เทคนิคการขับรถขึ้นเขา – ลงเขาอย่างไรให้ปลอดภัย
เชื่อว่านักเที่ยวหลาย ๆ คนที่เป็นขาลุยต้องมีความชื่นชอบกับการการขับรถขึ้นเขาเพื่อไปชมวิวธรรมชาติภูเขาที่สวยงามอย่างแน่นอน แต่การขับรถขึ้นเขา ลงเขานั้นถ้าไม่รู้เทคนิคอะไรเลย อาจเสี่ยงอันตรายต่าง ๆ ได้ เพราะทางถนนบนภูเขานั้น ส่วนใหญ่แล้วมีความซับซ้อน และความลาดชัน ทางเนิ่นสูงแคบ เข้าโค้งหักศอก ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องใช้ประสบการณ์และเทคนิคในการขับขี่ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งวันนี้ Rabbit Care มีเทคนิคดี ๆ ที่เป็นประโยชน์มาฝากกัน
ใคร ๆ ก็ทำได้ กับเทคนิคการขับรถ ขึ้น-ลงเขา
1.ขึ้น-ลงเขาต้องใช้เกียร์ต่ำ
ช่วงระยะเวลาที่เรากำลังจะขับรถขึ้นเขาที่มีความลาดชันนั้นรถยนต์ต้องการแรงกว่าการขับรถบนถนนปกติทั่วไป ดังนั้นผู้ที่ขับขี่ที่ใช้เกียร์ธรรมดาควรใช้เกียร์ 1 และ 2 เท่านั้น ส่วนรถเกียร์ออโต้ ให้เปลี่ยนไปในตำแหน่ง L และเมื่อพ้นทางชันให้ปรับเข้าเกียร์ D อย่าลากเกียร์ต่ำ เพราะเครื่องยนต์จะมีรอบสูง พยายามให้รอบเครื่องอยู่ประมาณ 2000-3500 ควบคุมไม่ให้เกิน 4500 โดยใช้ความเร็วอยู่ที่ประมาณ 50-80 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรืออาจช้ากว่านี้ก็ได้
2.แตะเบรกเป็นระยะ
การแตะเบรกเป็นระยะในช่วงที่มีการขับลงเขาจะเป็นการช่วยให้ชะลอความเร็วของรถ แต่ไม่ควรที่จะแตะเบรกแช่ยาว เพราะจะทำให้เบรกไหม้และเบรกไม่อยู่ได้ ฉะนั้นแล้วควรแตะเบรกในจังหวะที่จำเป็นเท่านั้น พื่อป้องกันการเบรกกระทันหัน โดยเฉพาะสำหรับทางลงเขา ที่มีความชันมาก และก่อนการเดินทางขึ้นเขา ลงเขาควรตรวจสอบเบรกรถยนต์ให้เรียบร้อยด้วย ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและพร้อมใช้งาน
3. ระยะทางเข้าโค้ง
เมื่อขับถึงทางเข้าโค้งระหว่างทางขึ้นเขาและลงเขา ผู้ขับขี่ควรขับชิดซ้ายเอาไว้ เผื่อหากมีรถอีกฝั่งแซงมาในทางโค้งจะได้หลบหลีกได้ทัน และเวลาเข้าโค้งจึงเมื่อต้องขับรถโค้งต่อเนื่องรูปตัว S มองให้ไกลไว้ เมื่อแน่ใจว่าทางสะดวกไม่มีรถสวน จากนั้นเสียบตัดโค้งในแนวการขับให้เป็นเส้นตรงมากที่สุด นอกจากนี้ต้องมองให้แน่ชัดและมองให้ลึกว่าทางด้านหน้าว่าง ไม่มีรถสวนมา ค่อยถอนคันเร่ง และค่อยตัดโค้งให้เป็นเส้นตรงมากที่สุด
4.การขับในทัศนวิสัยที่ไม่ดี
การขับรถขึ้นเขา ลงเขา ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นทางที่มีความโค้งแคบที่มีสันเขาบังสายตา หรือมีมุมอับควรเข้าโค้งแบบธรรมดา และต้องบีบแตรส่งสัญญาณก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันรถที่วิ่งสวนทางมาได้ แต่สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างนั้นคือ สมาธิต้องดีไม่วอกแวก เพราะจะทำให้เพิ่มความปลอดภัยได้มากขึ้นระหว่างการขับขี่ขึ้นเขา และลงเขานั่นเอง
5.ไม่ควรแซงไปมาระหว่างขับรถขึ้น ลงเขา
อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า การขับรถขึ้นเขา ลงเขานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นถนนหนทางที่มีความแคบและคดเคี้ยว ทำให้ไม่สามารถมองเห็นรถอีกฝั่งได้ เพราะถูกทางโค้งหรือ ภูเขา หรือต้นไม้บดบัง จึงไม่ควรขับแซง เนื่องจากอุบัติเหตุบนเขาส่วนใหญ่ มาจากการแซงทางโค้ง หรือแซงโดยที่ไม่เห็นรถอีกฝั่ง แต่หากจำเป็นต้องขับแซงรถคันหน้า ให้รอจังหวะในทางราบ หรือไม่ชันมากนัก เพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุนั่นเอง
6.เมื่อมีกลิ่นไหม้ที่รถควรรีบจอด
เมื่อผู้ขับขี่ได้กลิ่นเหม็นไหม้มาจากรถของเรา ให้รีบหาที่จอดในที่ที่ปลอดภัยทันที เพราะกลิ่นไหม้นั้นอาจจะเกิดขึ้นมาจาก เครื่องร้อนมากเกินไป หรืออาจเกิดเบรคไหม้เกิดขึ้น อย่าพยายามฝืนขับต่อไปเด็ดขาดเพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหุตบนเขาแล้ว ในบางครั้งสัญญาณโทรศัพท์ค่อนข้างหายากจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหยุดและเช็คสภาพก่อนสายเกินแก้
7.ตรวจเช็คสภาพรถก่อนขึ้น ลงเขา
ก่อนนำรถออกไปเที่ยวขับขึ้นเขา เราควรที่จะตรวจสอบเช็คสภาพรถก่อนทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าการขับขี่ในครั้งเครื่องยนต์ไม่ได้มีปัญหาอะไร และทางที่ดีควรเป็นรถยนต์ที่มีกำลังแรงอย่างน้อยๆ 1800 ขึ้นไป หากใช้เครื่องยนต์ที่น้อยกว่านี้อาจจะไม่มีกำลังแรงส่งของเกียร์ได้ อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้นได้ โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนที่ถนนลื่นต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษด้วย
8.ซื้อประกันรถยนต์
ไม่ว่าจะเป็นทริปไหน ๆ หากเรามีประกันรถยนต์จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจในทุกการเดินทาง ซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ เพราะปัจจุบันประกันรถยนต์นั้นมีให้เลือกมากมายหลากหลายประเภททั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ชั้น 2+, ชั้น 3+ และ 3 ซึ่งค่าเบี้ยประกันและความคุ้มครองก็มีความแตกต่างกันออกไป อาทิ
- ประกันรถยนต์ชั้น 1 เหมาะกับผู้ขับขี่ที่ประเมินตนเองว่ามีประวัติความเสี่ยงในด้านต่างๆ ระหว่างขับขี่รถยนต์จนต้องการประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองมากที่สุด
- ประกันรถยนต์ชั้น 2+ เหมาะกับผู้ขับขี่ที่ต้องการประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองมาก แต่ราคาประกันประกันรถยนต์ชั้น 2+ ถูกกว่าประกันรถยนต์ชั้น 1 แต่ความคุ้มครองต่างกัน
- ประกันรถยนต์ชั้น 3+ เหมาะกับผู้ขับขี่ที่ประเมินตนเองว่ามีประวัติความเสี่ยงในด้านต่างๆ ระหว่างขับขี่ไม่มาก หรือไม่ค่อยได้ใช้รถ น
- ประกันรถยนต์ชั้น 3+ และ ชั้น 3 ให้ความคุ้มครองกับรถฝ่ายคู่กรณีเท่านั้น เช่น มีการซ่อมต่างๆ จนเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นจากรถฝั่งคู่กรณี ทางบริษัทประกันภัยของผู้เอาประกันก็จะรับผิดชอบให้โดยที่ผู้ขับขี่ไม่ต้องจ่ายเงินในส่วนนี้เอง
เลือกซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ ได้ที่ Rabbit Care
มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี