โรคซึมเศร้าเป็นอย่างไร และมีทั้งหมดกี่ประเภท?
โรคซึมเศร้าอาการเป็นอย่างไร?
สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านั้นจะค่อย ๆ มีอาการเริ่มต้นเกิดขึ้น โดยจะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยร่วมด้วย เช่น มีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจเป็นอย่างมากเกิดขึ้นมา คนรอบข้างให้ความช่วยเหลือได้มากน้อยเพียงใด หรือลักษณะนิสัยเดิมของผู้ป่วยนั้นเป็นอย่างไร เพราะทุกอย่างล้วนเป็นสาเหตุที่จะส่งผลทำให้เกิดเป็นภาวะโรคซึมเศร้าขึ้นมาได้หมด ซึ่งอาการหลัก ๆ ที่จะสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนเลยนั่นก็คืออาการทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม และอาการทางร่างกาย เช่น รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่อเศร้า นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า เป็นต้น ดังนั้นคำว่า “โรคซึมเศร้า” จึงถือว่าเป็นความผิดปกติทางการแพทย์ ที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาอาการให้ทุเลาลง ซึ่งจะแตกต่างจากอารมณ์เศร้าหมองทั่วไปที่จะสามารถหายเองได้ตามปกติเมื่อเหตุการณ์คลี่คลายลง เพราะโรคซึมเศร้านั้นมีสาเหตุมาจากตัวโรค หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็จะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกตินั่นเอง ดังนั้นคำถามที่ว่า “ถ้าเป็นโรคซึมเศร้า หายได้ไหม?” คำตอบคือสามารถหายได้ เพียงแต่จะต้องได้รับการรักษาที่ถูกวิธีและเหมาะสมอีกด้วย
โรคซึมเศร้ามีกี่ประเภท?
- โรคซึมเศร้า Major Depression (Clinical Depression)
- โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Dysthymia)
- โรคซึมเศร้าแบบไบโพล่า (Bipolar Disorder)
- โรคซึมเศร้าหลังคลอด (postnatal Depression)
- โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder : SAD)
- โรคซึมเศร้าแบบจิตหลอน (Psychotic Depression)
- กลุ่มอาการซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Dysphoric Disorder : PMDD)
- โรคซึมเศร้าที่เกิดจากความผิดปกติของการปรับตัว (reactive Depression / Adjustment Disorder)
โรคซึมเศร้าสาเหตุมีมาจากอะไรได้บ้าง?
สาเหตุของโรคซึมเศร้านั้นมีอยู่หลายปัจจัยสำคัญร่วมกัน ดังนี้
1. กรรมพันธุ์
โดยเฉพาะในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นซ้ำบ่อย ๆ หลายครั้ง
2. สารเคมีในสมอง
พบว่ามีการหลั่งของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติไป เช่น ซีโรโทนิน (serotonin) นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ที่มีการหลั่งสารเคมีในปริมาณที่ลดต่ำลง และรวมทั้งความผิดปกติของเซลล์รับสื่อเคมีด้วย ซึ่งความผิดปกติทั้งหมดนี้จึงมีการส่งผลทำให้เกิดความบกพร่องของการควบคุมและประสานงานร่วมกันในระบบประสาท ดังนั้นการรักษาโรคซึมเศร้าที่ใช้ยาแก้โรคซึมเศร้านั้นจึงมีการออกฤทธิ์ไปปรับสมดุลของระบบสารเคมีในสมองนั่นเอง
3. ลักษณะนิสัย
ในผู้ป่วยบางคนจะมีแนวคิดที่ไปกระตุ้นให้ตนเองเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น เช่น มองโลกในแง่ร้าย มองตนเองในแง่ลบ รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า มีแต่ความบกพร่องและด้านลบ ดังนั้นถ้าหากว่ามีเหตุการณ์อะไรไปกระตุ้นหรือกดดันขึ้นมา ก็มักจะมีแนวโน้มในการเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายกว่าปกตินั่นเอง
โรคซึมเศร้า อาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร?
1. มีความคิดที่เปลี่ยนไป
คือมองอะไรก็จะรู้สึกแย่ รู้สึกผิดพลาด รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า มองเห็นแต่ความล้มเหลวของตนเองเต็มไปหมด และยังรู้สึกว่าคนอื่น ๆ ก็ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่มีทางออก มองไม่เห็นอนาคต ท้อแท้ สิ้นหวัง อ่อนแอ บอบบาง เห็นตนเองเป็นภาระของผู้อื่น ทรมานจิตใจ จึงส่งผลทำให้มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือทำร้ายร่างกายตนเองอยู่บ่อยครั้ง
2. อารมณ์แปรปรวนง่ายกว่าปกติ
เดี๋ยวกระวนกระวาย ฉุนเฉียว หงุดหงิด ใจร้อน เดี๋ยวหดหู่ สะเทือนได้ใจง่าย ร้องไห้บ่อยครั้งมากขึ้น มีอารมณ์หม่นหมอง ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส เบื่อหน่ายกับทุกสิ่งจนรู้สึกว่าไม่อยากทำอะไร
3. มีสมาธิและประสิทธิภาพในด้านความจำที่ลดลง
หลงลืมง่ายขึ้น จิตใจเหม่อลอยไม่อยู่กับเนื้อกับตัว หรือทำอะไรนาน ๆ ไม่ค่อยได้ เพราะไม่มีสมาธิมากพอที่จะทำสิ่งใด
4. มีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นทางร่างกาย
เช่น รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เบื่อหน่ายกับทุกสิ่ง นอนไม่หลับจนร่างกายทรุดโทรม เบื่ออาหารจนทำให้น้ำหนักลดลงผิดปกติ และในบางครั้งอาจจะมีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว หรือปากแห้ง คอแห้ง เป็นต้น
5. การทำงานแย่ลง
เพราะไม่มีสมาธิในการทำงาน เหม่อลอย ไม่มีพลังงาน รู้สึกหมดแรง ไม่มีความกระตือรือร้น อีกทั้งความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานก็แย่ลง
6. การใช้ชีวิตแย่ลง
มีความสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่เปลี่ยนไป เพราะจะเริ่มเก็บตัวอยู่คนเดียวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร ไม่ร่าเริงแจ่มใส และในบางคนอาจจะหงุดหงิดกว่าเดิม มีปากเสียงกับคนรอบข้างมากขึ้น อ่อนไหวง่าย
7. มีอาการทางจิต
เช่น มีอาการประสาทหลอน มีอาการหลงผิด คิดว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือคอยทำร้ายตนเองอยู่ตลอดเวลา อาจจะมีอาการหูแว่วและประสาทหลอนชั่วคราวด้วย หากได้รับการรักษาก็จะมีอาการที่ดีขึ้นตามลำดับ
ไบโพล่า กับ โรคซึมเศร้า ต่างกันอย่างไร?
โรคไบโพล่าและโรคซึมเศร้านั้นเป็นคนละโรคกัน โดยที่โรคไบโพล่าจะเป็นโรคอารมณ์ 2 ขั้ว สลับกันระหว่างขั้วซึมเศร้าและขั้วความสุข มีความไฮเปอร์และแอ็กทีฟมาก ๆ แต่โรคซึมเศร้าจะไม่มีการสลับขั้วของอารมณ์ แต่จะมีเพียงแค่ขั้วซึมเศร้าเท่านั้น
โรคซึมเศร้า รักษาอย่างไร?
วิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่สำคัญ คือ การรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าบวกกับการให้คำแนะนำหรือคำชี้แนะในการมองปัญหาต่าง ๆ ในมุมมองแบบใหม่ แนวทางการปรับตัว แนวทางการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการมองหาสิ่งที่ช่วยทำให้ผ่อนคลายจิตใจ ร่วมกับการให้ยาคลายกังวลเสริมด้วยในช่วงที่มองเห็นว่ายาแก้ซึมเศร้านั้นไม่จำเป็นแล้ว เพราะยาแก้ซึมเศร้านั้นจะช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ไม่ใช่เพียงแค่ความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจ อีกทั้งยังช่วยทำให้อารมณ์ซึมเศร้าและความวิตกกังวลใจนั้นลดลงได้ด้วย โดยตัวยาที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าที่นิยมใช้กันจะเป็นยาในกลุ่ม SSRI ซึ่งจะมีกลไกในการไปยับยั้งการดูดซึมซีโรโทนินกลับเข้าสู่เซลล์ (serotonin reuptake inhibitor : SSRI) จึงทำให้ซีโรโทนินนั้นเพิ่มมากขึ้นในบริเวณส่วนต่อระหว่างเซลล์ประสาท โดยยาขนานปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าเป็นขนานแรก คือ ยา fluoxetine และยา sertralie และหลังจากที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเริ่มหายดีขึ้นแล้ว แพทย์ก็จะยังให้ยาในขนาดที่ใกล้เคียงกับขนาดเดิมต่อไปอีก 4-6 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้โรคซึมเศร้าเกิดกำเริบขึ้นมาในระหว่างนี้อีก แล้วจึงค่อย ๆ ลดยาลงโดยใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนจนหยุดยา ดังนั้นคำถามที่ว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กินยานานแค่ไหน ก็จะมีคำตอบคือประมาณ 6-8 เดือนนั่นเอง
วิธีตรวจโรคซึมเศร้า แบบทดสอบโรคซึมเศร้า
สำหรับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้านั้นสามารถตรวจเช็กได้จากอาการที่เกิดขึ้น ถ้าหากว่ามีอาการดังกล่าวเท่ากับหรือมากกว่า 5 รายการขึ้นไป และเป็นมาแล้วนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป นั่นหมายความว่าคุณมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าในเบื้องต้นแล้ว ดังนี้
- มีอารมณ์ซึมเศร้าแทบทั้งวัน อาจจะมีอารมณ์หงุดหงิดร่วมด้วยในบางครั้ง
- ไม่มีความสนใจที่จะทำกิจกรรมหรือสนุกไปกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน
- น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากผิดปกติ (มากกว่า 5% ต่อเดือน)
- มีอาการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากผิดปกติ
- นอนไม่หลับ กระวนกระวาย
- อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง เชื่องช้า
- มีความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
- มีสมาธิลดลง เหม่อลอย ลังเลใจ
- มีความคิดเรื่องการตาย หรืออยากตาย
และนอกจากนี้ยังมี แบบสอบถามภาวะอารมณ์เศร้า (Patient Health Questionnaire : PHQ9) จากโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการประเมินภาวะโรคซึมเศร้าของผู้ที่ทำอีกด้วย ว่าขณะนี้ผู้ที่ทำแบบสอบถามนั้นมีภาวะเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือไม่ และมีอาการรุนแรงมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นแนวทางในการบอกระดับของโรคซึมเศร้าเบื้องต้น แล้วหลังจากนั้นก็ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาโรคซึมเศร้าต่อไป ซึ่งแบบสอบถามนี้มีประโยชน์มากในการช่วยประเมินระดับความรุนแรงของภาวะโรคซึมเศร้า ว่ามีการเปลี่ยนโแปลงผลลัพธ์มากน้อยเพียงใดในการทำแบบสอบถามในแต่ละครั้ง เพื่อเป็นการจดบันทึกความเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยไปในตัวด้วย
เพราะฉะนั้นการดูแลสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ควรหมั่นออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากิจกรรมสนุก ๆ หรืองานอดิเรกที่เราชอบมาลองทำในเวลาว่างเพื่อคลายเครียดและเพิ่มความบันเทิงให้ตนเอง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีฬา เดินเล่น ไปเที่ยว หรือทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้มีความรู้สึกที่ดีขึ้น อีกทั้งยังควรตั้งเป้าหมายในการทำงานและการใช้ชีวิต รวมไปถึงการจัดเรียงความสำคัญก่อนหลังเพื่อลงมือทำและค่อย ๆ แก้ปัญหาไปตามลำดับ ก็จะช่วยทำให้ยังรู้สึกว่าตนเองยังสามารถทำอะไรได้อยู่ และอีกหนึ่งสิ่งที่ควรวางแผนเริ่มต้นทำเลยนั่นก็คือ การทำประกันสุขภาพ เพราะในปัจจุบันนี้ล้วนมีปัจจัยความเสี่ยงในการใช้ชีวิตมากมาย ดังนั้นการเริ่มดูแลไปตั้งแต่ต้นจึงถือว่าเป็นผลดี หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาในอนาคตจะได้ไม่ต้องมานั่งกังวลทีหลัง ซึ่งทาง แรบบิท แคร์ ก็พร้อมอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าตั้งแต่บริการเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพในเบี้ยประกันที่ถูก ที่ใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องไปเสียเวลาสอบถามกับตัวแทนประกันสุขภาพจากในแต่ละบริษัทอีกด้วย
ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ