เลขทะเบียนประมูลทะเบียนรถมีกี่ประเภท?
เลขทะเบียนประมูลทะเบียนรถที่บุคคลทั่วไปและนิติบุคคลสามารถเข้าประมูลได้ทั้งแบบออนไลน์และแบบปกติ มีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ 1) หมายเลขทะเบียนสวย 2) หมายเลขทะเบียนรถเลขสวยลักษณะพิเศษ 3) หมายเลขออกประมูลใหม่ทางอินเทอร์เน็ต และ 4) หมายเลขออกประมูลใหม่พร้อมการประมูลหมวดปกติ มีรายละเอียดป้ายทะเบียนที่สามารถประมูลได้ดังนี้
- หมายเลขทะเบียนสวย คือ การประมูลทะเบียนประมูลหมายเลขทะเบียนซึ่งเป็นที่ต้องการหรือเป็นที่นิยมของประชาชน
- หมายเลขทะเบียนรถเลขสวยลักษณะพิเศษ คือ การประมูลทะเบียนรถที่ประกอบด้วยคำหรือข้อความลักษณะพิเศษที่ได้รับความเห็นชอบเพื่อใช้แทนตัวอักษรประจำหมวด สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิดเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น เช่น กำไร88 ดวงดี99 รุ่ง89 เสน่ห์66
- หมายเลขออกประมูลใหม่ทางอินเทอร์เน็ต การประมูลทะเบียนรถที่ผู้ชนะการประมูลไม่ชำระราคาประมูลให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด โดยราคาเริ่มต้นประมูลจะเท่ากับจำนวนเงินที่ค้างชำระราคาของหมายเลขทะเบียนนั้น
- หมายเลขออกประมูลใหม่พร้อมการประมูลหมวดปกติ คือ การประมูลทะเบียนรถที่ชนะการประมูลแต่ชำระราคาไม่ครบถ้วน และนำออกประมูลทะเบียนใหม่ทางอินเทอร์เน็ตครบ 8 ครั้งแล้ว แต่ไม่มีผู้เสนอราคา โดยราคาเริ่มต้นประมูลจะเท่ากับราคาเริ่มต้นของการประมูลตามปกติ
วิธีประมูลทะเบียนรถออนไลน์ต้องทำอย่างไรบ้าง?
ผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประมูลทะเบียนรถต้องลงเข้าร่วมการประมูลก่อนวันประมูล หรือวันประมูล โดยสามารถเลือกลงทะเบียนได้ 2 ช่องทาง ได้แก่
1) ลงทะเบียนด้วยตนเองก่อนวันประมูล ณ สำนักงานกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งจังหวัดที่จัดการประมูลหมายเลขทะเบียน สถานที่จัดการประมูลหมายเลขทะเบียน หรือสถานที่ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
2) ลงทะเบียนและอัพโหลดเอกสารผ่านเว็บไซต์ WWW.TABIENROD.COM ก่อนวันประมูล โดยผู้ที่ลงทะเบียนจะต้องเลือกลงทะเบียนตามหมายเลขทะเบียนรถที่ตนต้องการประมูลพร้อมวางหลักประกันการประมูลตามที่กำหนด
หลังจากนั้นผู้ที่ลงทะเบียนประมูลทะเบียนรถเรียบร้อยแล้ว สามารถเดินทางเข้าร่วมการประมูลตามวันเวลา และสถานที่ที่กำหนด โดยต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนผู้เข้าร่วมประมูล กรณีเข้าร่วมประมูลทะเบียนด้วยตนเอง หรือส่งสำเนาบัตรประชาชน พร้อมหลักฐานการโอนเงินค่าหลักประกันประมูล ก่อนการประมูล กรณีเข้าร่วมประมูลทางเว็บไซต์ โดยมีรายละเอียดการเข้าร่วมประมูลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดดังต่อไปนี้
การประมูลทะเบียนรถในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถเข้าร่วมประมูลได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ การประมูลทะเบียนทางวาจา การประมูลทะเบียนทาง Internet และการประมูลทะเบียนทางโทรศัพท์ ซึ่งจะจัดขึ้นทุกอาทิตย์ที่ 2 และ 4 ของเดือน โดยการจัดประมูลจะจัดที่ห้องประชุมชั้น 7 อาคาร 6 กรมการขนส่งทางบก หรือตามวัน เวลาและสถานที่กำหนด
การประมูลทะเบียนรถในส่วนภูมิภาค สามารถเข้าร่วมประมูลได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ การประมูลทะเบียนรถทางวาจา และการประมูลทะเบียนรถทาง Internet ซึ่งจะจัดขึ้นตามแผนการประมูลในแต่ละปีงบประมาณของแต่ละจังหวัด หรือจะมีกำหนดการวันและเวลาที่ได้กำหนดไว้แล้วในแต่ละจังหวัด
เช็คตารางประมูลทะเบียนรถได้ที่ไหน?
สามารถเช็คตารางปฏิทินประมูลทะเบียนรถออนไลน์ และประมูลทะเบียนประมูลทางวาจา (เคาะไม้)
สำหรับใช้แจ้งจดทะเบียนทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด ทั้งประมูลป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ประมูลป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือประมูลป้ายทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล กรุงเทพฯ ได้จากเว็บไซต์ WWW.TABIENROD.COM
สามารถดูประกาศวันเวลาและสถานที่จัดการประมูลทะเบียนได้จากเว็บไซต์ WWW.TABIENROD.COM กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งประจำพื้นที่/จังหวัด ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
เช็คราคาประมูลทะเบียนรถล่าสุดได้ที่ไหน?
สามารถตรวจสอบสถิติประมูลทะเบียนรถย้อนหลัง และผลการประมูลได้ที่ WWW.TABIENROD.COM หรือติดต่อ กรมการขนส่งทางบก 1032 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 0-2271-8888, 02-061-6512, 061-615-6359 หรือ Call Center 1584
ราคาประมูลทะเบียนรถจะขึ้นอยู่กับความต้องการหรือความนิยมของทั้งตัวเลขและหมวดตัวอักษรประจำทะเบียน ซึ่งจะมีประเภทค่าใช้จ่ายในการประมูล 2 รายการ คือ หลักประกันก่อนเริ่มประมูล ราคาหมายเลขทะเบียนโดยต้องวางหลักประกันก่อนเริ่มประมูล โดยมูลค่าหลักประกันจะขึ้นอยู่กับความนิยมของเลขทะเบียนรถยนต์ในแต่ละหมวด หรือแต่ละตัวเลข
เริ่มต้นตั้งแต่ 2,000, 5,000, 20,000 หรือ 50,000 ในขณะที่ราคาเริ่มต้น ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 1,000, 2,000, 3,000, 5,000, 30,000, 10,000, 50,000 และ 100,000 โดยสามารถเพิ่มราคาครั้งละ 500, 1,000, 2,000, 5,000, 2,000 และ 10,000 มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการประมูลทะเบียนในแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้
1. กลุ่มเลขสี่ตัวเหมือน
การประมูลทะเบียนรถส่วนกลาง หลักประกัน 50,000 บาท ราคาเริ่มต้น 100,000 บาท เพิ่มราคาครั้งละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ในขณะที่การประมูลทะเบียนส่วนภูมิภาค หลักประกัน 20,000 บาท ราคาเริ่มต้น 50,000 บาท เพิ่มราคาครั้งละไม่น้อยกว่า 5,000 บาท
2. กลุ่มเลขสามตัวเหมือน, เลขสองตัวเหมือน, เลขตัวเดียว, เลขคู่ 8 และคู่ 9
การประมูลทะเบียนรถส่วนกลาง หลักประกัน 20,000 บาท ราคาเริ่มต้น 30,000 บาท เพิ่มราคาครั้งละไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ในขณะที่การประมูลทะเบียนส่วนภูมิภาค หลักประกัน 5,000 บาท ราคาเริ่มต้น 10,000 บาท เพิ่มราคาครั้งละไม่น้อยกว่า 2,000 บาท
3. กลุ่มเลขหลักพัน, เลขเรียง และเลขคู่
การประมูลทะเบียนรถส่วนกลาง หลักประกัน 5,000 บาท ราคาเริ่มต้น 5,000 บาท เพิ่มราคาครั้งละไม่น้อยกว่า 2,000 บาท ในขณะที่การประมูลทะเบียนส่วนภูมิภาค หลักประกัน 2,000 บาท ราคาเริ่มต้น 3,000 บาท เพิ่มราคาครั้งละไม่น้อยกว่า 1,000 บาท
ประมูลทะเบียนรถได้แล้วต้องทำอย่างไรต่อ?
กรณีแพ้การประมูลหรือประมูลทะเบียนรถไม่ได้ตามต้องการ สามารถขอรับเงินค่าหลักประกันคืนได้ โดยหากชำระค่าหลักประกันเป็นเงินสด สามารถรับเงินคืนแบบเงินสดได้ที่สำนักงานทันที แต่หากจ่ายค่าหลักประกันด้วยวิธีการโอนเงินหลักประกันเข้าบัญชีหน่วยงาน ทางเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งจะโอนเงินคืนให้ภายใน 7 วันทำการ
กรณีประมูลทะเบียนรถได้ตามต้องการ แต่หลักประกันสูงกว่าราคาหมายเลขทะเบียนที่ประมูลได้กรมการขนส่งทางบกจะคืนหลักประกันส่วนที่เหลือให้ผู้ชนะการประมูล แต่กรณีหลักประกันต่ำกว่าราคาที่ประมูลได้ แต่สูงกว่าร้อยละ 10 ของราคาหมายเลขทะเบียนที่ประมูลได้ ให้ผู้ชนะการประมูลชำระราคาหมายเลขทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของราคาหมายเลขทะเบียนภายใน 7 วัน นับแต่ประมูลหมายเลขทะเบียน และให้ผู้ชนะการประมูลชำระราคาหมายเลขทะเบียนส่วนที่เหลือจากให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันประมูลหมายเลขทะเบียน
เมื่อชำระค่าประมูลทะเบียนรถครบถ้วนแล้ว ผู้ชนะประมูลจะต้องนำรถมาแจ้งจดทะเบียนด้วยหมายเลขที่ประมูลได้ ภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันที่ชนะการประมูล หรือโอนหมายเลขทะเบียนรถที่ชนะประมูลพร้อมประกันรถยนต์ให้กับผู้อื่น หรือรถคันอื่นได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใด
เคล็ดลับเลือกประกันรถยนต์สำหรับรถทะเบียนพิเศษ
- ตรวจสอบประเภททะเบียน : ทะเบียนพิเศษ เช่น ทะเบียนกราฟิกหรือเลขสวย มักมีมูลค่าสูง ควรเลือกประกันรถยนต์ที่ครอบคลุมความเสียหายต่อทะเบียนด้วย
- ประกันความคุ้มครองพิเศษ : เลือกประกันชั้น 1 หรือประกันที่มีเงื่อนไขคุ้มครองอุปกรณ์ตกแต่งเพิ่มเติม รวมถึงทะเบียนสวย
- เลือกบริษัทที่มีชื่อเสียง : เลือกบริษัทที่มีประสบการณ์และบริการเคลมที่รวดเร็ว เพราะทะเบียนพิเศษอาจมีข้อจำกัดในการซ่อมหรือเคลม
- ตรวจสอบวงเงินคุ้มครอง : อ่านรายละเอียดวงเงินคุ้มครอง ทั้งในกรณีซ่อมแซม ชดใช้ทะเบียน หรือกรณีถูกขโมย
- เพิ่มบริการเสริม : พิจารณาเลือกบริการเสริม เช่น รถใช้ระหว่างซ่อม หรือบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน
- เปรียบเทียบเบี้ยประกัน : ใช้แพลตฟอร์มเปรียบเทียบเบี้ยประกันหลายเจ้า เพื่อให้ได้ราคาที่คุ้มค่าและครอบคลุมที่สุด
- ศึกษาข้อกำหนดเพิ่มเติม : ตรวจสอบข้อยกเว้น เช่น กรณีเสียหายต่อทะเบียนสวย หากไม่ครอบคลุม ให้สอบถามและปรับแผนประกันให้เหมาะสม
- ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ : ปรึกษาตัวแทนประกันหรือผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับทะเบียนพิเศษโดยเฉพาะ เพื่อเลือกแผนที่ตรงความต้องการ
บทความอื่นๆ เกี่ยวกับการประมูลทะเบียนรถ