Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองมีอะไรบ้าง
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: May 27, 2024

นอนกรน สัญญาณเงียบยามค่ำคืนที่อาจอันตรายถึงชีวิต

การนอนหลับพักผ่อน ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ เพราะการนอนหลับทำให้ร่างกายได้มีเวลาพักและฟื้นฟูตัวเองจากการทำงานหนักในระหว่างวัน แต่รู้หรือไม่ว่า ปัญหาที่มาคู่กันกับการนอนหลับ คือ “การนอนกรน” ซึ่งสามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือแม้แต่ผู้สูงอายุ วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนไปรู้จักกับการนอนกรน ว่ามันคืออะไร ระดับความรุนแรงมีกี่ระดับ อันตรายแค่ไหน และสามารถป้องกันหรือรับมืออย่างไรได้บ้าง ไปดูกันเลย!!

อาการนอนกรน เกิดจากอะไร?

สาเหตุของการนอนกรน เกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ เนื่องจากเมื่อเรานอนหลับสนิท กล้ามเนื้อต่าง ๆ ภายในช่องปากและลำคอจะมีการหย่อน ทำให้ปิดกั้นทางเดินหายใจได้ โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์กล่าวว่าการนอนกรนทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้

ซึ่งเสียงกรนที่หลายคนได้ยิน เกิดจากการที่ลมหายใจไม่สามารถผ่านหลอดลมไปยังปอดได้อย่างเพียงพอ ทำให้ร่างกายเกิดการขาดออกซิเจน และเมื่อช่องลมถูกปิดกั้นมากขึ้นก็จะทำให้เกิดเป็นเสียงกรนเกิดขึ้นได้

ดังนั้นการนอนกรนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ไม่น้อย แต่ปัญหาหลักที่จะตามมาเลยคือการหยุดหายใจซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่รีบป้องกันหรือแก้ไขเสียก่อน นอกจากนี้ยังทำให้คุณตื่นมาแล้วรู้สึกปวดหัว ไม่สดชื่น เนื่องจากคุณภาพการนอนที่ไม่ดี ทำให้การนอนหลับเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง ซึ่งนำมาสู่ผลเสียทั้งด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เพราะมันจะทำให้คุณหงุดหงิดง่ายขึ้น อารมณ์แปรปรวน ง่วงนอนตอนกลางวัน สมาธิไม่ดี ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี นำมาสู่โรคอ้วนหรือเบาหวานได้

การนอนกรนเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?

การนอนกรน เสี่ยงเป็น 9 โรค ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของคุณในหลาย ๆ ด้าน และยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ได้อีกในอนาคตหากไม่รีบแก้ไข แต่วันนี้ แรบบิท แคร์จะมานำเสนอ 4 โรคจากการ กรน ได้แก่ โรคหัวใจ โรคสมองเสื่อม โรคมะเร็ง และอัมพฤกษ์ อัมพาต

1. โรคหัวใจ

หากคุณมีอาการนอนกรน ต้องรู้ไว้เลยว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจสูงถึง 34% ในอนาคตได้ เพราะการนอนกรนทำให้ทางเดินหายใจของคุณตีบและแคบลง ทำให้ได้รับออกซิเจนที่ไม่เพียงพอ ในขณะที่ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดคราบพลัคภายในหลอดเลือด

2. โรคสมองเสื่อม

อย่างที่ทุกคนทราบว่าการกรนทำให้เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ โดยเฉพาะสมอง ทำให้หลังจากตื่นนอนขึ้นมา คุณจะรู้สึกเหมือนนอนไม่ค่อยอิ่ม สมองตื้อ ง่วงนอนตอนกลางวัน ขี้หลงขี้ลืม ลืมว่าจะต้องทำอะไรในชีวิตประจำวัน ซึ่งหากเป็นแบบนี้บ่อย ๆ ไม่เป็นผลดีแน่ เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ในอนาคตได้

3. โรคมะเร็ง

หลายคนอาจจะสงสัยว่าการนอนกรนส่งผลให้เป็นมะเร็งจริงหรือ หลายคนอาจจะคิดว่ามันเชื่อมโยงกันได้อย่างไร แต่จริง ๆ แล้วเมื่อร่างกายเราขาดออกซิเจน ทำให้เป็นการกระตุ้นเนื้องอกให้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทำให้อาจจะมีเลือดคั่งบริเวณเนื้องอก และเซลล์ดังกล่าวก็จะพัฒนาหรือเจริญพันธุ์ กลายเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งในที่สุด

4. โรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาต

หากคุณนอนแล้วเกิดอาการกรน ส่งผลให้คราบพลัคสะสมในหลอดเลือดมากขึ้น ไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดหัวใจ แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการอุดตันของหลอดเลือดสมองอีกด้วย ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดสมองขาดเลือด เส้นเลือดในสมองตีบหรือตันได้ และส่งผลให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ในที่สุด

เหล่านี้คือ 4 โรคจากการนอนกรน รู้แบบนี้แล้ว ใครที่มีเพื่อน พ่อแม่ พี่น้อง คู่นอน สามีภรรยา ที่นอนกรน อย่าลืมพาเขาไปปรึกษาแพทย์และป้องกันอย่างทันท่วงที ก่อนสูญเสียคนที่รักไป

ระดับของการนอนกรน

ความรุนแรงของการนอนกรน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ซึ่งแต่ละระดับจะมีลักษณะและความรุนแรงแตกต่างกันออกไป แรบบิท แคร์รวบรวมความหมายไว้แล้ว ดังนี้

• ความรุนแรงระดับที่ 1

ความรุนแรงในระดับแรก หมายถึง การนอนกรนที่ธรรมดา ทั่วไป ไม่บ่อยมาก และเสียงที่ออกมาไม่ดังมาก ดังนั้นในระดับนี้ยังไม่ค่อยอันตราย หรือไม่ได้ส่งผลมากนักต่อการหายใจขณะนอนหลับ ในระดับแรก สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้ในเบื้องต้นโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย เลิกสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

• ความรุนแรงระดับที่ 2

ความรุนแรงในระดับที่สอง หมายถึง ความถี่ในการกรนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งในระดับนี้มีผลต่อการหายใจในขณะหลับเล็กน้อยถึงปานกลาง อาจส่งผลกระทบต่อคุณเล็กน้อยเมื่อตื่นขึ้นมา เช่น รู้สึกง่วง อ่อนเพลีย หรือเหนื่อยง่ายในช่วงกลางวัน

• ความรุนแรงระดับที่ 3

ความรุนแรงในระดับที่สาม หมายถึง ความถี่ในการนอนกรนเป็นประจำทุกวัน เสียงที่ออกมามีความดัง ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงที่สุด ส่งผลให้เกิดภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ หรือ obstructive sleep apnea : OSA เป็นการที่ทางเดินหายใจถูกปิดกั้น ทำให้สมองและร่างกายขาดออกซิเจนเป็นช่วง ๆ ซึ่งในระดับสาม แรบบิท แคร์ แนะนำให้คุณรีบไปทำ Sleep Test เพื่อตรวจการนอนหลับและรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน

หากนอนคนเดียว จะมีวิธีสังเกตอาการนอนกรนได้อย่างไร?

วิธีการสังเกตตัวเองว่ามีการนอนกรนหรือไม่ขณะหลับ หากนอนคนเดียวก็สามารถทำได้เหมือนกัน คือการสังเกตอาการหลังจากตื่นนอน ว่ามีอาการอย่างไร หากตื่นมาแล้วไม่สดชื่น คอแห้ง มึนศีรษะบ่อยในตอนเช้า อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย ง่วงนอนมาก เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

แต่ในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันตรวจการนอนหลับ เช่นการใส่นาฬิกาวัดสุขภาพขณะหลับ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเหมือนกัน โดยคุณจะสามารถรู้ได้เลยว่า คุณภาพการนอนเป็นอย่างไร หลับลึกกี่นาที มีหลับฝันกี่นาที มีส่วนไหนที่ควรปรับหรือแก้ไขไหม

แต่ก็เป็นเรื่องที่ง่าย หากคุณนอนกับแฟน พ่อแม่ หรือเพื่อน ก็จะสามารถสังเกตได้อย่างง่าย เพราะอีกฝ่ายก็สามารถช่วยสังเกตได้ ว่ามีการนอนกรนหรือไม่

นอนกรน แก้ยังไง นอนกรน รักษาได้หรือไม่

หลายคนอาจมีความกังวลว่า นอนกรน แก้ยังไง มีแนวทางการรักษาอย่างไรบ้าง รักษาหายหรือไม่? คำตอบคือสามารถรักษาได้ โดยแนวทางการรักษา มีอยู่ 5 วิธี ดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

หากนอนกรนไม่บ่อยหรือความรุนแรงอยู่ในระดับแรก แนะนำให้รักษาโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งการใช้ชีวิต และพฤติกรรมการนอน เช่น ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ งดใช้ยาหรือสารบางชนิด และหลีกเลี่ยงการนอนหงาย

2. ใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก (Continuous Positive Airway Pressure)

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า CPAP ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุดอย่างแพร่หลาย ให้ประสิทธิภาพในการรักษาสูง สามารถป้องกันและรักษาภาวะหยุดหายใจในขณะหลับได้เป็นอย่างดี โดยเครื่อง CPAP สามารถใช้ได้กับความรุนแรงทุกระดับ แต่ก่อนใช้แนะนำปรึกษาแพทย์และอ่านรายละเอียดให้ถี่ถ้วนก่อนใช้งาน

3. รักษาด้วยอุปกรณ์ทางทันตกรรม (Oral Appliance)

วิธีนี้เหมาะมาก ๆ กับผู้ที่มีอาการยังไม่มากนัก ระดับความรุนแรงแรก เนื่องจากเป็นกลุ่มเครื่องมือที่ช่วยให้ทางเดินหายใจของคุณเปิดกว้างขึ้น เพื่อไม่ให้หย่อนตัวลงและปิดกั้นทางเดินหายใจในขณะหลับ

4. ใช้ยา

การรักษาโดยการใช้ยา จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของแต่ละคน เช่น หากผู้ป่วยมีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) ทำให้ช่องคอตีบตัน แพทย์อาจเลือกใช้ฮอร์โมนไทรอกซินในการรักษา

5. การผ่าตัด

การผ่าตัด ถือเป็นทางเลือกสุดท้าย หากรักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้วผู้ป่วยตอบสนองได้ไม่ดี หรือไม่มีประสิทธิภาพ สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติจากทางกายวิภาค แพทย์จะเลือกใช้วิธีการผ่าตัด

เหล่านี้คือข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการนอนกรน การเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาหากคุณละเลยในการดูแลสุขภาพตัวเอง ดังนั้น อย่าลังเลที่จะซื้อประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ เพื่อเจ็บป่วย เป็นโรคที่เกิดจากการนอนกรน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ก็หมดกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล หากสนใจโทรเลย 1438

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

Delight Care ประกันสุขภาพเหมาจ่ายDelight Care

เหมาจ่าย

  • เบี้ยประหยัด คุ้มครองครบ เริ่มเพียง 53 บาท/วัน
  • เหมาจ่ายค่ารักษา สูงสุด 1.25 ล้าน ไม่จำกัดครั้ง
  • ค่าห้องครอบคลุม สูงสุด 3,000 บาท/วัน
  • สมัครได้ทุกวัย ตั้งแต่ 1 เดือน - 60 ปี
  • เจอมะเร็งลุกลาม รับผลประโยชน์เพิ่ม 1 เท่า
  • คุ้มครองชีวิตสูงสุด 150,000 บาท
  • นอนรพ.ทั่วไทย ไม่ต้องสำรองจ่าย
วิริยะ คลาสสิค บาย บีดีเอ็มเอส ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุวิริยะ คลาสสิค บาย บีดีเอ็มเอส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • นอนรพ. ค่ารักษาเหมาจ่าย ไม่จำกัดครั้ง
  • รักษามะเร็งทุกระยะ คุ้มครอง 50,000 บาท/ปี
  • นอน รพ. คุ้มครองค่าห้อง 6,500 บาท/วัน
  • สมัครได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน - 65 ปี ไม่มีตรวจสุขภาพ
  • แคร์ผู้ป่วยใน คุ้มครองสูงสุด 800,000 บาท
  • คุ้มครอง OPD 2,500 บาท/วัน ซื้อเพิ่มได้
  • สบายกระเป๋า รักษา รพ. BDMS ไม่ต้องจ่ายก่อน
วิริยะ เฮลท์แคร์ พลัสบาย บีดีเอ็มเอสวิริยะ เฮลท์แคร์ พลัสบาย บีดีเอ็มเอส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • สมัครง่าย แคร์ทุกวัย 16 - 60 ปี ไม่ตรวจสุขภาพ
  • คุ้มครองเหมาจ่าย 700,000 บาท/ปี แคร์ทั้งปี
  • ค่าห้อง รพ. คุ้มครองสูงสุด 8,000 บาท/วัน
  • คุ้มครองเคมีบำบัดมะเร็ง สูงสุด 50,000 บาท/ปี
  • สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจ แคร์คนทำ
  • แคร์ไม่คาดฝัน คุ้มครองเสียชีวิต 100,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 25,000 บาท
Health Lump SumHealth Lump Sum

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • แคร์รายได้ ชดเชยสูงสุด 500 บาท/วัน
  • แคร์ค่ารักษา เหมาจ่าย 5 แสนบาท/ปี
  • แคร์ค่ารักษา จ่ายตามจริง สูงสุด 75,000 บาท
  • 16-60 ปี สมัครง่าย ไม่ต้องสำรองจ่าย
  • แคร์ค่าห้อง สูงสุด 365 วัน จ่ายตามจริง
  • แคร์อุบัติเหตุ คุ้มครองผู้ป่วยใน 150,000 บาท
  • ค่าตรวจ-รักษาอุบัติเหตุ 5,000 บาท/ครั้ง

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา