Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
info

💙 ต้อนรับปีใหม่! Rabbit Care แจก Airpods 4 และ Rabbit Care Voucher! เพียงสมัครบัตรเครดิต UOB สนใจ คลิก! 💙

user profile image
เขียนโดยTawan A.วันที่เผยแพร่: Mar 09, 2022

ประกันรถยนต์กับการต่อทะเบียนรถยนต์เหมือนกันไหม?

สำหรับการเช็คประกันภัยรถยนต์ โดยเฉพาะประกันรถยนต์ภาคสมัครใจนั้น ไม่เหมือนกับการต่อทะเบียนรถยนต์ และเป็นคนละส่วนกับ การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เบื้องต้นเราสามารถสรุปความแตกต่างที่เข้าใจกันได้ง่าย ๆ ดังนี้

ต่อทะเบียนรถยนต์ คือ คือการนำรถยนต์มาตรวจสภาพรถ พร้อมเสียภาษีสำหรับรถยนต์เป็นประจำในทุก ๆ ปี ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้เป็นเจ้าของรถต้องทำตามตามกฎหมาย โดยเงินภาษีที่จ่ายไป ทางหน่วยงานของรัฐบาลจะนำไปใช้เป็นงบประมาณต่าง ๆ บนท้องถนน เช่น สร้างถนน หรือปรับปรุงเส้นทางการเดินทางต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เมื่อหลังจากวิธีต่อทะเบียนรถยนต์เรียบร้อย เจ้าของรถจะได้รับป้ายภาษี หรือป้ายวงกลม (ป้ายสี่เหลี่ยม) ที่แสดงวันที่หมดอายุชัดเจน และการไม่นำรถไปต่อทะเบียน อาจเกิดผลเสียด้านกฎหมายได้

พ.ร.บ รถยนต์ จะเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันต้องทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ เพื่อให้เกิดความคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น และผู้มีรถจะต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ทุกปี ซึ่งประกันรถภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. รถยนต์ นี้ ก็จะแตกต่างจากประกันรถภาคสมัครใจในเรื่องความคุ้มครอง และอิสระในการเลือกทำนั่นเอง

ถ้าไม่ไปต่อทะเบียนรถยนต์ตามระยะเวลา จะมีโทษอะไรบ้างไหม?

ในกรณีที่ลืมต่อทะเบียนรถยนต์อาจจะโดนปรับ หรือถ้าลืมต่อทะเบียนรถยนต์เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจต้องโทษทางกฎหมาย ดังนี้

  • เสียค่าปรับ 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน ยิ่งปล่อยไว้นาน ค่าปรับก็จะยิ่งเพิ่ม นอกจากค่าปรับแล้ว การไม่ต่อภาษีรถยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมายที่คุณอาจคาดไม่ถึง เช่น ค่าตรวจสภาพ, ค่าป้ายใหม่ เป็นต้น นี่ยังไม่รวมไปถึงค่าเดินทางไป ๆ มา ๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการที่เราไปต่อภาษีแน่นอน

  • ในกรณีที่เราไม่ได้ทำการต่อทะเบียนเกิน 3 ปี ทางขนส่งจะดำเนินการระงับป้ายทะเบียนของเราทันที หากจะใช้รถคันเดิมจะต้องดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนรถใหม่พร้อมคืนป้ายทะเบียน รวมถึงดำเนินการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลัง

สรุปแล้ว หากจะให้ประหยัดเงิน และเวลามากที่สุด วิธีต่อทะเบียนรถยนต์ที่ดี คือการต่อเป็นประจำทุกปีอย่างสม่ำเสมอ เป็นเรื่องที่คุณไม่ควรมองข้าม ในกรณีที่กลัวว่าไม่มีเวลา การต่อทะเบียนรถออนไลน์จะเป็นหนทางที่น่าสนใจมาก

มีวิธีต่อทะเบียนรถยนต์มีกี่ช่องทาง สามารถต่อทะเบียนรถออนไลน์ได้ไหม?

เบื้องต้นแล้ว เราสามารถต่อทะเบียนรถยนต์ได้ล่วงหน้า 3 เดือน โดยมีวิธีต่อทะเบียนรถยนต์ได้ จะต้องเตรียมเอกสารสำหรับการต่อทะเบียนรถออนไลน์และแบบต่อทะเบียนเอง ดังนี้

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา
  • เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป )
  • เงินสำหรับอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522

หลังจากที่นำรถไปตรวจสภาพ (รถที่มีอายุเกิน 7 ปี) และมี พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นเสียภาษีประจำปีได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือจะเป็นช่องทางอื่น ๆ ที่เปิดให้เข้าไปยื่นเสียภาษีได้ ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลากหลายช่องทาง ดังนี้

  • สำนักงานขนส่งทางบก (ต่อทะเบียนรถได้ทุกสาขาทั่วประเทศ ไม่จำเป็นต้องไปต่อที่จังหวัดที่จดทะเบียน)
  • ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่รับต่อทะเบียนรถยนต์ ได้แก่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์สาขาที่ร่วมรายการ, พาราไดซ์ พาร์ค, เซ็นทรัลสาขาที่ร่วมรายการ,เดอะมอลล์ งามวงศ์วานและศูนย์บริการร่วมคมนาคมเชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
  • จุดบริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru For Tax) ที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 5
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • ตู้รับชำระภาษีและต่อทะเบียนรถประจำปีอัตโนมัติ


กรณีที่ต้องการต่อทะเบียนรถออนไลน์ สามารถต่อได้ที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก eservice.dlt.go.th และแอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax

หากรถอายุเกิน 7 ปี จะไม่สามารถต่อทะเบียนรถออนไลน์ได้ และต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานที่ตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่รับรองโดยกรมขนส่ง ซึ่งจะตรวจความพร้อมของสัญญาณไฟ สภาพการเบรก ตรวจควันดำเสียก่อน

สำหรับการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ทุก ๆ ปีเจ้าของรถจะต้องดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบของกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2562 ซึ่งในหมวด 3 ข้อที่ 17 ระบุไว้ว่า รถทุกคันที่จดทะเบียนแล้ว ต้องเสียภาษีรถประจำปี เว้นแต่รถที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีประจำปี

โดยเอกสารของการต่อทะเบียนออนไลน์และภาษีรถ ในกรณีที่ต่อทะเบียนรถออนไลน์สามารถรอรับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีและใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ได้ภายใน 5 วัน ทำการนับจากวันชำระเงิน แต่ในกรณีที่เดินทางไปติดต่อ

นอกจากรถยนต์สภาพเกิน 7 ปี เงื่อนไขอะไรอีกบ้าง ถึงสามารถต่อทะเบียนรถออนไลน์ได้?

อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น มีข้อกำหนดว่ารถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์เกิน 5 ปี จะไม่สามารถต่อทะเบียนรถออนไลน์ได้ เพราะตามกฎหมายบังคับให้ต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถเพื่อยืนยันว่ารถยังมีสภาพดี สามารถใช้งานได้จริงอยู่ นอกจากนี้ เงื่อนไขของรถที่เราสามารถต่อทะเบียนรถออนไลน์ได้ มีดังนี้

  • ต้องเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน, รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน, รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์
  • รถไม่เคยค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี
  • รถยนต์ที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สทุกชนิด
  • รถทุกจังหวัดที่มีสถานะทะเบียนปกติ หรือไม่ถูกระงับทะเบียนเนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปี ติดต่อกันครบ 3 ปี
  • ต้องเป็นรถที่ไม่ถูกอายัด
  • ต้องเป็นรถที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี หรือไม่ใช่รถของหน่วยงานราชการ

หากต้องตรวจสภาพรถเพื่อต่อทะเบียน จะเสียค่าใช้จ่ายเท่าใด?

ในกรณีที่รถของคุณมีอายุการใช้เงินเกินระยะเวลาที่กำหนดตามข้างต้นได้กล่าวไว้ จะต้องมีการตรวจสภาพรถ โดยสามารถตรวจได้ที่สถานตรวจเอกชน (ตรอ.) ทุกแห่ง ที่ได้การรับรองจากกรมการขนส่งทางบก รวมถึงที่กรมขนส่งทางบกทุกแห่ง ส่วนอัตราค่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. สำหรับรถยนต์ ขึ้นอยู่กับประเภทรถ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท

นอกจากนี้จะมีรถบางประเภทที่ไม่สามารถตรวจสภาพได้ที่ ตรอ. ของเอกชน ต้องนำไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น ได้แก่

  • รถที่ดัดแปลงสภาพผิดไปจากที่ได้จดทะเบียนไว้
  • รถที่เปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนแปลงตัวรถหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ในสมุดคู่มือทะเบียนรถ เช่น เปลี่ยนเครื่องยนต์, เปลี่ยนลักษณะรถ, เปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
  • รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์ เช่น ไม่ปรากฏตัวเลข, ตัวเลขชำรุด หรือมีร่องรอยการแก้ไข, ขูด, ลบ หรือลบเลือน จนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ เป็นต้น
  • รถที่เจ้าของได้แจ้งการไม่ใช้ชั่วคราว หรือแจ้งการไม่ใช้รถตลอดไปไว้
  • รถเก่าที่มีเลขทะเบียนเป็นเลขทะเบียนรุ่นเก่า เช่น กท-00001, กทจ-0001 เป็นต้น ซึ่งรถดังกล่าวต้องเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่เมื่อมีการนำมาเสียภาษีประจำปี
  • รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับการถูกโจรกรรมแล้วได้คืน
  • รถที่ได้สิ้นอายุภาษีประจำปี (ขาดต่อทะเบียน) เกิน 1 ปี

ต่อทะเบียนรถยนต์ใช้อะไรบ้าง

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา
  • เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (เฉพาะรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปหรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)
  • เงินค่าต่อทะเบียนรถตามอัตราที่กำหนด

ต่อทะเบียนรถยนต์กี่บาท


1. การคำนวณราคาต่อทะเบียนรถยนต์สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป

สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือดำ) เช่น รถเก๋ง การคำนวณราคาต่อทะเบียนจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) โดยมีอัตราการคำนวณดังนี้:


  • 600 ซีซีแรก คิดอัตราซีซีละ 50 สตางค์
  • 601–1,800 ซีซี คิดอัตราซีซีละ 1.50 บาท
  • ตั้งแต่ 1,801 ซีซีขึ้นไป คิดอัตราซีซีละ 4 บาท

นอกจากนี้ รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปีขึ้นไป จะได้รับส่วนลดค่าต่อทะเบียนตามอัตราดังต่อไปนี้:


  • รถยนต์อายุเกิน 6 ปี ลดราคาลง 10%
  • รถยนต์อายุเกิน 7 ปี ลดราคาลง 20%
  • รถยนต์อายุเกิน 8 ปี ลดราคาลง 30%
  • รถยนต์อายุเกิน 9 ปี ลดราคาลง 40%
  • รถยนต์อายุเกิน 10 ปี ลดราคาลง 50%

2. การคำนวณราคาต่อทะเบียนรถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง

สำหรับรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีเขียว) เช่น รถกระบะ 2 ประตู รถบรรทุก หรือ รถตู้ขนส่งสินค้า จะมีวิธีคิดคำนวณค่าต่อทะเบียนรถยนต์ตามน้ำหนักรถยนต์


  • น้ำหนักรถ 0-500 ราคา 300 บาท
  • น้ำหนักรถ 501- 750 กก. ราคา 450 บาท
  • น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กก. ราคา 600 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กก. ราคา 750 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กก. ราคา 900 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กก. ราคา 1,050 บาท
  • น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กก. ราคา 1,350 บาท
  • น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กก. ราคา 1,650 บาท
  • น้ำหนักรถ 2,501 – 3,000 กก. ราคา 1,950 บาท

3. การคำนวณราคาต่อทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง

ในส่วนของรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้ (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน) ก็จะมีวิธีคำนวณต่อทะเบียนตามน้ำหนักเช่นกัน แต่คนละอัตรา ดังนี้


  • น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กก. ราคา 1,300 บาท
  • น้ำหนักรถเกิน 1,800 กก. ราคา 1,600 บาท

วิธีการต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก ที่ https://eservice.dlt.go.th (สำหรับผู้ที่ใช้บริการออนไลน์ครั้งแรก จะต้องลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานก่อน)
  2. เลือกเมนู ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี
  3. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถและดำเนินการยื่นชำระภาษี
  4. กรอกข้อมูลหลักฐานการเอาประกัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หรือสามารถซื้อประกันจากระบบได้
  5. เลือกช่องทางการชำระเงิน ซึ่งมีหลายวิธีให้เลือก เช่น การหักบัญชี, บัตรเครดิตหรือเดบิต, เคาน์เตอร์บริการต่าง ๆ หรือผ่านตู้ ATM ของธนาคารที่ร่วมรายการ
  6. เมื่อชำระเงินเสร็จสิ้น กรมการขนส่งทางบกจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินและป้ายต่อทะเบียนรถยนต์อันใหม่ไปทางไปรษณีย์

วิธีการต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax จาก App Store หรือ Google Play
  2. ลงทะเบียนสำหรับผู้ใช้ครั้งแรก โดยกรอกชื่อ-นามสกุล, อีเมล, เลขประจำตัวประชาชน และเบอร์โทรศัพท์
  3. กดปุ่ม กดเพื่อรับรหัส OTP และกรอกรหัส OTP ที่ได้รับทางอีเมล จากนั้นกดยืนยัน
  4. ตั้งรหัส PIN 6 หลัก เพื่อใช้ในการเข้าสู่ระบบครั้งถัดไป
  5. สำหรับผู้ที่เคยลงทะเบียนแล้วหรือทำการลงทะเบียนเสร็จสิ้น สามารถเข้าสู่เมนู ชำระภาษีรถ
  6. เลือกรูปแบบการชำระภาษี
  7. กรอกข้อมูลหมายเลขบัตรประชาชน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคลของผู้ครอบครองรถ
  8. เลือกประเภทรถ ที่ต้องการชำระภาษีและกรอกข้อมูลทะเบียนรถ
  9. กรอกข้อมูลประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.
  10. เลือกวิธีการรับเครื่องหมายการเสียภาษีรถประจำปี ทางไปรษณีย์หรือรับที่ตู้ Kiosk (เฉพาะในกรุงเทพมหานคร)
  11. เลือกช่องทางการชำระเงิน ผ่าน SCB Easy App หรือ QR ชำระเงิน

วิธีการต่อทะเบียนรถยนต์ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ

การต่อทะเบียนรถยนต์สามารถทำได้ที่สำนักงานขนส่ง ซึ่งมีสาขาอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ข้อดีของการต่อภาษีที่สำนักงานขนส่ง คือ คุณสามารถใช้บริการได้ข้ามจังหวัด โดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการในจังหวัดที่รถของคุณจดทะเบียนไว้เท่านั้น นอกจากนั้น ยังไม่มีค่าดำเนินการเพิ่มเติมอีกด้วย โดยแต่ละสำนักงานขนส่งจะเปิดให้บริการวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.

วิธีการต่อทะเบียนรถยนต์ที่ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ

ปัจจุบันสามารถต่อทะเบียนรถยนต์ได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ โดยจะรับต่อทะเบียนรถทุกประเภทยกเว้นรถที่ยังผ่อนไม่หมด โดยจะมีค่าดำเนินการ 40 บาท ให้บริการวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 - 18.00 น. และวันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดชดเชย เวลา 09.00 - 17.00 น.

วิธีการต่อทะเบียนรถยนต์ที่ที่ห้างสรรพสินค้า

การต่อทะเบียนรถยนต์สามารถทำได้ที่ห้างสรรพสินค้าที่ร่วมโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี” โดยมีสาขาของห้างสรรพสินค้าที่พร้อมให้บริการดังนี้


  • ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น. ที่สาขาลาดพร้าว,
  • รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, เพชรเกษม, สุขาภิบาล 3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, บางบอน, สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่ และบางนา
  • ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น.
  • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 11.00 - 18.00 น.
  • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น. ที่สาขาศาลายา, แจ้งวัฒนะ, เวสต์เกต
  • เดอะมอลล์ เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น. ที่สาขางามวงศ์วาน
  • ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 15.00 น.

วิธีการต่อทะเบียนรถยนต์ที่ ธ.ก.ส.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทั่วประเทศก็มีให้บริการต่อทะเบียนรถยนต์ โดยจะต้องเป็นรถยนต์ที่ไม่ค้างชำระหรือค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปีแต่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี นอกจากนั้น ยังยื่นขอเสียภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือนก่อนวันครบกำหนดเสียภาษีเว้นแต่เป็นรถที่มีภาษีค้างชำระให้สามารถยื่นได้ทันที

วิธีการต่อทะเบียนรถยนต์ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส

ปัจจุบันสามารถรับบริการต่อทะเบียนรถยนต์ได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ โดยจะเปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 07.30 - 15.30 น. และจะมีค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส 20 บาท พร้อมค่าจัดส่งป้ายต่อภาษีรถยนต์ 40 บาท โดยจะได้รับป้ายต่อทะเบียนทางไปรษณีย์ภายใน 10 วันนับจากวันที่ชำระเงินตามที่อยู่ที่ระบุ

วิธีการต่อทะเบียนรถยนต์ผ่านแอปฯ mPay และ TrueMoney Wallet

รถยนต์ที่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ผ่านแอปพลิเคชัน mPay และ TrueMoney Wallet จะต้องเป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 1 ปี ไม่ถูกอายัดทะเบียน ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซ หรือไม่ได้ดัดแปลงหรือแต่งรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ โดยเจ้าของรถสามารถต่อทะเบียนได้โดยการสแกนบาร์โค้ดบนหนังสือเรียกชำระภาษีรถยนต์และส่งเอกสารต่างๆ เพื่อต่อทะเบียนรถยนต์ผ่านแอปพลิเคชั่นได้ทันที

ความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา