Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

เปรียบเทียบประกันออมทรัพย์ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที  กับ  

Rabbit Care

Set Aside.png
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Aug 08, 2022

มาตรการช่วยเหลือนักลงทุน ด้วยวิธีการ Set Aside

หากคุณเป็นคนที่ตามข่าวเศรษฐกิจ หรือข่าวเกี่ยวกับการลงทุนอยู่บ่อย ๆ คงจะเคยได้ข่าวของการบินไทยที่ต้องการความช่วยเหลือ เนื่องจากประสบปัญหาทางธุรกิจ ไม่ว่าด้วยสถานการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่อย่าง COVID-19 หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ทางการบินไทยต้องยื่นล้มละลาย นักลงทุนหลาย ๆ คนที่ลงทุนในกองทุนที่มีหุ้นกู้ของการบินไทยต่างได้รับผลกระทบโดยตรง ส่งผลให้ต้องใช้มาตรการหนึ่งที่เคยใช้กันมาแล้วในสมัยวิกฤตต้มยำกุ้ง เพื่อช่วยลดโอกาสในการเทขายของนักลงทุน และทำให้สถานการณ์ของกองทุนยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งไม่ใช่อะไรที่ใหม่ เพียงแต่หลาย ๆ คนก็อาจจะยังไม่รู้จัก บทความในวันนี้จะมาให้ข้อมูลเรื่อง มาตรการช่วยเหลือนักลงทุน ด้วยวิธีการ Set Aside ในส่วนของความหมาย หลักการทำงาน กรณีศึกษาจากสถานการณ์ของการบินไทย ไปจนถึงสถานการณ์การจำลอง หากไม่ได้ใช้มาตรการ Set Aside

Set Aside คืออะไร

Set Aside หากแปลตรงตัวนั่นหมายความว่า แยกไว้ พักไว้ ส่วนในแง่ของศัพท์ทางการเงินและการลงทุน Set Aside คือการที่แยกตราสารหนี้ที่มีปัญหาออกมาไว้ต่างหากในการคำนวณ NAV (Net Asset Value) ของกองทุนชั่วคราว เพื่อไม่ให้ตราสารหนี้ที่มีปัญหาส่งผลกระทบในภาพรวมของกองทุนรวมตราสารหนี้ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและโปร่งใสในการลงทุน

หลักการทำงานของ Set Aside

เมื่อเข้าใจไปแล้วว่า Set Aside คือะไร ถ้าให้พูดหลักการของการทำ Set Aside ง่าย ๆ เลยก็คือ การที่เราแยกกองทุนตราสารหนี้ที่มีปัญหาเช่น กองทุน AA มีมูลค่า 1,000 บาท มีสัดส่วนหุ้นกู้บริษัท BB อยู่ 5% และมีหน่วยลงทุนทั้งหมด 100 หน่วย ทำให้กองทุนของ AA มี NAV (Net Asset Value) ของกองทุนอยู่ที่ 10 บาท ต่อหน่วย ซึ่งบริษัท BB กำลังประสบปัญหาทางธุรกิจ จึงทำการ Set Aside หรือแยกสัดส่วนของหุ้นกู้ที่มีปัญหาออก ส่งผลให้ NAV (Net Asset Value) ของกองทุน AA ลดลงทันทีตามเปอร์เซนต์ที่แยกออกไป แต่เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อบริษัท BB เจรจาเรื่องการแก้ปัญหาทางธุรกิจเสร็จสิ้น จึงจะนำสัดส่วนที่ Set Aside หรือแยกออกไปนั้น กลับมาคืนตามปกติ

กรณีศึกษาเรื่องการ Set Aside จากการบินไทย

หลาย ๆ คนคงได้เห็นข่าวเรื่องสถานการณ์ทางการเงินของการบินไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 และอื่น ๆ ส่งผลให้การบินไทยจะต้องได้รับการฟื้นฟู โดยมติของทางคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ส่งผลให้อันดับเครดิต (Credit Rating) จากระดับ A เป็นระดับ C อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนในแนวทางการฟื้นฟูบริษัท และการพักชำระหนี้ของการบินไทย ทางบริษัทเลยดำเนินการตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ด้วยการดำเนินการ Set Aside เพื่อช่วยความเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุน โดยที่เงินลงทุนของหุ้นกู้จะถูกแยกออกมาเพื่อรอความชัดเจนของกระบวนการการฟื้นฟูธุรกิจ และเมื่อกองทุนได้รับการชำระเงินคืน ก็จะนำเงินส่วนนั้นมาเฉลี่ยให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนตามสัดส่วน ส่วนการชำระเงินคืนสามารถเป็นในรูปแบบการแปลงหนี้เป็นทุนโดยขายหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์เป็นเงินสด

นอกจากนี้ทางการบินไทยได้รับข้อบังคับช่วยเหลือจากทางรัฐบาล เพื่อยืดเวลาให้ทางการบินไทยได้มีโอกาสในการฟื้นฟูสภาพธุรกิจ ด้วยข้อกำหนดดังนี้

  • ห้ามเสนอข้อพิพาทที่ลูกหนี้ (การบินไทย) อาจต้องรับผิด หรือได้รับความเสียหาย
  • ห้ามเจ้าหนี้ (ผู้ลงทุน) ตามคำพิพากษาก่อนกำหนดการที่มีคำสั่งจากศาล
  • ห้ามเจ้าหนี้ (ผู้ลงทุน) บังคับเอาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันของลูกหนี้ (การบินไทย)



สรุปสั้น ๆ ก็คือไม่อนุญาตให้ทวงนี้ เพื่อยืดเวลาฟื้นฟูสถานการณ์นั่นเอง

หากไม่ใช้มาตรการ Set Aside จะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง

ในส่วนของมาตรการ Set Aside จะช่วยลดปรากฏการณ์เทขายหน่วยลงทุน หรือที่เรียกกันว่า Panic Sell ของนักลงทุน เพราะการ Set Aside ของกองทุนนั้นจะช่วยแยกตราสารหนี้ที่มีปัญหาออกไป หากไม่แยก NAV (Net Asset Value) จะปรับตัวลงอย่างมาก ยิ่งนักลงทุนเทขาย ราคาตราสารหนี้ก็ยิ่งปรับตัวลง โดยจะยิ่งส่งผลแย่ให้กับธุรกิจนั้น ๆ เพิ่มขึ้นไปกว่าเดิม ดังนั้นการ Set Aside ถือว่าเป็นการช่วยนักลงทุนในการเทขาย ด้วยการแยกออกมาพักไว้ชั่วคราว เมื่อสถานการณ์ชัดเจนขึ้นค่อยนำกลับไปคิดรวม จะช่วยชะลอตัว และส่งผลกระทบไม่เยอะมากในด้านตัวเลขในกองทุนของธุรกิจนั้น ๆ

จะเห็นได้ว่าการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ แม้ว่าจะมีการออกมาตรการ Set Aside มาเพื่อช่วยไม่ให้สถานการณ์ของกองทุนต่าง ๆ แย่ไปกว่าเดิม แต่นักลงทุนหลายคนก็คงยังอดกังวลไม่ได้ว่าสถานการณ์ของการบินไทยจะดำเนินต่อไปอย่างไร จะสามารถฟื้นฟูธุรกิจได้หรือไม่ จึงเป็นอุทาหรณ์ให้นักลงทุนบริหารความเสี่ยงในการลงทุนอยู่เสมอ และถ้าหากใครที่รับความเสี่ยงได้น้อยอาจต้องยิ่งระมัดระวังในการลงทุน และแบ่งเงินลงทุนจำนวนหนึ่งมาเป็นเงินฝากหรือซื้อประกันสะสมทรัพย์ ซึ่งประกันสะสมทรัพย์เป็นประกันชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ความคุ้มครองชีวิตควบคู่ไปกับการเก็บออมเงิน ซึ่งจะได้ผลตอบแทนเป็นทุนประกันคืนพร้อมเงินปันผลเมื่อส่งเบี้ยประกันครบตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งเป็นอีกวิธีการเก็บเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ รวมถึงให้ความคุ้มครองชีวิตหากเกิดเหตุไม่คาดฝันและยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

 แฮปปี้มีเงินใช้ แฮปปี้มีเงินใช้

ไทยประกันชีวิต

  • จ่ายเบี้ย 5 ปี คุ้มครอง 15 ปี
  • ตลอดสัญญา รับเงินคืน 521%
  • 3% เงินคืน ทุก 2 ปี การันตี
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท ต่อปี
  • อายุ 1 เดือน ถึง 65 ปี สมัครได้
  • เลือกชำระเบี้ย รายเดือน, 3 เดือน, ปี
  • สมัครได้ทุกอาชีพ อายุ
ทุนทวี พลัส 20/20 ไทยประกันชีวิตทุนทวี พลัส 20/20

ไทยประกันชีวิต

  • ค่าเบี้ย 16 บาท/วัน (500 บาท/เดือน)
  • รับเงินคืน 174% ครบสัญญา รับส่วนลดเบี้ย
  • เงินคืน 8% ทุกปี ครบ 174% ค่ารักษาหลักแสน
  • ลดหย่อนภาษี 100,000 บาท สูงสุด
  • อายุ 1 เดือน - 55 ปี สมัครได้
  • ชดเชยรักษา 500 บาท/วัน
  • เบี้ยหลักสิบ/วัน ทุกอายุ คุ้มครอง 20 ปี
Credit Care ไทยประกันชีวิตCredit Care

ไทยประกันชีวิต

  • เบี้ยเริ่ม 3 บาท/วัน คุ้มครอง
  • เสียชีวิตอุบัติเหตุ สูงสุด 1 ล้าน
  • บัตรเครดิต ชดเชย เสียชีวิต 1 แสนบาท
  • คุ้มครองคู่สมรส สูงสุด 1.5 ล้าน
  • ครอบคลุม 20-60 ปี
  • คุ้มครอง จยย. ขับขี่ สูงสุด 1 แสน
  • สมัครง่าย เบี้ยคงที่ ไม่ตรวจสุขภาพ
สูงวัยมีทรัพย์ ไทยประกันชีวิตสูงวัยมีทรัพย์

ไทยประกันชีวิต

  • เบี้ยเริ่ม 9 บาท/วัน ประหยัด เลือกผ่อนชำระได้
  • อายุ 75 ปี รับสองแสน ครบสัญญา รับสูงสุดหกแสน
  • คุ้มครองชีวิตสูง รับสูงสุด 800,000 บาท
  • รับเงินก้อน 2 รอบ ช่วยลูกหลาน
  • สมัครได้ อายุ 50-70 ปี
  • สมัครออนไลน์ ง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • ครบสัญญา รับเงินคืน 150%

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา