แคร์การเงิน

กองทุน กอช. ช่วยคนไทยเก็บเงินได้จริงหรือ?

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
 
 
Published: November 1,2017

ปัญหาอย่างหนึ่งที่ประเทศเรากำลังเจอก็คือเรื่องการออมเงิน เพราะสถิติที่น่าตกใจก็คือ คนไทยเริ่มเก็บเงินไว้ตอนเกษียณเมื่ออายุ 40 ปีเป็นต้นไป ในมุมเรื่องการวางแผนทางการเงิน ต้องบอกว่าเป็นการเริ่มต้นออมเงินเกษียณที่ช้าไปอย่างมาก เพราะถ้าออมเงินช้าไป 7 ปี เราต้องออมเงินเป็น 2 เท่าของปัจจุบัน หมายความว่า ถ้าเราออมเงินตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน​ (อายุ 24-25 ปี) เราจะออมเงินเพื่อเป้าหมายเกษียณน้อยกว่าตอนอายุ 40 ถึง 4 เท่าตัว!!!

ออมเงิน แบบไหนให้ทันใช้ก่อนเกษียณ

จากการที่ได้คุยและสอบถามถึงปัญหาเรื่องการออมเงินนั้น ปัญหาที่เจอบ่อยมากๆ ก็คือ ตั้งใจออมเงิน แต่เมื่อเวลาผ่านไปมีเรื่องต้องให้ใช้เงิน  ไม่ว่าจะเป็น

  • การซื้อรถ
  • ดาวน์บ้าน
  • ส่งลูกเรียน

หรือจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้ใช้เงิน พอเห็นเงินที่ออมไว้ใช้สำหรับเกษียณ แล้วก็คิดต่อไปว่า อีก 20-30 ปีนู้นกว่าจะได้ใช้ ไม่เป็นอะไรหรอกเอามาใช้ก่อนค่อยเก็บใหม่ พอเป็นแบบนี้อยู่เรื่อยๆ รู้ตัวอีกทีก็อายุ 40-50 ปีแล้ว กลายเป็นว่าเก็บเงินเกษียณไม่ทัน แบบนี้ถือว่าเราสอบตกเรื่องการวางแผนการเงินเลยทันที

ออมเงิน กองทุน กอช.

แต่ถ้าจะถามว่า  “เราจะออมเงินแบบไหนดี” เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะมีเงินใช้แน่ๆ ในวันที่ถึงเวลาเกษียณตัวเอง คำตอบก็คือ ไม่มีการออมเงินแบบไหนที่จะได้ผลสำเร็จไปมากกว่าการออมเงินภาคบังคับต่างๆ เช่น

  • ประกันสังคม
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • ประกันชีวิต
  • การลงทุนซื้อหุ้น

ซึ่งล่าสุดมีการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กองทุน กอช.) เป็นกองทุนการออมเงินเพื่อผู้สูงอายุที่ให้สิทธิประชาชนสัญชาติไทยเข้าเป็นสมาชิกระบบบัญชีรายบุคคล โดยกองทุนเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ  หมายถึงว่า เป็นกองทุนสำหรับคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสวัสดิการออมเงินอื่นๆ ของทางภาครัฐ​นั่นเอง

 กองทุน กอช. การออมเงินสำหรับคนไทย 

ถ้าถามต่อว่า พวกกองทุนการออมแห่งชาติช่วยคนไทยเก็บเงินได้จริงไหม คำตอบก็ต้องตอบว่าได้แน่นอน แต่!!! การเก็บออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาตินั้นถือว่าเป็นการออมเงินภาคบังคับที่บังคับเก็บออมที่ไม่เยอะสักเท่าไหร่

ขอบคุณภาพจาก http://www.mof.go.th/

เพราะเมื่อคำนวณประชาชนที่ออมเงินเข้ากองทุนการออมแห่งชาติไม่ต่ำกว่าเดือนละ 50 บาท และไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี แล้วรัฐบาลช่วยจ่ายสมทบให้สูงสุดไม่เกิน 1,200 บาทต่อปี ผลตอบแทนจากการลงทุนถือว่าไม่สูงมาก เพราะกองทุนการออมแห่งชาติต้องการความมั่นคงที่สูง ดังนั้น พอร์ตการลงทุนจึงไม่สามารถนำไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงได้

แต่อีกมุมของการวางแผนทางการเงินถือว่ามีไว้ก็ดีกว่าไม่มี เพราะถ้าเราสอบตกเรื่องการออมเงินมาโดยตลอด เมื่อถึงเวลาเกษียณไป  แต่ยังมีเงินบำนาญจากกองทุนการออมแห่งชาติอยู่ อย่างน้อยๆ ก็ยังมีเงินให้ใช้สอยได้

โดยส่วนตัวแล้วก็สนับสนุนให้มีการเก็บออมเงินเองเพิ่มเติม เพื่อรักษามาตรฐานการดำรงชีวิตหลังเกษียณอายุของตัวเอง ไม่ใช่ว่ามีกองทุน กอช. แล้วจะหวังพึ่งน้ำบ่อหน้าอย่างเดียวเพราะคิดแค่ว่าเดี๋ยวรัฐบาลก็ช่วยเหลือ เพราะถ้าเกิดรัฐบาลช่วยเหลือจริง ก็คงได้ไม่เยอะเท่าที่ควร

แล้วพื้นฐานของการวางแผนการเงินก็คือ ต้องถามตัวเองเสมอว่า ถ้าไม่เป็นอย่างที่คิด เราจะมีแผนการรับมืออย่างไรได้บ้าง? เคยถามตัวเองกันบ้างหรือเปล่าว่า ถ้าไม่มีคนช่วยเหลือ เราจะมีชีวิตหลังเกษียณเป็นอย่างไร จะเอาเงินที่ไหนใช้ตอนเกษียณเพราะอย่าลืมว่า รัฐสวัสดิการบ้านเรายังไม่พัฒนาเหมือนประเทศอื่นๆ ดังนั้น การดูแลตัวเองก็เป็นสิ่งที่ควรทำที่สุดแล้ว


 

บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024