แคร์เรื่องประกันยานยนต์

ค่าทำขวัญ รถชนคืออะไร? ใครต้องรับผิดชอบ?

ผู้เขียน : Thirakan T
Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: March 15,2024
  
Last edited: March 13, 2024
ค่าทำขวัญ รถชน

หลายครั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ค่าทำขวัญ รถชน มักเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเมื่อรถของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีประกันทั้งคู่ ทำให้ฝ่ายผู้เสียหายอาจยื่นคำขาดให้ผู้กระทำผิดจ่ายค่าเสียหายเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นทันที และผู้กระทำผิดอาจจำใจต้องจ่ายเนื่องจากรถไม่มีประกัน และไม่ต้องการให้เรื่องบานปลายไปจนถึงขั้นแจ้งความดำเนินคดี แต่หลายคนอาจสงสัยว่าจำเป็นต้องจ่ายหรือไม่ ใครต้องเป็นผู้จ่าย และต้องจ่ายเท่าไร วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว

ห้ามพลาด! ประกันรถชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 1,000.-/เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

ค่าทำขวัญ รถชน คืออะไร?

ค่าทำขวัญ คือ ค่าสินน้ำใจ หรือค่าชดใช้ความเสียหายเพิ่มเติมที่คู่กรณียินยอมจ่ายให้ นอกเหนือจากค่าชดเชยความเสียหายที่บริษัทประกันภัยให้ความรับผิดชอบตามความคุ้มครองที่ระบุเอาไว้ในสัญญากรมธรรม์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเยียวยาผู้เสียหายเบื้องต้นตามที่ผู้เสียหายร้องขอ หรือเพื่อแลกเปลี่ยนกับการไม่ร้องเรียนค่าชดเชยความเสียหายจากบริษัทประกันภัย หรือเพื่อแลกเปลี่ยนไม่ติดใจเอาความใด ๆ

ทั้งนี้ ค่าทำขวัญ รถชน ไม่สามารถเรียกร้องจากประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (พ.ร.บ.) หรือประกันภัยรถยนต์ทั่วไปได้ เนื่องจากไม่มีระบุความหมายหรือคำจำกัดความไว้ในกฎหมาย จึงเป็นเรื่องการตกลงปลงใจระหว่างทั้งฝ่ายผู้กระทำความผิด และฝ่ายคู่กรณีในการตกลงค่าทำขวัญ

ค่าทำขวัญ รถชน ต่างกับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถอย่างไร?

ค่าทำขวัญ รถชน คือ ค่าสินน้ำใจตามแต่ตกลงกันเองระหว่างคู่กรณี ไม่มีเกณฑ์กำหนดตายตัว จะจ่ายก็ได้ไม่จ่ายก็ได้ขึ้นอยู่กับการเจรจาไกล่เกลี่ย ไม่เกี่ยวกับเงินสินไหมชดเชยความเสียหายที่บริษัทประกันภัยจ่ายให้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย และคู่กรณีไม่สามารถเรียกร้องค่าทำขวัญจากบริษัทประกันภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อเยียวยาผู้เสียหายเบื้องต้น หรือเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่ผู้เสียหายจะไม่แจ้งความดำเนินคดีต่อไป

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือ ค่าสินไหมทดแทนรูปแบบหนึ่งที่ชดเชยให้กับเจ้าของรถคันเอาประกัน หรือรถคู่กรณีที่รถได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุจนไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ สามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ได้จากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี โดยอ้างอิงค่าชดเชยตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พร้อมแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายการเดินทางในระหว่างที่รอรถยนต์ซ่อมแล้วเสร็จให้ครบถ้วนเพื่อประกอบการพิจารณา

ค่าทำขวัญกับค่าเสียเวลาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

มีความหมายคล้ายหรือใกล้เคียงกัน โดยค่าทำขวัญ รถชน คือ เงินสินน้ำใจจำนวนหนึ่งที่อยู่ภายใต้การตกลงร่วมกันระหว่างคู่กรณี ผู้กระทำผิดจ่ายให้ผู้ได้รับความเสียหาย ไม่มีเกณฑ์ในการจ่าย และมีวัตถุประสงค์เพื่อเยียวยาเบื้องต้น หรือเพื่อแลกเปลี่ยนกับการไม่ฟ้องร้องดำเนินคดี ในขณะที่ค่าเสียเวลาอาจหมายถึงค่าเสียโอกาสที่ผู้เสียหายต้องได้รับความเสียหาย และต้องเลื่อนหรือเปลี่ยนแผนการการใช้ชีวิตกระทันหัน

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความหมายและวัตถุประสงค์ที่ผู้พูดต้องการสื่อ หากต้องการสื่อถึงค่าชดเชยกรณีที่ไม่สามารถใช้งานยานพาหนะได้ตามปกติ ต้องใช้วิธีการเดินทางรูปแบบอื่น ๆ กรณีนี้จะสอดคล้องกับความหมายของค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถมากกว่า

รถชน

ค่าทำขวัญ รถชน ควรเรียกกี่บาท?

ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวในการเรียกค่าทำขวัญ เนื่องจากค่าทำขวัญเป็นเงินสินน้ำใจที่ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างคู่กรณี จะจ่ายก็ได้ไม่จ่ายก็ได้ ทั้งนี้ หากต้องการหรือจำเป็นต้องจ่ายค่าทำขวัญ สามารถพิจารณาจ่ายหรือเรียกค่าทำขวัญตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง เช่น ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถของคู่กรณี อาการบาดเจ็บของคู่กรณี ระยะเวลาทั้งหมดที่เกิดอุบัติเหตุ และอื่น ๆ ตามความเหมาะสมหรือตามแต่ตกลง

ค่าทำขวัญ รถชน ใครเป็นคนจ่าย?

ผู้ที่ต้องเป็นฝ่ายจ่ายค่าทำขวัญ คือ ฝั่งผู้กระทำผิด ไม่ใช่บริษัทประกันภัย เนื่องจากค่าทำขวัญไม่อยู่ในเงื่อนไขความคุ้มครองพื้นฐานของกรมธรรม์ประกันภัยของประกันรถยนต์ เป็นการตกลงไกล่เกลี่ยและจ่ายกันเองระหว่างคู่กรณี โดยจะเป็นการจ่ายค่าสินน้ำใจตามที่ตกลงกับคู่กรณีให้แก่คู่กรณีโดยตรงทันทีในที่พื้นที่เกิดเหตุก่อนแยกย้ายจากพื้นที่เกิดเหตุ หรือทยอยจ่ายให้ในภายหลังตามแต่ตกลง ทั้งนี้ อาจมีการตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ตกลงกันโดยมีพยานร่วมรับรู้ หรือแม้กระทั่งอาจเป็นเพียงคำพูดหรือบทสนทนาระหว่างกันเท่านั้น

ประกันชั้น 1 จ่ายค่าทำขวัญ รถชน ไหม?

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ไม่มีการจ่ายชดเชยค่าสินไหมชดเชยความเสียหายในรูปแบบของค่าทำขวัญ รถชน ใดใดให้แก่คู่กรณี หรือผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของผู้กระทำผิดที่ได้ทำประกันรถยนต์ไว้ เนื่องจากค่าทำขวัญไม่ตรงตามหลักเกณฑ์หรือหมวดในการพิจารณาจ่ายค่าชดเชยความเสียหาย ไม่มีหลักฐานในการ พิจารณาจ่ายชดเชย รวมทั้งกรมธรรม์รถยนต์ทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจมีรายละเอียดหมวดความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุรถยนต์ชันเจนและครอบคลุมอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น หมวดความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถ หมวดความคุ้มครองชีวิต อนามัยและทรัพย์สินบุคคลภายนอก หมวดความคุ้มครองชีวิตและอนามัยผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร

ทั้งนี้ หากคู่กรณีหรือผู้ได้รับความเสียหายมองว่าเงินสินไหมชดเชยค่าเสียหายที่ได้รับจากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ของคู่กรณีไม่เพียงพอหรือไม่ครอบคลุมสอดคล้องกับสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ผู้ได้รับความเสียหายสามารถต่อรองกับริษัทประกันได้โดยตรง โดยแสดงหลักฐานความเสียหายต่อเนื่องที่ได้รับให้ชัดเจน หากไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ควรติดต่อหน่วยงานภาครัฐให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางช่วยไกล่เกลี่ย เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ต่อไป

ประกันรถยนต์แต่ละชั้นจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างไรบ้าง

การจ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีเกิดอุบัติเหตุสำหรับประกันภัยรถยนต์ ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันที่คุณเลือกใช้ ซึ่งประกันแต่ละชั้นจะมีเงื่อนไขในการจ่ายค่าทำขวัญที่แตกต่างกันออกไป

1. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1

คุ้มครองเต็มรูปแบบ : ประกันชั้น 1 เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด ครอบคลุมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถของคุณ รถของคู่กรณี และบุคคลภายนอก ซึ่งรวมถึงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่คู่กรณีหรือบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

จ่ายค่าทดแทนในกรณี : การบาดเจ็บของคู่กรณีหรือบุคคลภายนอก รวมถึงค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขความคุ้มครอง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายทางจิตใจ หรือค่าชดเชยการสูญเสียรายได้จากการหยุดงาน

ครอบคลุมตัวรถและค่าซ่อมแซม : ประกันชั้น 1 ยังครอบคลุมการซ่อมแซมรถของคุณเองด้วย ทำให้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองในกรณีที่ต้องรับผิดชอบค่าทำขวัญ

2. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+

คุ้มครองบางกรณีที่มีคู่กรณี : ประกันชั้น 2+ คุ้มครองการชนที่มีคู่กรณี และจะจ่ายค่าสินไหมให้กับบุคคลภายนอกในกรณีที่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตเช่นเดียวกับประกันชั้น 1 แต่ในกรณีที่ไม่มีคู่กรณี ประกันชั้น 2+ จะไม่คุ้มครอง

ไม่ครอบคลุมค่าเสียหายรถของตนเองในกรณีไม่มีคู่กรณี : ประกันชั้นนี้จะไม่ครอบคลุมค่าซ่อมแซมรถของคุณเอง หากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี ดังนั้น ค่าสินไหมจึงจะจ่ายเฉพาะในกรณีที่มีการชนกับรถของคู่กรณีเท่านั้น

3. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+

คุ้มครองเมื่อมีคู่กรณี : ประกัน 3+ คือ ประกันที่มีการคุ้มครองเฉพาะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเช่นเดียวกับประกันชั้น 2+ และจะจ่ายค่าสินไหมให้กับคู่กรณีหรือบุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่ครอบคลุมความเสียหายของตัวรถของคุณในกรณีไม่มีคู่กรณี

ไม่ครอบคลุมอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี : ค่าสินไหมจะถูกจ่ายเฉพาะเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีและบุคคลภายนอกเท่านั้น

4. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 และ 3

คุ้มครองเฉพาะบุคคลภายนอก : ประกันรถชั้น2 และประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกและคู่กรณี แต่ไม่ครอบคลุมค่าซ่อมแซมหรือค่าทำขวัญสำหรับรถของคุณเอง 

การจ่ายค่าสินไหม : ประกันชั้น 2 และประกันชั้น 3 จะจ่ายค่าสินไหมให้กับคู่กรณีหรือบุคคลภายนอกเท่านั้นในกรณีที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

ค่าทำขวัญ

ค่าทำขวัญ รถชน ไม่จ่ายได้ไหม?

สามารถที่จะไม่จ่ายค่าทำขวัญ รถชน ได้ แม้ว่าจะเป็นผู้กระทำความก็ตาม เนื่องจากค่าทำขวัญเป็นจำนวนเงินที่ตกลงกันระหว่างสองฝ่าย ไม่มีเกณฑ์ในการจ่ายที่ตายตัว รวมถึงไม่ถูกบังคับด้วยกฎหมาย จึงทำให้ผู้กระทำไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าทำขวัญตามที่คู่กรณีหรือผู้เสียหายเรียกร้องมาได้

อย่างไรก็ตาม ผู้กระทำหรือบริษัทประกันภัยรถยนต์ของรถคันเอาประกันต้องเป็นผู้รับผิดชอบและชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก้ผู้ได้รับความเสียหายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง หรือตามเงื่อนไขความรับผิดชอบที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย โดยผู้เสียหายต้องแสดงรายละเอียดหรือหลักฐานความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน เช่น ใบรับรองแพทย์ ประวัติการรักษา ใบแจ้งความ หรือใบเคลม

อายุความการเรียกร้องค่าเสียหาย หรือค่าทำขวัญ รถชน กี่เดือน?

อายุความการแจ้งความเพื่อประกอบการเรียกร้องค่าเสียหายใดใดก็ตาม ต้องทำภายในหนึ่งปีหลังจากที่ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย โดยอ้างอิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า  “สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด”

ค่าทำขวัญ รถชน ในความหมายของประกันรถ หมายความว่าอะไร?

ค่าทำขวัญรถชน ไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมาย รวมถึงไม่มีระบุแยกไว้เป็นหมวดค่าชดเชยสินไหมแยกเฉพาะหมวด เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์หรือวัดความเสียหายได้อย่างชัดเจน รวมถึงหากผู้เสียหายต้องการเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถ ชีวิต อนามัย หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง สามารถเรียกร้องได้โดยตรงจากกรมธรรม์ประกันภัยทั้งภาคสมัครใจ และภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ซึ่งจะมีรายการความคุ้มครองความเสียหายแยกประเภทไว้อย่างชัดเจน

หากประกันของผู้กระทำผิดไม่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมความเสียหายที่ร้องขอ หรือมีมูลค่าไม่เหมาะสมกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องได้โดยตรงจากบริษัทประกันภัย หรือผู้รับประกันภัยของผู้กระทำผิดได้โดยแยกเป็นรายการข้อเรียกร้อง พร้อมหลักฐานประกอบแสดงมูลค่าความเสียหายเป็นตัวเลข เพื่อให้สะดวกต่อการอ้างอิงและเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม โดยไม่ต้องเรียกร้องค่าทำขวัญ รถชน แต่อย่างใดนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม กฎหมายมีการระบุค่าเสียหายทางจิตใจ ไว้ว่าเป็นค่าเสียหายอื่นอันไม่ใช่ตัวเงิน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะตีไม่สามารถตีมูลค่าความเสียหายประเภทนี้ได้ ซึ่งศาลจะเป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาและกำหนดจำนวนค่าเสียหายประเภทนี้ให้คู่กรณี ทำให้จำเป็นต้องมีการฟ้องร้องและนำเรื่องส่งฟ้องต่อศาลนั่นเอง

ค่าทำขวัญรถชน


แรบบิท แคร์ รวบรวมแบบประกันรถยนต์ชั้น 1 จากทุกบริษัทประกันชั้นนำมาให้เลือกเปรียบเทียบออนไลน์ได้ครบมากที่สุด ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมรับส่วนลดสูงสุด 70% การันตีถูกกว่าซื้อตรงกับบริษัทประกันภัย และสิทธิประโยชน์ที่จำเป็นสำหรับผู้ขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นบริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางถนน ตลอด 24 ชั่วโมง บริการรถทดแทนระหว่างรอซ่อม นานสูงสุด 3 วัน และชดเชยค่าเดินทางสูงสุด 500 วัน และอื่น ๆ อีกมากมาย ขอรับสิทธิพิเศษได้ก่อนใครจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของแรบบิท แคร์ โทรเลย 1438


สรุป

สรุปบทความ

ค่าทำขวัญรถชน เบื้องต้นจะไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมาย รวมถึงไม่มีระบุแยกไว้เป็นหมวดค่าชดเชยสินไหมแยกเฉพาะหมวด เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์หรือวัดความเสียหายได้อย่างชัดเจน รวมถึงหากผู้เสียหายต้องการเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถ ชีวิต อนามัย หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง แต่สามารถเรียกร้องได้โดยตรงจากประกันรถ และ พ.ร.บ. ซึ่งจะมีรายการความคุ้มครองความเสียหายแยกประเภทไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องได้เพิ่มเติม หากไม่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมความเสียหายที่ร้องขอ

จบสรุปบทความ

ที่มา


 

บทความแคร์เรื่องประกันยานยนต์

Rabbit Care Blog Image 97214

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

ผ่อนรถหมด ทำไงต่อ ต้องเตรียมอะไรบ้างสำหรับการได้เป็นเจ้าของอย่างแท้จริง

ทันทีที่งวดสุดท้ายของการผ่อนชำระรถยนต์มาถึง ทุกคนเริ่มคิดกันหรือยังว่าถ้าหากผ่อนรถหมด ทำไงต่อ? เราต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ตั้งแต่เรื่องเอกสาร, ผ่อนรถหมด
Natthamon
08/11/2024
Rabbit Care Blog Image 94063

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

รถหายยังผ่อนไม่หมด ต้องผ่อนต่อไหม ต้องจัดการอย่างไร

เรื่องราวที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับการที่รถหายยังผ่อนไม่หมด เพราะเราต้องการใช้งานรถยนต์ที่สำคัญต่อชีวิตประจำวันในแต่ละช่วงเวลา แต่ถ้าจู่ ๆ
Natthamon
29/08/2024
Rabbit Care Blog Image 89839

แคร์เรื่องประกันยานยนต์

วิธีเคลมประกัน มีคู่กรณี ทำอย่างไรบ้าง? ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

หลายคนอาจเคยเจออุบัติเหตุรถชนจนเป็นเหตุที่ทำให้ต้องแจ้งเคลมประกันรถยนต์ แต่การเคลมประกันรถยนต์มีหลายแบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเกิดเหตุ ณ ขณะนั้น
Thirakan T
13/06/2024