รถล้มเอง เบิก พ.ร.บ. จักรยานยนต์ได้ที่ไหน? ไม่มี พ.ร.บ. ไม่มีใบขับขี่ เบิกได้ไหม?
รถล้มเองแบบไม่มีคู่กรณี หรือระบุตัวคู่กรณีไม่ได้ บาดเจ็บเล็กน้อยหรือเสียชีวิต สามารถเบิก พ.ร.บ. ได้กับบริษัทประกันที่ทำ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ไว้ หรือบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด รวมถึงกรณีรถล้มเองแต่ไม่มี พ.ร.บ. หรือไม่มีใบขับขี่ เบิกเคลม พ.ร.บ. ได้สูงสุดไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้น หรือตามเงื่อนไขสิทธิการรักษาที่ใช้ได้
แรบบิท แคร์ รวบรวมเรื่องต้องรู้เมื่อต้องการเบิกเคลม พ.ร.บ. จากกรณีอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ล้มเองแบบไม่มีคู่กรณี พร้อมทุกคำตอบเบิก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ได้ที่ไหน? หรือ รถล้มเอง เบิก พ.ร.บ. ได้ที่ไหน?
รถล้มเองแบบไหนบ้างที่เบิก พ.ร.บ. ได้?
กรณีรถล้มเองแบบไม่มีคู่กรณีที่สามารถเบิก พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด ซึ่งกรณีรถล้มเองถือว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายผิด และไม่มีคู่กรณีให้เรียกร้องความรับผิดชอบหรือค่าเสียหาย จึงเบิก พ.ร.บ. ได้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น รถล้มเสียหลักชนกับสิ่งกีดขวาง รถล้มสุนัขตัดหน้ารถ รถล้มถนนลื่น หรือรถล้มเอง ไม่มีใบขับขี่
รถล้มเอง มี พ.ร.บ. แต่ไม่มีใบขับขี่
กรณีขี่รถล้ม มี พ.ร.บ. จักรยานยนต์ แต่ไม่มีใบขับขี่ สามารถเบิกเคลม พ.ร.บ. ได้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล และค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร เนื่องจากเป็นอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี และผู้ขับขี่เป็นฝ่ายผิด
รถล้มเอง ไม่มี พ.ร.บ. และไม่มีใบขับขี่
กรณีขี่มอเตอร์ไซค์ล้มเอง รถมอเตอร์ไซค์ ไม่มีพรบ และไม่มีใบขับขี่ จะไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยใดใดได้จาก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ แต่สามารถใช้สิทธิ์การรักษาพยาบาลประเภทอื่นๆ ได้ แม้ว่าผู้ขับขี่จะไม่มีใบขับขี่ โดยต้องสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดก่อน และขอเบิกคืนในภายหลัง หรือต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่กำหนดเองก่อนจึงจะสามารถใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลส่วนเกินได้
หรือกรณีรถล้มไปโรงพยาบาล ไม่มีค่ารักษาพยาบาล และไม่มีใบขับขี่ อาจเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถได้ก่อน แต่อาจต้องจ่ายเงินคืนกองทุนฯ พร้อมดอกเบี้ยปรับ 20% เนื่องจากกรณีรถล้มเองแบบไม่มีคู่กรณี ถือว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายผิด
รถมอเตอร์ไซค์ล้มเอง เบิกค่าอะไรได้บ้าง? พ.ร.บ. เบิกค่าซ่อมรถได้ไหม?
ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกที่ประสบอุบัติเหตุรถล้มแบบไม่มีคู่กรณีและมี พ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุ จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 สามารถเบิก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ได้เฉพาะ “ค่าเสียหายเบื้องต้น” เท่านั้น เนื่องจากเป็นฝ่ายผิด และจะไม่สามารถเบิกค่าซ่อมรถได้
ค่ารักษา
กรณีขี่รถล้มเอง ผู้ขับขี่หรือผู้ซ้อนท้ายที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุรถจักรยานยนต์ล้มเองจนต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลรัฐ หรือโรงพยาบาลเอกชน สามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอถูกผิด จาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ค่ารักษาพยาบาลตามค่ารักษาที่จ่ายจริง รายละไม่เกิน 30,000 บาทต่อหนึ่งคน
ค่าชดเชยสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพ
กรณีเกิดอุบัติเหตุรถล้มจนเป็นเหตุให้คนขับหรือคนซ้อนมอเตอร์ไซค์สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร รายละไม่เกิน 35,000 บาทต่อหนึ่งคนได้จาก พ.ร.บ. ของบริษัทประกันภัยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่บริษัทประกันได้รับเอกสารครบ
ค่าปลงศพ
กรณีผู้ขับหรือคนซ้อนท้ายจักรยานยนต์เสียชีวิตหลังจากรักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ล้มเอง สามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจาก พ.ร.บ. ในส่วนค่าปลงศพได้รายละไม่เกิน 35,000 บาทต่อหนึ่งคน และต้องไม่เกินรายละ 65,000 บาทต่อหนึ่งคน เมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง
ค่าชดเชยขาดรายได้
กรณีได้รับบาดเจ็บต้องหยุดงานเพื่อเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากเหตุขี่มอเตอร์ไซค์ล้มเอง จะไม่สามารถเบิกค่าชดเชยกรณีเข้ารักษาพยาบาลได้จาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เนื่องจาก พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองเฉพาะค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิตหรือทุพลลภาพแล้วแต่กรณีเท่านั้น
ค่าซ่อมรถ
กรณีรถจักรยานยนต์ล้มเองจนทำให้ความเสียหายต่อตัวรถจะไม่สามารถเบิกค่าซ่อมรถ หรือค่าชดเชยทรัพย์สินเสียหายได้จาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เนื่องจาก พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองเฉพาะค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ค่าปลงศพ หรือค่าชดเชยการสูญเสียอวัยวะแล้วแต่กรณี ไม่รวมค่าความเสียหายของทรัพย์สิน
รถล้มเอง ต้องแจ้งความรถล้มไหม? ต้องแจ้งความภายในกี่วัน?
กรณีขับขี่หรือโดยสารรถมอเตอร์ไซค์ล้มเองและไม่มีคู่กรณี สามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้จาก พ.ร.บ. โดยต้องลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ พร้อมแจ้งรายละเอียดเหตุการณ์รถล้ม รวมถึงวันและเวลาเกิดเหตุ เพื่อนำใบลงบันทึกประจำวันยื่นประกอบการขอเบิก พ.ร.บ. ภายใน 180 วัน นับจากวันเกิดเหตุที่ระบุในใบลงบันทึกประจำวัน
กรณีบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถล้มเอง และไม่สามารถไปแจ้งความหรือลงบันทึกประจำวันได้ภายในวันเกิดเหตุด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ญาติหรือผู้อื่นดำเนินการแจ้งความแทนได้ หรืออาจใช้หนังสือรับรองการเกิดอุบัติเหตุจากรถ (ใบบันทึกการเกิดเหตุ) จากหน่วยงานกู้ภัยฉุกเฉิน ณ วันเกิดเหตุ โดยมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลลงชื่อเป็นพยานแทนได้
รถล้มเอง เบิก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ได้ที่ไหน?
กรณีรถมอเตอร์ไซค์ล้มเอง ไม่มีคู่กรณี แต่มี พ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุ และต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้จาก พ.ร.บ. ของตนเองที่ทำไว้เท่านั้น โดยแจ้งเบิก พ.ร.บ. ได้ 2 ช่องทาง คือ 1) บริษัทประกันภัย และ 2) บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
สามารถแจ้งขอเบิก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้จากบริษัทประกันภัยที่เป็นผู้ให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับที่เจ้าของรถคันเอาประกันได้เลือกทำประกัน พ.ร.บ. ไว้ ซึ่งจะมีชื่อบริษัทระบุอยู่ในกรมธรรม์ประกันภัย
หรือแจ้งขอเบิก พ.ร.บ. ได้จาก บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ซึ่งมีหน้าที่รับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ รวมถึงรับคำร้องขอและจ่ายค่าสินไหมทดแทน มีช่องทางติดต่อ บริษัทกลางฯ ได้ดังนี้
บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เลขที่ 26 ซอย สุขุมวิท 64/2 ถนน สุขุมวิท แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260 โทร 0-2100-9191 แฟ็กซ์ 0-2396-2093-4 Call Center 1791
รถล้มไปโรงพยาบาล ไม่มี พ.ร.บ. ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาต้องเบิกที่ใคร?
กรณีรถล้มเอง ไม่มี พ.ร.บ. หรือ พ.ร.บ. ขาด และไม่มีค่ารักษาพยาบาล ผู้ขับขี่อาจต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนแรกเองให้ครบตามวงเงินที่กำหนดก่อน จึงจะเบิกใช้สิทธิ์การรักษาอื่นๆ ที่มี เช่น บัตรทอง 30 บาท, ประกันสังคม หรือสิทธิเบิกตรงข้าราชการได้ในกรณีที่มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่นๆ และไม่มี พ.ร.บ.
ในขณะที่ผู้ขับขี่ที่ขับมอเตอร์ไซค์ล้มเอง และไม่มี พ.ร.บ. อาจเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทน หรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถตามแต่กรณีในกรณีที่ไม่มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่นๆ ทั้งนี้ อาจต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นที่เบิกมาพร้อมดอกเบี้ย 20% คืนให้กับกองทุนฯ ในกรณีเป็นฝ่ายผิด รวมถึงต้องจ่ายค่าปรับจากรณีใช้รถที่ไม่มี พ.ร.บ. ด้วย
คู่กรณี
กรณีไม่มี พ.ร.บ. และขี่รถล้มจากสัตว์วิ่งตัดหน้า หรือขี่รถล้มจากปัญหากายภาพของถนน เช่น ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนอยู่ในระหว่างซ่อมบำรุง มีสิ่งกีดขวางหรือไม่มีป้ายประกาศแจ้งเตือน คนขี่และคนซ้อนอาจเรียกค่าเสียหายได้จากเจ้าของสัตว์ หน่วยงานราชการเจ้าของพื้นที่ หรือบริษัทเอกชนเจ้าของโครงการ ในกรณีที่สามารถติดตามเจ้าของทรัพย์สินที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุรถมอเตอร์ไซค์ล้มได้
ประกันสังคม
กรณีรถล้ม ไม่มี พ.ร.บ. แต่มีประกันสังคม สามารถเบิกประกันสังคมได้กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการทำงาน โดยอาจต้องสำรองจ่ายค่ารักษาก่อน แต่สามารถเบิกได้ทั้งค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง (โรงพยาบาลรัฐ) เงินทดแทนการขาดรายได้สำหรับการหยุดงานเพื่อการรักษาตามคำสั่งแพทย์ และเงินชดเชยเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ
บัตรทอง 30 บาท
กรณีขี่รถล้มเอง ไม่มี พ.ร.บ. ไม่สามารถใช้สิทธิ์บัตรทองก่อนได้ ต้องจ่ายค่ารักษาเบื้องต้นเกิน 30,000 บาท เองก่อน จึงจะสามารถใช้สิทธิ์บัตรทองในส่วนค่ารักษาพยาบาลส่วนเกิน 30,000 บาทได้
กองทุนเงินทดแทน
กรณีเกิดอุบัติเหตุรถล้มเองในระหว่างปฏิบัติงานหรือทำงานให้นายจ้าง และไม่มี พ.ร.บ. ต้องเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น ไม่สามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ เนื่องจากถือว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน นายจ้างหรือผู้ประสบเหตุต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อน แม้จะเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลที่มีสิทธิ์ประกันสังคมอยู่ จากนั้นค่อยเบิกคืนจากกองทุนเงินทดแทน
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
กรณีขับมอเตอร์ไซค์ล้มเอง ไม่มีคู่กรณี และ พ.ร.บ. ขาด สามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลตามจริง รายละไม่เกิน 15,000 บาทต่อหนึ่งคน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ รายละไม่เกิน 35,000 บาท ทั้งนี้ กองทุนฯ จะเรียกคืนค่าเสียหายที่จ่ายไปจากเจ้าของรถ (ฝ่ายผิด) โดยบวกเพิ่ม 20% พร้อมค่าปรับฐานใช้รถไม่มี พ.ร.บ. ไม่เกิน 10,000 บาท
สิทธิเบิกจ่ายตรงข้าราชการ
กรณีข้าราชการได้รับบาดเจ็บจากการขี่มอเตอร์ไซค์ล้มเอง และไม่มี พ.ร.บ. ผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นก่อน จำนวน 15,000 บาทต่อหนึ่งคน หลังจากจึงจะเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นส่วนเกินได้จากสวัสดิการเบิกตรงรักษาพยาบาลข้าราชการ กรมบัญชีกลาง
ประกันรถ/ประกันอุบัติเหตุ
กรณีรถจักรยานยนต์ล้มเอง ไม่มี พ.ร.บ. แต่มีประกันรถหรือประกันอุบัติเหตุ สามารถเบิกเงินสินไหมชดเชย ค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยขาดรายได้ สูงสุดตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ รวมถึงสามารถเบิกส่วนต่างของค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยอื่นๆ จากสิทธิรักษาอื่นๆ เพิ่มได้ แต่ไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลซ้ำซ้อนกับค่ารักษาพยาบาลเดิมที่เบิกมาแล้วจากประกันได้
รถล้ม เบิก พ.ร.บ. ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
การเบิกค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ หรือเบิกค่าชดเชยกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรจากกรณีรถมอเตอร์ไซค์ล้มเอง ต้องใช้เอกสารหลักฐานจากทางราชการที่ออกให้และพิสูจน์ได้ว่า ผู้ยื่นขอเบิก พ.ร.บ. มีชื่อเป็นผู้ประสบภัยจริงในหลักฐานการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถคันที่มีประกันภัย พ.ร.บ. เท่านั้น มีรายการเอกสารที่ต้องใช้ยื่นเบิก พ.ร.บ. ดังต่อไปนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
- สำเนาหนังสือเดินทาง
- สำเนารายการจดทะเบียนของรถ
- ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
- ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล
- หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
- ใบรับรองแพทย์รับรองการสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร
- หนังสือรับรองความพิการ
- ใบมรณบัตร
จบทุกปัญหา รถล้มเอง เบิก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ได้ที่ไหน ด้วยการทำ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ พร้อมประกันรถมอเตอร์ไซค์ กับ แรบบิท แคร์ ตั้งแต่วันนี้ รับความคุ้มครองครบทันที ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยขาดรายได้จาดการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ค่าซ่อมรถเรา หรือค่าซ่อมรถคู่กรณีโดยไม่ต้องรอส่งเอกสารก่อนใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลให้วุ่นวาย
พร้อมรับบริการความแคร์เพิ่มฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นบริการช่วยเหลือแจ้งเคลมออนไลน์ บริการประสานงานแจ้งเหตุฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง และอื่นๆ อีกมากมาย การันตีได้มากกว่าซื้อตรงจากบริษัทประกัน โทรเลย 1438 หรือ rabbitcare.com
บทความแนะนำอื่น ๆ
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต