Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

กรดไหลย้อน อาการเป็นอย่างไร ต้องรักษาอย่างไร ?
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: May 31, 2024

โรคอ้วนเป็นอย่างไร แบบไหนถึงเรียกว่าเป็นโรคอ้วน?

โรคอ้วนคืออะไร?

โรคอ้วน (Obeity) ถือว่าเป็นภาวะที่ร่างกายนั้นมีการสะสมไขมันมากเกินความจำเป็น หรือมากเกินกว่าที่ร่างกายนั้นจะนำมาใช้เผาผลาญได้ จึงได้มีการสะสมพลังงานส่วนเกินนี้ไว้ในรูปแบบที่เรียกว่า “ไขมัน” ตามอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย จนเกิดเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเป็นโรคเรื้อรังและปัญหาสุขภาพตามมามากมาย โดยสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าคนไทยเกือบหนึ่งในสามนั้นเป็นโรคอ้วน ซึ่งมากเป็นอันดับสองในอาเซียน รองลงมาจากประเทศมาเลเซีย ส่วนประเทศที่มีประชากรเป็นโรคอ้วนมากที่สุดในโลก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน

แบบไหนถึงจะเรียกว่าเป็น “โรคอ้วน”

  • 1. วิธีในการวัดไขมันนั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบ เช่น การวัดรอบเอว การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด การวัดด้วยเครื่องชั่งมวลไขมัน เป็นต้น แต่วิธีที่ผู้คนนิยมใช้กันมากที่สุดเลยจะเป็นการวัดจากค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว ใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินโรคอ้วนในผู้ที่ใหญ่ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป โดยการดูจากค่า BMI ดังนี้

    --> ค่า BMI < 18.5 kg/m2 ถือว่า “น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์”
    --> ค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5 - 22.9 kg/m2 ถือว่า “ปกติ”
    --> ค่า BMI อยู่ระหว่าง 23.0 - 24.9 kg/m2 ถือว่า “น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์”
    --> ค่า BMI อยู่ระหว่าง 25.0 - 29.9 kg/m2 ถือว่าเป็น “โรคอ้วน”
    --> ค่า BMI < 30 kg/m2 ถือว่าเป็น “โรคอ้วนอันตราย”

และวิธีการคำนวณหาค่า BMI นั้นจะมีสูตร ดังนี้

BMI = น้ำหนักตัว (กก.) / [ส่วนสูง (ม.)]2

ยกตัวอย่าง
BMI = 50 / (1.60)2
BMI = 19.53 kg/m2 (ถือว่าปกติ)

  • 2. นอกจากนี้ยังมีวิธีการวัดรอบเอว โดยจะวัดในระดับสะดือพอดี คือ ผู้หญิงที่มีรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 80 ซม. และผู้ชายที่มีรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 90 ซม. ถือว่าเป็นโรคอ้วน
  • 3. ระดับไขมันดี (HDL) ในเลือดต่ำกว่า 40 มิลลิกรัม./เดซิลิตร (ในผู้ชาย) และระดับไขมันดี (HDL) ในเลือดต่ำกว่า 50 มิลลิกรัม./เดซิลิตร (ในผู้หญิง)
  • 4. ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่าหรือเท่ากับ 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • 5. ระดับน้ำตาลในเลือดขณะที่อดอาหารนั้นสูงกว่าหรือเท่ากับ 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • 6. ค่าความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 130/85 มิลลิเมตรปรอท

โรคอ้วน สาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง?

จากบทความสุขภาพเรื่อง “โรคอ้วน” ในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล MedPark ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วนไว้ว่าจะมีทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ดังนี้

ปัจจัยภายในของโรคอ้วน

  • ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง เป็นต้น
  • ความเครียด
  • ประสิทธิภาพของระบบการเผาผลาญ
  • จิตใจและอารมณ์
  • กรรมพันธุ์
  • โรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น
  • อายุที่มากขึ้น
  • ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด
  • การตั้งครรภ์
  • กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing Syndrome)
  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
  • ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism)

ปัจจัยภายนอกของโรคอ้วน

  • ขาดการออกกำลังกาย
  • สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ไม่ค่อยขยับร่างกายเท่าที่ควร เคลื่อนไหวร่างกายน้อย
  • รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา กินจุบจิบ
  • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ไขมัน แป้ง ของหวาน น้ำตาล เป็นต้น
  • เศรษฐกิจและสังคมรอบตัว
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การลดน้ำหนักก่อนหน้านี้ที่ไม่ถูกวิธี

ผลกระทบจากโรคอ้วน

ผู้ที่เป็นโรคอ้วน มักจะมีความเสี่ยงทางสุขภาพและการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น

  • ภาวะมีบุตรยากในเพศหญิง และมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชาย
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ มะเร็งมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม
  • ปัสสาวะติดเชื้อบ่อย อั้นนานไม่ได้
  • อาการปวดข้อ หรือข้อเสื่อมก่อนวัย
  • โรคมะเร็งต่าง ๆ
  • โรคผิวหนัง เช่น สิวขึ้นผิดปกติ มีกลิ่นตัว ผิวหนังติดเชื้อ ขนดก เป็นต้น
  • โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคหัวใจ
  • โรคไขมันเกาะตับ นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ
  • เหนื่อยง่าย หอบง่าย ความดันปอดสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • โรคหยุดหายใจในขณะที่กำลังหลับอยู่
  • โรคนอนกรน
  • ขาดความมั่นใจในตนเอง เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

โรคอ้วนมีกี่ประเภท?

โรคอ้วนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. โรคอ้วนทั้งตัว

จะมีไขมันทั้งร่างกายที่มากกว่าปกติ สามารถวัดได้ด้วยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่มากกว่า 25 kg/m2 จะถือว่าเป็นโรคอ้วน และยังต้องระวังโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคไขข้อ ปวดข้อเข่า ข้อเสื่อม ปวดหลัง ระบบหายใจทำงานติดขัด เป็นต้น

2. โรคอ้วนลงพุง

จะมีไขมันของอวัยวะภายในช่องท้องที่มากกว่าปกติ สามารถวัดได้จากเส้นรอบเอว โดยที่มีวิธีการวัดรอบเอว คือ ผู้หญิงที่มีรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 80 ซม. และผู้ชายที่มีรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 90 ซม. ถือว่าเป็นโรคอ้วน โดยรอบพุงที่เพิ่มขึ้นทุก 5 ซม. นั้นจะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคเบาหวานมากถึง 3-5 เท่า

โรคอ้วน วิธีรักษามีอะไรบ้าง?

  • 1. รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เพิ่มกากใยและวิตามิน ลดปริมาณแคลอรีให้น้อยลง เลือกทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน เช่น ผัก ผลไม้ ไขมันดี แป้งเชิงซ้อน เป็นต้น และไม่ควรทานเกิน 1,200 Kcal/วัน
  • 2. ดื่มน้ำเปล่าสะอาดวันละ 8-10 แก้วต่อวัน เพื่อช่วยขับสารพิษ รักษาสมดุล และปรับอุณหภูมิในร่างกายให้เหมาะสม
  • 3. เลือกวิธีการปรุงอาหารแบบต้ม แบบนึ่ง และแบบย่าง มากกว่าการทอดหรือการผัด
  • 4. ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
  • 5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน
  • 6. สูตรควบคุมการกินอาหาร เช่น Intermittent fasting, Atkins, Low carbohydrate หรือ Mediterranean diet เป็นต้น
  • 7. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน และออกกำลังกายอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
  • 8. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ขึ้นลงบันไดแทนการขึ้นลิฟต์ เป็นต้น
  • 9. ยาลดน้ำหนักทางการแพทย์
  • 10.การเข้ารับการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดกระเพาะให้เล็กลง ทั้งแบบ Bypass และ Gastric sleeve การรัดกระเพาะอาหารที่สามารถปรับระดับได้ หรือการผ่าตัดลำไส้เล็กส่วนต้น (Biliopancreatic diversion with duodenal switch) เป็นต้น
  • 11.การรักษาแบบอื่น ๆ เช่น การสกัดกั้นสัญญาณประสาท เป็นต้น

ประโยชน์ของการรักษาโรคอ้วน

  • 1. เพื่อลดไขมันเลว (LDL-Cholesterol) เพิ่มไขมันดี (HDL-Cholesterol) ลดคอเลสเตอรอล และลดไขมันไตรกลีเซอไรด์
  • 2. ช่วยลดการเกิดความดันโลหิตสูง และลดระดับความดันโลหิตสูงให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
  • 3. ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • 4. ลดระดับน้ำตาลในเลือด และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
  • 5. มั่นใจในตัวเองมากขึ้น
  • 6. ไม่เหนื่อยง่าย สุขภาพดีขึ้น
  • 7. ผิวพรรณผ่องใส สิวขึ้นน้อยลง

ในปัจจุบันนี้คนไทยมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเสื่อมหรือ NCDs มากถึง 4 เท่า รวมทั้งประชากรทั่วโลกกว่า 4 ล้านคนก็ได้เสียชีวิตจากการที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนด้วย ดังนั้นเรื่องสุขภาพจึงเป็นเรื่องใกล้ตัวและสำคัญมากพอ ๆ กับปัจจัย 4 ในด้านอื่น ๆ เพราะฉะนั้นการวางแผนดูแลสุขภาพทั้งในปัจจุบันและในอนาคตนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเรื่องอาหารการกิน กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสมและไม่หักโหมจนเกินไป อีกทั้งการทำ ประกันสุขภาพ ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะประโยชน์ที่จะได้รับนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความคุ้มครองเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นจากการเจ็บป่วยหรือจากอุบัติเหตุก็ตาม อีกทั้งยังสามารถลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยที่แผนประกันสุขภาพนั้นจะมีทั้งหมด 4 ประเภทตามความคุ้มครอง ได้แก่ ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD) ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) ประกันชีวิต (Life Insurance) และประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (Critical illness Insurance) ซึ่งทาง แรบบิท แคร์ นั้นก็ได้มีบริการเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว และตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณได้มากที่สุด อีกทั้งยังหมดห่วงเรื่องของความปลอดภัยได้เลย เพราะแรบบิท แคร์ นั้นเป็นโบรกเกอร์ประกันภัยที่อยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงาน คปภ. โดยมีใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย เลขที่ ว00021/2557 และใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิต เลขที่ ช00011/2559 ซึ่งทางลูกค้าสามารถตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดด้วยตนเองได้ที่เว็บไซต์ของคปภ.

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

AIA Health Saver ประกันสุขภาพเหมาจ่าย AIA Health Saver

เหมาจ่าย

  • เบี้ยฯ ราคาเบาๆ เริ่มแค่ 575 บาท/เดือน
  • เหมาจ่ายค่ารักษา สูงสุด 500,000 บาท
  • ค่ารักษา OPD คุ้มครองสูงสุด 30 ครั้ง
  • รับประกันภัยตั้งแต่อายุ 15 วัน - 75 ปี
  • รับคุ้มครอง 2 เท่า เมื่อพบ 6 โรคร้ายแรง
  • ค่ารักษา OPD คุ้มครอง 1,500 บาท/ครั้ง
  • ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 25,000 บาท
วิริยะ วี เพรสทีจ แคร์วิริยะ วี เพรสทีจ แคร์

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • ค่ายาผู้ป่วยกลับบ้าน แคร์จ่ายตามจริง
  • คุ้มครองค่ารักษา สูงสุด 4.5 ล้าน ไม่จำกัดครั้ง
  • คุ้มครองค่าห้อง สูงสุด 12,000 บาท/วัน นาน 365 วัน
  • รักษาบาดเจ็บผู้ป่วยนอก จ่ายจริงใน 24 ชม.
  • แคร์มะเร็ง คุ้มครองเคมีบำบัด 100,000 บาท/ปี
  • แคร์เรื่องไม่คาดฝัน คุ้มครองเสียชีวิต 100,000 บาท
  • นำไปลดหย่อนภาษี แคร์สูงสุด 25,000 บาท
ประกันสุขภาพ ผู้สูงอายุGEN Senior Extra 7

ผู้สูงอายุ

  • สมัครประกันได้ 41-70 ปี คุ้มครองถึง 85 ปี
  • คุ้มครองสุขภาพ สูงสุด 1,000,000 บาท
  • คุ้มครองค่าห้อง สูงสุด 6,000 บาท/วัน
  • ค่ารักษาที่บ้าน สูงสุด 60,000 บาท ใน 6 เดือน
  • ค่าทำ CT Scan คุ้มครองเต็ม ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • คุ้มครองแพทย์ตรวจ รับสูงสุด 12,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษีได้ถึง 25,000 บาท
ประกันเพิ่มเติมGEN Health D-Koom

ประกันเพิ่มเติม

  • ประกันเริ่มต้นเบา ๆ 18 บาท/วัน
  • คุ้มครองเต็มที่ เหมาจ่ายสูงสุด 1 ล้าน
  • ค่าห้อง รพ. 8,000 บาท/วัน รวมถึง BDMS
  • อายุสมัครหลากหลาย 6-65 ปี คุ้มถึง 70 ปี
  • คุ้มครองครบ 100 อาการ โรคร้าย โควิด-19
  • ไม่ต้องสำรองจ่าย 550 รพ.เอกชนทั่วไทย
  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา