กรมขนส่งอัปเดตใหม่ ลดภาษีรถไฟฟ้า ตั้งแต่วันนี้ ถึงตอนไหน เจ้าของรถไฟฟ้ารีบเช็กด่วน!
แนวโน้มการบริโภครถยนต์ไฟฟ้าในตลาดรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง แต่เรื่องภาษีรถไฟฟ้าที่ทางกรมขนส่งได้มีการอัปเดตข้อมูลชุดล่าสุด จะทำให้ผู้ใช้งานรถไฟฟ้าได้มีโอกาสเฮขึ้นอีกรอบ กับการปรับลดภาษีรถไฟฟ้าจากเดิม ดังนั้นใครที่วางแผนออกรถไฟฟ้าภายในปี 2567 นี้ควรติดตามข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับภาษีรถไฟฟ้าให้เรียบร้อย เพื่อที่จะได้ช่วยคำนวณค่าใช้จ่ายหลังออกรถมาได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยบทความของ แรบบิท แคร์ จะให้รายละเอียดข้อมูลภาษีรถไฟฟ้าแบบครบครันตั้งแต่ปี 2567 ที่มีการปรับลดไปจนถึงปีถัดไปที่กลับมาเป็นเท่าเดิม
ภาษีรถไฟฟ้า 2567 ต้องจ่ายเท่าไหร่บ้าง
ภาษีรถไฟฟ้า 2567 ตามมติครม. ได้มีความเห็นชอบประกาศลดภาษีรถไฟฟ้าลงถึง 80% ของอัตราที่กำหนดตามกฎหมายแรกเริ่ม โดยการปรับลดภาษีรถไฟฟ้าครั้งนี้ จะกินเวลายาวนานถึง 1 ปีเต็ม นับตั้งแต่วันที่มีการจดทะเบียน สำหรับรถไฟฟ้าที่เริ่มจดทะเบียนในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ไปจนถึง 30 กันยายน 2568 เลยทีเดียว สำหรับรายละเอียด ภาษีรถไฟฟ้าเพิ่มเติมในแต่ละประเภท สามารถติดตามดูได้จากหัวข้อย่อยต่อไปนี้
ภาษีรถไฟฟ้า EV ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคล (ไม่เกิน 7 ที่นั่ง)
- น้ำหนักรถ ไม่เกิน 500 กก. ต้องจ่ายภาษี 30 บาท
- น้ำหนักรถ 501 – 750 กก. ต้องจ่ายภาษี 60 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 90 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กก. ต้องจ่ายภาษี 160 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 200 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กก. ต้องจ่ายภาษี 260 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 330 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 380 บาท
- น้ำหนักรถ 2,501 – 3,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 440 บาท
- น้ำหนักรถ 3,001 – 3,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 480 บาท
- น้ำหนักรถ 3,501 – 4,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 520 บาท
- น้ำหนักรถ 4,001 – 4,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 560 บาท
- น้ำหนักรถ 4,501 – 5,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 5,001 – 6,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 640 บาท
- น้ำหนักรถ 6,001 – 7,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 680 บาท
- น้ำหนักรถ 7,001 กก. ขึ้นไป ต้องจ่ายภาษี 720 บาท
ภาษีรถไฟฟ้า EV ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคล (เกิน 7 ที่นั่ง)
- น้ำหนักรถ ไม่เกิน 500 กก. ต้องจ่ายภาษี 15 บาท
- น้ำหนักรถ 501 – 750 กก. ต้องจ่ายภาษี 30 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 45 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กก. ต้องจ่ายภาษี 80 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 100 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กก. ต้องจ่ายภาษี 130 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กก.ต้องจ่ายภาษี 160 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 190 บาท
- น้ำหนักรถ 2,501 – 3,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 220 บาท
- น้ำหนักรถ 3,001 – 3,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 240 บาท
- น้ำหนักรถ 3,501 – 4,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 260 บาท
- น้ำหนักรถ 4,001 – 4,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 280 บาท
- น้ำหนักรถ 4,501 – 5,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 300 บาท
- น้ำหนักรถ 5,001 – 6,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 320 บาท
- น้ำหนักรถ 6,001 – 7,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 340 บาท
- น้ำหนักรถ 7,001 ขึ้นไป กก. ต้องจ่ายภาษี 360 บาท
ภาษีรถไฟฟ้า 2568 หลังจากการปรับลดภาษีรถไฟฟ้า
หลังจากที่การปรับลดภาษีรถไฟฟ้าในปี 2567 หมดลง เราจะต้องกลับมาจ่ายภาษีรถไฟฟ้าในอัตราแรกเริ่มสำหรับปี 2568 เป็นต้นไป ส่วนจะต้องจ่ายเท่าไหร่บ้างนั้น มาดูข้อมูลกันต่อได้เลย
ภาษีรถไฟฟ้า EV ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคล (ไม่เกิน 7 ที่นั่ง)
- น้ำหนักรถ ไม่เกิน 500 กก. ต้องจ่ายภาษี 150 บาท
- น้ำหนักรถ 501 – 750 กก. ต้องจ่ายภาษี 300 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กก. ต้องจ่ายภาษี 800 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 1,000 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กก. ต้องจ่ายภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 1,600 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 1,900 บาท
- น้ำหนักรถ 2,501 – 3,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 2,200 บาท
- น้ำหนักรถ 3,001 – 3,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 2,400 บาท
- น้ำหนักรถ 3,501 – 4,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 2,600 บาท
- น้ำหนักรถ 4,001 – 4,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 2,800 บาท
- น้ำหนักรถ 4,501 – 5,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 3,000 บาท
- น้ำหนักรถ 5,001 – 6,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 3,200 บาท
- น้ำหนักรถ 6,001 – 7,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 3,400 บาท
- น้ำหนักรถ 7,001 ขึ้นไป กก. ต้องจ่ายภาษี 3,600 บาท
ภาษีรถไฟฟ้า EV ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคล (เกิน 7 ที่นั่ง)
- น้ำหนักรถ 501 – 750 กก. ต้องจ่ายภาษี 150 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 225 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กก. ต้องจ่ายภาษี 400 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 500 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กก. ต้องจ่ายภาษี 650 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 800 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 950 บาท
- น้ำหนักรถ 2,501 – 3,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 1,100 บาท
- น้ำหนักรถ 3,001 – 3,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 1,200 บาท
- น้ำหนักรถ 3,501 – 4,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถ 4,001 – 4,500 กก. ต้องจ่ายภาษี 1,400 บาท
- น้ำหนักรถ 4,501 – 5,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 1,500 บาท
- น้ำหนักรถ 5,001 – 6,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 1,600 บาท
- น้ำหนักรถ 6,001 – 7,000 กก. ต้องจ่ายภาษี 1,700 บาท
- น้ำหนักรถ 7,001 ขึ้นไป กก. ต้องจ่ายภาษี 1,800 บาท
พอดูภาพรวมหลังจากมีการปรับเปลี่ยนอัตราภาษีรถไฟฟ้า กลับมาเป็นเท่าเดิมแล้วถือว่ายังมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำกว่ารถยนต์ปกติ ที่มีการคิดอัตราตามซีซีของเครื่องยนต์ ดังนั้นหากใครเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงปีนี้ อย่าลืมวางแผนค่าใช้จ่ายสำหรับภาษีรถไฟฟ้าในปีถัด ๆ ไปกันด้วย
เอกสารสำหรับการจดทะเบียนรถไฟฟ้า
เอกสารที่ต้องใช้งานสำหรับการจดทะเบียนรถไฟฟ้า ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน, หนังสือแจ้งจำหน่ายจากบริษัทผู้ผลิต, หลักฐานการได้มาของรถ (ใบเสร็จรับเงิน, สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาเช่าซื้อ), หลักฐานการทำประกันภัย พ.ร.บ., แบบคำขอจดทะเบียนรถรวมทั้งหนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง) และนำรถเข้าไปตรวจสภาพเพื่อความถูกต้องตามขั้นตอนการจดทะเบียน
ข้อมูลเพิ่มเติม ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนรถไฟฟ้า ประมาณ 355 บาท แบ่งเป็นค่าใบคำขอ 5 บาท, ค่าแผ่นป้ายทะเบียน 200 บาท (แผ่นละ 100 บาท), ค่าใบคู่มือจดทะเบียน 100 บาท และค่าตรวจสภาพรถอีก 50 บาท
ขั้นตอนชำระภาษีรถไฟฟ้าประจำปี
ขั้นตอนการชำระภาษีรถไฟฟ้าประจำปี อ้างอิงจากสำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก (สนภ.) กรมขนส่งทางบก มี 3 ขั้นตอน คือ ตรวจสอบวันครบอายุ, เตรียมเอกสาร และดำเนินการชำระภาษีรถไฟฟ้าที่สะดวก
- ตรวจสอบวันครบอายุ ได้จาก คู่มือรถ, เครื่องหมายการเสียภาษี หรือเว็บไซต์ชำระภาษีรถออนไลน์ https://eservice.dlt.go.th
- เตรียมเอกสาร คือมู่รถตัวจริง (หรือสำเนา) และ พ.ร.บ. รถยนต์
- ชำระภาษีรถไฟฟ้า ตามช่องทางที่สะดวก ซึ่งสามารถชำระล่วงหน้าได้ถึง 90 วัน ส่วนช่องทางในปัจจุบัน ได้แก่ สำนักงานขนส่งใกล้บ้าน, ตู้รับชำระอัตโนมัติ, เคาน์เตอร์เซอร์วิส, ห้างสรรพสินค้าที่ร่วมโครงการช้อปให้พอแล้วต่อภาษี, ที่ทำการไปรษณีย์, ธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมโครงการกับกรมการขนส่งทางบก, เว็บไซต์กรมขนส่งทางบก, แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax และแอปพลิเคชัน mPay หรือ True Money Wallet
รับทราบข้อมูลการชำระค่าภาษีรถไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2567 ไปจนถึง 2568 เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมพิจารณาการประเมินค่าใช้จ่ายที่สำคัญอย่างประกันรถไฟฟ้าเผื่อเอาไว้ด้วย เนื่องจากอะไหล่ในรถไฟฟ้าแต่ละส่วนมีราคาค่อนข้างแพง หากเกิดอุบัติเหตุแล้วไม่มีประกันรถยนต์ขึ้นมา เราต้องรับผิดชอบด้วยตัวเองทั้งหมด แต่ประกันรถไฟฟ้า จะมีส่วนในการดูแลคุ้มครองอุบัติเหตุทั้งหมด โดยเฉพาะประกันชั้น 1 ที่ช่วยคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุไม่มีคู่กรณีให้ด้วย หากสนใจต้องการสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อหา แรบบิท แคร์ ได้ที่เบอร์ 1438 (24 ชั่วโมง) เมื่อตัดสินใจซื้อประกันรถไฟฟ้าผ่าน แรบบิท แคร์ เรามีส่วนลดให้สูงสุดถึง 70%
สรุป
สำหรับภาษีรถไฟฟ้า 2567 ตามมติ ครม. ได้ประกาศลดภาษีรถไฟฟ้าลงถึง 80% ของอัตราที่กำหนดตามกฎหมายแรกเริ่ม โดยการปรับลดภาษีรถไฟฟ้าครั้งนี้ จะกินเวลายาวนานถึง 1 ปีเต็ม นับตั้งแต่วันที่มีการจดทะเบียน สำหรับรถไฟฟ้าที่เริ่มจดทะเบียนในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ไปจนถึง 30 กันยายน 2568 หลังจากที่การปรับลดภาษีรถไฟฟ้าในปี 2567 หมดลง จะต้องกลับมาจ่ายภาษีรถไฟฟ้าในอัตราแรกเริ่มสำหรับปี 2568 เป็นต้นไป ซึ่งโดยภาพรวมแล้วยังนับว่ายังมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำกว่ารถยนต์ปกติ
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology