ไม่หลบรถ ambulance ที่เปิดไฟไซเรนระวังรับโทษหนัก! พร้อมแนะนำวิธีหลบให้รถพยาบาลอย่างปลอดภัย
พอได้ยินเสียงไซเรนรถ ambulance มาจากด้านหลังรถของเรา สิ่งแรกที่คิดควรจะต้องเป็นการหาทางหลบเลี่ยง เพื่อให้รถ ambulance สามารถเดินทางไปถึงโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว และถ้ามีกรณีที่ผู้ใช้รถ ใช้ถนนไม่หลบเลี่ยงให้รถพยาบาลฉุกเฉินที่เปิดไซเรนไปก่อน อาจมีความผิดตามกฎหมาย
ดังนั้นอย่างน้อยในบทความของ แรบบิท แคร์ ทุกคนจะได้รู้จักข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับรถ ambulance มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นฐานเพื่อเริ่มต้นทำความเข้าใจกันอย่างชัดเจน ว่ารถ ambulance คือ รถอะไร มีทั้งหมดกี่ประเภท เคยสงสัยไหมทำไมรถพยาบาลฉุกเฉินต้องเขียนคำว่า ambulance กลับด้าน พร้อมนำเสนอวิธีการหลบเลี่ยงรถพยาบาลอย่างปลอดภัย และถ้าหากเราเจอสถานการณ์ที่มีรถพยาบาลบนท้องถนน แต่ไม่ได้เปิดไซเรนหมายความว่าอะไร?
รถ ambulance คือ อะไร
รถ ambulance คือ รถที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน หรือบางสถานการณ์จะสามารถดูแลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลได้ด้วย ซึ่งเรามักจะมีโอกาสได้เห็นรถ ambulance 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ รถตู้กับรถกระบะ นอกเหนือจากนั้นบนตัวรถ ambulance จะมีชื่อโรงพยาบาล หรือหน่วยงานคาดอยู่ด้านข้าง เพื่อให้เราสามารถสังเกตได้ง่ายว่าเป็นรถจากที่ไหน และกำลังเดินทางไปยังโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลแห่งใด ด้วยประโยชน์การบอกข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหน่วยงาน มีโอกาสช่วยให้ผู้ใช้รถใช้ถนน สามารถหลบเลี่ยงให้รถ ambulance สามารถเดินทางผ่านไปก่อนได้ง่ายขึ้นด้วย
ทำความรู้จักประเภทรถ ambulance
มาทำความรู้จักเพิ่มเติมกับประเภทรถ ambulance ซึ่งมีทั้งหมด 3 ประเภท คือ รถพยาบาลฉุกเฉินอาสาฯ, รถพยาบาล BLS (Basic Life Support) และ รถพยาบาล ALS (Advanced Life Support) โดยในแต่ละประเภทของรถ ambulance ที่เรากล่าวมา แม้จะมีวัตถุประสงค์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด แต่จะมีหน้าที่และวิธีการดำเนินการที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทการใช้งาน ซึ่งสามารถอ่านทำความเข้าใจรายละเอียดของประเภทรถพยาบาลดังกล่าว ได้จากหัวข้อย่อยด้านล่างนี้เลย
รถพยาบาลฉุกเฉินอาสาฯ
รถพยาบาลฉุกเฉินอาสาฯ หรือ รถ ambulance ระดับทั่วไป มีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากสถานที่ต่าง ๆ มายังโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงมากที่สุด โดยอุปกรณ์บนรถสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับผู้ที่บาดเจ็บเล็กน้อยได้ ส่วนอุปกรณ์สำคัญที่มีพร้อมใช้งานก็จะมี เปลขนย้ายที่สามารถยึดติดกับรถพยาบาล และอุปกรณ์ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เช่น กระเป๋าชุดปฐมพยาบาล
รถพยาบาล BLS (Basic Life Support)
รถพยาบาล BLS (Basic Life Support) จะเป็นรถ ambulance ที่มีการเพิ่มลักษณะพิเศษจากระดับทั่วไป คือ การเพิ่มขีดจำกัดความสามารถในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้มากกว่าเดิม แต่จะเป็นในภาวะที่ไม่รุนแรง หรือไม่เกิดผลักในการคุกคามชีวิตเท่านั้น ดังนั้นภายในรถ ambulance ประเภทนี้มีอุปกรณ์เพิ่มเติมขึ้นมาส่วน เช่น อุปกรณ์ช่วยชีวิต ออกซิเจน อุปกรณ์ให้ออกซิเจน และอุปกรณ์การขนย้ายลำเลียง เป็นต้น
รถพยาบาล ALS (Advanced Life Support)
รถพยาบาล ALS (Advanced Life Support) คือ รถ ambulance ที่มีความพร้อมในการรักษาเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น รวมถึงบุคลากรที่อยู่บนรถคันนี้ต้องมีความชำนาญการมากเป็นพิเศษ พร้อมได้รับการอบรมมาเป็นอย่างดี เพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด โดยภายในรถพยาบาลประเภทนี้จะมีอุปกรณ์ช่วยชีวิตขั้นสูงขึ้น เช่น อุปกรณ์การใส่ท่อช่วยหายใจได้ในกรณีที่พบผู้ป่วยไม่หายใจ และเครื่องปั๊มหัวใจได้หรือให้ยาช่วยชีวิตในเบื้องต้น เป็นต้น
ทำไมรถ ambulance ต้องเขียนตัวหนังสือกลับด้าน
สงสัยไหมทำไมรถ ambulance ต้องเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษกลับด้าน ความเป็นจริงแล้วมันคือความตั้งใจที่ไม่ใช่ความผิดพลาดแต่อย่างใด ซึ่งจุดประสงค์จะเป็นความต้องการให้รถยนต์คันด้านหน้าที่กำลังมองกระจกหลัง สามารถอ่านคำที่แปะอยู่หน้ารถได้ทันที แบบที่ไม่ต้องกลับด้านซ้าย ขวาอีกครั้ง บวกกับอีกวัตถุประสงค์ที่ต้องการสื่อสารทันทีว่ารถคันนี้เป็นรถ ambulance หากเห็นสัญลักษณ์ธพร้อมเสียงไซเรน ควรหลีกทางให้ทันที แถมการกระทำดังกล่าวยังเป็นมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยหากบางคันใช้งานเป็นภาษาไทย ด้วยคำว่า รถพยาบาล ก็ยังมีติดกลับด้านเช่นเดียวกัน
อ้างอิงข้อมูลเหตุผลที่รถ ambulance ต้องเขียนตัวหนังสือกลับด้าน จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
ไม่หลบรถพยาบาลฉุกเฉินมีโทษอย่างไร
ไม่หลบรถพยาบาลฉุกเฉิน หรือรถ ambulance มีโทษอย่างไร? ตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตรา 76 หากมีการขัดรถกีดขวางทางรถพยาบาลกำลังปฏิบัติหน้าที่ ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบหรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน จะต้องโทษปรับ 500 บาท และอาจมีโอกาสถูกตั้งข้อหาหนักขึ้นกว่าเดิม ถ้าการขับรถกีดขวาง รถพยาบาลครานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือกระทำโดยเจตนาเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ฉะนั้นทันทีที่เราได้ยินเสียงไซเรนจากรถ ambulance มาจากด้านหลัง ควรตั้งสติมองซ้ายขวาให้ดีก่อนหาทางหลบเลี่ยง เพื่อให้รถพยาบาลได้มีโอกาสเดินทางไปอย่างปลอดภัยก่อนนั่นเอง
วิธีการหลบเลี่ยงรถพยาบาลฉุกเฉินอย่างปลอดภัย
วิธีการหลบเลี่ยงรถพยาบาลฉุกเฉินอย่างปลอดภัย ก่อนอื่นเลยอย่างที่เรากล่าวเอาไว้ในย่อหน้าด้านบน ผู้ขับขี่ต้องเริ่มต้นจากการตั้งสติให้ดีก่อน พยายามมองซ้ายขวา มองกระจกหลังเพื่อดูระยะห่างระว่างเรากับรถ ambulance เพื่อที่จะสามารถหาทางหลบเลี่ยงได้อย่างเหมาะสม แต่ถ้าอยู่ในกรณีที่ไม่สามารถหลบเลี่ยงได้ ให้เราพยายามหลบให้ได้มากที่สุด พอรถ ambulance เข้ามาใกล้ จะมีการส่งเสียงสัญญาณขอทางเพิ่มเติมตามความเร่งด่วน พอรถผ่านไปแล้ว สิ่งที่ห้ามทำอย่างเด็ดขาดเลย คือ การขับตามรถ ambulance เพราะในรายละเอียด พระราชบัญญัติจราจรทางบก ได้มีการระบุเพิ่มเติมเอาไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ตามหลัง รถฉุกเฉิน ในระยะไม่ต่ำกว่า 50 เมตร ไม่อย่างนั้นถือเป็นการกระทำผิดตามกฎหมายเช่นกัน
กรณีรถ ambulance เปิดไฟ แต่ไม่มีเสียงไซเรน ต้องหลบไหม
กรณีรถ ambulance เปิดไฟ แต่ไม่มีเสียงไซเรน เราต้องหลบเลี่ยงด้วยหรือไม่ คำตอบ คือ ยังคงต้องหลบเลี่ยงให้รถพยาบาลไปก่อนเช่นเดียวกัน เพราะถึงแม้จะไม่ได้มีการเปิดไซเรนเพื่อเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเร่งด่วน แต่ยังมีการเปิดไฟที่เป็นความหมายสื่อถึงการมีผู้ป่วยอยู่บนรถ และยังต้องรีบเดินทางไปให้ถึงโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาเช่นเดียวกัน
สรุปกรณีการใช้เสียงสัญญาณไซเรนของรถ ambulance 2 กรณี
- กรณีที่รถพยาบาลฉุกเฉินมีการเปิดทั้งสัญญาณไฟ และเสียงไซเรนพร้อมกัน หมายความว่า เป็นเหตุฉุกเฉินที่ต้องการส่งผู้ป่วยให้ถึงโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน ควรหาทางหลบเลี่ยงให้ได้มากที่สุด
- กรณีที่รถพยาบาลฉุกเฉินมีการเปิดสัญญาณไฟ แต่ไม่ได้มีการเปิดเสียงไซเรน จะหมายถึง บนรถยังมีผู้ป่วยที่ต้องการส่งถึงโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน แต่จะยังไม่ใช่กรณีฉุกเฉินเหมือนกับการเปิดไซเรนไปด้วย
การเตรียมตัวก่อนโทรเรียกรถ ambulance
เพื่อให้ทางทีมแพทย์ หรือพยาบาล รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายรถ ambulance ได้เตรียมพร้อมช่วยเหลือได้อย่างครอบคลุมที่สุด ต้องมีการแจ้งรายละเอียดที่ชัดเจน และครบถ้วนดังนี้
- แจ้งรายละเอียดให้ชัดเจนว่าเกิดเหตุอะไรขึ้น มีผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บในลักษณะใด
- บอกจุดเกิดเหตุและเส้นทางการเดินทางให้ชัดเจน
- บอกข้อมูลผู้ป่วย ชื่อ เพศ อายุ
- บอกระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย
- บอกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในระแวกที่เกิดเหตุ
- บอกชื่อผู้แจ้ง พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็ว
ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดที่กล่าวมาตามรายการด้านบน จะมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้ทีมแพทย์ ทีมพยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายรถ ambulance ทั้งหมด สามารถเตรียมพร้อมอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือผู้ที่มีความชำนาญในการรักษาเบื้องต้นกับอาการของผู้ป่วย ที่กำลังจะออกเดินทางไปรับมาส่งต่อยังโรงพบาบาล ฉะนั้นก่อนโทรต้องตั้งสติให้ดี เตรียมข้อมูลเหล่านี้ให้พร้อม แจ้งให้ชัดเจน จะช่วยเพิ่มอัตราการช่วยผู้ป่วยได้ดีมากขึ้นเป็นเท่าตัว
ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับรถพยาบาลฉุกเฉินหรือรถ ambulance ที่กล่าวมา ถือเป็นความรู้รอบตัวที่หากผู้ใช้รถใช้ถนนรับทราบไว้ จะช่วยให้เราสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัย พร้อมกับสร้างความมีน้ำใจการเอื้อเฟื้อให้กับรถพยาบาลฉุกเฉินได้เดินทางไปก่อน เพื่อทำหน้าที่ในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้รวดเร็วที่สุดตามวัตถุประสงค์หลัก และบางกรณีเหตุฉุกเฉินที่อาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเวลาบนท้องถนน ถ้าหากรถของเรามีประกันรถยนต์คอยดูแลคุ้มครอง ตัวแทนประกันจะเป็นอีกหนึ่งคนที่คอยเข้ามาดูแลคุณอย่างรวดเร็วที่สุดเช่นเดียวกับรถพยาบาลนั่นเอง
ดังนั้นเพื่อให้คุณรู้สึกอุ่นใจทุกครั้งที่ขับขี่ แรบบิท แคร์ ยินดีให้คำปรึกษาอย่างละเอียด รอบคอบ และพร้อมมอบความประหยัดด้วยบริการเช็คราคาประกันรถยนต์พร้อมส่วนลดพิเศษสูงสุดถึง 70% ให้ด้วย เพียงติดต่อมาที่เบอร์ 1438 (โทรได้ 24 ชั่วโมง)
สรุป
รถ ambulance คือ รถที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน หรือบางสถานการณ์จะสามารถดูแลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลได้ด้วย ซึ่งหลักๆ รถ ambulance จะนำเอารถตู้กับรถกระบะมาดัดแปลงใช้งาน ซึ่งมีทั้งหมด 3 ประเภท คือ รถพยาบาลฉุกเฉินอาสาฯ, รถพยาบาล BLS (Basic Life Support) และ รถพยาบาล ALS (Advanced Life Support) โดยแต่ละประเภทของรถ ambulance จะมีวัตถุประสงค์หลัก ๆ ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
หากมีรถ ambulance แล้วไม่หลีกทางให้ ตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตรา 76 หากมีการขัดรถกีดขวางทางรถพยาบาลกำลังปฏิบัติหน้าที่ ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบหรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน จะต้องโทษปรับ 500 บาท และอาจมีโอกาสถูกตั้งข้อหาหนักขึ้นกว่าเดิม ถ้าการขับรถกีดขวางรถพยาบาลครานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือกระทำโดยเจตนาเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology