เช็กเลย! ‘ตรวจสภาพรถ’ ตรวจอะไรบ้าง? ตรวจได้ที่ไหน?
การตรวจสภาพรถประจำปีเพื่อต่อภาษีรถยนต์มีขึ้นเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานในส่วนต่างๆ ของรถยนต์ เพื่อให้ยังคงมีมาตรฐานความปลอดภัยตามที่กำหนดโดยเฉพาะรถยนต์ที่จดทะเบียนเกิน 7 ปีขึ้นไป แต่หลายคนกลับไม่รู้เลยว่าตรวจสภาพรถตรวจอะไรบ้าง? แรบบิท แคร์ อาสารวบรวมรายละเอียดการตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษี และเตรียมทำประกันรถยนต์ชั้น1 มาฝาก
1. ตรวจสภาพรถต้องตรวจอะไรบ้าง?
1.1 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรถ
ขั้นตอนแรกของการตรวจสภาพรถประจำปีกับ ตรอ. จะเริ่มต้นจากการเทียบข้อมูลรถตามสภาพจริงกับข้อมูลในสมุดคู่มือจดทะเบียนเพื่อตรวจเช็กความถูกต้องของข้อมูลรถก่อนให้บริการ
หากรถที่เข้าตรวจกับ ตรอ. ป้ายทะเบียนรถหาย/ชำรุด หมายเลขเครื่องยนต์หรือหมายเลขตัวรถมีร่องรอยการแก้ไขขูดขีด หรือมีการเปลี่ยนแปลงสี หรือตัวรถ ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพที่สำนักงานขนส่งแทน เนื่องจากไม่สามารถตรวจที่ ตรอ. ได้ มีรายละเอียดการตรวจสอบข้อมูลตัวรถก่อนตรวจสภาพรถดังนี้
- เลขทะเบียนรถ
- ประเภทรถ
- ลักษณะรถ
- ชนิดรถ
- แบบรถ
- รุ่นรถ
- สีรถ
- หมายเลขตัวรถ
- หมายเลขโครงคัสซี
- ชนิดเครื่องยนต์
- เลขเครื่องยนต์
- ชนิดเชื้อเพลิง
1.2 ตรวจภายนอก และอุปกรณ์ความปลอดภัย
เมื่อตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของตัวรถและเอกสารคู่มือจดทะเบียนรถได้ตรงกันเรียบร้อยแล้ว จะเริ่มขั้นตอนตรวจสอบสภาพรถทั้งภายใน ภายนอก และใต้ท้องรถตามหลักเกณฑ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด โดยในขั้นตอนนี้จะตรวจสภาพการใช้งานโดยรวมของอุปกรณ์ต่างๆ ของรถ ก่อนที่จะแยกตรวจเฉพาะจุดในขั้นตอนต่อไป มีรายละเอียดการตรวจสภาพภายนอกและอุปกรณ์ความปลอดภัยดังนี้
1) การตรวจภายในรถ
- ระบบบังคับเลี้ยว, พวงมาลัย
- มาตรวัด, ไฟสัญญาณ
- สวิทช์ควบคุมไฟสัญญาณ, แตรสัญญาณ
- อุปกรณ์ปัดและฉีดทำความสะอาดกระจกกันลมหน้า
- กระจกเงาสำหรับมองหลัง
- ที่นั่งผู้ขับ, ที่นั่งผู้โดยสาร
- เข็มขัดนิรภัย
2) การตรวจภายนอกรถ
- โคมไฟพุ่งไกล, โคมไฟพุ่งต่ำ
- โคมไฟเลี้ยว
- โคมไฟหรี่, ไฟอื่นๆ
- กันชน
- กงล้อ และยาง
- บังโคลน
- โครงสร้างและตัวถัง
- สี
- ประตู
- กระจกด้านข้าง
- กระจกเงาสำหรับมองหลัง
- โคมไฟท้าย
- โคมไฟหยุด
- อุปกรณ์สะท้อนแสง
- โคมไฟถอยหลัง
- โคมไฟส่องป้ายทะเบียน
- โคมไฟแสดงความกว้าง, ความสูง, ไฟอื่นๆ
- กันชนท้าย
3) การตรวจใต้ท้องรถ
- ระบบบังคับเลี้ยว, กลไกบังคับเลี้ยว
- ระบบรองรับน้ำหนัก, สปริง, แหนบ, โช๊คอัพ
- เพลาล้อ, กงล้อและยาง
- อุปกรณ์ระบบห้ามล้อ
- โครงสร้างตัวถัง, โครงคัสซี
- ระบบส่งกำลัง, คลัทช์, เกียร์, เพลากลาง, เฟืองท้าย
- ระบบไอเสีย, เครื่องระงับเสียง
- แท่นเครื่อง, ยางแท่นเครื่อง
- อุปกรณ์ขจัดมลพิษ (Catalytic Converter)
- ระบบเชื้อเพลิง, ท่อส่งเชื้อเพลิง, ท่อส่งก๊าซ
1.3 ตรวจศูนย์ล้อหน้า
เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจสอบสภาพการใช้งานส่วนต่างๆ โดยรวมของรถแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจสภาพการใช้งานรถเฉพาะจุด โดยเริ่มต้นที่การทดสอบศูนย์ล้อหน้า หรือล้อหน้าทั้งสองข้างเพื่อเช็กประสิทธิภาพของล้อขณะขับขี่
ทดสอบประสิทธิภาพของล้อหน้า 2 วิธี คือ 1) ขณะขับรถวิ่งในแนวตรง ผ่านเครื่องทดสอบด้วยความเร็วประมาณ 3-5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ 2) ขณะล้อหน้าผ่านเครื่องทดสอบ ทั้งแบบประคองพวงมาลัยหรือปล่อยมือจากพวงมาลัย โดยผลที่ได้จากการทดสอบทั้ง 2 วิธี จะต้องมีค่าเบี่ยงเบนของล้อหน้าไม่เกิน +5 หรือ -5 เมตรต่อกิโลเมตร
1.4 ตรวจเบรก
การตรวจสอบประสิทธิภาพของ ‘ตัวห้ามล้อ’ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘เบรก’ จะทดสอบประสิทธิภาพจากทั้งเบรกมือ เบรกเท้า และผลต่างของเบรกเท้าด้านขวาและด้านซ้าย โดยต้องทดสอบกับเครื่องทดสอบห้ามล้อ (เบรก) ที่มีความเที่ยงตรงตามมาตรฐานและทดสอบตามคู่มือการทดสอบของบริษัทผู้ผลิตเครื่องมือเพื่อให้ได้ผลทดสอบที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด
1.5 ตรวจไฟหน้า
การตรวจสภาพไฟหน้าทั้งสองข้างจะเริ่มจากการตรวจสภาพภายนอกของโคมไฟให้ยังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่แตกร้าว หรือไม่สกปรกขุ่นมัว มีจำนวนสี ตำแหน่งและรูปแบบการติดตั้งถูกต้องตามกฏหมาย ตัวหลอดไฟสามารถทำงานโดยการเปิดสวิตช์ควบคุมได้ตามปกติ มีความเข้มและการเบี่ยงเบนของลำแสงสูงต่ำตามเกณฑ์ที่กำหนด
1.6 ตรวจคาร์บอนไดออกไซด์ (CO) และไฮโดรคาร์บอน (HC)
การตรวจค่าก๊าซ CO และ HC จะทดสอบผ่านเครื่องวิเคราะห์ก๊าซที่จะต้องสอดหัววัดเข้าไปในท่อไอเสียให้ลึกที่สุดในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่ โดยจะทำการวัดทั้งหมด 2 ครั้ง และนำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ผลเฉลี่ยทีได้จะต้องมีค่าก๊าซทั้ง 2 ประเภทไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับรถในแต่ละประเภท
1.7 ตรวจควันดำ
การตรวจสอบควันดำจะทดสอบและทำการเก็บค่าควันดำขณะเร่งเครื่องยนต์จนสุดคันเร่ง ผ่าน 2 เครื่องมือ คือ 1) เครื่องมือวัดระบบวัดความทึบแสง (Opacity) และเครื่องมือวัดระบบกระดาษกรอง (Filter) โดยค่าควันดำจากทั้ง 2 เครื่องมือจะต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดที่ 45% และ 50% ตามลำดับ
1.8 ตรวจระดับเสียงจากท่อไอเสีย
การตรวจระดับเสียงของท่อไอเสีย จะใช้เครื่องวัดระดับเสียงที่ประกอบด้วยไมโครโฟน อุปกรณ์วัดระยะและมุมในการวัดเสียงของท่อไอเสียขณะที่เร่งเครื่องยนต์สุดคันเร่ง มีวิธีการตั้งเครื่องวัดเสียงแตกต่างกันเล็กน้อยตามตำแหน่งและจำนวนท่อไอเสียที่รถมี
2. ตรวจสภาพรถที่ไหนได้บ้าง?
สามารถตรวจสภาพรถได้ที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก ไม่ว่าจะเป็นกรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครทั้ง 5 พื้นที่ สำนักงานขนส่งประจำจังหวัด หรือตรวจที่สถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชน (ตรอ.) ทั่วประเทศที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก ทั้งนี้ การเข้าตรวจสภาพรถในแต่ละที่จะขึ้นอยู่กับประเภทรถ น้ำหนักรถ หรือรายละเอียดของรถ ดังนี้
2.1 ตรวจกับ ตรอ. เท่านั้น
- รถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์
2.2 ตรวจกับหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น
- รถที่ดัดแปลงสภาพจากที่จดทะเบียนไว้
- รถที่เปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนแปลงตัวรถ เช่น เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง
- รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์
- รถที่เจ้าของได้แจ้งการไม่ใช้ชั่วคราว หรือแจ้งการไม่ใช้รถตลอดไปไว้
- รถที่มีเลขทะเบียนรุ่นเก่า
- รถที่ถูกโจรกรรมแล้วได้คืน
- รถที่ขาดต่อทะเบียนเกิน 1 ปี
2.3 ตรวจได้กับทั้ง ตรอ. และหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก
- รถทั่วไปทุกประเภท เช่น รถบรรทุก, รถสามล้อ, รถรับจ้าง และอื่นๆ
- รถยนต์ที่น้ำหนักรถเกิน 1,600 กิโลกรัม
- รถของส่วนราชการ
3. ตรวจสภาพรถราคาเท่าไร?
ค่าตรวจสภาพรถที่ขนส่ง หรือตรวจที่ ตรอ. จะมีราคาและค่าใช้จ่ายในการนำรถเข้าตรวจสภาพเท่ากันทั่วประเทศ แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์อยู่ที่ คันละ 60 บาท และรถยนต์จะอยู่ที่ัคันละ 200-300 บาท มีรายละเอียดค่าบริการตรวจสภาพรถแตกต่างกันตามประเภทและน้ำหนักรถดังนี้
- รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท
4. ตรวจสภาพรถต่อภาษีใช้อะไรบ้าง?
เอกสารที่ต้องใช้ตรวจสภาพรถและต่อภาษีรถประจำปีจะใช้เอกสารชุดเดียวกัน โดยหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจะได้รับเมื่อตรวจสภาพรถผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเเล้วเท่านั้น และมีอายุ 3 เดือนนับจากวันที่ผ่านการตรวจสภาพรถ มีเอกสารที่ต้องใช้ในการขอตรวจสภาพรถและต่อภาษีประจำปีดังนี้
- สมุดเล่มทะเบียนรถ หรือสำเนาทะเบียนรถ
- พ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุ
- หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและอุปกรณ์ (ใบติดตั้งแก๊สติดรถ LPG หรือ NGV)
- หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์ที่อายุเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่อายุเกิน 5 ปี)
5. ตรวจสภาพรถไม่ผ่านต้องทำอย่างไร?
หากตรวจสภาพรถไม่ผ่านจะได้รับแจ้งจุดที่ต้องปรับปรุงหรือแก้ไขให้ทราบ พร้อมกับจะได้รับเอกสารแจ้งผลการตรวจสภาพรถส่วนที่ 2 เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสภาพรถอีกครั้งภายหลังจากที่แก้ไขจุดที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเรียบร้อยแล้ว มีระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพรถใหม่อีกครั้งดังนี้
- ตรวจใหม่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจครั้งแรก ให้ตรวจเฉพาะรายการที่ไม่ผ่าน และจ่ายค่าตรวจสภาพครึ่งหนึ่งจากปกติ
- ตรวจใหม่เกิน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจครั้งแรก ให้ตรวจสภาพใหม่ทุกรายการ และจ่ายค่าตรวจสภาพเต็มตามปกติ
ตรวจสภาพรถไม่ผ่าน ประกันรถยนต์แต่ละชั้นยังคุ้มครองหรือไม่
เมื่อรถของคุณตรวจสภาพไม่ผ่าน สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือระดับความคุ้มครองของประกันรถยนต์ในแต่ละประเภท โดยทั่วไปแล้ว ความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์จะยังคงมีอยู่ แต่ก็อาจมีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันภัยที่คุณเลือกใช้ ดังนี้:
1. ประกันชั้น 1
ประกันชั้น 1 ถือเป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองสูงที่สุด ซึ่งรวมถึงความเสียหายต่อตัวรถยนต์ การชน ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ หรือการถูกโจรกรรม แต่ถ้ารถของคุณตรวจสภาพไม่ผ่าน ประกันชั้น 1 จะยังคงให้ความคุ้มครอง แต่หากเกิดอุบัติเหตุ อาจมีการตรวจสอบเพิ่มเติมจากบริษัทประกัน และหากพบว่ารถไม่ได้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยหรือตรงตามมาตรฐาน ก็อาจจะมีการลดการจ่ายค่าสินไหม หรือมีเงื่อนไขในการจ่ายค่าสินไหมเพิ่มขึ้น
2. ประกันชั้น 2 และ 2+
สำหรับประกันรถชั้น2 และ 2+ จะให้ความคุ้มครองรถในกรณีที่รถสูญหายหรือไฟไหม้ รวมถึงความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก อย่างไรก็ตาม ไม่ครอบคลุมถึงความเสียหายต่อตัวรถยนต์ในกรณีที่เกิดจากการชนที่ไม่มีคู่กรณี หากรถของคุณตรวจสภาพไม่ผ่าน ประกันชั้นนี้จะยังคงให้ความคุ้มครองตามปกติ แต่ควรปรึกษากับบริษัทประกัน เพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติมที่อาจมีในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
3. ประกันชั้น 3 และ 3+
ประกันรถยนต์ชั้น 3 รถเก่า และประกัน3+ เป็นประกันที่คุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อบุคคลภายนอก แต่จะไม่คุ้มครองตัวรถของผู้เอาประกัน โดยประกันชั้น 3+ จะมีความคุ้มครองเพิ่มเติมในกรณีที่รถชนกับยานพาหนะทางบกที่มีคู่กรณี หากรถของคุณตรวจสภาพไม่ผ่าน ประกันชั้นนี้จะยังคงให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอกเช่นเดิม แต่หากเกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับสภาพรถ อาจมีการตรวจสอบเพิ่มเติมจากบริษัทประกัน
สรุปแล้ว หากรถของคุณตรวจสภาพไม่ผ่าน ประกันภัยในแต่ละชั้นยังคงให้ความคุ้มครองอยู่ แต่ควรติดต่อบริษัทประกันเพื่อสอบถามรายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติมที่อาจมีต่อการเคลมประกัน เนื่องจากสภาพของรถอาจส่งผลต่อการเคลมค่าสินไหมในบางกรณี
เปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์และเลือกซื้อประกันรถกับ แรบบิท แคร์ ตั้งแต่วันนี้! รับความแคร์เพิ่มเติมฟรีทันที ไม่ว่าจะเป็นบริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางถนน 24 ชั่วโมง หรือสิทธิประโยชน์ผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 3-10 เดือน สอบถามรายละเอียดและเงื่อนไขโปรโมชั่นได้ฟรีตั้งแต่วันนี้ ที่ แรบบิท แคร์
บทความอื่น ๆ เกี่ยวกับการตรวจสภาพรถยนต์
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต