แคร์การเงิน

HS Code คืออะไร?ทำไมคนที่สั่งของจากต่างประเทศจึงควรรู้จัก!

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: May 11,2023
HS Code

ปัจจุบันการค้าขายไร้พรมแดนมากขึ้น ขุมทรัพท์สินค้าที่แปลกใหม่ สร้างกำไรมากมาย มาจากต่างประเทศ ตลาดต่างชาติที่เราสามารถไปหามา แล้วนำมาขายในตลาดเมืองไทย ทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ โดยสิ่งที่หลายคนมองข้าม แต่สำคัญมาก ๆ หากอยากนำเข้า สั่งของจากต่างประเทศเข้าไทย คือ HS Code เพราะ HS Code มีผลต่อภาษีอาการที่เราต้องจ่าย ! บอกเลย ไม่รู้ไม่ได้จริง ๆ !

HS Code คือ ?

HS Code ย่อมาจาก Harmonized System Code แปลตรงตัวว่า ‘รหัสศุลกากร’ เป็นระบบการจำแนกประเภทสินค้าที่นำเข้าหรือส่งออก โดยใช้ในการพิจารณาภาษีนำเข้าและส่งออกในการตรวจความถูกต้องในการขนส่งสินค้าข้ามชาติ แต่ละประเภทของสินค้าจะมีรหัส HS Code ที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งใช้เพื่อแบ่งแยกประเภทของสินค้าต่างๆ ในการทำธุรกรรมสินค้าระหว่างประเทศ ระบบ HS Code ได้รับการยอมรับและใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศต่างๆทั่วโลก มีมากกว่า 170 ประเทศ ซึ่งเป็นมาตรฐานการค้าระหว่างประเทศ

โดยรหัส HS Code จะมีการปรับเปลี่ยนแปลงทุก ๆ 5 ปี ซึ่งจะจัดประชุมโดยองค์กรณ์นานาชาติ WCO (World Custom Organization) ซึ่งลาสุดเรากำลังใช้ HS Code ที่จดทะเบียนไว้ภายในวันที่ 1 มกราคม 2565 หรือเรียกกันว่า HS Code 2022

HS Code

ประเภทของ HS Code 

HS Code ทั่วไป (Basic HS Code) 

HS Code แบบทั่วไป คือรหัส HS Code ที่ใช้เหมือนกันทั่วโลก นั่นก็คือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ว่าจะส่งไปที่ประเทศใดก็จะมีรหัส HS Code เหมือนกันหมดยังคงเดียวกันทั่วโลก จะเป็นรูปแบบตัวเลข 2, 4, และ 6 หลัก โดยไม่มีความแตกต่างในระดับ 6 หลักทั่วโลก และความหมายของรหัส HS Code ยังคงเดียวกันทั่วโลก

HS Code เฉพาะเจาะจง (Commodity Codes)

Commodity Codes คือรหัสสินค้าประกอบด้วยรหัส HS Code ที่มี 8, 10, และ 12 หลัก ตามข้อมูลที่เข้าใจได้ หลังจากผ่านเวลาไป WCO ตระหนักว่าการจัดประเภทเพียงแค่ 6 หลักไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมสินค้าทั่วโลก ดังนั้นก็ถึงเวลาที่รหัสสินค้าประกอบด้วยรหัสสินค้า 8, 10, และ 12 หลักถูกสร้างขึ้น เรียกว่ารหัสสินค้าเชิงวัตถุที่แตกต่างกันตามประเทศ หมายความว่าทุกประเทศจะมีชุดรหัสสินค้าเชิงวัตถุที่ไม่เหมือนกันของตนเองที่มีรหัสสินค้า 8, 10, และ 12 หลักที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละประเทศ

วิธีการอ่าน HS Code โดยย่อ

โดยพื้นฐานแล้วรหัส HS Code จะประกอบด้วยตัวเลข 11 หลัก ซึ่งตัวเลขแต่ละจุดก็จะสามารถบ่งบอกว่าสินค้านั้น ๆ คืออะไร มาจากประเทศอะไร ซึ่งจะขอยกตัวอย่างตัวเลขขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนเห็นภาพมากที่สุด

HS Code ฉบับสมมุติ 

1111 11 – 22 – 333 

เลข 6 หลักแรก (1111 11) : กำหนดโดยองค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

เลขหลักที่ 7 และ 8 (22) : พิกัดอัตราศุลกากรที่ตกลงกันในกลุ่มสมาชิกอาเซียน (ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature : AHTN) เพื่อเป็นมาตรฐานที่ใช้ร่วมกันในกลุ่มสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งหากเป็นสินค้าที่ไม่ได้สั่งจากภูมิภาคอาเซี่ยน อาจไม่มีตัวเลข 2 หลักนี้ใน HS Code

เลข 3 หลักสุดท้าย (333) : รหัสสถิติที่กำหนดโดยกรมศุลกากรของไทย เพื่อให้สามารถจำแนกสินค้าได้ละเอียดขึ้น เพื่อประโยชน์ในการจัดทำสถิติการค้า

นอกจากนั้น HS Code ยังสามารถ 6 หลักแรกยังสามารถบ่งบอกลักษณะของสินค้าได้อีกด้วย

HS Code
  • ตอน (Chapter) : HS Code ระบุว่าสินค้าอยู่ในหมวดหมู่สินค้าอะไรโดยกว้าง ยกตัวอย่างเช่น 29 กำหนดให้เป็น 08 อยู่ในหมวดหมู่ของผลไม้ และถั่วที่รับประทานได้
  • ประเภท (Heading) : ระบุประเภทของสินค้าแต่ละอย่างให้ละเอียดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น 29.07 คือฟีนอลและฟีนอลแอลกอฮอลล์ ส่วน 08.14 คือผลไม้กลุ่มซิทรัส และเมล่อน เช่นเลม่อน หรือแตงโม
  • ประเภทย่อย (Sub-heading) : HS Code ระบุประเภทของสินค้าที่ยิบย่อยลงไปอีก เช่น 08.08.10 คือแอปเปิ้ล เป็นต้น

ตัวอย่างรหัส HS Code

HS Code แล็ปท็อป : 8471.30.20.000

HS Code โทรศัพท์มือถือ : 8517.13.00.000

HS Code มะม่วง : 0804.50.10.000

HS Code ข้าวหอมมะลิ : 1006.30.40.000 

โดยหากรหัส HS Code ของสินค้าระบุมาเพียง 847130 หรือเป็นตัวเลข 6 หลัก ให้เราตีความไว้ว่าเป็นสินค้าที่สามารถใช้รหัส HS Code ทั่วไป ซึ่งไม่ว่าจะส่งไปที่ประเทศใด ก็จะใช้รหัสเดียวกันหมดเลย  

HS Code ใช้ทำอะไรบ้าง ? 

HS Code ใช้ในการจัดประเภทสินค้าที่นำเข้าหรือส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ โดยระบบ HS Code จะมีรหัสที่แตกต่างกันตามลักษณะและปริมาณของสินค้า เพื่อให้การติดต่อกับหน่วยงานศุลกากรในแต่ละประเทศเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ HS Code ยังใช้ในการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าส่งออกสินค้า และสำหรับการเฝ้าระวังและควบคุมการค้าสินค้าที่ถูกกฎหมายและสินค้าที่ต้องการการอนุมัติพิเศษอื่นๆ โดยผู้ประกอบการที่นำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะต้องใช้ HS Code ในการรายงานการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าให้กับหน่วยงานศุลกากรในแต่ละประเทศ

ดู HS Code ที่ไหน ?

ก่อนอื่นขั้นตอนแรกที่คนอาจไม่รู้คือ เราสามารถดู HS Code ได้ที่ไหนบ้าง ? ซึ่งในที่นี้ไม่สามารถให้คำตอบที่ถูกต้องได้อย่าง 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะการซื้อสินค้าระหว่างประเทศของแต่ละจ้าวก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ไม่ได้เหมือนกันไปเสียหมด แต่ส่วนมากแล้ว HS Code ก็จะเป็นสิ่งที่สามารถตรวจสอบได้ไม่ยาก เช่นจากใบสั่งซื้อออนไลน์ หรือจากใบเสร็จ

โดยหากคู่ค้าจ้าวไหนไม่ระบุมา ควรสอบถามเพิ่มเติม และให้ระบุมาให้ผู้ซื้อด้วยเลย เนื่องจากรหัส HS Code จะมีผลต่อการจ่ายอัตราภาษีนำเข้าที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้นหากเราทราบถึงรหัส HS Code ของแต่ละสินค้า เราก็จะสามารถนำไปตรวจสอบได้ แต่หากร้านค้าใดไม่มี HS Code หรือมีความบ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้ อาจต้องมาพิจารณาอีกทีว่าควรจะซื้อจริง ๆ หรือไม่ ? สินค้าที่ได้อาจมีความไม่ตรงกับสินค้าที่สั่งจริง ๆ รึเปล่า ? ก็จะต้องดูอีกที

ขั้นตอนการนำ HS Code ไปตรวจสอบภาษี

ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่าเราสั่งสินค้าจากต่างประเทศมูลค่าเท่าไหร่ หากมีมูลค่าเกิน 1,500 บาท คุณจะต้องเสียภาษีนำเข้า หรือภาษีศุลกากร ซึ่งหากใครอยากจะตรวจสอบว่าจะต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ ก็สามารถคลิกเข้ามาตรวจสอบกับกรมศุลกากร เพื่อค้นหาพิกัดอัตราศุลกากร ได้เลย 

สิ่งที่จะต้องกรอก เพื่อให้ทราบอัตราภาษี คือ :

  • รหัสพิกัด 2,4,6,8 หลัก (บอกรหัสตัวเลขข้างหน้า ในกรณีที่ HS Code เกิน 8 หลัก)
  • คำอธิบายภาษาไทย (ระบุ หรือไม่ระบุก็ได้)
  • คำอธิบายภาษาอังกฤษ (ระบุ หรือไม่ระบุก็ได้)
  • วันที่นำเข้า

HS Code

ข้อมูลที่จะได้จากกรมศุลกากร

  • ประเภทของสินค้าที่จะนำเข้า โดยจะบอกเป็นรหัส 4 หลัก
  • ลักษณะของสินค้า พร้อมคำอธิบายสินค้าที่เราสั่งซื้อมาเชิงพาณิชย์ เช่น หากเป็นสินค้าประเภทคอมพิวเตอร์ จะระบุว่า  : เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติและหน่วยต่าง ๆ ของเครื่องดังกล่าว รวมทั้งเครื่องอ่านข้อมูลระบบแม่เหล็กหรือแสง เครื่องจักรถ่ายทอดข้อมูลให้เป็นรหัสลงบนสื่อบันทึกข้อมูลและเครื่องจักรสำหรับประมวลข้อมูลดังกล่าว ที่ไม่ได้ระบุหรือรวมไว้ในที่อื่น
  • อัตราภาษีอากร โดยจะระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยสามารถระบุได้ด้วยว่าอยากจะตรวจสอบอัตราภาษีอากรรูปแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นตามมาตรา 12 / อัตราภาษีอาการภายในภูมิภาคอาเซี่ยน / อัตราภาษีอาการของ WTO (​​World Trade Organization) และอื่น ๆ อีกมากมาน

อัปเดท HS Code 2022

ในปี 2022 มีสินค้าเยอะมาก ๆ ที่ได้ถูกเพิ่มรหัสเข้าไปใน HS Code 2022 ซึ่งทาง WCO ได้แบ่งสินค้าออกเป็นหลากหลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น : 

  • ประเภทเกษตรกรรม : เพิ่มประเภทปู, ข้าวสายพันธุ์ใหม่, เห็ด, แมลง
  • ประเภทเครื่องจักร : ตู้ชีวนิรภัย, หุ่นยนต์อุตสาหกรรม 
  • ประเภทเคมีภัณฑ์ : เซลล์บำบัด, ชุดทดสอบด้วยตนเอง
  • ประเภทไม้ : เพิ่มไม้เมืองร้อน, ไม้สัก, ไม้อัดแท่ง
  • ประเภทยานพาหนะ : อากาศยานไร้คนขับ,เรือบรรทุกของเหลวขนาดต่างๆ
  • ประเภทสิ่งทอ : เพิ่มเส้นใยคาร์บอน, ผ้ากรองที่ใช้กับเครื่องอัดน้ำมัน

หวังว่าตอนนี้เราจะได้รู้ความหมายของ HS Code กันมากขึ้นแล้ว ! ซึ่งมีประโยชน์มาก ๆ ไม่ใช่แค่กับคนที่ทำธุรกิจระหว่างประเทศ แต่เดี๋ยวนี้คนทั่วไปก็สามารถสั่งซื้อของจากต่างประเทศได้ด้วย ใครที่คิดอยากสั่งของนอกมาส่งถึงประตูบ้าน แนะนำ บัตรเครดิต ที่ แรบบิท แคร์ มีมาให้เลือกจากธนาคารชั้นนำมากมาย ยิ่งใช้ ยิ่งคุ้ม ยิ่งได้แคชแบค คลิก สมัครเลย

  
เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ ง่ายๆ แค่ 30 วิ คลิกเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักการกิน
  

 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 90909

แคร์การเงิน

กู้ซื้อคอนโดดีไหม ? ข้อดีและข้อเสียของการซื้อคอนโด

ควรตัดสินใจซื้อคอนโดเป็นของตัวเองดีหรือไม่ ? ปัญหากวนใจของหลายคนซึ่งอยากที่จะมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองโดยที่ไม่ต้องเช่าซื้ออีกต่อไป
คะน้าใบเขียว
04/07/2024
Rabbit Care Blog Image 90795

แคร์การเงิน

สุขภาพทางการเงินสำคัญอย่างไร จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีสุขภาพทางการเงินที่ดี

แน่นอนว่าในเรื่องของสุขภาพทางการเงินนั้นถือเป็นเรื่องที่เราต่างก็พอทราบกันอยู่บ้าง ว่าควรจะดูแลสุขภาพทางการเงินของตนเองให้ดีอยู่เสมอ
คะน้าใบเขียว
20/06/2024
Rabbit Care Blog Image 89494

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024