะกับการกินยาคุมแบบฮอร์โมนรวม
      • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
      • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
      • ผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคลมชัก ยาต้านไวรัสรักษาเอชไอวี เป็นต้น
      • ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปและมีการสูบบุหรี่หรือหยุดสูบบุหรี่น้อยกว่า 1 ปี
      • ผู้ที่มีอาการปวดไมเกรนชนิดรุนแรง
      • ผู้ที่มีลิ่มเลือดในเส้นเลือดและทุกคนในครอบครัวที่ใกล้ชิดมีลิ่มเลือดขณะที่อายุต่ำกว่า 45 ปี
      • ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน โรคถุงน้ำดีหรือตับ โรคมะเร็งเต้านม
    ยาคุม กินตอนไหน กินยาคุมที่ถูกต้อง
    • ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนเดี่ยว : ยาคุมกำเนิดแบบเม็ดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสโตเจนเพียงอย่างเดียว มีจำนวน 28 เม็ดต่อบรรจุภัณฑ์ การกินยาคุมนี้จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์โดยเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก ทำให้การเดินทางของสเปิร์มไปสู่ไข่ยากขึ้น หากกินยาคุมตามคำแนะนำของแพทย์อย่างถูกต้องก็สามารถคุมกำเนิดได้ แต่อาจจะไม่มีประสิทธิภาพเท่ายาคุมกำเนิดแบบรวมฮอร์โมน เนื่องจากการยับยั้งการตกไข่อาจจะไม่มากพอ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้การมาของประจำเดือนไม่ปกติ หรือมีเลือดออกบ้างเล็กน้อยหรือไม่มีประจำเดือนเลย และอาจมีผลข้างเคียง เช่น ผิวหนังมีจุดด่างดำหรือเจ็บที่เต้านม แต่อาการเหล่านี้สามารถหายไปเองหลังจากทานยาคุมอย่างต่อเนื่องไปสักพัก ผู้ที่เหมาะกับการกินยาคุมประเภทนี้ คือ กลุ่มผู้หญิงที่ให้นมบุตรและผู้หญิงที่มีภาวะของโรคหลอดเลือดอุดตัน
    • ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน : เป็นยาที่มีส่วนประกอบหลักเป็นลีโวนอร์เจสเตรล ซึ่งเป็นฮอร์โมนในกลุ่มโพรเจสติน ทำหน้าที่ช่วยเลื่อนหรือหยุดกระบวนการตกไข่ สร้างความเหนียวเพิ่มขึ้นที่ปากมดลูก และทำให้ผนังมดลูกบางลง พร้อมทั้งทำให้ท่อนำไข่เคลื่อนที่ไม่ปกติ การกินยาคุมนี้สามารถใช้ป้องกันการตั้งครรภ์หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันได้ เช่น กรณีถุงยางอนามัยแตก หรือลืมรับประทานยาคุม ยาคุมฉุกเฉินควรรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน หลังจากมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดหัว ปวดท้อง มีไข้ หรือเปลี่ยนแปลงระยะของวันที่มีประจำเดือน อาจมาเร็วหรือล่าช้าไปจากเดิมและอาจเพิ่มความรุนแรงของการปวดในช่วงประจำเดือน ดังนั้นจึงควรใช้ยาคุมประเภทนี้เฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น และไม่กินยาคุมนี้เป็นประจำ

    วิธีกินยาคุมที่ถูกต้อง ยาคุม กินตอนไหน?

    การกินยาคุมโดยทั่วไปจะมีวิธีกินยาคุมที่จำเป็นต้องปฏิบัติตามให้ถูกต้องเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการตั้งครรภ์ ยาคุม กินตอนไหนบ้างนั้นจะต้องแยกวิธีกินยาคุมตามประเภทของยาคุม ดังนี้

    แบบฮอร์โมนรวม

    • ผู้ที่เริ่มกินยาคุมแบบ 21 หรือ 28 เม็ด ชนิดฮอร์โมนรวมเป็นครั้งแรก ให้เริ่มกินยาคุมเม็ดแรกตามที่ในแผงยาระบุไว้ในวันที่ประจำเดือนมาวันแรกหรือไม่เกิน 5 วัน นับตั้งแต่การมีประจำเดือนวันแรกในรอบนั้น ๆ และต้องกินยาคุมตรงเวลาทุกวันตามลำดับที่แผงระบุไว้อย่างต่อเนื่อง
    • สำหรับยาคุมแบบ 21 เม็ด เมื่อกินครบแล้วจะต้องหยุดกินยาคุมไป 7 วัน และเริ่มกินยาแผงใหม่ในวันที่ 8
    • สำหรับยาคุมแบบ 28 เม็ด สามารถกินยาคุมต่อเนื่องและเริ่มแผงใหม่ได้เลย โดยไม่ต้องหยุดกินยา 7 วัน

    แบบฮอร์โมนเดี่ยว

    • สำหรับผู้ที่เริ่มกินยาคุมแบบฮอร์โมนเดี่ยวครั้งแรก ควรเริ่มกินยาในวันแรกของการมีประจำเดือนหรือไม่เกิน 5 วัน ในกรณีที่เกิน 5 วัน หากมีเพศสัมพันธ์ควรจะต้องใช้ถุงยางอนามัยจนกว่าจะกินยาเป็นเวลา 2 วันแล้ว
    • จะต้องกินยาคุมให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน หรือหากเลยเวลาจะต้องไม่เกิน 3 ชั่วโมง ของเวลาเดิมที่กินในแต่ละวัน
    • หากกินยาแผงเก่าหมดแล้ว สามารถเริ่มกินยาคุมแผงใหม่ต่อเนื่องได้เลยโดยไม่ต้องหยุดยา

    ยาคุมฉุกเฉิน

    • กินยาคุมฉุกเฉินภายใน 3 วัน หรือ 72 ชั่วโมง หลังจากมีเพศสัมพันธ์
    วิธีกินยาคุม ยาคุม

    กินยาคุมนาน ๆ เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมจริงหรือ?

    การใช้ยาคุมกำเนิดมีการวิจัยที่ให้ข้อมูลแตกต่างกันเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระยะเวลาที่ใช้ยาคุม อายุ ประวัติสุขภาพส่วนตัวและประวัติมะเร็งในครอบครัว แต่มีงานวิจัยพบว่าการกินยาคุมเป็นเวลานาน ๆ จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมจริงแต่มีโอกาสเพียงเล็กน้อยเท่านั้นซึ่งจะเป็นความเสี่ยงในระหว่างที่คุณกำลังกินยาคุม แต่หลังจากมีการหยุดใช้ยาคุมแล้วความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมนี้จะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ เมื่อมีการหยุดกินยาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี ความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมจากการกินยาคุมจะลดลงเทียบเท่ากับคนปกติที่ไม่ได้กินยาคุม

    ทำไมกินยาคุมนาน ๆ จึงทำให้เกิดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม

    จริง ๆ แล้วการเกิดโรคมะเร็งเต้านมนั้นสามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัยทั้งภายในและภายนอก และฮอร์โมน ก็เป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นการเกิดมะเร็งด้วยเช่นกัน ซึ่งหากมีฮอร์โมนที่สูงแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจากการกินยาคุม ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมจึงเพิ่มมากขึ้น แม้ยาคุมกำเนิดจะสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมได้ แต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้ยาคุมจะทำให้เกิดความเสี่ยงบ้างเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมแต่ในทางกลับกันก็ยังช่วยป้องกันมะเร็งรังไข่และมะเร็งเยื่อบุมดลูกได้ ดังนั้นการใช้ยาคุมต้องใช้ตามวิธีที่ถูกต้องที่แพทย์แนะนำเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง

    มะเร็งเต้านม อาการเป็นอย่างไร?

    อย่างที่บอกว่าการกินยาคุมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ หากใครที่มีความเสี่ยงนี้ก็ควรสังเกตอาการของตัวเองให้ดี โดยมะเร็งเต้านม อาการในระยะแรกนั้นอาจไม่มีอาการใด ๆ แต่เมื่อโรคพัฒนาขึ้นจะสามารถสังเกตเห็นถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเต้านมได้ เต้านมอาจมีการแข็งขึ้น มีการเปลี่ยนรูปร่างหรือขนาดของ รวมถึงอาจมีรอยบวมหรือบิดเบี้ยวที่ผิวหนังบริเวณเต้านม บริเวณหัวนมอาจมีสารขาว สีน้ำตาลหรือมีเลือดออกมา ผิวหนังรอบเต้านมอาจมีลักษณะคล้ายเปลือกส้ม มีสภาพผิวที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ อาจรวมถึงรู้สึกเจ็บหรือรู้สึกแข็งในซี่โครงด้านใต้ต้นแขน

    บางรายของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม อาการแรกที่พบ อาจจะพบหนองในรักแร้บริเวณใกล้เคียงกับเต้านม เนื่องจากมะเร็งเต้านมบางประเภทสามารถกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในรักแร้ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณจะต้องหมั่นสังเกตอาการความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นบนเต้านมของคุณ หากพบว่ามีอาการผิดปกติควรรีบเจ้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยรักษาอย่างถูกวิธี

    มะเร็งเต้านม กินยาคุม อาการมะเร็งเต้านม

    วางแผนซื้อประกันโรคร้ายแรง ก่อนโรคมะเร็งมาเยือน

    แม้ว่าการกินยาคุมนั้นจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งเต้านมน้อย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเราทุกคนนั้นล้วนมีความเสี่ยงด้านสุขภาพกันทั้งสิ้น ด้วยมลภาวะและการพัฒนาสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสในปัจจุบันที่จะมีแต่ส่งผลให้มนุษย์เราเจ็บป่วยกันง่ายมากขึ้น และอาจร้ายแรงถึงขั้นเจ็บป่วยหนัก การวางแผนซื้อประกันสุขภาพเพื่อป้องกันโรคร้ายแรงอื่น ๆ และโรคมะเร็งจึงเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการเงินที่สามารถจะให้ความคุ้มครองด้านความเสี่ยงสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับคุณได้ในอนาคต

    อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคมะเร็งนั้นเป็นโรคที่จะต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง และค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง เพราะจำเป็นต้องใช้เวลารักษานาน ทั้งการผ่าตัด การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด รังสีบำบัด และการรักษาเพื่อการฟื้นฟูทางกายภาพ รวมถึงการดูแลที่ต้องมีอย่างต่อเนื่อง หากคุณมีประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ คุณก็จะสามารถนำเงินก้อนที่ได้รับจากกรมธรรม์ประกันโรคร้ายแรงมาใช้สำหรับการดูแลสุขภาพของคุณร่วมกับสิทธิในการเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลจากประกันสุขภาพ โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษา

    เมื่อซื้อประกันสุขภาพหรือประกันโรคร้ายแรงในช่วงที่คุณยังไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง ก็จะทำให้คุณได้รับผลประโยชน์ความคุ้มครองจากกรมธรรม์อย่างเต็มที่ ครอบคลุม ไม่มีข้อยกเว้นด้านสุขภาพให้กังวลใจ แต่หากคุณยังไม่รีบวางแผนป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพตั้งแต่ตอนที่สุขภาพร่างกายของคุณยังแข็งแรง ปราศจากโรคประจำตัวใด ๆ วันหนึ่งที่คุณต้องการซื้อประกันขึ้นมาบริษัทประกันอาจปฏิเสธการรับประกันภัยของคุณได้ เพราะสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงสมบูรณ์แล้ว

    ดังนั้นการซื้อประกันสุขภาพหรือประกันโรคร้ายแรงเมื่อคุณยังสุขภาพมีดี ก็จะเป็นเสมือนการป้องกันตัวคุณเองและเงินออมของคุณจากความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ดีที่สุดนั่นเอง


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024