แคร์รถยนต์

EV Charger คืออะไร ปัจจุบันมีกี่แบบ และมีจุดชาร์จที่ไหนบ้าง

ผู้เขียน : ONLYWONDER

นักเขียนบทความด้านประกันยานยนต์ รถยนต์ การเคลมประกันรถยนต์ ที่ Rabbit Care และ Asia Direct ตั้งใจเขียนงานให้ได้เกินครึ่งจากช่วงเวลาที่หาข้อมูล ยึดถือความถูกต้องเป็นหลัก

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Natthamon

ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

close
linkedin icon
 
Published: March 28,2023
  
Last edited: August 11, 2024
รู้จัก EV Charger ทั้งแบบ ac charge และ dc quick charge

เมื่อตลาดรถยนต์ไฟฟ้า EV กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ทำให้ความต้องการ EV Charger เองก็เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะ EV Charger Station ที่ผุดขึ้นมาหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นตามห้างสรรพสินค้า, จุดพักรถ, ปั๊มน้ำมัน หรือแม้กระทั่งตามร้านสะดวกซื้อชื่อดังอย่าง 7-11 บางแห่งก็มีที่ชาร์จรถไฟฟ้า EV พร้อมให้ใช้งานแล้ว 

หากใครที่กำลังเล็งออกรถพลังงานไฟฟ้าสักคัน ก็ควรทำความเข้าใจอย่างละเอียดถึงความสำคัญของ EV Charger ว่าคืออะไร, มีกี่แบบ และถ้าจะติดที่บ้านเคยได้ยินแต่ Wallbox แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ต้องเลือกยังไง แรบบิท แคร์ รวมข้อมูลทั้งหมดมาให้เรียบร้อยแล้ว

EV Charger คืออะไร?

EV Charger คือ ที่ชาร์จรถไฟฟ้าในทุก ๆ แบบ ไม่ว่าจะเป็นตาม EV Charger Station หรือ Wallbox เองก็ถูกนับว่าเป็น EV Charger ทั้งหมด ซึ่งรถที่จะเข้ามาใช้งานระบบชาร์จนี้ได้ ต้องเป็นรถที่มีปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle PHEV) ที่สามารถชาร์จประจุพลังงานไฟฟ้าได้จากแหล่งภายนอก กับรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่มี Batter Electric Vehicle (BEV)

EV Charger มีกี่แบบ?

EV Charger ให้เลือกใช้งานอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ Normal Charge และ Quick Charge ทั้งคู่นั้นล้วนมีให้บริการตาม EV Charger Station ไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพมหานคร หรือต่างจังหวัด ส่งผลให้ปัจจุบันเราสามารถเดินทางในเมืองกรุงเทพฯ หรือเดินทางข้ามไปต่างจังหวัดด้วยรถไฟฟ้า EV อย่างง่ายดาย เพราะที่ชาร์จรถไฟฟ้า แทบจะมีอยู่ทั่วไปแล้วนั่นเอง

EV Charger แบบ Normal Charge

Normal Charge

ประเภท EV Charger แบบที่ 1 คือ Normal Charge หรือที่ชาร์จรถไฟฟ้าแบบปกติ จะเป็นการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ ผ่านอุปกรณ์ตัวแปลงเพื่อเปลี่ยนให้กระแสไฟฟ้าสลับ ไปเป็นไฟฟ้ากระแสตรงสำหรับชาร์จประจุไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ต่อไป โดยรูปแบบ Normal Charge เหมาะสมกับติดตั้งที่ EV Charger Station สาธารณะที่สามารถจอดไว้ได้นาน ๆ ตามอาคารสำนักงาน หรือที่อยู่อาศัย เช่น Wallbox เป็นต้น เพราะที่ชาร์จรถไฟฟ้าประเภทนี้ต้องใช้เวลาในการชาร์จค่อนข้างนาน

EV Charger แบบ Quick Charge

Quick Charger

ประเภท EV Charger แบบที่ 2 คือ Quick Charge หรือที่ชาร์จรถไฟฟ้าแบบเร็ว จะเป็นการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสตรงด้วยการจ่ายไฟสูง ทำให้ใช้เวลาสั้นกว่าที่ชาร์จแบบ Normal Charge แต่แลกมาด้วยการใช้กำลังไฟที่ค่อนข้างสูง ทำให้ EV Charger Station ที่ต้องการติดตั้งตัวนี้ ต้องเป็นจุดที่กระแสไฟสูงเพียงพอ ทำให้ส่วนมากสถานีชาร์จที่ใช้ Quick Charge จะอยู่ตามปั๊มน้ำมัน, อาคารต่าง ๆ และที่สาธารณะที่เป็นสถานีชาร์จโดยเฉพาะ

ยิ่งไปกว่านั้นที่ชาร์จรถไฟฟ้าอย่าง EV Charger Quick Charge ยังมีหัวชาร์จที่แตกต่างกันไปอีก 3 แบบด้วยกันดังนี้

  • AC(Type1/Type2): Type 1 นิยมใช้กับรถไฟฟ้าจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น เป็นหัวแบบ 5 Pin / ส่วน Type 2 นิยมใช้ในรถไฟฟ้าจากยุโรป เป็นหัวแบบ 7 Pin
  • DC CHAdeMO: คำว่า CHAdeMO ย่อมาจาก CHArge de Move เป็นชื่อระบบชาร์จเร็ว นิยมใช้ในญี่ปุ่นและจีน
  • DC CSS(Combined Charging System): แบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ CSS Type 1 นิยมใช้ในสหรัฐฯ มีขนาดเล็กกว่า Type 2 รองรับแรงดันไฟฟ้าที่ 200 V – 500 V / CSS Type 2 นิยมใช้ในยุโรป สามารถให้กำลังไฟได้สูงกว่าแบบ Type 1
ที่ชาร์จรถไฟฟ้า

รู้จักว่า Wallbox คืออะไร?

Wallbox คือ อีกหนึ่งรูปแบบของที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่กำลังมาแรง โดยเจ้า Wallbox สามารถติดตั้งได้บนผนังตามอย่างชื่อของมัน แถมมีขนาดเล็กกะทัดรัด ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย มีมาตรฐานมาจากยุโรป เหนือระดับกว่าด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่าน Bluetooth, Wifi และ Cellular ทำให้เราติดตามการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน และสั่งการผ่านแอปพลิเคชัน Wallbox ได้โดยตรง แถมราคายังย่อมเยาอีกต่างหาก

EV Charger แบบติดผนัง Wallbox

ต้องการติดตั้ง Wallbox ต้องติดต่อที่ไหน?

สามารถติดต่อผ่าน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เลย ซึ่งทางกฟผ. จะมีราคา Wallbox พร้อมติดตั้งเอาไว้ให้เลือกสรรอย่างเหมาะสม เริ่มต้นที่ประมาณ 57,000 บาท  

อยากติดตั้ง EV Charger ที่บ้านต้องทำอย่างไร?

คำแนะนำสำหรับคนที่ต้องการติดตั้ง EV Charger ที่บ้านไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม ทางการไฟฟ้านครหลวงได้ให้คำแนะนำสำหรับที่ชาร์จรถไฟฟ้าไว้ทั้งหมด 6 ข้อด้วยกัน คือ ต้องดูเรื่องขนาดมิเตอร์, ขนาดสายไฟเมน, ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB), เครื่องตัดไฟรั่ว (RDC), เต้ารับ และเช็กตำแหน่งก่อนติดตั้ง โดยรายละเอียดแต่ละข้อมีดังนี้

ขนาดมิเตอร์

หากมิเตอร์ไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่เล็กกว่า 30 แอมป์ (30/100) ควรทำการแจ้งเปลี่ยนมิเตอร์ให้มีขนาด 30 แอมป์ ขึ้นไป หรือถ้าเป็นมิเตอร์ 3 เฟส ควรใช้ขนาด 15/45 เพื่อให้มิเตอร์มีขนาดเพียงพอต่อการรองรับการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในบ้าน หลังจากมีการติดตั้ง EV Charger แต่ทั้งนี้การพิจารณาว่าจะใช้ไฟฟ้า 1 หรือ 3 เฟสต้องดูจากคุณสมบัติรถไฟฟ้าและที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่จะนำมาติดตั้ง

ขนาดสายไฟเมน

สายไฟเมน หรือขนาดสายไฟที่เชื่อมมาถึง EV Charger หากเป็นขนาด 16 มิลลิเมตร ต้องเปลี่ยนไปใช้ 25 ตารางมิลลิเมตร ซึ่งขนาดของสายหรือหน้าสายทองแดง พร้อมกับการเช็กตู้ Main Circuit Breaker (MCB) ควรต้องใช้ตู้ที่รองรับกระแสไฟฟ้าได้ไม้เกิน 100 แอมป์

ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)

เช็กช่องว่างสำหรับการติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้า(MDB) หรือใครที่อยากติดตั้งเป็น Wallbox ก็อย่าลืมหาที่ให้เหมาะสมเอาไว้ก่อน เนื่องจากการติดตั้ง EV Charger ต้องมีแยกช่องจ่ายไฟออกไป และช่องว่างควรมีขนาดตามพิกัดที่สามารถรองรับกระแสไฟฟ้าของเครื่องชาร์จด้วย

เครื่องตัดไฟรั่ว (RDC)

เครื่องตัดวงจรไฟในกรณีมีค่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้า-ออกไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรนั่นเอง เพราะไม่ว่าเราจะติดตั้ง EV Charger แบบ Normal, Quick หรือ Wallbox ก็ตาม อย่างน้อยต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 นาทีในการชาร์จ ทำให้เราที่ไม่สามารถเฝ้าได้ตลอด ต้องมีอุปกรณ์ตัวนี้คอยช่วยควบคุม เว้นเสียว่าที่ชาร์จรถไฟฟ้ารุ่นไหนมีระบบตัดไฟอัตโนมัติ ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่มแล้ว

เต้ารับ

สำหรับเต้ารับที่ชาร์จรถไฟฟ้า EV นั้นแตกต่างจากที่ชาร์จไฟฟ้าทั่วไปอยู่แล้วอย่างที่เราทราบกันดี โดยการเสียบชาร์จรถไฟฟ้าควรใช้ 3 รู และใช้หลักดินแยกออกจากระบบไฟในบ้าน โดยต่อสายหลักดินควรมีฉนวนหุ้มไม่ต่ำกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร ส่วนหลักดินควรมีขนาด 16 มิลลิเมตร ยาว 2.4 เมตร

ตำแหน่งติดตั้ง

ตำแหน่งในการติดตั้ง EV Charger อยู่ในระยะ 5 เมตรหรือไม่ เพราะความยาวสายทั่วไปจะอยู่ในระยะดังกล่าว รวมถึงกับต้องอยู่ในที่ร่ม ไม่ตากแดด ไม่โดนฝน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ปัจจุบัน EV Charger Station มีมากน้อยแค่ไหน?

แต่ถ้าใครยังไม่พร้อมที่จะติดตั้ง EV Charger หรือยังไม่สะดวกพร้อมรับ Wallbox เข้ามาใช้งานในบ้านของเรา ก็ยังสามารถตามหาที่ชาร์จรถไฟฟ้าตามสถานีชาร์จจากหลายแห่งได้เช่นกัน เพราะปัจจุบันประเภทการชาร์จแบบ Quick Charge ก็มีให้ใช้งานเป็นจำนวนมาก เช่น เราไปเดินห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งที่มีที่ชาร์จแบบ Quick Charge เราจอดชาร์จสัก 40-50 นาทีก็ได้ แบตเตอรี่สัก 80% พร้อมใช้งานแล้ว ใครอยากดูจุดชาร์จรถไฟฟ้าที่ครบถ้วนลองคลิกเข้าไปดูบทความที่ แรบบิท แคร์ เคยรวบรวมไว้ให้ได้เลย

ส่วนใครที่เป็นเจ้าของรถไฟฟ้าอยู่แล้ว แต่กำลังพิจารณาเลือกซื้อ Wallbox หรือ EV Charger มาติดตั้งที่บ้าน ก็อย่าลืมนึกถึงเรื่องประกันรถยนต์กันด้วยนะ เพราะรถยนต์ไฟฟ้านั้นมีราคาค่อนข้างสูง ถ้าเป็นไปได้ยามฉุกเฉินเราควรมีประกันคอยช่วยเหลือดูแลทั้งคนขับ และตัวรถไว้ก่อนดีกว่า ซึ่งปัจจุบันทาง แรบบิท แคร์ มีบริษัทชั้นนำที่พร้อมดูแลคุณให้เปรียบเทียบจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นยังมีส่วนลดสูงสุดถึง 70%, ผ่อน 0% นาน 10 เดือน และบริการช่วยเหลืออีกเพียบ


 

บทความแคร์รถยนต์

Rabbit Care Blog Image 94332

แคร์รถยนต์

วิธีเลือกรถผู้หญิงให้ได้รุ่นที่ขับง่าย ขับสบาย มียี่ห้อไหนแนะนำ

พอถึงเวลาที่คุณผู้หญิงต้องเลือกรถสักคัน อาจมีความคิดเข้ามาที่ซับซ้อนว่ารถผู้หญิงต้องเป็นแบบไหน เลือกยังไงถึงจะเหมาะสมกับการใช้งานของตัวเองมากที่สุด
Natthamon
09/09/2024
Rabbit Care Blog Image 91005

แคร์รถยนต์

แข่งรถผิดกฎหมายหรือไม่!? กฎหมายเกี่ยวกับการแข่งรถที่ควรรู้ไว้ มีบทลงโทษอย่างไร ?

เมื่อพูดถึงการแข่งรถในประเทศไทยแน่นอนว่าภาพที่นึกถึงของแทบจะทุกคนก็คงจะเป็นการแข่งรถที่ผิดกฎหมาย เด็กแว๊นแต่งท่อดังซิ่งกันในตอนกลางคืน
Natthamon
15/08/2024