เรื่องต้องรู้! ก่อนเลือกจองทะเบียนรถ (รถยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์) ออนไลน์

ผู้เขียน : Tawan
Tawan

Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต

close
linkedin icon
 
 
Published: July 29,2022
  
 
จองทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ทำอย่างไร? จองทะเบียนรถเลขสวยเลือกได้ไหม?

ไม่ว่าจะซื้อรถใหม่ป้ายแดง หรือกำลังจะเปลี่ยนทะเบียนใหม่ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าสามารถเลือกจองทะเบียนรถออนไลน์สำหรับทั้งการจองเลขทะเบียนรถยนต์และการเลือกเลขทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ที่จดทะเบียนในกรุงเทพด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นเลขทะเบียนรถมงคล หรือเลขทะเบียนรถผลรวมดี แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลที่ต้องรู้พร้อมวิธีดูหมวดอักษรและเลขทะเบียนก่อนจองทะเบียนรถกรุงเทพผ่านอินเทอร์เน็ตที่ไม่ต้องเสียเงินค่าใช้จ่าย และไม่ต้องเสียเวลาไปจองทะเบียนรถที่กรมขนส่งอีกต่อไปมาฝากกัน

1. ประเภทรถที่สามารถเลือกจองเลขทะเบียนออนไลน์ได้

การจองทะเบียนรถป้ายขาว การจองทะเบียนรถตู้ หรือการจองทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นการจองหมายเลขทะเบียนรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคล สำหรับรถที่ต้องการจดทะเบียนรถใหม่ ณ กรุงเทพมหานคร ต้องการย้ายรถเข้ามาใช้งานที่ กทม. หรือจดทะเบียนป้ายกรุงเทพฯ อยู่แล้วเท่านั้น โดยประเภทรถที่สามารถจองหมายเลขทะเบียนรถผ่านเว็บไซต์ของกรมการขนส่งได้มีดังต่อไปนี้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคลไม่เกิน 7 คน (รถป้ายขาว ตัวหนังสือสีดำ) ได้แก่ รถเก๋ง, รถกระบะ 4 ประตู
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถป้ายขวา ตัวหนังสือสีน้ำเงิน) ได้แก่ รถตู้
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถป้ายขาว ตัวหนังสือสีเขียว) ได้แก่ รถกระบะบรรทุก หรือรถกระบะ 2 ประตู
  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (รถมอเตอร์ไซค์)

2. ตัวอย่างเลขทะเบียนรถที่เลือกจองออนไลน์ได้

สามารถเลือกเลขทะเบียนรถได้ตามตัวเลขและหมวดอักษรที่มีให้เลือกในแต่ละรอบการจองได้อย่างอิสระ ซึ่งสามารถตรวจเช็กหมายเลขทะเบียนรถที่สามารถจองได้ล่วงหน้าจากตารางจองทะเบียนรถ ณ ปัจจุบันได้ที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก โดยผู้ที่สนใจจองหมายเลขทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ผ่านอินเทอร์เน็ต ควรเตรียมหมายเลขทะเบียนรถที่ต้องการจองไว้หลายชุด โดยเฉพาะการจองเลขทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ออนไลน์ที่สามารถจองได้สูงสุด 5 หมายเลขในการจองเพียงครั้งเดียว

สามารถเตรียมหมวดตัวอักษรและตัวเลขทะเบียนรถไว้ล่วงหน้าได้ ไม่ว่าจะเป็นทะเบียนรถเลขสวย ทะเบียนรถ 2 ตัว หรือทะเบียนรถตามวันเกิด เพื่อความรวดเร็วในการสับเปลี่ยนระหว่างการจองในวันจริง จากกรณีที่ไม่สามารถจองเลขที่ต้องการได้เนื่องจากเลขที่ต้องการมีผู้จองไปก่อนหน้าแล้ว หรืออาจเป็นเลขทะเบียนที่สงวนไว้เป็นเลขทะเบียนประมูลเท่านั้น มีตัวอย่างหมวดเลขทะเบียนที่น่าสนใจดังนี้

  • หมวดทะเบียนรถมงคลประจำวันเกิด เช่น 4549 (วันอาทิตย์), 9554 (วันจันทร์), 1564 (วันอังคาร)
  • หมวดทะเบียนรถเลขหาบ เช่น 8778, 1991, 9889
  • หมวดทะเบียนรถเลขเรียง เช่น 1234, 3456, 5678
  • หมวดทะเบียนเลขหลักพัน เช่น 1000, 2000, 3000
  • หมวดทะเบียนรถเลขตัวเดียว เช่น 1, 2, 3
  • หมวดทะเบียนรถเลขคู่ เช่น  1100, 1001, 1010
  • หมวดทะเบียนรถเลข 2 ตัว เช่น 21, 32, 93
  • หมวดทะเบียนรถเลข 3 ตัว เช่น 234, 543, 367
  • หมวดทะเบียนรถเลขคู่ 8 เช่น  388, 488, 6788
  • หมวดทะเบียนรถเลขคู่ 9 เช่น 599, 699, 3899
  • หมวดทะเบียนรถเลขสองตัวเหมือน (เลขเบิ้ล) เช่น 11, 77, 99
  • หมวดทะเบียนรถเลขสามตัวเหมือน (เลขตอง) เช่น 333, 888, 111
  • หมวดทะเบียนรถเลขสี่ตัวเหมือน เช่น 9999, 8888, 7777

3. เอกสารที่ต้องใช้จองทะเบียนรถออนไลน์

เอกสารสำหรับการจองหมายเลขทะเบียนรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์จะใช้ข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้เช่าซื้อ (เจ้าของรถ) และข้อมูลเฉพาะของรถแต่ละคันเท่านั้น ไม่สามารถใช้ข้อมูลของผู้อื่นในการจอง รวมถึงไม่สามารถแก้ไขข้อมูลการจองเลขทะเบียนรถออนไลน์ได้ กรณีกรอกข้อมูลในระหว่างจองหมายเลขผิดพลาด โดยข้อมูลของรถจะดูได้จากคู่มือจดทะเบียนประจำรถ สำหรับรถที่จดทะเบียนแล้ว หรือเอกสารสัญญาซื้อขายของไฟแนนซ์ สำหรับรถที่เพิ่งซื้อ โดยมีรายการเอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อใช้ประกอบการจองเลขทะเบียนผ่านทางอินเทอร์เน็ตดังนี้

  • ข้อมูลส่วนตัวของผู้จอง (เจ้าของรถ) เช่น ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์ 
  • ข้อมูลเฉพาะของรถยนต์ เช่น ประเภทรถยนต์ ยี่ห้อรถ เลขตัวถังรถ (เลขคัสซี) จังหวัดที่จดทะเบียน (กรุงเทพเท่านั้น)
  • เลขทะเบียนรถที่ต้องการจอง เช่น เลขทะเบียนมงคลแบบ 2 หลัก 3 หลัก หรือ 4 หลัก
เลือกทะเบียนดูตรงไหน? จองทะเบียนรถถึงหมวดไหนแล้ว?

4. ค่าใช้จ่าย/ค่าธรรมเนียมจองเลขทะเบียนรถ

การจองทะเบียนรถผ่านอินเทอร์เน็ตจะไม่มีค่าธรรมเนียมในการจองเลขทะเบียนรถออนไลน์ ทั้งการจองหมายเลขทะเบียนรถสำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยผู้สนใจเปลี่ยนเลขทะเบียนรถสามารถเลือกเลขทะเบียนรถใหม่และหมวดทะเบียนรถที่ต้องการตามประกาศตารางเปิดรับจองและเข้าจองได้ตามผ่านเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด แต่จะมีค่าธรรมเนียมแจ้งขอเปลี่ยนทะเบียนรถเดิมเป็นป้ายทะเบียนใหม่ตามเลขทะเบียนที่จองได้ ค่าจัดทำป้ายทะเบียนใหม่ และค่าจดทะเบียนรถใหม่ ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไปตามวิธีการดำเนินการ (ไฟแนนซ์ดำเนินการให้ หรือดำเนินการด้วยตัวเอง) โดยจะมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจองหมายเลขทะเบียนรถดังนี้

  • ค่าเปลี่ยนหมายเลขทะเบียนรถ (ทะเบียนรถปกติ 500 บาท, ทะเบียนรถประมูล 1,500 บาท)
  • ค่าทำแผ่นป้ายทะเบียน (ป้ายทะเบียนปกติ/ป้ายขาว 100 บาท, ป้ายทะเบียนกราฟฟิค/ป้ายประมูล 600 บาท)
  • ค่าขอค้นทะเบียนรถหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนรถและใบคู่มือจดทะเบียน (รถจักรยานยนต์ 10 บาท, รถอื่นๆ นอกเหนือจากรถจักรยานยนต์ 50 บาท)
  • ค่าใบคู่มือจดทะเบียนรถ 100 บาท
  • ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

5. สถานที่และช่องทางจองทะเบียนรถ

หากต้องเลือกทะเบียนรถใหม่สำหรับรถใหม่ป้ายแดงที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หรือรถจดทะเบียนแล้วแต่ต้องการเปลี่ยนเลขทะเบียนใหม่เป็นเลขทะเบียนตามวันเดือนปีเกิด จะต้องทำการจองออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกแต่เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ไม่สามารถไปเข้าคิวเลือกจองหมายเลขทะเบียรถที่กรมการขนส่งทางบก หรือสํานักงานขนส่งกรุงเทพมหานครทั้ง 5 พื้นที่ได้เหมือนในอดีต โดยสามารถตรวจเช็กหมายเลขทะเบียนรถยนต์ที่สามารถจองได้จากตารางจองทะเบียนรถ ณ ปัจจุบันได้ที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก (https://reserve.dlt.go.th/reserve/) และเช็คเลขทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ได้ที่เว็บไซต์ส่วนควบคุมบัญชีรถและเครื่องยนต์ (สคบ.) กรมการขนส่งทางบก(https://www.dlt.go.th/site/vei/m-news/6114/view.php?_did=30963)

รวมถึงการจองทะเบียนรถออนไลน์จะสงวนสิทธิ์ให้เฉพาะรถที่จดทะเบียนกรุงเทพมหานคร หรือต้องการย้ายทะเบียนมายังกรุงเทพมหานครเท่านั้น หากต้องการป้ายทะเบียนต่างจังหวัด หรือจดทะเบียนรถยนต์ ณ ต่างจังหวัดอยู่แล้ว จะต้องตรวจสอบเลขทะเบียนที่เปิดให้จองและจองเลขทะเบียนรถที่สำนักงานขนส่งประจำจังหวัด/พื้นที่เท่านั้น ไม่สามารถจองทะเบียนรถต่างจังหวัดออนไลน์ได้

จองทะเบียนรถแล้วสะกดชื่อผิดไม่เอาหรือไม่ถูกใจยกเลิกได้ไหม?

6. ขั้นตอนการจองหมายเลขทะเบียนรถ

ขั้นตอนในการจองทะเบียนรถยนต์หรือจองทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต จะมีรายละเอียดแตกต่างกันอยู่บ้างเล็กน้อย โดยจะแตกต่างในเรื่องของหลักเกณฑ์การจองที่สามารถจองหมายเลขทะเบียนรถจักรยานยนต์ได้สูงสุด 5 หมายเลขภายในการจองครั้งเดียว และช่องทางการจองที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามขั้นตอนการจองเลขทะเบียนออนไลน์ของทั้งสองรูปแบบจะเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนในการเลือกเลขทะเบียน การจองหมายเลขทะเบียนรถ ไปจนถึงขั้นตอนดำเนินการต่อเมื่อจองทะเบียนรถออนไลน์ได้แล้ว มีรายละเอียดขั้นตอนการเลือกจองหมายเลขทะเบียนรถผ่านอินเทอร์เน็ตดังต่อไปนี้

6.1 ตรวจสอบข้อมูลสถานะของรถ

กรณีรถใหม่ป้ายแดง ผู้จองจะต้องได้รับรถแล้ว และไฟแนนซ์หรือบริษัทผู้ขายรถจะต้องส่งข้อมูลรถ/ตัดบัญชีให้กรมขนส่งทางบกเรียบร้อยแล้วเท่านั้น ในขณะที่หากเป็นรถจดทะเบียนแล้ว จะต้องเป็นรถสถานะปกติที่จดทะเบียน ณ กรุงเทพฯ หรือต้องการย้ายรถมาใช้งานที่กรุงเทพฯ เท่านั้น

6.2 ตรวจสอบตารางเปิดรับจองเลข

สามารถเช็คเลขทะเบียนรถยนต์ที่เปิดจองได้ตามตารางกำหนดการจองเลขทะเบียนทางอินเตอร์เน็ต (https://reserve.dlt.go.th/reserve/schedule/number.pdf) หรือระบบจองเลขทะเบียนรถจักรยานยนต์ (https://forms.gle/2iDMqAkF7AGZocpj6) ซึ่งจะมีข้อมูลของประเภทรถ วันที่เปิดจอง หมวดอักษร เลขทะเบียนที่เปิดจอง กำหนดจดทะเบียน หรือลำดับจดทะเบียนรถในปัจจุบันให้ได้ศึกษาก่อนวันจองจริง

6.3 ตรวจสอบหลักเกณฑ์การจองทะเบียนรถ

ตัวอย่างเช่น ไม่สามารถจองเลขทะเบียนย้อนหลังได้ เลขทะเบียนที่จองได้แล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนเลข โอนสิทธิ์เปลี่ยนชื่อหรือยกเลิกได้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้นจนกว่าจะมีการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วเท่านั้น สามารถจองเลขทะเบียนได้ครั้งละ 1 หมายเลข โดยสามารถใส่หมายเลขทะเบียนใหม่ได้จนกว่าจะจองได้ สำหรับการจองเลขทะเบียนรถยนต์ หรือจองครั้งละ 5 หมายเลข สำหรับการจองเลขทะเบียนขอเตอร์ไซค์ รวมถึงและจะดำเนินการจดทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ได้จดทะเบียนภายในเวลาที่กำหนด จะไม่สามารถใช้เลขทะเบียนที่จองได้ และจะสามารถจองเลขทะเบียนออนไลน์ได้อีกครั้งภายในระยะเวลา 90 วัน

6.4 เลือกเลขทะเบียนรถที่ต้องการจอง

การเตรียมเลขทะเบียนไว้หลายชุดจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการจองเลขทะเบียน ณ วันจริง เช่น เลขหาบ เลขตอง เลขมงคลตามวันเกิด หรือเลขทะเบียนผลรวมดี จากกรณีที่ไม่สามารถจองทะเบียนรถที่ต้องการได้ เนื่องจากมีผู้จองตัดหน้า หรือเลขดังกล่าวถูกจองไปก่อนแล้ว โดยเฉพาะการจองเลขทะเบียนรถยนต์ที่มีผู้ให้ความสนใจร่วมจองทะเบียนรถออนไลน์เป็นจำนวนมาก รวมถึงการจองทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ออนไลน์ที่สามารถเลือกใส่หมายเลขจองทะเบียนรถออนไลน์ได้สูงสุด 5 หมายเลขภายในการจองหนึ่งครั้ง

6.5 ศึกษาวิธีการกรอกข้อมูล

การกรอกข้อมูลทั้งในส่วนของผู้จอง และข้อมูลเฉพาะรถ จะต้องพิมพ์ข้อมูลติดกัน โดยไม่มีการเว้นวรรคหรือเครื่องหมายขีดกลาง (-)

6.6 จองเลขทะเบียนรถ

สามารถใช้บริการจองหมายเลขทะเบียนรถยนต์ทุกประเภทผ่านอินเทอร์เน็ตได้ในทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. ได้ที่เว็บไซต์ https://reserve.dlt.go.th/reserve/ ในขณะที่จะสามารถเข้าใช้ระบบจองเลขทะเบียนรถจักรยานยนต์ออนไลน์ได้ในวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-14.00 น. ได้ที่ https://forms.gle/2iDMqAkF7AGZocpj6 เท่านั้น

6.7 ตรวจสอบผลการจองเลขทะเบียนรถ

สามารถเช็กผลการจองเลขทะเบียนได้ด้วยเลขบัตรประชาชน เลขทะเบียนการค้า หรือเลขหนังสือเดินทาง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการจองหมายเลขทะเบียนรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์จะทราบผลการจองได้ต่อเมื่อออกจากหน้าการจองมายังหน้าตรวจสอบผลการจองเลขทะเบียนออนไลน์ โดยการจองเลขทะเบียนรถยนต์จะสามารถเช็กผลการจองได้ในทันที ในขณะที่การจองเลขทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์จะต้องทิ้งช่วงเพื่อให้เจ้าหน้าที่ประมวลผลการจองในระยะหนึ่งก่อนจึงจะสามารถตรวจสอบผลได้

6.8 จดทะเบียนรถและรับป้ายทะเบียนรถใหม่

เมื่อจองทะเบียนได้เรียบร้อยแล้วจะสามารถจดทะเบียนรถยนต์ได้ตามเลขทะเบียน และตัวอักษรประจำหมวดตามที่ประกาศไว้ในกำหนดวันจดทะเบียน  (“ปัจจุบันจดทะเบียนถึงเลข”) โดยต้องจดทะเบียนรถก่อนช่วงวันที่กำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ ในขณะที่เมื่อได้รับการยืนยันการจองหมายเลขทะเบียนรถจักรยานยนต์แล้ว ต้องดำเนินการภายใน 90 วัน หากไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด หมายเลขทะเบียนที่ได้รับจะถูกนำไปจัดให้กับผู้อื่นต่อไป โดยจะมีระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับป้ายทะเบียนอยู่ที่ 1-2 สัปดาห์ และไม่เกิน 1 เดือน

7. ปัญหา/ข้อผิดพลาดที่ทำให้จองเลขทะเบียนรถออนไลน์ไม่ได้

กรณีที่ทำให้จองหมายเลขทะเบียนรถผ่านทางอินเทอร์เน็ตไม่ได้นั้นมีอยู่หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการกรอกข้อมูลส่วนตัวผิด การสะกดชื่อผิด การกรอกหมายเลขทะเบียนที่ต้องการจองผิด การจองหมายเลขทะเบียนผิดประเภทรถ หมายเลขทะเบียนรถที่เตรียมไว้มีผู้จองได้ก่อน ซึ่งกรณีกรอกข้อมูลผิดพลาดจะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลที่ผิดและจองเลขทะเบียนใหม่ได้ โดยจะกลับมาจองได้ใหม่อีกครั้งภายใน 3 เดือน หรือ 90 นับจากวันที่จองเลขทะเบียนได้สำเร็จ รวมถึงกรณีจองทะเบียนรถได้แล้วแต่ไม่ถูกใจ ต้องการเปลี่ยน และไม่นำหมายเลขดังกล่าวไปใช้จดทะเบียนรถ จะไม่สามารถยกเลิกการจองทะเบียนรถผ่านเน็ตได้ และต้องรออย่างน้อย 90 วัน เช่นกัน

กรณีเดียวที่จะสามารถแจ้งขออนุโลมกับกรมการขนส่งทางบกเพื่อขอจองเลขทะเบียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องรอครบ 90 วัน คือ กรณีที่เจ้าของรถคนเดิมมีซื้อรถใหม่ป้ายแดงมากกว่า 1 คัน และต้องการจองเลขทะเบียนรถมากกว่า 1 คันนั่นเอง

รถยนต์ที่รอป้ายทะเบียนรถใหม่ ประกันรถยนต์แต่ละชั้นคุ้มครองหรือไม่

การคุ้มครองของประกันรถยนต์สำหรับรถที่ยังรอป้ายทะเบียน (รถใหม่ที่ยังไม่ได้รับป้ายทะเบียนถาวร) ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันและสถานะการจดทะเบียนรถยนต์ดังนี้:

1. ประกันชั้น 1

  • ประกันชั้น 1 ให้ความคุ้มครองอย่างครอบคลุม ทั้งในกรณีอุบัติเหตุ ความเสียหายต่อรถของคุณเอง ความเสียหายต่อคู่กรณี การโจรกรรม ภัยธรรมชาติ หรือไฟไหม้
  • แม้ว่ารถของคุณจะยังรอป้ายทะเบียนใหม่ (ป้ายแดง) ประกันชั้น 1 ยังคงคุ้มครองตามปกติ ทั้งนี้ คุณต้องแน่ใจว่ารถของคุณมีการทำ พ.ร.บ. (ประกันภาคบังคับ) และเอกสารประกันครบถ้วน

2. ประกันชั้น 2+

  • ประกันชั้น 2+ คุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี เช่น การชนกับรถหรือทรัพย์สินของผู้อื่น และคุ้มครองในกรณีรถถูกโจรกรรม
  • รถที่ยังรอป้ายทะเบียนใหม่ (ป้ายแดง) ยังคงได้รับการคุ้มครองตามประกันชั้น 2+ ได้ตราบใดที่คุณได้ทำประกันไว้ตามกฎหมายและมี พ.ร.บ. คุ้มครอง

3. ประกันชั้น 3+

  • ประกัน3+คุ้มครองอะไรบ้าง คุ้มครองกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี แต่ไม่คุ้มครองกรณีที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ชนกำแพง หรืออุบัติเหตุที่เกิดจากการชนเอง
  • การรอป้ายทะเบียนใหม่ไม่ส่งผลต่อความคุ้มครองของประกันชั้น 3+ หากทำประกันไว้ถูกต้อง

4. ประกันชั้น 2 และชั้น 3

  • ประกันชั้น 2 คุ้มครองอะไรบ้าง คุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อคู่กรณีและการโจรกรรม
  • ประกันรถยนต์ชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะคู่กรณีเช่นเดียวกัน โดยไม่คุ้มครองรถของคุณ
  • การรอป้ายทะเบียนใหม่ไม่ส่งผลกระทบต่อการคุ้มครอง แต่รถต้องมี พ.ร.บ. และทำประกันตามที่กฎหมายกำหนด

ข้อควรระวังเกี่ยวกับรถยนต์ที่รอป้ายทะเบียนรถใหม่

  1. พ.ร.บ. (ประกันภาคบังคับ) : รถที่ยังรอป้ายทะเบียนใหม่ ต้องมีการทำ พ.ร.บ. ซึ่งเป็นประกันภาคบังคับตามกฎหมาย หากไม่มีพ.ร.บ. แม้จะมีประกันชั้นใดก็ตาม คุณจะไม่สามารถต่อทะเบียนรถและการคุ้มครองจะถือว่าไม่สมบูรณ์
  2. ป้ายแดงชั่วคราว : หากรถของคุณยังใช้ป้ายแดง (ซึ่งเป็นป้ายทะเบียนชั่วคราว) คุณสามารถทำประกันรถยนต์ได้ทุกประเภท โดยบริษัทประกันจะคุ้มครองเหมือนกับรถที่มีป้ายทะเบียนถาวร

ไม่ว่าจะจองทะเบียนรถยนต์หรือจองทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยเลขทะเบียนมงคลตามวันเกิด หรือเลขทะเบียน 2 หลักได้หรือไม่ อย่าลืมเลือกเปรียบเทียบประกันรถยนต์ชั้น 1 ออนไลน์จากทุกบริษัทชั้นนำ พร้อมรับส่วนลดพิเศษสูงสุด 70% และรับบริการเสริมพิเศษเพิ่มทันทีไม่มีค่าใช้จ่าย เมื่อเลือกซื้อประกันรถยนต์กับ แรบบิท แคร์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ไม่ว่าจะเป็นบริการแจ้งเคลมออนไลน์ บริการโทรประสานงานเหตุฉุกเฉิน หรือบริการให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของ แรบบิท แคร์ โทรเลย.1438 หรือ https://rabbitcare.com


 

บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย

Rabbit Care Blog Image 99517

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

หางาน ขับรถยนต์ส่วนตัว งานอิสระ มีรถยนต์ส่วนตัว มีอะไรบ้าง แนะนำงานที่น่าสนใจ

อยากเปลี่ยนอาชีพ หาช่องทางใหม่ ๆ ในการสร้างรายได้ หางาน ขับรถยนต์ส่วนตัว งานอิสระ มีรถยนต์ส่วนตัวที่ไม่ว่าใครก็ทำได้ ก็นับเป็นอีก 1 ตัวเลือกที่น่าสนใจ
Natthamon
17/02/2025
Rabbit Care Blog Image 99360

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

แผลรถล้มอันตรายหรือไม่ ? มีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร ?

เหตุการณ์รถล้ม เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้ใช้รถทุกคนมีโอกาสที่จะเผชิญกันได้อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากในการขับขี่รถบนท้องถนนนั้นมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก
Natthamon
06/02/2025
Rabbit Care Blog Image 99165

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

การจอดและถอยรถแบบครบสูตร อ่านแล้วช่วยให้เก่งขึ้นได้!

ปัญหาเรื่องการจอดกับถอยรถ ถือเป็นอุปสรรคแรก ๆ ที่ผู้ขับขี่ต่างพบเจอกันมาหลายต่อหลายสถานการณ์ ซึ่งในแต่ละครั้งถ้าหากโชคดี
Natthamon
20/01/2025