Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 แจก Starbuck Voucher มูลค่า 800 บาทฟรี! เพียงเปิดบัญชี Webull ผ่านช่องทางของ Rabbit Care สนใจ คลิก! 💙

เปรียบเทียบประกันชีวิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

ประกันชีวิตสะสมทรัพย์
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Sep 30, 2022

#ตราสารหนี้ คืออะไร ควรรู้อะไรเกี่ยวกับตราสารหนี้ในไทยบ้าง

การลงทุนมีอยู่หลายวิธี ซึ่งหนึ่งในช่องทางการลงทุนทั้งในไทยและต่างประเทศนั่นคือการลงทุนในตราสารหนี้ สำหรับนักลงทุนหรือผู้ที่เริ่มสนใจในการลงทุนเพื่อทำให้เงินงอกงามขึ้น ควรศึกษาและทำความเข้าใจถึงประเภทของตราสาร กลไกต่าง ๆ ในตราสารหนี้แต่ละประเภท ความเสี่ยงต่าง ๆ ของการลงทุนในตราสารแต่ละประเภท รวมไปถึงวิธีการลงทุนในตราสารประเภทต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ผลตอบแทนสูงสุดตามเงินลงทุนที่นักลงทุนแต่ละคน ในบทความนี้ เราจะพูดถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ควรรู้เบื้องต้นก่อนตัดสินใจลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน

ตราสารหนี้ คืออะไร

ตราสารหนี้ คือสินทรัพย์ทางการเงินประเภทหนึ่งในรูปแบบตราสารทางการเงิน (Bond) ที่ให้สิทธิการเป็นเจ้าหนี้กับผู้ถือตราสาร และให้สิทธิการเป็นลูกหนี้กับสถาบันที่เป็นผู้ออกตราสาร ผู้ที่ถือตราสารจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่ตราสารกำหนดไว้ อีกทั้งผู้ถือตราสารจะได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดอายุที่ระบุไว้ในตราสาร

ประเภทของตราสารหนี้ มีอะไรบ้าง

ตราสารหนี้สามารถแบ่งได้หลายประเภทโดยมีหลักการแบ่งตราสาร คือ แบ่งตามผู้ออกตราสาร แบ่งตามการใช้สินทรัพย์ค้ำประกันของผู้ออกตราสาร แบ่งตามวิธีการจ่ายดอกเบี้ย และแบ่งตามชนิดของอัตราดอกเบี้ยที่จ่าย แต่ในบทความนี้ จะเน้นเรื่องการแบ่งตามผู้ออกตราสารเป็นหลัก

ตราสารหนี้ที่แบ่งตามผู้ออกตราสาร


ตราสารหนี้สามารถแบ่งตามผู้ออกตราสารได้ 3 ประเภท ได้แก่ ตราสารที่มีรัฐบาลเป็นผู้ออก ตราสารที่มีองค์กรจากภาครัฐและรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก และตราสารที่มีภาคเอกชนเป็นผู้ออก

ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล


ประเภทแรกของตราสารหนี้ คือตราสารที่ที่มีรัฐบาลเป็นผู้ออกตราสาร โดยทั่วไปแล้ว ตราสารที่ออกโดยรัฐบาลสามารถพบเห็นได้ค่อนข้างบ่อย ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในลักษณะของตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill) ที่มีอายุของตราสารไม่เกิน 1 ปี และพันธบัตรรัฐบาล (Loan Bond) ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

• ตั๋วเงินคลัง


ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก มีอายุของตราสารไม่เกิน 1 ปี ตั๋วเงินคลังจะไม่จ่ายดอกเบี้ยใด ๆ แก่เจ้าหนี้ อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้จะได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างระหว่างราคาขายกับมูลค่าตามที่ระบุไว้ในพันธบัตร ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าราคาที่ขายตั๋วเงินคลัง ยกตัวอย่างเช่น ตั๋วเงินคลัง 1 ใบ มีราคาขายอยู่ที่ 100 บาท และตั๋วเงินคลังใบดังกล่าวมีมูลค่า 105 บาท หมายความว่า เจ้าหนี้จะได้รับผลตอบแทนจากตั๋วเงินคลังดังกล่าวใบละ 5 บาท เมื่อครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในตั๋วเงินคลัง โดยตราสารชนิดนี้มีความเสี่ยงจากการผิดชำระหนี้น้อย เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ออกตราสาร

• พันธบัตรรัฐบาล


พันธบัตรรัฐบาลเป็นตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกเช่นเดียวกับตั๋วเงินคลัง แต่พันธบัตรรัฐบาลจะมีอายุของตราสารตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป พันธบัตรรัฐบาลเป็นตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในพันธบัตร และเจ้าหนี้จะได้รับเงินต้นเมื่อครบกำหนดอายุที่ระบุไว้ในพันธบัตร ตราสารชนิดนี้เป็นตราสารที่มีความเสี่ยงน้อยในจากการผิดชำระหนี้ เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ออกตราสาร เช่นเดียวกับตั๋วเงินคลัง ดังนั้น ผู้ที่ต้องการลงทุนในความเสี่ยงต่ำถึงต่ำมากควรเลือกลงทุนในตั๋วเงินคลังและ พันธบัตรรัฐบาล

ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรจากภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ


ตราสารหนี้ประเภทนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับตราสารที่ออกโดยรัฐบาล แต่จะแตกต่างกันตามหน่วยงานที่เป็นผู้ออกตราสาร เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น โดยเฉลี่ยแล้ว ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจจะมีอายุ 4-20 ปี ตามแต่ละหน่วยงานกำหนดไว้ในตราสาร ในตราสารหนี้หลาย ๆ รุ่นจะมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ในตราสารหนี้บางรุ่นจะไม่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน อย่างไรก็ดี ตราสารหนี้ประเภทดังกล่าวมีความเสี่ยงจากการผิดชำระหนี้ที่น้อย เช่นเดียวกับตราสารที่รัฐบาลเป็นผู้ออก ผู้ที่สนใจลงทุนในตราสารประเภทนี้สามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน


ตราสารหนี้ประเภทนี้ออกโดยบริษัทเอกชนเพื่อระดมทุนแล้วใช้ในการบริหารกิจการในบริษัทนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้ว ตราสารประเภทนี้มักถูกเรียกว่า “หุ้นกู้” อีกทั้งตราสารที่ออกโดยภาคเอกชนจะมีความเสี่ยงในการผิดชำระหนี้ที่สูงกว่าตราสารที่ออกโดยรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ และวิสาหกิจ เนื่องจากขึ้นอยู่กับการบริหารกิจการของแต่ละบริษัท แต่จากความเสี่ยงในการลงทุนที่มากกว่าตราสารที่ออกโดยภาครัฐ ทำให้ตราสารประเภทนี้ให้ผลตอบแทนที่มากกว่าตราสารที่ออกโดยรัฐบาล เพื่อดึงดูดนักลงทุนและชดเชยความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องเผชิญ

รายละเอียดของตราสารหนี้ คืออะไร

เพื่ออธิบายรายละเอียดของผลตอบแทนระหว่างตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐและตราสารที่ออกโดยภาคเอกชน กล่าวคือ ตราสารหนี้ภาครัฐจะมีอัตราดอกเบี้ยที่คงที่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะกำหนดไว้ในตราสารอย่างเดียว โดยมีค่าทศนิยมไม่เกิน 4 ตำแหน่ง แต่ในตราสารที่ออกโดยภาคเอกชน หรือหุ้นกู้ จะประกาศอัตราดอกเบี้ยของตราสารไว้ตั้งแต่ขั้นตอนประกาศเสนอขายตราสารหรือหุ้นกู้ โดยมีอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ 2-7% ตามแต่ละบริษัทประกาศออกมา

อันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทและตราสารหนี้ คืออะไร

สำหรับตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชน จะมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของทั้งตัวบริษัทและตัวหุ้นกู้ (Credit Rating) โดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยคะแนนความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Score) จะกำหนดตามแต่ละบริษัทจัดอันดับ (Credit Rating Agency) แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว สามารถแบ่งคะแนนได้เป็น 22 ขั้น ได้แก่ AAA, AA+, AA, AA-, A+, A, A-, BBB+, BBB, BBB-, BB+, BB, BB-, B+, B, B-, CCC+, CCC, CCC-, CC, C, และ D โดยคะแนนระดับ AAA เป็นคะแนนความน่าเชื่อถือที่สูงที่สุด และคะแนนระดับ D เป็นคะแนนความน่าเชื่อถือที่ต่ำที่สุด

การตัดสินใจลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ

การตัดสินใจลงทุนในตราสารประเภทต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการของนักลงทุนว่าต้องการลงทุนในระยะสั้นหรือระยะยาว รวมไปถึงผลตอบแทนที่ต้องการ และความเสี่ยงที่นักลงทุนแต่ละคนสามารถรับมือได้

หากต้องการลงทุนในระยะยาว นั่นหมายความว่าเงินที่จะใช้ลงทุนนั้นควรเป็นเงินเย็น หรือเป็นเงินออมที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งการลงทุนในระยะยาว โดยเฉพาะการลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยหน่วยงานรัฐบาล จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน เช่น อัตราดอกเบี้ยคงที่ และอัตราดอกเบี้ยส่วนต่างบนอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่มีการกำหนดช่วงอัตราดอกเบี้ยส่วนต่างไว้ไม่เกินจุดที่กำหนด แต่ก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะมักมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ดังนั้น หากต้องการลงทุนในระยะยาว การลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล หน่วยงานรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีสำหรับผู้ลงทุนประเภทนี้

สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนภายในระยะเวลาสั้น อาจพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน โดยพิจารณาจากการแบ่งคะแนนความน่าเชื่อถือของบริษัท หุ้นกู้ และอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทประกาศไว้ ซึ่งคะแนนความน่าเชื่อถือของบริษัทและหุ้นกู้มีผลต่อผลตอบแทนที่ต้องการและความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนจะต้องเผชิญ หากมีคะแนนความเชื่อถือสูง เช่น ลงทุนในบริษัทที่ได้คะแนนระดับ AAA จนถึง BBB- แสดงว่าผู้ลงทุนจะมีความเสี่ยงในการผิดชำระหนี้ต่ำ แต่อาจเก็งกำไรจากหุ้นกู้ได้ไม่มากนัก แต่หากลงทุนในหุ้นกู้ที่มีคะแนนความน่าเชื่อถือที่ไม่สูงมาก เช่น ระดับ BB+ จนถึงระดับ D ที่เป็นระดับต่ำที่สุด แน่นอนว่าผู้ลงทุนจะต้องแบกรับความเสี่ยงในการผิดชำระหนี้เอง แต่ในบางครั้ง ก็มีผู้ลงทุนที่ได้ผลตอบแทนดีจากการเก็งกำไรของหุ้นกู้เหล่านี้

การลงทุนต่าง ๆ รวมไปถึงการลงทุนในตราสารหนี้มีความเสี่ยง เพราะตราสารหนี้ คือรูปแบบหนึ่งของการลงทุน และความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารแต่ละประเภทมีไม่เท่ากัน อีกทั้งยังสามารถส่งผลถึงสภาพคล่องทางการเงินคนผู้ลงทุนแต่ละคนได้ หากไม่สามารถรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นผู้ลงทุนทุกคนควรศึกษารายละเอียดของตราสารแต่ละรุ่นก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอ

และนอกเหนือจากตราสารหนี้ที่ลงทุนและสามารถลดหย่อนภาษีได้ ประกันชีวิตเองก็สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน! ซึ่งประกันชีวิตนี้ จะใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท แถมยังได้ความคุ้มครองเพื่อคนที่คุณรักอีกด้วย และเป็นการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนที่ดีอีกทาง

สำหรับใครที่ต้องการซื้อประกันชีวิต แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อประกันชีวิตที่ไหน ต้องที่นี้ เลย กับ แรบบิท แคร์ นอกจากจะมีประกันชีวิตหลากหลายแบบแผนให้คุณได้เลือกแล้ว ยังมี ประกันออมทรัพย์ สำหรับคนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงด้านการลงทุน และ ประกันวัยเกษียณ ให้คุณได้อุ่นใจในช่วงชีวิตบั้นปลาย ด้วยเบี้ยประกันที่เอื้อมถึงได้ คลิกเลย!

ประกันออมทรัพย์ที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

 แฮปปี้มีเงินใช้ แฮปปี้มีเงินใช้

ไทยประกันชีวิต

  • แฮปปี้มีเงินใช้ เบี้ย 5 ปี คุ้มครอง 15 ปี
  • เงินคืน 521% ตลอดสัญญา
  • เงินคืน 3% ทุก 2 ปี การันตี
  • ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 100,000 บาท
  • อายุ 1 เดือน - 65 ปี สมัครได้
  • เลือกจ่ายเบี้ย รายเดือน, 3 เดือน, ปี
  • ทุกอาชีพสมัครได้ อายุผู้สมัคร
มันนี่ เซฟวิ่ง ไทยประกันชีวิตมันนี่ เซฟวิ่ง

ไทยประกันชีวิต

  • ชำระ 6 ปี คุ้มครอง 14 ปี
  • รับเงินคืน 10% ปี 2-13
  • สูงสุด 666% ผลประโยชน์
  • เงินก้อนและลดภาษี 100,000 บาท
  • ทุกวัย อายุ 1 เดือน - 65 ปี
  • รับผลประโยชน์แตกต่างกันเป็นขั้นบันได
  • เบี้ยไม่เกิน 18,000-27,000 บาท/ปี
Gen Senior 55 GeneraliGen Senior 55

Generali

  • เบี้ยเริ่มต้น 11 บาท/วัน
  • คุ้มครองตลอดสัญญา สูงสุด 90 ปี
  • รับเงินก้อน 350,000 บาท สูงสุด
  • ชำระรายปี ลด 7%
  • อายุรับประกัน 55-70 ปี
  • ไม่ต้องตรวจสุขภาพ สมัครง่าย
  • ส่งต่อเงินก้อนให้ลูกหลาน อยู่ครบสัญญาหรือจากไป
GEN Senior So Good GeneraliGEN Senior So Good

Generali

  • เบี้ยเริ่ม 15 บาท/วัน
  • ค่าเบี้ยคงที่ จนถึง 90 ปี
  • คุ้มครองสูงสุด 150% รับ 450,000 บาท
  • ชำระรายเดือน สูงสุด 12 เดือน
  • สมัครได้ อายุ 55-70 ปี
  • สมัครง่าย ผ่านโทรศัพท์ 15 นาที
  • ชำระรายปี รับส่วนลด 8%

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา