Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Mar 16, 2023

ทางเอกทางโทคืออะไร ขับขี่อย่างไรให้ถูกต้อง

ทางเอกทางโทเป็นอีกเรื่องที่อาจสร้างความปวดหัวให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนหลาย ๆ ท่าน ซึ่งการขับขี่รถยนต์บนท้องถนนผู้ใช้งานทุกคนควรเข้าใจกฎหมายจราจรต่าง ๆ เครื่องหมายบนท้องถนน ป้ายบอกทางหรือป้ายสัญลักษณ์ทางจราจรต่าง ๆ ซึ่งการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามข้อบังคับก็จะช่วยลดปัญหาและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นมาได้ ถือว่าเป็นโอกาศอันดีที่น้องแคร์จะขอพาทุกท่านไปรู้จักกับทางเอกทางโท คืออะไร? ทางเอกทางโท ทางไหนไปก่อน? รวมไปถึงอีกหลากหลายเรื่องราวน่าสนใจ ซึ่งรับรองได้เลยว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ โดยเฉพาะใครที่เป็นมือใหม่ขับรถอย่างแน่นอน

ทางเอกทางโท คืออะไร? มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

ทางเอกทางโท คือคำที่ใช้เรียกแทนเส้นทางหลัก(ทางเอก) และ เส้นทางรอง(ทางรอง) เส้นทางบนท้องถนนที่มีลักษณะเป็นทางร่วมแยก

ทางเอก คืออะไร

ทางเอก คือ ถนนเส้นที่ใหญ่ที่สุด และเป็นถนนเส้นหลักที่มีการใช้สัญจรไปมา มีป้ายสัญลักษณ์จราจรที่ชัดเจน จะไม่มีเส้นหยุด ป้ายหยุดอยู่ตรงทางร่วม มีจำนวนช่องทางการเดินรถที่กว้างมากกว่าเมื่อเทียบกับทางโท

ทางโท คืออะไร

ทางโท คือ ถนนเส้นรองหรือเส้นทางรอง เป็นถนนหรือเส้นทางที่ถูกตัดแยกออกมาจากเส้นทางหลัก มีลักษณะเป็น้เส้นทางที่มีขนาดเล็ก แคบ และมีจำนวนช่องเดินรถน้อยกว่าทางเมื่อเปรียบเทียบกับทางเอก นอกจากนี้ทางโทยังมีเส้นหยุดหรือป้ายหยุดก่อนเข้าทางแยกที่ตัดกับถนนอีกเส้น ตัวอย่างของทางโทที่เราพบเห็นกันในชีวิตประจำวันนั่นก็คือ ตรอก ซอย ลานจอดรถที่เชื่อมกับถนนหลัก

วิธีแยกทางเอกทางโทออกจากกันได้อย่างไร?

หลังจากที่ได้รู้กันแล้วว่าทางเอกทางโทคืออะไรกันไปแล้ว แต่หลาย ๆ คนอาจจะยังเกิดความสับสนในการแยกว่าถนนเส้นไหนเป็นทางเอกหรือเส้นไหนเป็นทางโท ซึ่งน้องแคร์ได้มีการเกริ่นไว้บ้างคร่าว ๆ ในช่วงต้นไปบ้างแล้ว แต่จะขอสรุปรวมมาอีกครั้งเพื่อไขข้อสงสัยของใครหลาย ๆ คน โดยจากข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 72 ได้ระบุลักษณะของทางเอกทางโทไว้ดังนี้

มาตรา 72 ทางเดินรถทางเอกได้แก่ทางเดินรถ ดังต่อไปนี้

(1) ทางเดินรถที่ได้ติดตั้งเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นทางเดินรถทางเอก
(2) ทางเดินรถที่มีป้ายหยุดหรือป้ายที่มีคำว่า “ให้ทาง” ติดตั้งไว้ หรือทางเดินรถที่มีคำว่าหยุดหรือเส้นหยุดซึ่งเป็นเส้นขาวทึบหรือเส้นให้ทางซึ่งเป็นเส้นขาวประบนผิวทาง ให้ทางเดินรถที่ขวางข้างหน้าเป็นทางเดินรถทางเอก
(3) ในกรณีที่ไม่มีเครื่องหมายจราจรตาม (1) หรือไม่มีป้ายหรือเส้นหรือข้อความบนผิวทางตาม (2) ให้ทางเดินรถที่มีช่องเดินรถมากกว่าเป็นทางเดินรถทางเอก
(4) ถนนที่ตัดหรือบรรจบกับตรอกหรือซอย ให้ทางเดินรถที่เป็นถนนเป็นทางเดินรถทางเอก ทางเดินรถอื่นที่มิใช่ทางเดินรถทางเอกตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นทางเดินรถทางโท

ทางเอกทางโท ทางไหนไปก่อน? รวมถึงวิธีการใช้ทางร่วมอื่น ๆ และวงเวียนอย่างปลอดภัย

ทางเอกทางโท ทางไหนไปก่อนเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่สร้างความปวดหัวให้กับผู้ขับขี่ทุกท่าน โดยเฉพาะกับนักขับมือใหม่ทั้งหลายที่ยังไม่คุ้นชินกับทั้งเส้นทางและการขับขี่ ซึ่งถ้าตัดสินใจขับขี่ผิดพลาดอาจส่งผลเสียให้เกิดความอันตรายต่อทั้งทรัพย์ และผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ อีกด้วย

ตอบคำถามอย่างทางเอกทางโท ทางไหนไปก่อนซึ่งตามกฎหมายหรือพ.ร.บ. จราจรได้กำหนดให้รถจากทางเอกได้ไปก่อนทางโทนั้นเอง และนอกนี้ยังมีวิธีการใช้ทางร่วมและรวมไปถึงวงเวียนให้ถูกต้องตามกฎหมายที่ระบุไว้ในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 71-74 ซึ่งน้องแคร์ได้ทำการสรุปมาให้ทุกคนได้เข้าใจง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

ทางร่วม-ทางแยก

  • ผู้ขับขี่จะต้องให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของตนได้ไปก่อน ยกเว้นกรณีในทางร่วมทางแยกมีทางเอกตัดผ่านทางทางโท ให้ผู้ขับขี่ในทางเอกมีสิทธิได้ขับผ่านไปก่อน
  • กรณีขับรถขณะไฟสีเขียวปรากฏ แต่ในทางร่วมหรือทางแยกมีรถอื่นหยุดขวางอยู่ จนไม่สามารถขับรถผ่านไปได้ ผู้ขับขี่จะต้องหยุดรถบริเวณหลังเส้นให้รถหยุด จนกว่าจะขับรถผ่านเส้นทางดังกล่าวไปได้

วงเวียน

  • หากมีการติดตั้งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร ผู้ขับขี่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎหรือสัญญาณจราจรอย่างเคร่งครัด
  • ตามกฎหมายแล้วรถที่อยู่ในวงเวียนมีสิทธิ์ขับไปได้ก่อน โดยต้องให้สิทธิ์แก่ผู้ขับรถที่อยู่ในวงเวียนทางด้านขวาของตนขับผ่านไปก่อน

ทางรองหรือทางโทรูปแบบอื่น ๆ

กรณีที่ขับรถออกจากทางส่วนบุคคลหรือทางเดินรถบริเวณอาคาร เมื่อขับรถผ่านหรือเลี้ยวสู่ทางเดินรถที่ตัดผ่าน ผู้ขับรถคันดังกล่าวจะต้องหยุดรถเพื่อให้รถที่กำลังผ่านทางหลักหรือรถที่กำลังแล่นอยู่ในทางเอกขับผ่านไปก่อน แล้วจึงขับออกไปได้

ทางเอกทางโทตัดกัน

กรณีไม่มีป้ายสัญลักษณ์บอกว่าเป็นทางเอกทางโท ให้สังเกตจากเส้นประบนถนน เส้นขาวทึบหรือเส้นหยุด ซึ่งถ้าทางเส้นนั้นมีสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นให้ถือว่าเส้นนั้นเป็นทางโท

ทางร่วมทางแยกที่ไม่มีเส้นประหรือเส้นขาวทึบตัดขวางถนน

กรณีที่ไม่มีเส้นต่าง ๆ ระบุทางเอกทางโท ให้สังเกตุเห็น ให้พิจารณาจากขนาดและเลนของถนนหรือเส้นทาง ถ้าถนนหรือเส้นไหนมีขนาดใหญ่กว่าจำนวนเลนมากกว่าจัดว่าเป็นทางเอก และถนนที่มีเลนน้อยขนาดเล็กถือให้เป็นทางโท

เกิดอุบัติเหตุในทางเอกทางโทประกันคุ้มครองแค่ไหน?

ในกรณีเกิดอุบัติเหตุขึ้นในทางร่วมทางแยกหรือว่าทางเอกทางโท ตามกฏหมายจราจรกำหมดทางเอกจะเป็นฝ่ายถูกส่วนรถจากทางโทจะเป็นฝ่ายผิด เนื่องจากข้อกำหมดที่ระบุว่าในทางแยกใดที่มีทางเอกตัดผ่าน รถจากฝั่งทางโทจะต้องให้สิทธิกับรถจากทางเอกขับผ่านไปก่อนนั่นเอง แต่ว่าในความเป็นจริงก็จะต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยมาเป็นองค์ประกอบร่วมกันนั่นเอง

และเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่บริเวณทางเอกทางโท สิ่งที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจคงหนีไม่พ้นเรื่องการคุ้มครองจากประกันรถยนต์นั่นเอง โดยมีอีกหนึ่งสิ่งที่เราต้องให้ความสนใจนั่นก็คือเรื่องของเป็นฝ่ายถูก ฝ่ายผิดเมื่อเกิดอุบัติเหตุนั่นเอง ไปดูกันว่าประกันแต่ละประเภทจะให้ความคุ้มครองอย่างไรกับผู้ประสบภัยบ้าง

ประกันรถยนต์ชั้น 1

ให้ความคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่าย โดยได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวนไม่ว่าจะเป็นตัวรถหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้รับบริการรถยกตลอด 24 ชั่วโมง และถึงแม้ว่าเราจะเป็นฝ่ายผิดในอุบัติเหตุทางเอกทางโท เราก็ยังสามารถเคลมประกันได้

ประกันรถยนต์ชั้น 2+

ให้ความคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่ายหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นบนทางเอกทางโท คล้ายกับแบบชั่น 1 โดยมีการลดเงื่อนไขบางอย่างลดไป ซึ่งในกรณีที่เราเป็นฝ่ายผิดทางประกันก็ยังคงให้ความคุ้มครองเหมือนเดิม

ประกันรถยนต์ชั้น 3+

เป็นประกันในรูปแบบประหยัดที่ให้ความคุ้มครองทั้งคุณแลคู่กรณีเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นบนทางเอกทางโท มีการลดสิทธิประโยชน์ลงไปบ้างแต่ก็เพียงพอต่อการใช้งาน โดยแม้ว่าเราจะเป็นฝ่ายผิดในกรณีอุบัติเหตุทางเอกทางโทก็ สามารถทำเรื่องเคลมได้

ประกันรถยนต์ชั้น 3

ให้ความคุ้มครองแก่คู่กรณีเพียงฝ่ายเดียว ความเสียหหยในส่วนของเราจะประกันรถยนต์จะไม่รับผิดชอบ โดยจะต้องนำรถไปเข้าอู่และเสียค่าใช้จ่ายเอง

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)


กรณีเป็นฝ่ายผิด

  • ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) สูงสุด 30,000 บาท
  • เสียชีวิต เสียอวัยวะ ทุพพลภาพ สูงสุด 35,000 บาท

กรณีเป็นฝ่ายถูก

  • ค่ารักษาพยาบาลหรือค่าเสียหายอื่นๆ สูงสุด 80,000 บาท
  • เสียชีวิต เสียอวัยวะ ทุพพลภาพ สูงสุด 500,000 บาท
  • มีการชดเชยรายวันวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน (ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยใน)

เชื่อว่าหลายคนคงรู้แล้วว่าทางเอกทางโทคืออะไร และเข้าใจกับประเภทถนนนี้กันมากขึ้น ซึ่งในการขับขี่รถยนต์บนท้องถนนอย่างปลอดภัยควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และการใช้ทางเอกทางโท สอบใบขับขี่ก็น่าจะเป็นอีกเรื่องที่ควรเตรียมตัวไปให้พร้อม ถึงแม้ว่าเราจะระวังตัวมากเพียงใดก็ตามอุบัติเหตุต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลา การทำประกันรถยนต์ติดไว้จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็น โดยประกันในแต่ละชั้นจะให้ความคุ้มครองที่ต่างกันไป ซึ่งการทำประกันรถยนต์ชั้นหนึ่งจะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากที่สุด อีกทั้งยังมีบริการเสริมไม่ว่าจะเป็นรถยก หรืออู่ซ่อมต่าง ๆ และแม้ว่าเราจะเป็นฝ่ายผิดประกันก็ยังคงให้ความคุ้มครองความเสียหาย ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนสนใจทำประกันรถยนต์แล้วล่ะก็สามารถมาสมัครได้ที่ แรบบิท แคร์ กันได้เลย

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา