พวงมาลัยสั่น อันตรายไหม เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
การเดินทางด้วยรถยนต์นั้นพวงมาลัยถือเป็นส่วนสำคัญมากในการควบคุม ถ้าเกิดเจอพวงมาลัยสั่นระหว่างเดินทาง คงทำให้หลายคนตกใจอย่างมากว่ารถยนต์ของเรา จะมีปัญหาอะไรบ้าง สาเหตุพวงมาลัยสั่นเกิดขึ้นได้จากเรื่องใด รวมถึงพวงมาลัยสั่น อันตรายไหม เรายังสามารถขับขี่ต่อไปเพื่อได้หรือไม่ และหากเกิดพวงมาลัยสั่นอย่างกระทันหัน เราต้องรับมือด้วยวิธีไหน ถึงจะปลอดภัยมากที่สุด
แม้อาการผิดปกติแบบนี้ อาจดูเหมือนเกิดขึ้นได้ค่อนข้างยากกับรถยนต์คันใหม่ แต่การเตรียมพร้อมเอาไว้เพื่อรับมือในยามฉุกเฉิน หรือมีความรู้ติดไว้สักนิดหน่อย ย่อมดีกว่าแน่นอน ดังนั้นทาง แรบบิท แคร์ เลยพร้อมที่จะเอาข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับพวงมาลัยสั่นมาให้แล้ว
พวงมาลัยสั่น อันตรายไหม
พวงมาลัยสั่น อันตรายไหม ในช่วงแรกที่มีอาการสั่นเบา ๆ อาจยังไม่อันตรายมากเท่าไหร่นัก ยังสามารถขับขี่ต่อไปได้ในระยะที่ไม่ไกล และควรได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน แต่กรณีที่ขับอยู่ในช่วงความเร็วสูง แล้วสัมผัสได้ถึงอาการพวงมาลัยสั่นที่รุนแรง ควรหาที่จอดข้างทางที่ปลอดภัย ลองดูสภาพภายนอกของรถยนต์ว่ามีอะไรผิดสังเกตไหม ช่วงที่ลดความเร็วต่ำลงพวงมาลัยสั่นแรงอยู่หรือไม่ กรณีที่พอจะขับความเร็วต่ำได้ ให้เดินทางไปยังอู่หรือศูนย์ใกล้เคียงเพื่อทำการแก้ไข แต่ถ้าขับต่อไม่ได้เพราะสั่นแรงเกินไป ให้ติดต่อหาประกันรถยนต์หรือศูนย์รถที่ให้บริการ เพื่อขอความช่วยเหลือ เรียกรถมารับแทน
สาเหตุพวงมาลัยสั่น มาจากอะไร
สาเหตุพวงมาลัยสั่น เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ ตั้งศูนย์ถ่วงล้อมาไม่ดี, ยางรถยนต์เสื่อม, ความผิดปกติที่ล้อรถ, พวงมาลัยหนักเกินไป, พวงมาลัยไม่ตรง และจานเบรกมีปัญหา โดยรายละเอียดของแต่ละสาเหตุที่ทำให้พวงมาลัยสั่น สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้จากหัวข้อด้านล่างนี้ เพราะอย่างน้อยหากเรารู้ว่าอาการพวงมาลัยสั่นที่เกิดขึ้น มาจากความผิดปกติในรูปแบบไหน จะได้ช่วยบอกช่างถึงความผิดปกติที่เราจับสังเกตได้ ช่วยให้ช่างสามารถตรวจสอบได้เฉพาะจุดได้เร็ว และแก้ไขง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง
ตั้งศูนย์ถ่วงล้อมาไม่ดี
การตั้งศูนย์หรือถ่วงล้อมาไม่ดี ทำให้การขับขี่ไม่สมดุลเพราะตัวล้อรถเอาเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป หน้ายางไม่สามารถสัมผัสกับผิวถนนได้เต็มเท่าที่ควร จนส่งผลให้พวงมาลัยสั่น หรือตัวรถยนต์สั่นไปทั้งคันได้เช่นเดียวกัน หากฝืนใช้งานไปในระยะยาว อาจสร้างความสเียหายให้ยางสึกได้เร็วขึ้น รวมถึงระบบพวงมาลัยมีปัญหาเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเช่นเดียวกัน
ยางรถยนต์เสื่อม
ยางรถยนต์เสื่อมซึ่งเกิดขึ้นในกรณีที่ยางบวม โครงสร้างเสียหาย หรือผิวยางเกิดความขรุขระ ทำให้มีอาการพวงมาลัยสั่นขึ้นมาได้ตั้งแต่ช่วงความเร็วต่ำกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือช่วงความเร็วสูงถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นต้องดูแลยางรถยนต์ของเราให้ดี ระมัดระวังทุกครั้งที่ขับขี่บนสภาพผิวถนนที่ไม่เรียบ หากเกิดสัมผัสที่รุนแรงเกินไปจะทำให้ยางเสียหายต้องเปลี่ยนใหม่ได้
ความผิดปกติที่ล้อรถ
ความผิดปกติที่ล้อรถ หมายถึง ภาพรวมของระบบล้อรถยนต์บางส่วนที่หากเกิดปัญหาแล้ว จะทำให้มีอาการพวงมาลัยสั่นได้ เช่น ลูกปืนล้อหลวม แตก จาระบีเสื่อมสภาพ ล้อแม็กที่ผิดรูปทำให้หน้ายางบิดเบี้ยว ปลอกดุมล้อและดุมล้อที่เสื่อมสภาพ ไม่ได้มาตรฐาน หรือ ผิดรูป ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการพวงมาลัยสั่นได้เหมือนกัน
พวงมาลัยหนักเกินไป
พวงมาลัยหนักเกินไป ก็ส่งผลให้พวงมาลัยสั่นขึ้นมาได้ และแน่นอนว่าพวงมาลัยหนัก มีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัยเพาเวอร์รั่ว ยางอ่อน แม้กระทั่งความผิดปกติในระบบขับเคลื่อนส่วนอื่น ก็ส่งผลมายังพวงมาลัยได้ เช่น ปีกนกและลูกหมากที่มีสารหล่อลื่นไม่เพียงพอ ซึ่งถ้าพวงมาลัยสั่นจากปัญหานี้ อาจต้องซ่อมแซมมากกว่าปกติเล็กน้อย
พวงมาลัยไม่ตรง
พวงมาลัยไม่ตรง เพราะแกนพวงมาลัยที่เริ่มสึกหรอจากการใช้งานที่ยาวนาน จนผู้ขับขี่ไม่สามารถตั้งพวงมาลัยให้ตรงได้ตามปกติ และเกิดอาการพวงมาลัยสั่นตามมา พอเราไม่สามารถควบคุมได้ตามปกติ ควรนำรถยนต์เข้าไปตรวจสอบสภาพแกนพวงมาลัย หรือระบบพวงมาลัยทั้งหมดที่ศูนย์บริการหรืออู่รถยนต์ที่เชี่ยวชาญทันที จะได้ซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ปกติ ก่อนที่เราจะสูญเสียการควบคุมระหว่างขับขี่ จนกลายเป็นความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้สูง
จานเบรกมีปัญหา
จานเบรกมีปัญหา โดยเฉพาะช่วงเวลาที่กำลังทำการเบรก และเกิดความผิดปกติขึ้นมา จนมีแรงสะเทือนทำให้มีการอาการพวงมาลัยสั่นเกิดขึ้นตามมา ซึ่งจานเบรกมีปัญหาเองก็มีหลายสาเหตุ ตั้งแต่จานเบรกที่คด เพราะนำรถยนต์ไปขับรถลุยน้ำ หรือเหยียบเบรกกระทันหันบ่อยมากเกินไป อาการนี้อย่าประมาทว่าแค่พวงมาลัยสั่นเท่านั้น เนื่องจากมีปัญหากับเบรกแล้ว ถ้าเบรกเสียจนเราคุมรถไม่อยู่ ก็มีโอกาสกลายเป็นอุบัติเหตุได้ง่าย ควรรับแก้ปัญหาทันที
รู้แบบนี้แล้วเข้าใจได้ทันทีว่าอาการพวงมาลัยสั่น มักเกิดขึ้นจากส่วนล้อเป็นหลัก ทั้งความเสียหายจากยาง ความเสียหายในระบบล้อ ที่ส่งผลไปยังพวงมาลัยสั่น ดังนั้นถ้าเกิดอาการนี้ขึ้นไม่ว่าจะเบาหรือหนัก ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะเวลาที่กำลังขับขี่อยู่บนถนนใหญ่ ควรติดต่อศูนย์บริการเพื่อสอบถามความช่วยเหลือ หรือหาอู่ใกล้เคียงเพื่อทำการตรวจเช็กซ่อมแซมให้เร็วที่สุด
พวงมาลัยสั่น รับมืออย่างไรดี
หากถึงเวลาที่เกิดอาการพวงมาลัยสั่นขึ้นมาแล้ว เราต้องตั้งสติ และพยายามจับสังเกตให้ได้ด้วยว่าอาการที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับเบา หรือเริ่มเข้าขั้นหนักแล้ว จากนั้นค่อย ๆ ควบคุมรถเข้าไหล่ทางที่ปลอดภัย แล้วทำการเช็กสภาพภายนอก โดยเริ่มต้นดูจากยางรถยนต์ก่อนว่า ยางอ่อนไหม มีอาการบวมเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าแค่ยางอ่อนแล้วพื้นที่ใกล้เคียงมีอู่ มีปั๊มน้ำมัน พอจะขับได้ในระยะสั้นเพื่อไปเติมลมก่อนได้ แต่หากยางบวม และถ้าความผิดปกติไม่อยู่ที่ยาง ควรรีบติดต่อศูนย์บริการใกล้เคียงทันที เพราะฝืนขับต่ออาจไม่จบแค่อาการพวงมาลัยสั่น มีความเสี่ยงทำให้อุปกรณ์อื่นของรถยนต์เสียหายไปด้วย
อาการพวงมาลัยสั่น ป้องกันได้อย่างไรบ้าง
วิธีป้องกันอาการพวงมาลัยสั่นเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการนำรถยนต์เข้าเช็กระยะตามที่ศูนย์บริการกำหนดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำการตรวจสอบ ปรับเปลี่ยน แก้ไข ซ่อมแซมตามการใช้งานที่เหมาะสม รวมถึงหากเจอสิ่งที่ผิดปกติในจุดไหน เจ้าหน้าที่จะได้ทำการตรวจสอบ และจัดการให้เรียบร้อยก่อนเกิดปัญหาอาการพวงมาลัยสั่นขึ้นมา ส่วนในด้านการขับขี่ก็ต้องระมัดระวังเรื่องยางด้วย ในช่วงเวลาที่เจอถนนขรุขระ ถ้าเราขับเร็ว รถตกหลุม ตกร่อง กระแทกแรง อาจทำให้ยางบวม หน้ายางขรุขระ ยางเกิดความเสียหายกลายและแสดงออกมาในอาการพวงมาลัยสั่นได้ด้วย
บางสาเหตุพวงมาลัยสั่นเราอาจไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเองก็จริง แต่อย่างน้อยมันจะเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานให้เราเอาไว้พูดคุย สอบถามกับช่างที่เข้ามาดูแล ว่าหากต้องเปลี่ยนในแต่ละจุดต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้าง และวิธีป้องกันกับวิธีรับมือพวงมาลัยสั่นที่แนะนำไปทั้งหมด ก็อย่าลืมเก็บข้อมูลเอาไว้กับตัวให้ดี เผื่ออนาคตหากเกิดเหตุไม่คาดฝันพวงมาลัยสั่นขึ้นระหว่างขับขี่ จะได้เตรียมตัวรับมืออย่างถูกต้อง
ส่วนใครที่กังวลเกี่ยวกับอุบัติเหตุบนท้องถนนจนทำให้รถเสียหาย ไม่ได้เกิดขึ้นแค่พวงมาลัยสั่นอย่างเดียว การตัดสินใจเลือกทำประกันรถยนต์ที่ดูแลอย่างครอบคลุมเอาไว้ จะเป็นการเพิ่มความอุ่นใจในทุกการขับขี่ และช่วยแบ่งเบาภาระเราได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการซ่อมแซม ค่าชดเชยทรัพย์สิน ค่ารักษาพยาบาล หรือค่าอื่น ๆ ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ หากสนใจอยากสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจาก แรบบิท แคร์ ได้ที่เบอร์ 1438 ติดต่อได้ตลอดเวลา พร้อมรับโปรโมชันพิเศษส่วนลดสูงสุด 70% เมื่อตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์กับเรา
สรุป
หากเกิดเหตุการร์พวงมาลัยสั่น ในช่วงแรกที่มีอาการสั่นเบา ๆ อาจยังไม่อันตรายมาก ยังสามารถขับขี่ต่อไปได้ในระยะที่ไม่ไกล และควรได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน แต่กรณีที่ขับอยู่ในช่วงความเร็วสูง แล้วสัมผัสได้ถึงอาการพวงมาลัยสั่นที่รุนแรง ควรหาที่จอดข้างทางที่ปลอดภัย ลองดูสภาพภายนอกของรถยนต์ว่ามีอะไรผิดสังเกตไหม โดยสาเหตุของพวงมาลัยสั่นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ ตั้งศูนย์ถ่วงล้อมาไม่ดี, ยางรถยนต์เสื่อม, ความผิดปกติที่ล้อรถ, พวงมาลัยหนักเกินไป, พวงมาลัยไม่ตรง และจานเบรกมีปัญหา
สำหรับวิธีป้องกันอาการพวงมาลัยสั่นเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการนำรถยนต์เข้าเช็กระยะตามที่ศูนย์บริการกำหนดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำการตรวจสอบ ปรับเปลี่ยน แก้ไข ซ่อมแซมตามการใช้งานที่เหมาะสม
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology