Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

น้ำมันเครื่องรถยนต์ต้องเลือกแบบไหน? และทำไมควรถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนด?

น้ำมันเครื่องรถยนต์นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากเปรียบเทียบกับคนก็เหมือนเลือดหล่อเลี้ยงร่างกายเลยก็ว่าได้ โดยน้ำมันเครื่องหน้าที่หลักคือการหล่อลื่นและปกป้องเครื่องยนต์นั้นเอง พร้อมทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์อีกด้วย ดังนั้นเราจึงจะต้องรู้ก่อนว่าน้ำมันเครื่องรถยนต์นั้นมีกี่ประเภทและมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง เพื่อจะได้เป็นความรู้และเลือกใช้น้ำมันเครื่องให้เหมาะสมกันรถของเรา

เลือกน้ำมันเครื่องรถยนต์แบบไหน ให้เหมาะสำหรับรถคุณ

ประเภทของน้ำมันเครื่องรถยนต์

  • แบบสังเคราะห์แท้ (Fully synthetic) :น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% เป็นน้ำมันเครื่องที่มีระยะเวลาในการใช้งานยาวที่สุด ช่วยส่งเสริมสมรรถนะต่างๆ ให้กับรถ ทนอุณหภูมิสูงได้ดี ไม่เสื่อมสลายง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้รถทุกวัน และมีเวลาจำกัดในการดูแลรักษา
  • แบบกึ่งสังเคราะห์ (Semi-synthetic) :น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ เกิดจากการผสมกันระหว่างน้ำมันพื้นฐาน (Base oil) สังเคราะห์แท้กับน้ำมันพื้นฐานธรรมดามีราคาไม่แพงมาก ระยะการใช้งานปานกลาง เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีรอบการเปลี่ยนถ่ายไม่สูงมาก
  • แบบธรรมดา (Mineral) :น้ำมันเครื่องแบบธรรมดา เป็นน้ำมันเครื่องที่มีราคาถูกที่สุด แต่มีระยะเวลาการใช้งานสั้นที่สุด เน้นเปลี่ยนถ่ายเร็ว เหมาะสำหรับรถเก่า หรือรถที่เน้นรอบการเปลี่ยนถ่ายเร็ว และต้องการน้ำมันเครื่องราคาถูก

ซึ่งทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนี้ สามารถใช้งานและปกป้องเครื่องยนต์ได้เหมือนกันหากใช้งานตามระยะทางที่แนะนำ

เบอร์น้ำมันเครื่องหรือเลือกจากค่าความหนืด (ค่า SAE)

บนฉลากน้ำมันเครื่องจะแสดงค่า SEA (Society of Automotive Engineers) คือ มาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ ที่เอาไว้แสดงค่าความหนืดหรือความข้นใสของน้ำมันเครื่อง ทั้งที่อุณหภูมิต่ำและสูง ซึ่งที่วางขายในประเทศไทยส่วนใหญ่จะระบุไว้ ดังนี้

  • ตัวเลขชุดแรก คือ ค่าการทนความเย็นของน้ำมันเครื่อง หรือค่าความต้านทานการเป็นไขของน้ำมันเครื่องในอุณหภูมิต่ำ ซึ่งมีตั้งแต่ 0-20W
  • ตัวเลขชุดหลัง คือ ค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องที่อุณหภูมิสูง มากน้อยขึ้นอยู่กับตัวเลข มีตั้งแต่ 5, 10, 20, 30, 40, 50 และ 60 ตามลำดับ โดยความหนืดที่เหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์ทั่วไปอยู่ที่ 20-40

เมื่อเราทราบประเภทของน้ำมันเครื่องแล้ว น้ำมันเครื่องยังมีให้เลือก 2 แบบ คือ น้ำมันเครื่องดีเซลล์และน้ำมันเครื่องเบนซิน เพราะแน่นอนอยู่แล้วว่าสองชนิดไม่เหมือนกัน จะได้เลือกซื้อกันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับเครื่องยนต์เรา ก่อนจะไปเลือกสองลักษณะนี้มีความเหมือนและความแตกต่างกันอย่างไร

น้ำมันเครื่องดีเซลล์ VS น้ำมันเครื่องเบนซิน ความเหมือนและความต่าง

สำหรับการเติมน้ำมันให้กับรถยนต์นั้น เป็นที่รู้กันดีว่ามีการแบ่งแยกชนิดของน้ำมันที่เติมอยู่เป็นสองชนิดหลักๆ คือ น้ำมันเบนซิน และ น้ำมันดีเซล ซึ่งน้ำมันทั้งสองชนิดจะใช้แทนกันไม่ได้แน่ๆ ทีนี้ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องที่ต้องใช้ล่ะ จะมีคุณสมบัติเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ในด้านการใช้งานสามารถใช้แทนกันได้หรือไม่ เรามาดูว่า มีความเหมือนและความแตกต่างอย่างไร

สารเติมแต่ง (Additive) ต่างกัน

โดยปกติแล้วน้ำมันเครื่องมีสารพื้นฐานหรือ Base Oil เหมือนกัน แต่ที่ต่างกันก็คือสารที่เติมแต่งลงไปที่ทำให้มีคุณสมบัติแตกต่างกันนั่นเอง

น้ำมันเครื่องเบนซิน รหัส “S” น้ำมันเครื่องดีเซลรหัส “C”

ค่า API ที่เรียกกันเช่น API Service SN ซึ่งค่า S นั้นย่อมาจาก Spark Ignition หมายรวมถึงเครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยประกายไฟจากหัวเทียน ซึ่งก็คือเครื่องยนต์เบนซิน

ส่วนค่า API เช่น API ServiceCI-4 นั้นตัว C ย่อมาจาก Compress Ignition ก็คือเครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยกำลังอัด ไม่มีหัวเทียน ซึ่งก็คือเครื่องยนต์ ดีเซล

จะเห็นว่าความแตกต่างคือการจุดระเบิด ซึ่งเครื่องยนต์เบนซินจะใช้หัวเทียนในการจุดประกายไฟ และเครื่องยนต์ดีเซลจะใช้กำลังอัดแทนนั่นเอง ดังนั้นจึงมีการออกแบบให้เหมาะสมกับกระบวนการใช้งานของรถทั้งสองชนิดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด

น้ำมันเครื่องรถยนต์ใช้แทนกันได้ไหม?

ถ้าจะถามว่าสามารถใช้แทนกันได้ไหม ในทางปฏิบัติก็อาจใช้แทนกันได้โดยที่เรามองไม่เห็นความแตกต่างในด้านการใช้งาน แต่ด้วยคุณสมบัติของส่วนผสม รวมไปถึงความสามารถในการหล่อลื่นการขับเคลื่อนเครื่องยนต์นั้นก็คงไม่ได้ประสิทธิภาพเท่ากับการใช้ให้ถูกชนิดกัน อีกทั้งยังอาจเกิดผลเสียตามมาในระยะยาว สารที่มีความแตกต่างกันในน้ำมันเครื่องสองชนิด เช่น สารชะล้างเขม่า ที่จะมีในน้ำมันเครื่องดีเซลมากกว่าเบนซิน เพราะเครื่องดีเซลจะเกิดเขม่ามาก ถ้าเอาน้ำมันเครื่องของเบนซินมาใส่กับดีเซล ประสิทธิภาพในการชะล้างเขม่าก็จะลดลง ทำให้เครื่องยนต์ไม่สะอาดอย่างที่ควรจะเป็น เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ และอาจเกิดควันดำ และหากคิดว่าเอาของดีเซลไปเติมในเบนซินเพื่อให้ชะล้างได้ดี ก็ยังมีสารอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกันอีก ดังนั้น หากไม่ได้มีความจำเป็นจริงๆ จนหาน้ำมันชนิดเดียวกันไม่ได้ก็ไม่ควรเสี่ยง ทางที่ดีที่สุดคือใช้ให้ถูกประเภท ถูกกับชนิดของรถยนต์ ซึ่งก็ดูได้ไม่ยาก เพราะในฉลากมีแจ้งไว้อยู่แล้ว เพื่อให้รถถูกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและถนอมให้รถอยู่คู่กับเราไปนานๆ

ปัจจุบันหลายแบรนด์ มีการผลิตน้ำมันเครื่องรถยนต์ออกมามากมาย หลากหลายยี่ห้อ หลากหลายเกรด และที่สำคัญคือมีคุณสมบัติที่โดดเด่นแตกต่างกันไป จนหลายคนเลือกไม่ถูกกันเลยทีเดียว ในวันนี้เราจะขอรวบรวมข้อมูลน้ำมันเครื่องที่ดีที่สุดมาให้ทุกท่านได้เลือกจากแบรนด์ชั้นนำ เราได้คัดสรร 5 อันดับ คุณภาพยอดเยี่ยม ที่คุณไม่ควรพลาด!

น้ำมันเครื่องดีเซลล์

  1. D3 Common Rail | บางจาก จุดเด่น : ช่วยเพิ่มพลังเครื่องยนต์ ใช้งานหนักแค่ไหนก็เอาอยู่
  2. D3 Turbo Plus Commonrail 10W-30 | บางจาก จุดเด่น : อัปเกรดคุณภาพ เพื่อให้ได้ฟิล์ม น้ำมันเคลือบที่ลื่นและแข็งแรง ป้องกันการสึกหรอได้ดีเป็นพิเศษ
  3. Delo Sports Synthetic Blend SAE 15W-40 | คาลเท็กซ์ จุดเด่น : ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อการใช้งานอย่างสมบุกสมบัน
  4. Havoline Synthetic Blend SAE 10W-40 | คาลเท็กซ์ จุดเด่น : ระดับพรีเมียม ทำหน้าที่ได้ดีแม้ในสภาวะอุณหภูมิสูง
  5. PT Maxnitron Power Diesel SAE 20W-50 | พีที จุดเด่น : เกรดมาตรฐานสูง ทดสอบการสึกหรอผ่าน JASO DH-1 ของญี่ปุ่น

น้ำมันเครื่องรถยนต์แบรนด์ดีที่เราตั้งใจคัดมาให้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลล์ของท่าน ลองเลือกในแบบที่เหมาะสมกับรถของท่านได้เลย

น้ำมันเครื่องเบนซิน

  1. น้ำมันเครื่องเบนซิน Valvoline Durablend กึ่งสังเคราะห์ ใส่ส่วนผสมพิเศษช่วยเพิ่มการปกป้องเครื่องยนต์ที่ต้องทำงานหนัก ช่วยให้เครื่องยนต์สะอาด ปราศจากคราบเขม่า ลดการสึกหรอและช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง เกรด : กึ่งสังเคราะห์ ค่าความหนืด : SAE 10W-40
  2. น้ำมันเครื่องเบนซิน CALTEX Havoline Synthetic Blend กึ่งสังเคราะห์ มีส่วนผสมพิเศษช่วยในการปกป้องเครื่องยนต์อย่างยอดเยี่ยม ทนต่อความร้อนสูง และยังช่วยยืดอายุการเปลี่ยนถ่าย ป้องกันคราบเขม่า และยังสามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์แก๊สทั้ง CNG และ LPG รวมถึงเครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงคู่ (แก๊สและน้ำมัน) ได้ เกรด : กึ่งสังเคราะห์ ค่าความหนืด : SAE 10W-40
  3. น้ำมันเครื่องเบนซิน Shell Helix HX7 กึ่งสังเคราะห์ มีส่วนผสมของน้ำมันแร่และน้ำมันสังเคราะห์เพื่อเสริมคุณสมบัติให้ดีกว่าน้ำมันเครื่องทั่วไป ใส่สารพิเศษช่วยป้องกันการสึกหรอและยืดอายุการใช้งาน ช่วยรักษาความสะอาดและป้องกันการก่อตัวของคราบเขม่าและคราบสกปรก ช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เกรด : กึ่งสังเคราะห์ ค่าความหนืด : SAE 5W-40
  4. น้ำมันเครื่องเบนซิน PTT Performa Synthetic Eco Car สังเคราะห์ 100% สำหรับรถอีโคคาร์โดยเฉพาะ ทั้งระบบฉีดเชื้อเพลิงแบบทั่วไป (ฉีดด้านหลังวาล์วไอดี, PFI) หรือแบบฉีดตรงเข้าห้องเผาไหม้ (GDI / Turbo-GDI) มีคุณสมบัติพิเศษช่วยให้เครื่องยนต์ตอบสนองอัตราเร่งระดับขีดสุดทุกช่วงความเร็ว และปกป้องเครื่องยนต์จากการสึกหรอได้ดียิ่งขึ้นสูงสุด 38% รองรับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหลายประเภท ได้แก่ เบนซินล้วน (ULG) และแก๊สโซฮอล์ (E10, E20 และ E85) เกรด : สังเคราะห์ 100% ค่าความหนืด : SAE 0W-20
  5. น้ำมันเครื่องเบนซินบางจาก FURiO สังเคราะห์แท้ 100% ผลิตจากนวัตกรรม Respoplex Technology ช่วยปกป้องเครื่องยนต์ขณะสตาร์ต ลดการสึกหรอแม้เครื่องยนต์มีอุณหภูมิการทำงานที่ร้อนจัด ชะล้างทำความสะอาดเขม่าและตะกอน รักษาความสะอาดของกระบอกสูบ ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงสูงสุด ช่วยยืดอายุเครื่องยนต์ เกรด : สังเคราะห์ 100% ค่าความหนืด : SAE 5W-30

ทุกท่างคงจะได้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกน้ำมันเครื่องรถยนต์ที่เหมาะกับเครื่องยนต์ของท่านหรือจะให้ชัวร์ ก็ควรที่จะเลือกใช้ตามมาตรฐานที่คู่มือกำหนด หรือไม่ก็เลือกเกรดสูงกว่า เพราะการใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ได้อีกนานแสนนาน เมื่อเลือกกันถูกแล้วก็อย่าลืมเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดด้วยนะ

เป็นอย่างไรบ้างกับข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกน้ำมันเครื่องรถยนต์ที่เหมาะกับเครื่องยนต์ของท่าน ที่เรารวบรวมแบบจัดเต็มจัดแน่นมาให้ทุกท่านได้เอาไว้เป็นความรู้ แต่การทำประกันภัยก็สามารถคุ้มครองทั้งท่านและรถยนต์ของท่านได้ด้วยเช่นกัน ให้คุณได้หมดปัญหากังวลใจระหว่างการเดินทาง หากเกิดเหตุไม่คาดฝันก็สามารถเรียกใช้บริการฉุกเฉินได้ 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะรถยก รถลาก ทางประกันภัยยินดีให้บริการและอำนวยความสะดวกให้คุณลูกค้าทุกท่าน หากใครยังตัดสินในไม่ได้ว่าจะใช้ ประกันภัยรถยนต์ ของบริษัทไหน ให้เรา แรบบิท แคร์ ช่วยเปรียบเทียบประกันแต่ละประเภทให้เหมาะสำหรับรถคุณ

วิธีเช็คน้ำมันเครื่องเบื้องต้นด้วยตัวเอง

ก่อนการใช้รถ ผู้ขับขี่จะต้องเช็กความพร้อมของรถให้ดีก่อนที่จะออกเดินทาง เพื่อจะได้ป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเดินทาง ซึ่งมีจุดหนึ่งที่ผู้ใช้รถจะต้องเช็กสภาพความพร้อมก่อนขับขี่ นั่นก็คือการเช็กระดับน้ำมันเครื่อง และเช็คเรื่องน้ำมันเครื่องรั่ว มาดูวิธีเช็คน้ำมันเครื่องเบื้องต้นด้วยตัวเอง ที่ไม่ว่าใครก็ทำตามได้ง่าย ๆ

วิธีเช็คน้ำมันเครื่อง 1 : จอดรถบนทางราบ

เพื่อให้วิธีเช็คน้ำมันเครื่องมีความแม่นยำ ให้นำรถไปจอดในพื้นที่ราบ ไม่ควรจอดรถเพื่อเช็กน้ำมันเครื่องในพื้นที่ชัน อย่างเช่น บนสะพาน หรือพื้นที่ต่างระดับ เพราะจะทำให้ถึงน้ำมันเครื่องเอียง ค่าที่ได้จากการวัดระดับน้ำมันจะเป็นค่าลวง ที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากถังน้ำมันไม่ได้ตั้งตรง ๆ ดังนั้นอันดับแรกของการตรวจเช็กน้ำมันเครื่องด้วยตัวเอง ให้คุณนำรถไปจอดไว้ในพื้นที่ที่มีความสม่ำเสมอ

วิธีเช็คน้ำมันเครื่อง 2 : ตรวจขณะที่น้ำมันเครื่องยังอุ่นอยู่

การตรวจเช็กน้ำมันเครื่องจะต้องทำในขณะที่น้ำมันเครื่องยังอุ่น ๆ อยู่ เพื่อให้ได้อุณหภูมิขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน โดยวิธีเช็คน้ำมันเครื่องให้คุณสตาร์ทรถ แล้วนำรถออกไปขับวอล์มเครื่องก่อน เมื่อกลับมานำรถจอดเพื่อตรวจระดับน้ำมันเครื่อง ให้คุณดับเครื่องยนต์แล้วปล่อยไว้เป็นเวลา 3 นาที ให้น้ำมันเครื่องไหลกลับลงสู่อ่างน้ำมันเครื่องด้านล่างก่อน จากนั้นค่อยทำตามขั้นต่อไป

วิธีเช็คน้ำมันเครื่อง 3 : เตรียมอุปกรณ์เช็ดก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง

วิธีเช็คน้ำมันเครื่องให้ได้ผล คุณจะต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับเช็ดก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง เพื่อใช้เช็ดก้านน้ำมันเครื่องรอบแรกก่อนทำการวัดระดับ ตัวก้านวัดระดับไม่ต้องไปหาที่ไหน ก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องจะเสียบรอคุณอยู่แล้วตรงส่วนของน้ำมันเครื่อง ให้คุณใช้ผ้าที่ไม่เป็นขุย หลีกเลี่ยงการใช้ทิชชูในการเช็ดก้านวัดระดับ เพราะจะทำให้ขุยทิชชูหล่นลงไปผสมในน้ำมันเครื่อง ทำให้น้ำมันเครื่องเกิดการปนเปื้อนได้

วิธีเช็คน้ำมันเครื่อง 4 : ดึงก้านวัดระดับออกมา 2 รอบ

มาถึงขั้นตอนการวัดระดับน้ำมันเครื่องแล้ว โดยการวิธีเช็คน้ำมันเครื่องจะต้องดึงก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องออกมาก่อนในรอบแรก แต่จะยังไม่สามารถอ่านค่าระดับน้ำมันเครื่องได้ เพราะก้านที่เสียบคาไว้มีโอกาสที่น้ำมันเครื่องจะกระฉอกได้ขณะที่คุณขับรถ ทำให้ค่าที่ได้ในตอนแรกจะไม่ใช้ค่าระดับน้ำมันเครื่องที่แท้จริง ให้นำก้านวัดระดับออกมาเช็ดทำความสะอาดก่อน จากนั้นใส่ก้านวัดระดับเข้าไปอีกครั้ง จากนั้นให้ดึงออกมาอ่านค่าได้เลย

วิธีเช็คน้ำมันเครื่อง 5 : วิธีการอ่านค่าน้ำมันเครื่อง

เมื่อดึงก้านวัดระดับออกมา 2 รอบ และปฏิบัติตามวิธีเช็คน้ำมันเครื่องข้างต้นอย่างเคร่งครัดแล้ว ก็ถึงเวลาอ่านค่าน้ำมันเครื่อง หากระดับน้ำมันอยู่ที่ระหว่างขีด F และ L รถบางรุ่นอาจเขียนว่า Max หรือ Min น้ำมันเครื่องของคุณยังอยู่ในระดับปกติ ยังไม่ถึงเวลาที่ต้องเติมน้ำมันเครื่องนั่นเอง แต่ถ้าน้ำมันเครื่องอยู่ในระดับลดลงมากกว่านี้จนจะถึงขีดตัว L ให้ทำการเติมน้ำมันเครื่องทันที แต่ต้องระวังไม่ให้เติมน้ำมันเครื่องเกินไประดับ F จะทำให้เครื่องยนต์มีปัญหาได้เช่นกัน

ไม่ได้ตรวจสอบน้ำมันเครื่องจะเป็นอะไรไหม?

หากไม่ได้ทำการตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องเลย ก็จะไม่รู้ว่าระดับน้ำมันเครื่องของเราอยู่ระดับไหนแล้ว หากปล่อยให้น้ำมันเครื่องเกลี้ยงถัง เสี่ยงรถดับ เครื่องยนต์พังได้เลย หากไม่อยากให้เกิดปัญหากับเครื่องยนต์ตามมาในภายหลัง ก็จะต้องทำตามวิธีเช็คน้ำมันเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมันเครื่องแห้งจนหมดถัง

การตรวจระดับน้ำมันเครื่องจะต้องทำเป็นประจำ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง ซึ่งวิธีเช็คน้ำมันเครื่องก็มีอยู่ 5 ข้อง่าย ๆ ตามที่ได้แนะนำไปแล้วในข้างต้น ทั้ง 5 ข้อนี้ สามารถทำตามได้ง่าย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้รถของคุณเกิดปัญหาในอนาคตได้ อย่าลืมเลือกประกันรถยนต์ให้กับรถของคุณ เพื่อที่จะได้มีคนช่วยดูแลรถยนต์ของคุณอีกแรง เมื่อเกิดเหตุขึ้นมาก็จะยังยิ้มได้ ไม่ต้องแบกภาระไว้ตัวคนเดียว เข้ามาเลือกประกันรถยนต์ที่ Rabbit Care ให้คุณได้เปรียบเทียบและซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ได้ที่นี่ การันตี ราคาสุดคุ้ม ถ้าเจอราคาถูกกว่าเราคืนส่วนต่างให้ ภายใต้เงื่อนไขของบริษัทเดียวกัน และยังช่วยให้คุณประหยัดได้สูงสุดถึง 70% ขับดีไม่มีเคลม ปีต่อไปลด 50% ระบุชื่อผู้ขับขี่ลดเพิ่มอีก 20% พร้อมรับสิทธิพิเศษเฉพาะลูกค้า Rabbit Care เท่านั้น มีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนตลอด 24 ชั่วโมง และยังมีศูนย์ซ่อมครอบคลุมทั่วไทย อยากซ่อมรถแบบไหน ที่ไหน คุณเลือกได้ มีศูนย์ให้เลือกทั่วไทย

ทำไมควรถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนด

“ถึงระยะที่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องแล้ว แต่รถยังวิ่งได้ปกตินี้หนา ว่าง ๆ ค่อยไปเปลี่ยนละกัน ถ้ารถยังวิ่งได้อยู่" แต่จะเกิดอะไรขึ้น ตามมาดูกัน

ทุกคนทราบดีว่าเมื่อถึงระยะเวลาหรืออายุการใช้งานที่กำหนดต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง แต่ก็อดไม่ได้ที่จะมีคำถามว่า ทำไมถึงต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง บางคนอาจคิดว่ารถยังไม่มีปัญหาอะไร ยังใช้งานต่อได้ไว้ค่อยมาเปลี่ยนแล้วกัน วันนี้จึงขอรวบรวมสาระความรู้เรื่องประโยชน์ของการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนด แบบเข้าใจง่ายให้ทุกท่านได้ทราบกันดังนี้

เรามาทำความเข้าใจการทำงานของเครื่องยนต์กันก่อนว่า การทำงานของเครื่องยนต์ต้องผ่านการสันดาปและการเสียดสี ส่งผลตามมาด้วยอาการสึกหรอ น้ำมันเครื่องยนต์ จึงเป็นสารหล่อลื่นที่จะช่วยยืดการใช้งานของเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องใหม่จะมีประสิทธิภาพในการช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ที่ดีกว่า ทำให้เราต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเพื่อหล่อลื่นเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ

น้ำมันเครื่อง คือ ของเหลวที่อยู่ในเครื่องยนต์ที่มีหน้าที่ช่วยในการหล่อลื่นชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน เพื่อไม่ให้ชิ้นส่วนเหล่านั้นเกิดการเสียดสี หรือสัมผัสกันโดยตรง นอกจากนี้ยังช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้น และป้องกันการเกิดสนิมได้อีกด้วย ฉะนั้นหากไม่ได้มีการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีอาจจะส่งผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรงได้

อย่างไรก็ตาม ผู้ขับขี่รถยนต์หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยทำความเข้าใจว่า การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องต้องทำเมื่อไหร่ เปลี่ยนทุกกี่เดือน หรือเปลี่ยนทุกกี่กิโล ซึ่งประเด็นนี้ก็คงต้องขึ้นอยู่ในแต่ละกรณีไป

ทำไมต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เมื่อครบกำหนดตามระยะ?

น้ำมันเครื่องเมื่อถูกใช้งานแล้วจะเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ ทำให้คุณสมบัติของน้ำมันเครื่องไม่เหมาะสมที่จะใช้งานต่อไป สามารถสังเกตได้จากน้ำมันเครื่องที่ถ่ายออกมาหลังจากใช้งานครบระยะ จะมีสีเข้มขึ้น มีความข้นเหนียวมากขึ้น และมีตะกอน คราบเขม่าต่าง ๆ ปนอยู่ด้วย ซึ่งต่างจากตอนที่ใช่เข้าไปใหม่จะค่อนข้างเหลวใส

ข้อดีของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะเวลา

  1. ช่วยรักษาเครื่องยนต์ให้สะอาด ปราศจากตะกอนหรือเขม่าคราบยาวเหนียวต่าง ๆ
  2. ช่วยยืดอายุการทำงานของเครื่องยนต์
  3. การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องควรเปลี่ยนพร้อมไส้กรองน้ำมันเครื่องทุกครั้ง เนื่องจากไส้กรองฯ เป็นตัวดักเก็บสิ่งเจือปนต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำมันเครื่อง ทั้งเขม่าตะกอน รวมไปถึงเศษโลหะของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ หากไส้กรองอุดตันก็จะปล่อยน้ำมันเครื่องที่มีสิ่งสกปรกเจือปนไหลออกมาโดยไม่ผ่านการกรอง และเป็นสาเหตุให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าปกติได้

น้ำมันเครื่องสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ

  1. น้ำมันเครื่องสูตรมาตรฐาน สามารถใช้ได้กับรถยนต์ทั่วไป หากเปลี่ยนน้ำมันประเภทนี้ สามารถใช้รถยนต์ของท่านต่อไปได้อีก ประมาณ 3,000 – 5,000 กิโลเมตร จึงต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอีกครั้ง
  2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ น้ำมันเครื่องชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับรถยนต์รุ่นใหม่โดยเฉพาะรถที่ใช้เครื่องยนต์มัลติวาล์ว และระบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทนความร้อนได้สูงกว่าน้ำมันเครื่องสูตรมาตรฐาน หากเปลี่ยนน้ำมันประเภทนี้ สามารถใช้รถยนต์ของท่านต่อไปได้อีก ประมาณ 5,000 – 7,000 กิโลเมตร จึงต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอีกครั้ง
  3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ น้ำมันประเภทนี้สามารถทนความร้อนได้สูงกว่าน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ มีฟิล์มน้ำมันหนาแน่นกว่า ทำให้น้ำมันระเหยค่อนข้างยาก เหมาะสำหรับรถยนต์ที่มีสมรรถนะสูง หากเปลี่ยนน้ำมันประเภทนี้ สามารถใช้รถยนต์ของท่านต่อไปได้อีก ประมาณ 10,000 – 12,000 กิโลเมตร จึงต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอีกครั้ง

สำหรับการกำหนดเวลาในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องนั้น เบื้องต้นควรพิจารณาจากข้อมูลในหนังสือคู่มือรถแต่ละคันเป็นหลัก และในขณะเดียวกันการที่จะต้องเปลี่ยนเมื่อไหร่ ส่วนสำคัญก็อยู่ที่ประเภทของน้ำมันเครื่องที่เลือกใช้ด้วย เนื่องจากน้ำมันเครื่องนั้นมีทั้งแบบ น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic), น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) และน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully Synthetic) ที่จะมีอายุการใช้งานและระยะเวลาที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปนั้นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ หรือที่เรียกว่า น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ 100% จะใช้งานได้ในระยะทางประมาณ 10,000 กิโลเมตร ส่วนน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ จะใช้งานได้ในระยะทางประมาณ 5,000-7,000 กิโลเมตร และน้ำมันเครื่องแบบธรรมดา ก็จะมีคุณสมบัติหรืออายุการใช้งานที่น้อยลงอีก ขณะเดียวกัน โดยมากแล้วน้ำมันเครื่องทุกประเภทก็จะมีการระบุไว้ว่า ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก 6 เดือน ขึ้นอยู่กับว่าอย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อนกัน

รถขับน้อยต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องหรือไม่

ส่วนใครที่มีรถไม่ได้ใช้งานสักเท่าไรนัก แต่เราก็ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนดในคู่มือรถ หรือตามประเภทของน้ำมันเครื่องที่ใช้งาน โดยส่วนใหญ่แล้วจะกำหนดระยะเวลาอยู่ที่ 6 เดือน

เหตุผลที่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแม้ไม่ค่อยได้ใช้รถนั้นก็เพราะว่าน้ำมันเครื่องจะมีการเสื่อมประสิทธิภาพลงตามเวลา และการที่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมของเครื่องยนต์ที่ไม่ได้สตาร์ตมาเป็นเวลานานอาจเกิดความชื้นขึ้นภายในเครื่องยนต์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสนิมหรือคราบเขม่าตามมาได้หากฝืนใช้งาน

อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีไม่จำเป็นต้องรอจนครบระยะทางหรือระยะเวลาที่กำหนด หากเราตรวจเช็กรถในเบื้องต้นแล้วพบว่าน้ำมันเครื่องมีปริมาณที่ลดลง หรือน้ำมันเครื่องมีสีที่ดำมากกว่าปกติ เราควรที่จะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องในทันที นอกจากนี้ยังต้องนำรถเข้าตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง เพราะลักษณะแบบนี้หมายความว่ารถของเราเริ่มมีอาการผิดปกตินั่นเอง

วิธีการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

เคยรู้รึเปล่าว่าการ เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง แต่ละครั้งที่คุณจ่ายเงินไปครั้งละสองสามพันนั้น ถ้าคุณศึกษาหาความรู้บวกความพยายามอีกนิดคุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองพร้อมกับประหยัดค่าใช้จ่ายไปมากกว่าครึ่งหนึ่งของการไปเปลี่ยนที่อู่ สิ่งที่ได้นอกจากค่าใช้จ่ายที่ถูกลงแล้ว คุณจะรู้จักระบบของเครื่องยนต์มากขึ้น และในไม่ช้าคุณจะเริ่มซ่อมรถเบื้องต้นเป็น

อาจจะคิดว่าจะต้องยุ่งยากเพราะเป็นที่ศูนย์หรือที่อู่มีเครื่องยก ถังน้ำมันเครื่อง อุปกรณ์สารพัด จริงอยู่ที่เครื่องเหล่านี้สมควรที่จะใช้แต่นั่นสำหรับคนที่ทำเป็นอาชีพ เขาต้องรีบทำงานเพื่อจะรับรถให้ได้เยอะๆ แต่สำหรับคุณ มีรถแค่คันเดียวคุณแทบไม่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษอะไรเลย แค่มีเพียงเวลาสำหรับการเรียนรู้สักหน่อยก็ทำเองได้แล้วง่าย ๆ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

น้ำมันเครื่องเบอร์และจำนวนลิตรตามคู่มือรถ ส่วนประเภทน้ำมันเครื่องนั้น ไหน ๆ ก็ทำเองแล้วควรจะใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะถ้าไปเปลี่ยนที่อู่ราคาน้ำมันเครื่องสังเคราะห์จะสูงมาก แต่ถ้าทำเองเราสามารถซื้อน้ำมันเครื่องในราคาที่ถูกกว่ามากและไม่ถูกบวกค่าแรงด้วย ใช้น้ำมันเครื่องมากกว่าจำนวนจริงประมาณหนึ่งลิตร

กรองน้ำมันเครื่อง รถรุ่นใหม่ ๆ เป็นกรอกเหล็กหมดแล้ว ถ้ารถคุณเป็นรถรุ่นเก่าอาจจะต้องใช้กรองกระดาษ ให้ก้มลงมองตรงตำแหน่งกรองน้ำมันเครื่องให้ดีว่าเป็นกรองแบบไหน ตำแหน่งมันจะอยู่ใกล้อ่างน้ำมันเครื่อง ถ้ากรองเหล็กจะเป็นขวดสีดำ หรือง่ายสุดดูจากสมุดคู่มือ

อุปกรณ์ความปลอดภัย แว่นนิรภัยกับถุงมือยาง

  1. แม่แรงและขาตั้งรับน้ำหนักรถ
  2. ประแจถอดนอตเบอร์สิบ
  3. ประแจถอดกรองน้ำมันเครื่อง
  4. นอตถ่ายน้ำมันเครื่องและแหวนแบบตรงรุ่น

มาเปลี่ยนน้ำมันเครื่องกันเลย

จอดรถบนพื้นราบ ใส่เบรกมือให้นิ่ง ถ้าคุณเพิ่งใช้รถให้จอดทิ้งไว้ให้เครื่องเย็นก่อน เพื่อน้ำมันเครื่องจะได้เย็นลงและไหลกลับอ่างน้ำมันเครื่อง ใช้แม่แรงยกส่วนหน้ารถขึ้นแล้วรองด้วยตัวรับน้ำหนัก อย่าให้รถอยู่บนแม่แรงเพียงอย่างเดียวขณะทำงาน เพราะมันอาจพับลงมาทับคุณได้ ถ้าหากเป็นรถที่มีความสูงอยู่แล้วอาจจะไม่ต้องใช้แม่แรง แค่จอดให้นิ่งใส่เบรกมือแล้วมุดเข้าไปเลย จากนั้นเริ่มทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. เปิดฝาครอบน้ำมันเครื่อง อยู่ตรงตำแหน่งด้านบนของเครื่องยนต์ ให้ฝากระโปรงรถ จะมีฝาสำหรับเติมน้ำมันเครื่อง ให้เปิดทิ้งไว้เพราะถ้าไม่เปิด สุญญากาศจะทำให้น้ำมันเครื่องไม่ไหลออกเมื่อเราเปิดนอตถ่ายน้ำมันเครื่อง

  2. ถอดน็อตถ่ายน้ำมัน ตำแหน่งของน็อตถ่ายน้ำมันเครื่องจะอยู่ตำแหน่งล่างสุดของอ่างน้ำมันเครื่อง ก่อนจะถอดให้ใช้ภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับรองน้ำมันเครื่องมารองเอาไว้ก่อน ระวังไว้ว่าถ้าเพิ่งดับเครื่องได้ไม่นาน น้ำมันเครื่องจะมีความร้อนให้ระวังให้มาก จากนั้นใช้ประแจเบอร์สิบหมุนคลายนอตอ่างน้ำมันเครื่อง ปล่อยให้น้ำมันเครื่องไหลออกมาให้หมด

  3. เปลี่ยนกรองน้ำมัน เมื่อน้ำมันเครื่องไหลออกมาหมดแล้ว ให้ใช้ประแจถอดกรองน้ำมัน ถอดกรองน้ำมันเครื่องออกมาแล้วเปลี่ยนของใหม่ใส่เข้าไป ขันให้แน่นแต่ไม่ถึงกับแน่นมากเกินไป มันหลุดยากแต่ถ้าแน่นไปถอดคราวหน้าจะลำบาก

  4. ล้างคราบน้ำมันเก่าออก ใช้นอตตัวเดิมใส่กลับเข้าไปที่อ่างน้ำมันเครื่องพอหลวม ๆ จากนั้นใช้น้ำมันเครื่องใหม่ เทใส่ลงไปในเครื่องประมาณหนึ่งลิตร รอสักพักค่อยถอดนอตออกให้น้ำมันเครื่องใหม่ชะล้างคราบน้ำมันเครื่องเก่าที่ติดค้างตรงก้นอ่างน้ำมันเครื่องออกมา

  5. ใส่นอตอ่างน้ำมันเครื่อง ใส่นอตตัวใหม่และแหวนนอตเข้าไปขันให้แน่น จากนั้นเติมน้ำมันเครื่องใหม่เข้าไป ค่อย ๆ เติมดูว่าอย่าให้ระดับน้ำมันเดินขีดสูงสุดของก้านวัดระดับน้ำมัน

  6. เก็บงาน ปิดฝาน้ำมันเครื่อง เอารถลงจากเหล็กค้ำ แล้วตรวจเช็ดคราบน้ำมันที่หกเลอะ เช็กดูที่นอตถ่ายน้ำมันว่ามีน้ำมันซึมออกมาหรือไม่

  7. สตาร์ทรถ เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยให้สตาร์ทรถทิ้งไว้ประมาณสามนาทีให้น้ำมันค่อย ๆ อุ่นและเคลือบเครื่องยนต์ คอยดูที่พื้นว่ามีรอยน้ำมันหยดหรือไม่ ถ้าไม่มีก็แปลว่าเรียบร้อย

มาถึงตรงนี้คงจะต้องรีบวิ่งไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องให้ตรงตามกำหนดกันแล้ว เพราะว่าหากปล่อยไว้อาจเกิดความเสียหายได้ อย่างไรก็ตามนอกจากดูแลการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง สิ่งสำคัญที่รถของเราต้องมีและขาดไม่ได้เลย วันนี้สิ่งดีๆที่อยากบอกกับทุกท่านคือประกันรถยนต์ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แรบบิท แคร์ เพราะเราได้รวบรวมประกันรถยนต์แต่ละบริษัทชั้นนำไว้มากมาย ช่วยให้คุณเลือกประกันรถยนต์ที่เหมาะกับรถของคุณ เบี้ยประกันถูก ครอบคลุมทั่วถึง มีบริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง ไม่รู้จะเลือกเจ้าไหนเราพร้อมให้คำปรึกษา

ความคุ้มครองประกันรถยนต์

ความคุ้มครองรถผู้ทำประกัน
ประเภทประกันภัย
ชั้น 1
ชั้น 2+
ชั้น 2
ชั้น 3+
ชั้น 3
ชนแบบมีคู่กรณีชนแบบมีคู่กรณี
x
x
ชนแบบไม่มีคู่กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
x
x
x
x
ไฟไหม้ไฟไหม้
x
x
รถหายรถหาย
x
x
ภัยธรรมชาติภัยธรรมชาติ
x
x
ช่วยเหลือ 24 ชม. ช่วยเหลือ 24 ชม.
x
x
x
ซื้อประกันรถยนต์   
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
คลิก
ความคุ้มครองอื่นๆ ครอบคลุมทุกชั้นประกัน
คุ้มครองคู่กรณี และทรัพย์สินคู่กรณี
อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลบุคคลที่สาม
คุ้มครองชิวิตบุคคลที่สาม
คุ้มครองชีวิตผู้ขับขี่
ค่ารักษาพยาบาลตัวผู้ขับขี่
การประกันตัวผู้ขับขี่

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา