Yield Spread คืออะไร? อีกหนึ่งคำศัพท์ที่นักลงทุนมือใหม่ต้องรู้!
Yield Spread คืออะไร
ในทางการเงินและการลงทุน Yield Spread คือส่วนต่างอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ (ทั้งพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้บริษัทเอกชน) ที่มีวันครบกำหนดอายุ (Maturity) อันดับความน่าเชื่อถือ (Credit) ผู้ออกตราสาร (Issuer) หรือระดับความเสี่ยงในการลงทุนที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถคำนวณ Yield Spread ได้ โดยการหักอัตราผลตอบแทน (ผลตอบแทนของตราสารหนี้อยู่ในรูปดอกเบี้ย) ของตราสารหนี้หนึ่งออกจากตราสารหนี้อีกตัวหนึ่ง ส่วนต่างนี้มักแสดงเป็นคะแนนพื้นฐาน (BPS) หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ (Percentage)
เช่น พันธบัตรอายุ 5 ปี มีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 5% และพันธบัตรอายุ 30 ปีมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 6% Yield Spread ระหว่างตราสารหนี้ทั้งสองจะเท่ากับ 1%
ทำความเข้าใจ Yield Spread
Yield Spread เป็นเครื่องมือที่นักลงทุนใช้ในการเปรียบเทียบผลตอบแทนของตราสารหนี้สองตัวเพื่อตัดสินใจลงทุน นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้ข้อมูล Yield Spread เฉลี่ยในอดีต (Historical Yield Spread) ประกอบการตัดสินใจได้อีกด้วย เช่น ถ้าพันธบัตรอายุ 30 ปี มีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 6% และข้อมูล Yield Spread ในอดีตระหว่างพันธบัตรอายุ 5 ปี และ 30 ปี อยู่ที่ 5% ดังนั้น พันธบัตรอายุ 5 ปีจึงควรให้ผลตอบแทนประมาณ 1% แต่ถ้าในปัจจุบันพันธบัตรอายุ 5 ปี มีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 5% แสดงว่าพันธบัตรให้ผลตอบแทนดีกว่าข้อมูลในอดีต
โดยทั่วไปแล้ว ตราสารหนี้ที่เป็นหุ้นกู้บริษัทเอกชนจะให้ผลตอบแทนมากกว่าตราสารหนี้ที่เป็นพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากบริษัทเอกชนจะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้มากกว่ารัฐบาล นักลงทุนจึงต้องการผลตอบแทนที่มากกว่าเพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลออกพันธบัตรอายุ 10 ปี มีอัตราผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ที่ 3.0% ส่วนบริษัทหนึ่งออกหุ้นกู้อายุ 10 ปี มีอัตราผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ที่ 3.8% ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Yield Spread ของหุ้นกู้บริษัทคือ 0.8%
นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้ Yield Spread ในการเปรียบเทียบผลตอบแทนของหุ้นกู้ที่มีอันดับเครดิตเดียวกันได้ เช่น ถ้าบริษัท A ออกหุ้นกู้อายุ 10 ปี ที่มีอันดับเครดิต A- มีอัตราผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ที่ 3.8 บริษัท B ออกหุ้นกู้อายุ 10 ปี ที่มีอันดับเครดิต A- มีอัตราผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ที่ 3.9% ดังนั้น หุ้นกู้บริษัท B จึงให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยมากกว่าหุ้นกู้บริษัท A
สุดท้าย เรายังสามารถใช้ Yield Spread ในการประเมินสภาพเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งรวมถึงตลาดหุ้นได้อีกด้วย โดยในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโต นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจมากกว่าและกล้าลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงมากขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนหันมาลงทุนในบริษัทเอกชนเพิ่มขึ้น เพราะหุ้นกู้เอกชนมีความเสี่ยงมากกว่าพันธบัตรรัฐบาลที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ทำให้ Yield Spread แคบลง แต่ช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวหรือถดถอย นักลงทุนย่อมลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า จึงส่งผลให้ Yield Spread กว้างขึ้น
ประเภทของ Yield Spread
การแบ่งประเภทของ Yield Spread สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย ๆ ดังนี้
• Zero-volatility Spread (Z Spread)
ส่วนต่างผลตอบแทนที่ไม่มีความผันผวน (Volatility) เป็น 0 นั่นเอง โดยวัดจากเส้นกราฟอัตราคงที่ของสินทรัพย์ทั้งหมด โดยสมมติไว้ว่าจะถือพันธบัตรนั้นไว้จนครบกำหนด วิธีการนี้จะใช้เวลาค่อนข้างนาน เนื่องจากต้องคำนวณหลายต่อจากการลองผิดลองถูก
• High-yield Bond Spread
ส่วนต่างผลตอบแทนที่ให้ผลตอบแทนสูง เมื่อเทียบกับหุ้นกู้ระดับ Investment Grade (หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ และ ผลประกอบการค่อนข้างดี ซึ่งควรค่าแก่ลงทุน แต่ได้ผลตอบแทนไม่สูงมาก โดยจะมีระดับตั้งแต่ AAA ไปจนถึง BBB-) ซึ่งผลตอบแทนที่สูงก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงด้วย
• Option-adjusted spread (OAS)
ส่วนต่างผลตอบแทนที่จะแปลงส่วนต่างระหว่างราคาที่ควรจะเป็น (Fair Price) และราคาตลาด (Market Price) ซึ่งจะแสดงผลเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และแปลงมูลค่านั้น ๆ มาเป็นมาตรวัดผลตอบแทนนั่นเอง โดยอาจมีความผันผวนที่อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าหลักทรัพย์ได้
Yield Spread เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการประเมินสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน ซึ่งถ้าหากใครที่ยังเป็นนักลงทุนมือใหม่ ก็อาจรู้สึกสับสนกับคำศัพท์และเครื่องมือต่าง ๆ ได้ แต่ไม่ต้องกังวลใจไป ค่อย ๆ ศึกษาและทำความเข้าใจไปเรื่อย ๆ แล้วจะดีขึ้นเอง และอย่าลืมศึกษาทางเลือกในการลงทุนอื่น ๆ ด้วยเพื่อให้สามารถเลือกลงทุนได้ตรงตามความต้องการของคุณมากที่สุด อย่างเช่น การทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ซึ่งเป็นประกันชีวิตรูปแบบหนึ่งที่จะให้จ่ายเงินคืนพร้อมเงินปันผลให้แก่ผู้เอาประกันภัยหากมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา จึงถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่ให้ความคุ้มครองชีวิตหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ และไม่จำเป็นต้องเสียภาษีจากผลตอบแทนที่ได้รับเหมือนกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ต้องเสียภาษี 15% อีกด้วย
ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ