Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

🎵 9.9 Rabbit แจกฟรี!! หูฟัง Apple Airpods Gen 3 และ Rabbit Voucher มูลค่ารวม 12,790 บาท แค่สมัครบัตรฯ UOB ผ่าน Rabbit Care คลิก! 💳

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

กรดไหลย้อน อาการเป็นอย่างไร ต้องรักษาอย่างไร ?
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: May 30, 2024

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่เกิดจากสาเหตุอะไร และมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง?

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สาเหตุเกิดจากอะไร?

จากข้อมูลในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์ ได้กล่าวถึงความหมายของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เอาไว้ว่า สำหรับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนมากมักจะพบในผู้สูงอายุและพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ดังนี้

  • เพศหญิง โดยที่สาเหตุมักจะมาจากการปิดของหูรูดท่อปัสสาวะที่ทำงานได้ไม่ดี หรือกระเพาะปัสสาวะบีบตัวแรงและเร็วไป หรือระดับเอสโตรเจนที่ลดลงไปในวัยหมดประจำเดือน ก็ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ทั้งหมด
  • เพศชาย มักจะมีสาเหตุมาจากการที่มีภาวะต่อมลูกหมากโต แล้วไปขัดขวางทางเดินของปัสสาวะ
  • ผู้สูงอายุ เนื่องด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายนั้นเกิดความเสื่อมถอยลงไป รวมไปถึงระบบทางเดินปัสสาวะที่ทำให้มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่นั่นเอง

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีกี่ประเภท?

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบชั่วคราว (Transient urinary incontinence)

โดยมักจะมีสาเหตุมาจากสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาท้องผูก หรือมีอุจจาระอัดแน่นในลำไส้ (Stool impaction)
  • ผู้ป่วยที่มีการสร้างปัสสาวะออกมาจำนวนมากในขณะที่กำลังรักษา (Excessive urine product)
  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตเวช (Psychological causes)
  • ผู้ป่วยที่มีอาการเพ้อสับสน (Delirium)
  • ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือติดเชื้อในระบบอื่น ๆ ของร่างกาย (Infection)
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้ตามปกติ ภายหลังจากการผ่าตัดหรือการรักษา (Restricted mobility)
  • ผู้ป่วยเพศหญิงที่มีปัญหาท่อปัสสาวะหรือช่องคลอดแห้งจากการขาดฮอร์โมน (Atrophic vaginitis)
  • ผู้ป่วยที่มีการใช้ยาบางกลุ่ม (Pharmacological causes) เช่น ยาลดความดัน ยาที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท เป็นต้น

2. ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบถาวร (Permanent urinary incontinence)

ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 อาการย่อย ได้แก่

  • อาการปัสสาวะไหลซึมออกมาในขณะที่เปลี่ยนท่าทาง (Postural incontinence)
  • อาการปัสสาวะเล็ดราดในขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์ (Coital / Giggle incontinence)
  • อาการปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis / Nocturnal enuresis)
  • อาการไอจามปัสสาวะเล็ด (Stress urinary incontinence)
  • อาการไอจามปัสสาวะเล็ด ร่วมกับปัสสาวะราด (Mixed urinary incontinence)
  • อาการปัสสาวะไหลซึมตลอดเวลา (Continuous urinary incontinence)
  • อาการปัสสาวะไหลซึมออกมาโดยที่ไม่รู้สึกตัว (Insensible incontinence)
  • อาการปัสสาวะราด (Urge urinary incontinence)

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้หญิงมีอาการอย่างไร?

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้หญิงนั้นมักจะเกิดจากการที่กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นเอ็นที่พยุงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของผู้หญิงนั้นอ่อนแอลง หรือเกิดเป็นภาวะหย่อนยานของผนังช่องคลอดด้านหน้า จึงทำให้ไม่สามารถพยุงท่อปัสสาวะและไม่ให้มีการหย่อนตัวได้นั่นเอง ดังนั้นเมื่อมีการไอ จาม หรือออกกำลังกาย ก็จะเป็นการไปเพิ่มแรงดันในช่องท้องให้เกิดขึ้น และส่งผลทำให้ท่อปัสสาวะและหูรูดท่อปัสสาวะที่หย่อนตัวลงนั้นไม่สามารถปิดกั้นแรงดันปัสสาวะที่ถูกส่งผ่านมาจากในกระเพาะปัสสาวะได้ จึงทำให้เกิดเป็นอาการปัสสาวะเล็ดออก ซึ่งปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดนั้นมีดังนี้

  • อายุที่มากขึ้น มีส่วนทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานกระเพาะปัสสาวะนั้นเกิดความเปลี่ยนแปลง และมีความสามารถในการบรรจุน้ำปัสสาวะได้น้อยลง
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยให้เยื่อบุในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะนั้นมีความแข็งแรง ดังนั้นเมื่อผลิตฮอร์โมนตัวนี้น้อยลง ก็จะทำให้เนื้อเยื่อดังกล่าวเสื่อมสภาพไปนั่นเอง
  • การคลอดบุตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องจำนวนของการคลอดบุตร เพราะว่าจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะนั้นอ่อนแอลงได้ จนทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานนั้นหย่อนลงไปในที่สุด
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือผู้ที่มีไขมันส่วนเกินจนเกิดเป็นโรคอ้วน ซึ่งไขมันส่วนเกินนั้นจะเข้าไปกดทับบริเวณท้องน้อย และเพิ่มแรงกดทับลงบนกระเพาะปัสสาวะ จึงส่งผลทำให้มีการบีบตัวและมีปัสสาวะเล็ดขึ้นมาได้นั่นเอง

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้ชายมีอาการอย่างไร?

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชายนั้นมักจะเกิดจากการที่มีต่อมลูกหมากโตร่วมด้วย เนื่องจากว่าในเพศชายจะมีอวัยวะที่เรียกว่า ต่อมลูกหมาก โดยจะอยู่ถัดจากกระเพาะปัสสาวะเข้าไป และจะมีหน้าที่ในการช่วยกลั้นปัสสาวะนั่นเอง ซึ่งโดยปกติแล้วต่อมลูกหมากจะหยุดโตไปเองในช่วงอายุ 20 ปี และกลับมาโตอย่างรวดเร็วเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป ดังนั้นต่อมลูกหมากที่โตจึงไปกดและเบียดกับท่อปัสสาวะ ในขณะที่ท่อปัสสาวะนั้นจะตอบสนองโดยการตีบลงจากการบีบตัวเร็วขึ้นเพื่อขับปัสสาวะออกมา และเมื่อกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะมีการทำงานที่หนักกว่าปกติ จึงส่งผลทำให้ไวต่อการปวดปัสสาวะ และเมื่อไหร่ที่กล้ามเนื้อของระบบปัสสาวะเกิดการอ่อนล้า ก็จะเกิดอาการปัสสาวะสะดุดและกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ร่วมด้วยนั่นเอง

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ วิธีแก้มีอะไรบ้าง?

สำหรับวิธีการรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่นั้นจะมีอยู่หลายวิธี โดยทางแพทย์จะมีการวินิจฉัยความรุนแรงของอาการในแต่ละบุคคล เพื่อพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด ยกตัวอย่างเช่น

  • รักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เช่น ลดน้ำหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เป็นต้น
  • การใช้ยาในกลุ่ม Anti-muscarinic และ Beta-3 agonist เพื่อลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
  • การใช้เลเซอร์กระชับช่องคลอด เป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในช่องคลอด เพื่อทำให้ท่อปัสสาวะนั้นสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
  • การผ่าตัดรักษาผ่านบริเวณช่องคลอด โดยผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและเป็นมานานนั้น ก็อาจจะต้องได้รับการผ่าตัดรักษาโดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อยกท่อปัสสาวะส่วนต้นและทำให้กระเพาะปัสสาวะนั้นไม่หย่อนลงไปตามกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • การบริหารฝึกฝนกล้ามเนื้อที่บริเวณอุ้งเชิงกราน PFME (Pelvic Floor Muscle Exercise) โดยการขมิบรูทวารและกล้ามเนื้อที่อุ้งเชิงกราน เพื่อช่วยควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ ควบคุมลม และการเคลื่อนไหวของลำไส้ ซึ่งจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อช่องคลอดนั้นแข็งแรงตามไปด้วย

แนวทางในการป้องกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีอะไรบ้าง?

  • ควบคุมน้ำหนักตนเอง
  • เมื่อปวดปัสสาวะก็ไม่ควรกลั้นไว้นานจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นมาได้
  • ปรับการดื่มน้ำใหม่ โดยการดื่มน้ำ 30-50 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • รักษาอาการท้องผูกที่เป็นอยู่
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนนอน

ควรเลือกทำประกันสุขภาพแบบไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?

เรื่องสุขภาพถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวและสำคัญมากพอ ๆ กับปัจจัย 4 ในด้านอื่น ๆ เพราะฉะนั้นการวางแผนดูแลสุขภาพทั้งในปัจจุบันและในอนาคตนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเรื่องอาหารการกิน กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสมและไม่หักโหมจนเกินไป อีกทั้งการทำประกันสุขภาพ ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะประโยชน์ที่จะได้รับนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความคุ้มครองเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นจากการเจ็บป่วยหรือจากอุบัติเหตุก็ตาม อีกทั้งยังสามารถลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยที่แผนประกันสุขภาพนั้นจะมีทั้งหมด 4 ประเภทตามความคุ้มครอง ได้แก่ ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD) ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) ประกันชีวิต (Life Insurance) และประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (Critical illness Insurance)

ซื้อประกันสุขภาพผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

ซึ่งทาง แรบบิท แคร์ นั้นก็ได้มีบริการเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว และตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณได้มากที่สุด อีกทั้งยังหมดห่วงเรื่องของความปลอดภัยได้เลย เพราะแรบบิท แคร์ นั้นเป็นโบรกเกอร์ประกันภัยที่อยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงาน คปภ. โดยมีใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย เลขที่ ว00021/2557 และใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิต เลขที่ ช00011/2559 ซึ่งทางลูกค้าสามารถตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดด้วยตนเองได้ที่เว็บไซต์ของคปภ.

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

ประกันสุขภาพ ผู้สูงอายุGEN Senior Extra 7

ผู้สูงอายุ

  • สมัครประกันได้ตั้งแต่อายุ 41-70 ปี
  • คุ้มครองสุขภาพ เหมาจ่ายสูงสุด 1 ล้านบาท
  • คุ้มครองค่าห้อง รพ. สูงสุด 6,000 บาท/วัน
  • ค่ารักษาตัวที่บ้าน รับเงินสูงสุด 60,000 บาท
  • CT Scan คุ้มครอง ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • ค่าตรวจวินิจฉัย คุ้มครองสูงสุด 12,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 25,000 บาท
Delight Care ประกันสุขภาพเหมาจ่ายDelight Care

เหมาจ่าย

  • เบี้ยประหยัด เริ่มต้นเพียง 53 บาท/วัน คุ้มครองครบ
  • ค่ารักษาหลักล้าน เหมาจ่ายจริง ไม่จำกัดครั้ง
  • ค่าห้อง รพ.สูงสุด 3,000 บาท/วัน ครบ 365 วัน
  • สมัครได้ทุกวัย ตั้งแต่อายุ 1 เดือน - 60 ปี
  • มะเร็งลุกลาม รับผลประโยชน์อีก 1 เท่า
  • มอบความคุ้มครองชีวิต สูงสุด 150,000 บาท
  • รพ.ในเครือ ไม่ต้องสำรองจ่ายทั่วไทย
AIA Health Saver ประกันสุขภาพเหมาจ่าย AIA Health Saver

เหมาจ่าย

  • ประกันราคาเบาๆ เริ่มเพียง 575 บาท/เดือน
  • ค่ารักษาเหมาจ่าย สูงสุด 500,000 บาท
  • ไม่ต้องนอนรพ. คุ้มครอง OPD 30 ครั้ง/ปี
  • รับประกันทุกวัย 15 วัน - 75 ปี ต่ออายุถึง 98 ปี
  • ตรวจเจอโรคร้าย รับคุ้มครอง 2 เท่าทันที
  • ค่ารักษา OPD คุ้มครองสูงสุด 1,500 บาท
  • ลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์ สูงสุด 25,000 บาท
วิริยะ วี เพรสทีจ แคร์วิริยะ วี เพรสทีจ แคร์

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • แคร์กลับบ้าน จ่ายค่ายาตามจริง
  • แคร์นอนรพ. คุ้มครอง 4.5 ล้าน ไม่จำกัดครั้ง
  • แคร์ค่าห้อง คุ้มครองสูงสุด 12,000 บาท/วัน
  • ค่ารักษาบาดเจ็บ จ่ายจริงใน 24 ชม. สูงสุด 31 วัน
  • แคร์มะเร็ง คุ้มครองเคมีบำบัด สูงสุด 100,000 บาท
  • คุ้มครองเสียชีวิต 100,000 บาท แคร์ไม่คาดฝัน
  • แคร์ภาษี ลดหย่อนสูงสุด 25,000 บาท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา