แคร์การเงิน

สหกรณ์ออมทรัพย์คือ ? มีหน้าที่ทำอะไร ? แตกต่างจากธนาคารอย่างไร ?

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
 
Published: May 23,2023
สหกรณ์ออมทรัพย์

สมัยนี้เรามีทางเลือกในการกู้เงินมากมาย แค่ธนาคารก็มีสินเชื่อมากมาย หลากหลายรูปแบบให้พวกเราทั้งหลายได้เลยใช้บริการกันแล้ว หลาย ๆ คนอาจจะลืมว่าสมัยก่อน สหกรณ์ออมทรัพย์ ก็มีบทบาทและความสำคัญไม่แพ้ธนาคารชั้นนำของประเทศ จนถึงปัจจุบัน สหกรณ์ฯ ก็ยังมีบทบาทอยู่สำหรับกลุ่มคนหลาย ๆ กลุ่ม จึงเป็นสิ่งที่ควรจะทำความเข้าใจ ใครยังไม่รู้ ต้องรีบอ่านเลย !

Health Insurance Widget

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    สหกรณ์ออมทรัพย์ คือ

    สหกรณ์ออมทรัพย์ คือรูปแบบหนึ่งของสถาบันการเงินที่มีบทบาท ความสำคัญต่อภาคครัวเรือนทั้งในแง่ ทั้งในอดีตถึงปัจจุบัน โดยในอดีตอาจจะเป็นรูปแบบของกลุ่มคน ที่มีวิชาชีพ หรือภูมิลำเนาร่วมกัน จัดตั้งเพื่อให้บริการ ช่วยเหลือทางการเงินต่าง ๆ และมาจนถึงในปัจจุบัน สหกรณ์ออมทรัพย์ก็มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีความเชื่อมโยงกับผู้เล่นอื่นในระบบการเงินมากขึ้น 

    โดยบริการทางการเงินที่สหกรณ์ออมทรัพย์ มีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสหกรณ์ออมทรัพย์นั้น ๆ ตั้งแต่บริการการออมทรัพย์ รับฝากเงิน ไปจนถึงขอสินเชื่อ ขอเงินกู้ ไปจนถึงบัตรกดเงิน บัตรเครดิต 

    สหกรณ์ออมทรัพย์

    สหกรณ์ออมทรัพย์ VS ธนาคารเชิงพาณิชย์ทั่วไป

    มาถึงตรงนี้ คงไม่แปลหากหลาย ๆ คนจะสับสนว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ และธนาคารแตกต่างกันอย่างไร ยิ่งยุคยมัยปัจจุบันที่สหกรณ์ฯ ขยายตัวใหญ่ขึ้น มีบริการต่าง ๆ ก็มีความคล้ายคลึงกันทั้งคู่แม้ว่าธนาคารอาจจะมีบริการการเงินหลากหลายกว่า ซึ่งเราจะขอสรุปความแตกต่างของทั้งคู่ เป็น 3 ประเด็นด้วยกัน

    ลักษณะการดำเนินงาน

    สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสมาชิกของสมาคมสหกรณ์ฯ ซึ่งสมาชิกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและบริหารงานของสหกรณ์ ธนาคารเป็นบริษัทเอกชนที่มีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของและมีการตัดสินใจและการบริหารจากผู้บริหารที่เลือกโดยผู้ถือหุ้นหรือกรรมการผู้มีอำนาจการตัดสินใจ

    ลักษณะสมาชิก

    สหกรณ์ออมทรัพย์มีสมาชิกที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือองค์กร เช่น ชุมชนท้องถิ่น ลูกค้า หรือพนักงานในองค์กร ธนาคารมีลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดาและองค์กรทั่วไป

    วัตถุประสงค์ในการให้บริการ

    สหกรณ์ออมทรัพย์มุ่งเน้นการให้บริการแก่สมาชิกของสหกรณ์ เช่น เงินฝาก-ถอน เงินกู้ เพื่อส่งเสริมการออมเงินและการใช้จ่ายที่มีประโยชน์สำหรับสมาชิก ธนาคารมุ่งเน้นให้บริการแก่ลูกค้าทั่วไป ซึ่งรวมถึงการให้บริการเงินฝาก-ถอน เงินกู้ บัตรเครดิต การลงทุน การทำธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ ทั้ง

    นอกจากนั้นข้อเสนอของสหกรณ์ออมทรัพย์ และธนาคารก็จะแตกต่างกัน เช่น สหกรณ์ ส่วนมากจะมีข้อเสนอที่ดีกว่า เช่นดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนคืนเงินได้ยืดหยุ่น แต่สหกรณ์ฯ อาจมีข้อจำกัดมากกว่าการทำข้อตกลงกับธนาคาร เช่น ต้องเอาเงินไปทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ โดยทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสหกรณ์ด้วย

    สหกรณ์มีกี่ประเภท

    สหกรณ์ออมทรัพย์มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ แต่หากจะแบ่งแยกย่อยจะมีเยอะมาก ๆ ในขั้นตอนแรกจึงอยากอธิบาย 2 ประเภทใหญ่ที่สุดของสหกรณ์ฯ ให้เข้าใจกันเสียก่อน

    สหกรณ์ออมทรัพย์

    สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

    สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คือสหกรณ์สำหรับบุคคลขาดแคลนทางทุนทรัพย์ หรือกลุ่มคนที่ไม่มีรายได้ โดยส่วนมากจะจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยสามารถเข้าร่วมได้ด้วยความเชื่อใจ (Credit) และ การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Union) เพื่อพัฒนาชุมชนในช่วงเวลาวิกฤตเศรษฐกิจ หรือวิกฤษภัยพิบัติธรรมชาติต่าง ๆ 

    วิธีการเข้าร่วม : ส่วนมากแล้วจะเป็นการคัดเลือกตามความเห็นสมควรของสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน อาจเป็นสมาชิกในพื้นที่ที่มีการประพฤติที่ดี สนิทสนมกับผู้คนในท้องถิ่น เป็นต้น

    สหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีรายได้ประจำ

    สหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีรายได้ประจำ คือสหกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นในหมู่ผู้ประกอบอาชีพเดียวกัน เป็นรูปแบบที่เราเห็นได้บ่อยครั้งในสายงานอาชีพที่มีสมาชิกเยอะ และมีการงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน ทำงานเพื่อสังคม หรือในกลุ่มอาชีพที่ต้องการเงินสนับสนุน เช่นสหกรณ์ฯ ครู และราชการ เป็นต้น

    วิธีการเข้าร่วม : ส่วนมากจะเข้าร่วมได้โดยการจ่ายเบี้ยรายเดือน รายปี ไปจนถึงจะต้องเป็นพนักงานในองค์กรนั้น ๆ ตามข้อกำหนดต่าง ๆ เช่นเป็นพนักงาน 5 ปีขึ้นไป จะสามารถเข้าร่วมได้ เป็นต้น

    ตัวอย่าง สหกรณ์ออมทรัพย์ ที่เห็นได้บ่อยที่สุด

    สหกรณ์ออมทรัพย์ครู

    สหกรณ์ออมทรัพย์ครู คือสถาบันการเงินระดับองค์กร หน่วยงาน ที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือของกลุ่มคุณครูประจำพื้นที่นั้น ๆ เพื่อสร้างสถาบันการเงินขนาดย่อม ที่มีไว้เพื่อระดมทุน รับฝากเงิน กู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าสถาบันการเงินอื่น เพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้มีอาชีพคุณครู หรือโครงการใหญ่ ๆ ที่ช่วยพัฒนาการศึกษาที่ไม่อาจจะทำได้โดยเพียงลำพัง ก็เป็นการสร้างแหล่งรวมทางการเงินที่มีเป้าหมายพัฒนาการศึกษาแบบเดียวกัน จึงเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีความสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนประเทศชาติไปข้างหน้า

    สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข

    สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข คือองค์กรประจำจังหวัด จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการออมทรัพย์สำหรับบุคคลในพื้นที่ เพื่อก่อต่อเป็นสหกรณ์สนับสนุนในการพัฒนาจังหวัด ระบบอุปโภค บริโภคสาธารณะต่าง ๆ หรือสำหรับการให้คนในพื้นที่ขอกู้ยืมยามมีวิกฤตต่าง ๆ ส่วนมากมักเป็นสหกรณ์ที่ได้สะสมทรัพย์มายาวนาน เช่น สหกรณ์ฯ สาธารณสุขนครราชสีมา มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2517 

    สหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอื่น ๆ

    อีกหนึ่งรูปแบบของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เห็นกันบ่อยมาก ๆ และชัดเจนที่สุดเลยคือ สหกรณ์ฯ ในข้าราชการ ในกระทรวงต่าง ๆ เพราะเป็นลักษณะของผู้ทำงานเพื่อสังคม มีพนักงานเยอะ และส่วนมากราชการจะทำงานระยะยาว เงินเดือนอาจไม่สูงมากหากเทียบกับพนักงานเอกชน ในส่วนของสหกรณ์ต่าง ๆ เช่นสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และอื่น ๆ อีกมากมาย จึงเป็นดั่งสวัสดิการสำหรับพนักงาน

    สรุปคือควรจะเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือไม่ ?

    สหกรณ์ออมทรัพย์

    อันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งข้อที่หลายคนอาจกำลังครุ่นคิด สำหรับเราแล้วในฐานะพนักงานเงินเดือน หรือข้าราชการชั้นผู้น้อย เราควรจะไปร่วมสหกรณ์ออมทรัพย์หรือไม่ ? โดยเฉพาะในกรณีที่ในการได้เป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ จะต้องมีการหักเงินเดือนไปบางส่วน (เหมือนประกันสังคม) เพื่อให้เราได้เป็นสมาชิก

    โดยคำแนะนำคือ ให้ลองทำงานไปเสียก่อน ประมาณครึ่งปีถึง 1 ปี หากเราแลเห็นแล้วว่าองค์กรนี้เป็นองค์กรที่เราจะอยู่เป็นระยะยาว ต้องการสร้างเนื้อสร้างตัวไปกับองค์กรเลย ก็ควรที่จะเข้าไปเป็นสมาชิกสหกรณ์ ฯ แต่หากเล็งเห็นแล้วว่างานที่ทำไม่น่าจะสามารถทำได้ระยะยาว การเข้าร่วมสหกรณ์ฯ ก็อาจจะเป็นอะไรที่ไม่คุ้มเท่าไหร่ นอกจากนั้นก็ควรจะดูข้อเสนอของสหกรณ์ฯ ให้ละเอียด เพราะบางครั้งสหกรณ์ฯ ก็ไม่ได้มีข้อเสนอที่ดีขนาดที่จะต้องเข้าร่วมสหกรณ์ อาจเป็นข้อเสนอที่ใกล้เคียงกับธนาคารทั่วไปก็เป็นได้ การเข้าร่วมสหกรณ์ ก็อาจจะเป็นข้อตกลงที่ผูกมัดผู้เข้าร่วมเสียเปล่า ๆ แต่หากเป็นสหกรณ์ที่ดี มีมาตรฐาน ในองค์กรที่เราทำงานมานาน และจะดำเนินงานต่อไปเรื่อย ๆ การร่วมสหกรณ์ ก็จะเป็นสิ่งที่ดี สร้างหลักฐานความเป็นกลุ่มก้อนที่แน่นแฟ้นขึ้นอย่างแน่นอน

    สหกรณ์ออมทรัพย์ และความเสี่ยงที่มองไม่เห็น

    โค้งสุดท้าย อยากจะขอเน้นย้ำว่าสหกรณ์ส่วนใหญ่ ไม่ได้จัดตั้งขึ้นมาช่วยเหลือสังคม แต่ก็เช่นเดียวกับบริษัทพาณิชย์ทั่วไป ก็จะต้องหวังผลกำไรเพื่อให้องค์กรสามารถก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ฉะนั้นไม่ใช่ว่าข้อเสนอของสหกรณ์จะดีไปเสียหมด เราอาจเห็นได้จากข่าวสหกรณ์ออมทรัพย์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นเมื่อ 9 ปีที่แล้ว ที่ผู้บริหารฉ่อโกงยักยอกทรัพย์มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้าน โดยคดีเริ่มขึ้นเมื่อปี 2556 ที่มีการแย่งชิงอำนาจในสหกรณ์ฯ ทำให้ผู้ที่นำเงินมาฝากกับสหกรณ์ไม่สามารถเบิกเงินออกมาได้ ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างกับสมาชิกสหกรณ์ฯ ที่มีกว่า 1 แสนราย และส่วนมากเป็นผู้สูงวัยที่หวังนำเงินพร้อมดอกเบี้ยจากสหกรณ์ฯ ออกมาใช้ในบั้นปลาย 

    นับว่าเป็นคดีใหญ่ที่ทำให้การทำงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ถูกจับตามอง และควบคุมให้เคร่งครัดมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันผู้คนจึงไม่เลือกการออมทรัพย์ทั้งหมดไปกับสหกรณ์ฯ แต่ใช้สหกรณ์ ฯ เป็นหนึ่งในช่องทางลงทุนเสริมเท่านั้น

    สหกรณ์ออมทรัพย์

    สหกรณ์ออมทรัพย์ที่ดี ควรจะเป็นอย่างไร ?

    • จัดตั้งศูนย์กลางการบริหารสภาพคล่องของระบบสหกรณ์ 
    • ให้อำนาจทางกฎหมายแก่องค์กรที่กำกับดูแลสหกรณ์ เพื่อให้การกำกับดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นสหกรณ์คุณครู ให้อำนาจอยู่ที่คณะคุณครู ไม่ได้อยู่ที่ตัวสหกรณ์ ฯ เท่านั้น
    • ออกเกณฑ์กำกับดูแลด้านธรรมาภิบาลและด้านความมั่นคงเพิ่มเติม
    • เร่งปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งด้านระบบการติดตาม การรายงานข้อมูล ระบบบัญชี และบุคลากร

    หวังว่าอ่านมาถึงจุดนี้ ทุกคนจะเข้าใจความหมายของ สหกรณ์ออมทรัพย์ มากขึ้น ซึ่งสำหรับใคร ๆ ที่อาจไม่ได้ทำงาน อยู่ในองค์กรที่มีสหกรณ์ออมทรัพย์ แต่คิดว่ากำลังอยากจะลงทุนในรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน แรบบิท แคร์ อยากมาแนะนำช่องทางการลงทุนอื่น ๆ ที่มีดีไม่แพ้กันอย่าง ประกันสะสมทรัพย์ ออมเงินยาว ๆ คุ้มครองคุ้มค่า ตอบโจทย์พนักงานเงินเดือนสุด ๆ คลิกเลย


     

    บทความแคร์การเงิน

    Rabbit Care Blog Image 90939

    แคร์การเงิน

    ถูกยืมเงินบ่อย ๆ ควรปฏิเสธอย่างไร เพราะอะไรเราถึงมักตกเป็นเหยื่อการขอยืมเงิน ?

    ปัญหาชวนปวดหัวอย่างการถูกยืมเงินถือเป็นปัญหาที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเผชิญ ไม่ว่าจะด้วยเพราะสถานการณ์การเงินที่เป็นอยู่ลำพังเอาตัวเองให้รอดก็ลำบาก
    คะน้าใบเขียว
    23/07/2024
    Rabbit Care Blog Image 90909

    แคร์การเงิน

    กู้ซื้อคอนโดดีไหม ? ข้อดีและข้อเสียของการซื้อคอนโด

    ควรตัดสินใจซื้อคอนโดเป็นของตัวเองดีหรือไม่ ? ปัญหากวนใจของหลายคนซึ่งอยากที่จะมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองโดยที่ไม่ต้องเช่าซื้ออีกต่อไป
    คะน้าใบเขียว
    04/07/2024
    Rabbit Care Blog Image 90795

    แคร์การเงิน

    สุขภาพทางการเงินสำคัญอย่างไร จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีสุขภาพทางการเงินที่ดี

    แน่นอนว่าในเรื่องของสุขภาพทางการเงินนั้นถือเป็นเรื่องที่เราต่างก็พอทราบกันอยู่บ้าง ว่าควรจะดูแลสุขภาพทางการเงินของตนเองให้ดีอยู่เสมอ
    คะน้าใบเขียว
    20/06/2024