เช็คทะเบียนรถก่อนซื้อ/โดนชนแล้วหนี/อายัดทะเบียน ตรวจสอบชื่อได้ใครเป็นเจ้าของ!
การเช็คจากทะเบียนรถว่าใครเป็นเจ้าของและหาที่อยู่เจ้าของรถ หรือการตรวจสอบทะเบียนรถก่อนซื้อเพื่อหาชื่อเจ้าของและตรวจสอบประวัติทะเบียนรถจากทั้งกรณีเช็คทะเบียนรถถูกอายัด เช็คสวมทะเบียนรถ หรือเช็ดทะเบียนรถโดนชนแล้วหนี สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องง้อบริการเช็คทะเบียนรถออนไลน์ฟรีที่ไม่ถูกกฎหมาย เพียงเตรียมเอกสารหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับรถคันที่ต้องการตรวจสอบ และยื่นคำขอที่กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งในพื้นที่
แรบบิท แคร์ รวบรวมวิธีเช็คประวัติสถานะทะเบียนรถ หรือเช็คทะเบียนรถว่าใครเป็นเจ้าของที่ขอตรวจสอบประวัติป้ายทะเบียนรถได้ด้วยตัวเอง สำหรับทั้งรถเก๋ง รถมอเตอร์ไซค์ หรือรถกระบะ พร้อมกฎหมาย PDPA ที่เกี่ยวข้องกับการแชร์ภาพป้ายทะเบียนรถมาฝากกัน
1. เช็คทะเบียนรถได้ในกรณีไหนใดบ้าง?
1.1 เช็คทะเบียนรถอายัด
กรณีต้องการตรวจสอบทะเบียนรถถูกอายัด หรือเช็คอายัดทะเบียนจากการที่ทะเบียนรถถูกอายัดเนื่องจากการค้างชำระค่าปรับการกระทำความผิดเกี่ยวกฎหมายจราจร ถูกร้องเรียนป้ายทะเบียนรถยนต์ซีดจาง ถูกแจ้งรถโดนลักขโมย ถูกแจ้งความชนแล้วหนี และอื่นๆ ทำให้ไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ หรือต่อภาษีรถประจำปีได้ตามปกติ รวมถึงทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมซื้อขายรถ หรือทำนิติกรรมโอนรถได้นั้น จะสามารถตรวจสอบทะเบียนรถโดนอายัดได้จากการยื่นคำขอเช็คทะเบียนรถพร้อมกับเอกสารซื้อขายรถที่เกี่ยวข้องให้กับสำนักงานขนส่งในพื้นที่ หรือรอตรวจสอบอายัดทะเบียนรถเมื่อมาชำระภาษีรถประจำปี หรือต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้เช่นกัน
ทั้งนี้ จะถอนอายัดทะเบียนรถได้โดยการติดต่อไปยังสำนักงานขนส่งหรือสถานีตำรวจที่เป็นผู้แจ้งอายัดทะเบียนรถ เพื่อเสียค่าปรับที่ค้างชำระ หรือแสดงหลักฐานความเป็นเจ้าของหรือความบริสุทธิ์จากข้อกล่าวหา จากนั้นนำหนังสือแจ้งยกเลิกอายัดหรือใบถอนอายัดทะเบียนรถไปยื่นยังสำนักงานขนส่งตามเล่มจดทะเบียนเพื่อขอถอนอายัด
1.2 เช็คทะเบียนรถชนแล้วหนี
กรณีต้องการเช็คทะเบียนรถจากการโดนรถชนแล้วหนี สามารถตามหาชื่อเจ้าของทะเบียนรถคู่กรณีได้ด้วยการแจ้งความ หรือลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจพื้นที่เกิดเหตุ พร้อมแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการชนแล้วหนีไม่รับผิดชอบ (ถ้ามี) เช่น เลขทะเบียนรถคู่กรณี/รุ่นรถ/สีรถ/ยี่ห้อรถ ภาพวีดีโอบันทึกเหตุการณ์ที่เห็นทะเบียนรถคู่กรณีจากกล้องหน้ารถ หรือป้ายทะเบียนรถของคู่กรณีที่หลุดออกมา จากนั้นนำเอกสารใบแจ้งความหรือใบลงบันทึกประจำวันมาดำเนินการยื่นขอค้นหาข้อมูลทะเบียนรถคู่กรณีด้วยตัวเองกับสำนักงานขนส่ง หรือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประสานงานกับสำนักงานขนส่งเพื่อยื่นขอตรวจสอบทะเบียนรถยนต์หาว่าใครเป็นเจ้าของ และเรียกคู่กรณีมาสอบปากคำ หรืออายัดทะเบียนต่อไป
1.3 เช็คทะเบียนรถหาย
กรณีต้องการเช็คทะเบียนรถหาย หรือทะเบียนรถโดนอายัดจากการแจ้งความรถถูกขโมย จะไม่สามารถตรวจสอบสถานะรถหายได้จากแอพตรวจสอบรถหายหรือประกาศรถหายทั่วไปได้ เนื่องจากอาจจะได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องอัพเดท แต่จะสามารถเช็คเลขทะเบียนรถโดนอายัดทะเบียน หรือแจ้งไม่ใช้รถ จากกรณีรถถูกโจรกรรมไว้ ได้จากการยื่นคำขอเช็กป้ายทะเบียนรถยนต์กับสำนักงานขนส่งในพื้นที่เหมือนกับการยื่นขอตรวจสอบข้อมูลประวัติทะเบียนรถทั่วไป โดยต้องแสดงใบบันทึกประจำวัน ใบแจ้งความ หนังสือการถอนการอายัด หรือหลักฐานการรับรถคืนจากพนักงานสอบสวนหรือจากศาลเพื่อแสดงความเกี่ยวข้องกับรถคันที่ต้องการตรวจสอบป้ายทะเบียน หากต้องการแจ้งรถหายออนไลน์ สามารถติดต่อสายด่วนศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร.1192 หรือโทร 02-205-1191
1.4 เช็คทะเบียนรถปลอม หรือรถต้องสงสัย
กรณีต้องการเช็คทะเบียนรถต้องสงสัยโดนสวมทะเบียนปลอม หรือตรวจสอบรถผิดกฎหมาย อาจเริ่มต้นเช็คจากลักษณะป้ายทะเบียนปลอมที่จะแตกต่างจากป้ายทะเบียนที่ถูกต้องกฎหมายทั่วไป รวมถึงสามารถตรวจสอบประวัติเลขทะเบียนรถและประวัติชื่อผู้ครอบครองรถได้ด้วยการยื่นเรื่องขอตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถกับกรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งในพื้นที่รถคันนั้นอยู่ในความรับผิดชอบ ตามข้อมูลจดทะเบียนในคู่มือเล่มทะเบียนประจำรถ ซึ่งต้องแสดงสัญญาการซื้อขายรถ เล่มทะเบียนรถ ใบสั่งปรับความเร็ว หรือเอกสารความเป็นเจ้าของรถอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมฯ พิจารณาอนุมัติคำขอตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถ
2. ใครที่สามารถขอเช็คทะเบียนรถได้บ้าง?
ผู้ที่สามารถยื่นเรื่องขอเช็คประวัติทะเบียนรถ หรือเช็คชื่อผู้ครอบครองรถจากหมายเลขทะเบียนรถกับกรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งในแต่ละพื้นที่ได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับรถคันที่ต้องการเช็คหมายเลขทะบียนรถ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ข้อมูลทะเบียนรถประกอบคดีความเป็นสำคัญ ในขณะที่หากเป็นการแจ้งขอเช็คทะเบียนรถว่าเป็นของใคร เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น เช็คทะเบียนรถชนแล้วหนี เช็คทะเบียนรถอายัด หรือเช็คทะเบียนรถก่อนซื้อ เจ้าหน้าที่ (นายทะเบียน) จะพิจารณาเปิดเผยข้อมูลทะเบียนรถตามความจำเป็นและหลักฐานประกอบเป็นรายกรณี โดยมีรายละเอียดของผู้ที่สามารถยื่นคำขอเช็คป้ายทะเบียนได้ดังนี้
- ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น คู่กรณีหรือผู้ประสบอุบัติเหตุ ผู้ซื้อหรือผู้ขายรถมือสอง หรือเจ้าของรถ
- เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เช่น พนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมาย
- ศาล
- ทนายความ
- บริษัทประกันภัย
3. เช็คทะเบียนรถต้องทำอย่างไร?
3.1 ขั้นตอนขอเช็คทะเบียนรถ
- รับคำขอเช็คชื่อผู้ครอบครองรถ (“แบบคำขออื่นๆ”)
- ตรวจสอบเอกสารขอตรวจสอบทะเบียนรถยนต์
- รับชำระค่าธรรมเนียม
- ออกใบเสร็จรับเงิน
- เจ้าหน้าที่จัดทำสำเนาข้อมูลทะเบียนรถ
- เจ้าหน้าที่ลงรับชื่อรับรองสำเนาข้อมูลทะเบียนรถ
3.2 หน่วยงานรับผิดชอบการเช็คทะเบียนรถ
สามารถแจ้งยื่นขอตรวจสอบทะเบียนรถ หรือเช็คเจ้าของรถจากเลขทะเบียนได้โดยยื่นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการเช็คทะเบียนรถเพื่อหาชื่อเจ้าของทะเบียนรถ พร้อมคำร้องขอตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถ หรือขอสำเนาทะเบียนรถได้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบประวัติรถ กองทะเบียน หรืองานทะเบียนรถยนต์ ฝ่ายทะเบียนรถของกรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานขนส่งจังหวัดในพื้นที่ แต่กรณีขอรับรองรายการจดทะเบียนรถหรือรายการชื่อเจ้าของรถ ต้องยื่นคำขอที่สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียนไว้ โดยสามารถติดต่อสอบถามและขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเช็กทะเบียนรถได้ตามเบอร์โทรศัพท์ดังต่อไปนี้
- สายด่วนกรมการขนส่งทางบก 1584
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (สขพ.5 จตุจักร) โทรศัพท์ 0-2271-8888
- สายด่วนศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารและรับเรื่องร้องเรียน 1584
- สายด่วนศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 1111
- สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย 1567
3.3 เอกสารประกอบการตรวจสอบทะเบียนรถ
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ กรณีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือเกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการขอตรวจดูหรือขอสำเนาข้อมูลทะเบียนรถ (สำเนา 1 ฉบับ)
- ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ (สำเนา 1 ฉบับ)
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ฉบับจริง 1 ฉบับ และสำเนา 1 ฉบับ)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล (สำเนา 1 ฉบับ)
- หนังสือนำส่งเรื่องขอตรวจดูหรือขอสำเนาข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ หรือเอกสารของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมาย กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายเป็นผู้ขอตรวจดูหรือขอสำเนาข้อมูลทะเบียนรถ (ฉบับจริง 1 ฉบับ)
- บัตรประจำตัวข้าราชการหรือพนักงานองค์การของรัฐ (สำเนา 1 ฉบับ)
- หมายศาลหรือคำสั่งศาล (สำเนา 1 ฉบับ)
- ใบอนุญาตทนายความ หรือหนังสือแต่งตั้งทนายความ กรณีมอบให้ทนายความเป็นผู้ดำเนินการขอตรวจดูหรือขอสำเนาข้อมูลทะเบียนรถ (สำเนา 1 ฉบับ)
- หนังสือแต่งตั้งตัวแทนบริษัทประกันภัย กรณีมอบให้บริษัทประกันภัยเป็นผู้ดำเนินการขอตรวจดูหรือขอสำเนาข้อมูลทะเบียนรถ (สำเนา 1 ฉบับ)
- ใบบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีจากสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ (ฉบับจริง 1 ฉบับ และสำเนา 1 ฉบับ)
- เอกสารเช่าซื้อหรือเอกสารซื้อขายรถ (ฉบับจริง 1 ฉบับ และสำเนา 1 ฉบับ)
- เล่มทะเบียนรถ (ฉบับจริง 1 ฉบับ และสำเนา 1 ฉบับ)
- หนังสือการถอนการอายัดทะเบียน (ฉบับจริง 1 ฉบับ และสำเนา 1 ฉบับ)
- หลักฐานการรับรถคืนจากพนักงานสอบสวนหรือศาล (ฉบับจริง 1 ฉบับ และสำเนา 1 ฉบับ)
3.4 ค่าธรรมเนียมตรวจสอบข้อมูลทะเบียนรถ
- ค่าธรรมเนียมในการขอให้เปิดเผยหรือตรวจดูข้อมูลทะเบียนรถเป็นรายครั้ง ครั้งละ 20 บาท
- ค่าธรรมเนียมค่าธรรมเนียมทำสำเนาข้อมูลทะเบียนรถโดยเครื่องถ่ายเอกสาร หน้าละ 1-3 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาดกระดาษ)
- ค่าธรรมเนียมการพิมพ์ (Print) ข้อมูลทะเบียนรถจากระบบลงกระดาษ หน้าละ 5 บาท
- ค่าธรรมเนียมการให้คำรับรองถูกต้องของข้อมูลทะเบียนรถ หน้าละ 5 บาท
- ค่าธรรมเนียมกรณีเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐที่กระทำการตามอำนาจหน้าที่ หรือการขอค้นข้อมูลทะเบียนรถที่เป็นของหน่วยงานเอง 0 บาท
4. บริการรับตรวจทะเบียนรถฟรี หรือโปรแกรมเช็คทะเบียนรถ เชื่อถือได้หรือไม่?
การใช้บริการตรวจเช็คทะเบียนรถออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นบริการรับเช็คทะเบียนรถฟรีที่ประกาศตามเว็บไซต์ทั่วไป บริการนักสืบเช็คทะเบียนรถ โปรแกรมเช็คป้ายทะเบียนรถ หรือแอพตรวจสอบทะเบียนรถหรือแอพเช็คทะเบียนรถ นอกจากอาจะไม่สามารถตรวจสอบการจดทะเบียนรถยนต์ได้แล้ว อาจเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงทรัพย์สิน และข้อมูลส่วนตัว รวมถึงอาจมีความผิดตามกฎหมายอีกด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบทะเบียนรถและนำมาเผยแพร่อย่างไม่ถูกต้อง
เนื่องจากการตรวจเช็คทะเบียนรถยนต์ต้องทำโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับงานทะเบียนรถ หรือจำเป็นต้องเช็กป้ายทะเบียนรถว่าใครเป็นเจ้าของเพื่อประกอบสำนวนคดีความเท่านั้น เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทนายความ หรือเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกและสำนักงานขนส่งเท่านั้น
หากเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สามารถตรวจสอบข้อมูลเจ้าของรถจากเลขทะเบียนได้แต่นำมาข้อมูลดังกล่าวมาเผยแพร่อย่างไม่ถูกต้องตามขั้นตอนการเช็คข้อมูลทะเบียนรถ จะมีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2550 มาตรา 13 ซึ่งมีทั้งโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี โทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงเข้าข่ายความผิดเพิ่มเติมในกรณีพนักงานของรัฐที่เผยแพร่ข้อมูลที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งมีโทษทั้งจำทั้งปรับ
5. แชร์ภาพทะเบียนรถจากกล้องหน้ารถ ผิด PDPA ไหม?
ความผิดตามกฎหมาย PDPA จากการเผยเเพร่ภาพคู่กรณีในขณะเกิดอุบัติเหตุทางถนน หรือภาพป้ายทะเบียนรถยนต์ในกล้องติดรถยนต์ จะมีความผิดต่อเมื่อมีเจตนาทำให้คนผู้อื่นเสียหาย อับอาย หรือได้รับความสุ่มเสี่ยงเสียหายจากการเผยแพร่ภาพหรือวีดีโอที่มีข้อมูลต่างๆ ของผู้อื่น โดยหากเป็นเพียงการบันทึกถ่ายเพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง เพื่อระมัดระวังอุบัติเหตุในขณะขับขี่ หรือเพื่อเป็นหลักฐานประกอบคดีความอุบัติเหตุจราจร ไม่ถือว่าเป็นความผิด และจะไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย PDPA
การเช็คชื่อเจ้าของรถจากเลขทะเบียนจากกรณีโดนชนแล้วหนี ประสบอุบัติเหตุ รถหาย โดนอายัดทะเบียน หรือเหตุอื่นๆ สามารถทำได้ด้วยการยื่นเรื่องสอบถามข้อมูลและประวัติของทะเบียนรถได้กับกรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งในพื้นที่พร้อมเอกสารหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้อง หรือส่วนได้ส่วนเสียกับรถคันที่ยื่นขอตรวจสอบข้อมูล ในขณะที่การจ้างบุคคลที่สามในการสืบชื่อเจ้าของรถจากเลขทะเบียน อาจจะไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงยังมีความผิดตามกฎหมายอีกด้วย
โดนชนแล้วหนี ประกันรถยนต์แต่ละชั้นคุ้มครองอย่างไรบ้าง
เมื่อเกิดเหตุการณ์รถโดนชนแล้วหนี การคุ้มครองจากประกันรถยนต์จะขึ้นอยู่กับประเภทของประกันที่คุณมี ดังนี้:
ประกันรถยนต์ชั้น 1
คุ้มครองกรณีรถโดนชนแล้วหนี
- ประกันชั้น 1 เป็นประเภทที่คุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด รวมถึงกรณีรถชนแล้วหนี
- บริษัทประกันจะซ่อมรถของคุณโดยไม่ต้องพึ่งพาการระบุคู่กรณี
- สิ่งที่คุณต้องทำคือ แจ้งความกับตำรวจเพื่อรับใบแจ้งความ และแจ้งบริษัทประกันเพื่อดำเนินการซ่อมแซม
ประกันรถยนต์ชั้น 2+
คุ้มครองในบางกรณี
- ประกันชั้น 2+ คุ้มครองเฉพาะกรณีรถชนกับรถเท่านั้น
- หากเป็นกรณีชนแล้วหนี และสามารถระบุคู่กรณีว่าเป็นรถยนต์ได้ คุณอาจจะได้รับการคุ้มครอง
- หากไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ การคุ้มครองจะไม่ครอบคลุม
ประกันรถยนต์ 3+
คุ้มครองเฉพาะบางกรณี
- ประกันชั้น 3+ มีข้อกำหนดคล้ายกับประกันชั้น 2+ โดยจะคุ้มครองกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากรถชนกับรถเท่านั้น
- การคุ้มครองในกรณีชนแล้วหนีอาจใช้ได้หากระบุคู่กรณีเป็นรถยนต์ได้ แต่ถ้าระบุไม่ได้จะไม่ได้รับการคุ้มครอง
ประกันรถยนต์ชั้น 2 และชั้น 3
ไม่คุ้มครองกรณีชนแล้วหนี
- ประกันชั้น 2 และประกันรถยนต์ชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อทรัพย์สินและร่างกายของบุคคลภายนอกเท่านั้น ไม่รวมการคุ้มครองความเสียหายของรถคุณ
- หากรถคุณโดนชนแล้วหนี คุณจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมเอง
ดังนั้น การเลือกทำประกันชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองที่ดีที่สุดสำหรับเหตุการณ์ชนแล้วหนี
แรบบิท แคร์ มีประกันรถยนต์ให้เลือกครบจากทุกบริษัทชั้นนำด้วยส่วนลดสูงสุด 70% มีทั้งประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองทั้งแบบที่ชนมีคู่กรณี หรือโดนชนแล้วหนี รวมไปถึงประกันชั้นอื่นๆ ไพร้อมบริการรับแจ้งเหตุฉุกเฉินทางถนน บริการแจ้งเคลมออนไลน์ผ่านทางโทรศัพท์และ LINE OA ตลอด 24 ชม. เปรียบเทียบประกันรถยนต์ออนไลน์ได้ฟรีทันทีวันนี้ รับส่วนลดเเละสิทธิพิเศษที่มากกว่าใคร โทรเลย 1438 หรือ https://rabbitcare.com/
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต