แคร์รถยนต์

เปิดทุกข้อมูลเกี่ยวกับแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ตั้งแต่วิธีดูแลจนถึงราคา

ผู้เขียน : Thirakan T
Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
ตรวจทาน : Natthamon
Natthamon

ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

close
linkedin icon
Published: March 21,2024
  
Last edited: March 17, 2024
  
Reviewed: August 9, 2024
แบตเตอรี่รถไฟฟัา

กระแสรถไฟฟ้าที่ยังแรงดีไม่มีตกตอนนี้ ทำให้หลายคนต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องแบตเตอรี่รถไฟฟ้าเพื่อประกอบการตัดสินใจ เพื่อเลือกซื้อรถไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการใช้งานของตัวเองให้มากที่สุด ซึ่งข้อมูลทั่วไปอย่างเรื่องแบตเตอรี่รถไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ จะช่วยบอกให้เราได้รู้ ถึงข้อดี ข้อเสีย หรือขีดจำกัดความสามารถของแบตเตอรี่รถไฟฟ้าแต่ละประเภท ยิ่งไปกว่านั้นควรได้รับรู้ว่าด้วยว่า ปัจจุบัน แบตเตอรี่รถไฟฟ้า ราคาเท่าไหร่บ้างตามที่มีข้อมูลปรากฎขึ้นในโลกออนไลน์

และสุดท้ายปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุของแบตเตอรี่รถไฟฟ้าโดยตรง มีอะไรบ้างที่เราควรจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ บทความนี้ แรบบิท แคร์ ได้รวบรวมเรื่องราวทั้งหมด มาให้ได้อ่านกันแล้วเรียบร้อย สามารถเลื่อนลงไปหาคำตอบที่ต้องการได้เลย

ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

รถของคุณยี่ห้ออะไร

< กลับไป
< กลับไป

ระบุยี่ห้อรถของคุณ

ระบุปีผลิตรถของคุณ

แบตเตอรี่รถไฟฟ้า มีกี่ประเภท

แบตเตอรี่รถไฟฟ้า ในปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ประเภท คือ แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน (Lithium Ion Battery / Li-ion), แบตเตอรี่ชนิดตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Supercapacitors), แบตเตอรี่ชนิดโซลิดสเตต (Solid State Battery), แบตเตอรี่ชนิดโซเดียม-ไอออน (Sodium Ion Battery / Na-Ion Battery), แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด (Lead Acid Battery), แบตเตอรี่ชนิดนิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ (Nickel-metal Hydride Battery / Ni-MH) และแบตเตอรี่นิเกิล-แคดเมียม (Nickel-Cadmium Battery / Ni-Cd) ส่วนแบตเตอรี่รถไฟฟ้าแต่ละประเภท จะมีข้อดีข้อเสีย รายละเอียดเพิ่มเติมอย่างไร ติดตามอ่านกันเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อย่อยด้านล่างนี้

แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน (Lithium Ion Battery / Li-ion)

แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน (Lithium Ion Battery / Li-ion) เป็นแบตเตอรี่รถไฟฟ้าที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้งานมากที่สุด เนื่องจากคุณสมบัติที่ค้อนข้างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเก็บประจุได้มาก รองรับ Fast Charge จ่ายไฟเสถียร สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนขีดจำกัดการใช้งาน จะเป็นเรื่องมูลค่าการผลิตที่ค่อนข้างสูง และการทำงานในอุณหภูมิที่หากอยู่นอกเหนือจากช่วง 20-60 องศา อาจทำให้ประจุไฟฟ้าลดลงได้

แบตเตอรี่ชนิดตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Supercapacitors)

แบตเตอรี่ชนิดตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Supercapacitors) แม้จะถูกเรียกว่าแบตเตอรี่รถไฟฟ้า แต่ในหลักการแล้วทำหน้าที่เป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้าเท่านั้น ประสิทธิภาพการเก็บไฟฟ้าได้สูง ทนทาน อายุการใช้งานที่ยาวนานมาก แถมยังชาร์จไฟได้เร็วมากเช่นกัน แต่มีข้อเสียที่ค่อนข้างมาก เช่น จ่ายกระแสไฟฟ้าไม่เสถียร, เก็บพลังงานได้น้อย, คายประจุมากถึง 10-20% ต่อวัน และมีการผลิตที่ซับซ้อน ทำให้ราคาสูงไปด้วย

แบตเตอรี่ชนิดโซลิดสเตต (Solid State Battery)

แบตเตอรี่ชนิดโซลิดสเตต (Solid State Battery) คือ แบตเตอรี่รถไฟฟ้าที่ให้ความจุที่สูงมาก ซึ่งหากเทียบกับแบตเตอรี่รถไฟฟ้าอย่างลิเธียมไอออนที่นิยมใช้ แบตเตอรี่โซลิดสเตตนั้นเก็บประจุได้สูงกว่าถึง 10 เท่าเลยทีเดียว ทั้งยังมีความเสถียรที่สูง ส่งผลให้มีประสิทธิภาพการชาร์จที่ดีไปตามกัน แต่ก็แลกมาด้วยต้นทุนที่สูงกว่า 8 เท่า (เมื่อเทียบกับแบตลิเธียมไอออน) และตัวแบตเตอรี่รถไฟฟ้าประเภทนี้ ยังมีสถานะเป็นของแข็ง ทำให้เสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่ายเมื่อนำไปใช้งาน

ข้อมูลเพิ่มเติม: ปัจจุบันยังไม่มีรถยนต์ที่นำแบตเตอรี่รถไฟฟ้าประเภทโซลิดสเตต มาใช้งานจริงบนท้องถนน โดยทาง Toyota และ BMW ที่กำลังทำการวิจัย ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะพร้อมทดสอบจริงในปี ค.ศ.2025

แบตเตอรี่รถไฟฟัา ราคา

แบตเตอรี่ชนิดโซเดียม-ไอออน (Sodium Ion Battery / Na-Ion Battery)

แบตเตอรี่ชนิดโซเดียม-ไอออน (Sodium Ion Battery / Na-Ion Battery) คือ แบตเตอรี่รถไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพเทียบเคียงกับแบตเตอรี่รถไฟฟ้าลิเธียมไอออน ทว่ามีราคาที่ถูกกว่า 3-4 เท่า สามารถชาร์จไฟให้เต็ม 100% โดยใช้เวลาเพียง 20 นาที ทนต่ออุณหภูมิที่สูงหรือร้อนจัดได้ดีกว่าด้วย ซึ่งแบตเตอรี่ประเภทนี้จะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมาก และเก็บประจุได้น้อย ทำให้รถไฟฟ้าที่ใช้งานยังวิ่งได้ในระยะสั้นเท่านั้น

แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด (Lead Acid Battery)

แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด (Lead Acid Battery) นับว่าเป็นแบตเตอรี่รถไฟฟ้า และแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์เครื่องสันดาปมาตั้งแต่อดีต เพียงแต่เมื่อมาอยู่ในรถไฟฟ้า แบตเตอรี่ประเภทนี้จะมีหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้า เพื่อสตาร์ทมอเตอร์ขับเคลื่อน รวมไปถึงระบบ Infotainment เป็นหลัก เพราะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ค่อนข้างสูง และมีราคาที่ไม่แพงมาก ปัจจุบันแบตเตอรี่รถไฟฟ้าประเภทนี้ ถูกนำไปใช้เป็นแบตเตอรี่สำรองเท่านั้น เนื่องด้วยคุณสมบัติที่ไม่เหมาะกับการใช้เป็นพลังงานหลักนั่นเอง

แบตเตอรี่ชนิดนิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ (Nickel-metal Hydride Battery / Ni-MH)

แบตเตอรี่ชนิดนิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ (Nickel-metal Hydride Battery / Ni-MH) ถือเป็นแบตเตอรี่รถไฟฟ้าที่ถูกนำไปใช้งานกับรถยนต์ Hybrid (HEV หรือ PHEV) ที่มีการใช้งานพลังงานจากไฟฟ้า และน้ำมัน เพราะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สามารถเก็บประจุได้ในระดับหนึ่ง แต่น้อยกว่าความต้องการขั้นพื้นฐานของรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไป รวมถึงราคาผลิตเองก็สูงมาก เนื่องจากมีวัสดุที่ราคาแพงเป็นองค์ประกอบหลัก

แบตเตอรี่นิเกิล-แคดเมียม (Nickel-Cadmium Battery / Ni-Cd)

แบตเตอรี่นิเกิล-แคดเมียม (Nickel-Cadmium Battery / Ni-Cd) คือ แบตเตอรี่ที่เคยนิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงศตววรษที่ 90 สามารถนำมาอัดไฟซ้ำได้เมื่อพลังงานหมด แต่ปัจจุบันมีการสั่งห้ามใช้งานทั่วโลก เพราะมีความเป็นพิษจากสารแคดเมียมรั่วไหล ในช่วงขั้นตอนการผลิต อันเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคอิไตอิไตขึ้นมาได้ 

ราคาแบตเตอรี่รถไฟฟัา

แบตเตอรี่รถไฟฟ้า ราคาเท่าไหร่

แบตเตอรี่รถไฟฟ้า ราคาเท่าไหร่ คำตอบ คือ ขึ้นอยู่กับประเภทแบตเตอรี่รถไฟฟ้าที่ใช้งาน รวมถึงขนาดการเก็บประจุด้วย แต่ปัจจุบันข้อมูลที่เผยออกมาบนโลกออนไลน์ จะเฉลี่ยตั้งแต่ประมาณ 400,000-600,000 บาทเลยทีเดียว เว้นแต่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่อาจมีแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ราคาเริ่มต้น 200,000-400,000 บาท ส่วนข้อมูลเพิ่มเติมราคาแบตเตอรี่รถไฟฟ้าบางรุ่น จะมีดังนี้

ฉะนั้นพอใช้งานไปในระยะยาว อย่าลืมวางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายเรื่องแบตเตอรี่รถไฟฟ้า เพื่อเป็นการสำรองเงินทุนเผื่อเอาไว้ในกรณีที่ต้องมีการเปลี่ยน หรือซ่อมบำรุงในอนาคตด้วย เพราะราคาแบตปัจจุบันยังถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับราคารถยนต์ไฟฟ้าในแต่ละรุ่น

แบตเตอรี่รถ

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานแบตเตอรี่รถไฟฟ้า 

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ได้แก่ อุณหภูมิ, รอบการชาร์จ, ระบบการชาร์จไฟ และพฤติกรรมการใช้งาน สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละปัจจัยที่ควรใช้งานรถไฟฟ้าต้องรู้ แรบบิท แคร์ ได้ลองลิสต์ข้อมูลเพิ่มเติมให้ดังรายการด้านล่าง

ตอนนี้ทุกคนได้รู้จักประเภทแบตเตอรี่รถไฟฟ้าทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ทำให้เข้าใจถึงขีดจำกัดความสามารถ ข้อดีของทุกรูปแบบ รวมถึงราคาที่ต้องเตรียมรับมือเบื้องต้น และสามารถดูแลยืดอายุการใช้งานได้เป็นอย่างดี ตามเนื้อหาที่แนะนำไปด้านบน และเพื่อให้การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของทุกคน ได้รับความอุ่นใจมากขึ้นทุกการเดินทาง

อย่าลืมเลือกทำประกันรถไฟฟ้าที่เหมาะสมกับรถของคุณ เพื่อได้รับการคุ้มครองที่ครอบคลุม หากสนใจสามารถติดต่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมจาก แรบบิท แคร์ และมีโอกาสได้เลือกประกันรถไฟฟ้าจากบริษัทประกันภัยชั้นนำระดับประเทศ มากกว่า 30 แห่ง พร้อมกับข้อเสนอที่ช่วยให้คุณเช็คราคาประกันรถยนต์ได้ประหยัดสูงสุดถึง 70% หรือเลือกผ่อน 0% ได้นานกว่า 10 เดือน โทรมาได้เลยที่เบอร์ 1438 (ติดต่อได้ 24 ชั่วโมง)


สรุป

สรุปบทความ

แบตเตอรี่รถไฟฟ้า ในปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ประเภท คือ

  • แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน (Lithium Ion Battery / Li-ion)
  • แบตเตอรี่ชนิดตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Supercapacitors)
  • แบตเตอรี่ชนิดโซลิดสเตต (Solid State Battery)
  • แบตเตอรี่ชนิดโซเดียม-ไอออน (Sodium Ion Battery / Na-Ion Battery)
  • แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด (Lead Acid Battery)
  • แบตเตอรี่ชนิดนิกเกิล-เมทัลไฮไดรด์ (Nickel-metal Hydride Battery / Ni-MH)
  • แบตเตอรี่นิเกิล-แคดเมียม (Nickel-Cadmium Battery / Ni-Cd)

สำหรับราคาจะเฉลี่ยตั้งแต่ประมาณ 400,000-600,000 บาท และรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่อาจมีแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ราคาเริ่มต้น 200,000-400,000 บาท

จบสรุปบทความ

ที่มา


 

บทความแคร์รถยนต์

Rabbit Care Blog Image 98874

แคร์รถยนต์

อยากได้รถกระบะขนของต้องเลือกแบบไหน มีอะไรที่ควรใส่ใจบ้าง ?

เมื่อต้องโยกย้ายที่อยู่อาศัยหรือขนของจำนวนมาก แน่นอนว่ากระบะขนของจะต้องเป็นตัวเลือกแรก ๆ ในการช่วยขนย้ายที่ทุกคนต่างก็นึกถึง
Natthamon
26/12/2024
Rabbit Care Blog Image 98864

แคร์รถยนต์

รถกระบะมีกี่ประเภท ความแตกต่างของรถกระบะ 4 ประตู และ 2 ประตู

รถกระบะ 4 ประตู และรถกระบะ 2 ประตูนั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร แน่นอนว่าหลายคนอาจจะรู้สึกไม่แน่ใจใช่ไหม เพราะเมื่อพูดถึงรถกระบะแล้ว
Natthamon
26/12/2024
Rabbit Care Blog Image 98856

แคร์รถยนต์

เติมน้ำกลั่นด้วยตัวเองได้ไหม ต้องทำอย่างไรบ้าง ?

เจ้าของรถมือใหม่ต้องอ่าน เติมน้ำกลั่นด้วยตนเองต้องทำอย่างไร ? มีเรื่องอะไรที่จะต้องระวังในการเติมน้ำกลั่นด้วยตนเองบ้างหรือไม่ ? แรบบิท แคร์
Natthamon
26/12/2024