เปลี่ยนทะเบียนรถใหม่ สลับป้ายทะเบียนรถเก่า ย้ายทะเบียนรถข้ามจังหวัด ต่างกันอย่างไร?
เมื่อพูดถึงเรื่อง “เปลี่ยนเลขทะเบียนรถ” หลายคนอาจยังไม่รู้ว่านอกจากคำถามเช่น เปลี่ยนทะเบียนรถได้ไหม? หรือสลับทะเบียนรถอย่างไร? ยังมีคำถามที่เกี่ยวข้องอีกมากมายตามเงื่อนไขความต้องการในการสับเปลี่ยนเลขทะเบียนรถแต่ละแบบ ไม่ว่าจะเปลี่ยนทะเบียนรถผ่อนอยู่ ย้ายทะเบียนรถต่างจังหวัด สลับทะเบียนรถมือสอง หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนเลขทะเบียนมงคล แรบบิท แคร์ รวบรวมตัวอย่างการย้ายทะเบียนรถในแบบต่างๆ พร้อมวิธีแจ้งย้ายรถปลายทาง และต้นทางง่ายๆ ที่ใช้ได้ทั้งทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์และทะเบียนรถยนต์ป้ายขาวมาฝากกัน
1. เปลี่ยนทะเบียนรถกรณีไหนได้บ้าง?
1.1 เปลี่ยนทะเบียนรถติดไฟแนนซ์
กรณีต้องการเปลี่ยนเลขทะเบียนรถติดไฟแนนซ์ หรือเปลี่ยนทะเบียนรถยังผ่อนไม่หมด สามารถทำได้โดยแจ้งขอยืมเล่มทะเบียนประจำรถจากไฟแนนซ์ และขอใบมอบอำนาจเพื่อใช้สำหรับแจ้งขอสับเปลี่ยนเลขทะเบียน ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายในการมัดจำขอยืมเล่มทะเบียนอยู่ที่ 2,000-5,000 บาทตามเงื่อนไขของไฟแนนซ์แต่ละเจ้า รวมถึงรถคันดังกล่าวต้องไม่มียอดค้างชำระ จากนั้นไปแจ้งขอเปลี่ยนทะเบียนรถผ่อนอยู่ได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งในพื้นที่ โดยหากเป็นทะเบียนกราฟฟิค (ป้ายประมูล) จะต้องดำเนินการที่สำนักงานขนส่ง (จตุจักร) เพียงที่เดียวเท่านั้น หลังจากนั้นรอรับป้ายทะเบียนใหม่พร้อมส่งคืนป้ายทะเบียนเก่าภายใน 7-14 วันทำการ
1.2 เปลี่ยนทะเบียนรถถูกโฉลก
หากต้องการเปลี่ยนเลขทะเบียนรถเสริมบารมี หรือเปลี่ยนเลขทะเบียนมงคล สามารถทำได้ด้วยการจองเลขทะเบียนรถออนไลน์ (https://reserve.dlt.go.th/reserve) หรือประมูลทะเบียนรถ (https://www.tabienrod.com) ได้ที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก จากนั้นนำหลักฐานการจองเลขทะเบียนรถผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือใบเสร็จรับเงินค่าประมูลเลขทะเบียนมายื่นเรื่องขอเปลี่ยนทะเบียนรถโดยการจดทะเบียนใหม่ หรือขอสลับป้ายทะเบียนประมูลกับเลขทะเบียนระหว่างรถคันอื่นๆ ในครอบครอง
1.3 เปลี่ยนทะเบียนรถใหม่เลขเดิม/จังหวัดเดิม
กรณีที่ต้องการใช้เลขทะเบียนรถเดิม หรือป้ายทะเบียนจังหวัดเดิมจากกรณีแจ้งย้ายโอนทะเบียนรถข้ามจังหวัดที่ทำให้ต้องเปลี่ยนทะเบียนใหม่ทั้งในส่วนของเลขทะเบียนรถและจังหวัดนั้น สามารถทำได้โดยการยื่นหนังสือขอใช้รถในพื้นที่ ณ สำนักงานขนส่งที่รถคันนั้นจดทะเบียนเพื่อขอใช้เลขทะเบียนเดิม หรือทะเบียนจังหวัดเดิมได้ โดยไม่ต้องใช้บุคคลที่มีทะเบียนบ้านในพื้นที่ที่ต้องการใช้ทะเบียนรถเซนต์รับรองอนุญาตให้จอดรถ และจะทำได้ต่อเมื่อโอนกรรมสิทธิ์รถเป็นชื่อของผู้ยื่นขอเปลี่ยนทะเบียนรถแล้วเท่านั้น
1.4 เปลี่ยนทะเบียนรถใหม่ป้ายแดง
กรณีต้องการเปลี่ยนป้ายทะเบียนรถ หรือสลับทะเบียนรถกับรถคันอื่นๆ หลังจากที่เพิ่งซื้อรถใหม่และให้ศูนย์จดทะเบียนไปให้แล้วนั้น จะต้องใช้เลขทะเบียนรถที่ได้รับมาให้ครบ 1 ก่อนจึงจะสามารถแจ้งขอเปลี่ยนทะเบียนรถหรือสลับเปลี่ยนทะเบียนรถกับรถคันอื่นได้ เนื่องจากกฏของสำนักงานขนส่งทางบกตามประกาศกรมการขนส่งทางบกในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 27 มีนาคม 2562 ระบุว่าห้ามทำการสลับป้ายทะเบียนนับจากวันสลับทะเบียนครั้งล่าสุดไม่ตำกว่า 1 ปี ซึ่งดูวันที่ทำเรื่องงานทะเบียนครั้งล่าสุด ได้จากเล่มทะเบียนรถ หน้า 18
อย่างไรก็ตาม สามารถแจ้งเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่ได้โดยไม่ต้องรอครบ 1 ปี ด้วยการจองเลขทะเบียนรถใหม่ในจากเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก และนำมาแจ้งจดทะเบียนใหม่แทน โอนเปลี่ยนเจ้าของกรรมสิทธิ์ (ผู้รับโอนแจ้งขอสลับ) หรือ เปลี่ยนใส่เลขประมูล ทั้งนี้ เลขทะเบียนที่ใช้จดทะเบียนครั้งแรกจะต้องไม่ใช่เลขทะเบียรถจองผ่านอินเตอร์เน็ต หากเป็นเลขทะเบียนออนไลน์ที่จองผ่านอินเตอร์เน็ตจะติดกฏห้ามสลับเลขทะเบียน 1 ปี ทันที รวมถึงหากรถของผู้ยื่นคำขอเปลี่ยนทะเบียนรถ หรือรถอีกคันเคยทำเรื่องสลับทะเบียนมาไม่เกิน 1 ปี ตามข้อมูลที่แสดงในคู่มือจดทะเบียนรถหน้า 18 จะไม่สามารถทำเรื่องสลับกันทะเบียนได้เช่นกัน
1.5 เปลี่ยนทะเบียนรถข้ามจังหวัด
การเปลี่ยนทะเบียนรถย้ายจังหวัด หรือย้ายจังหวัดทะเบียนรถ คือ การแจ้งขอเปลี่ยนภูมิลำเนาหรือจังหวัดเดิมที่รถจดทะเบียนหรือแจ้งขอใช้งานไว้ โดยอาจเปลี่ยนจากจังหวัดที่เคยแจ้งจดทะเบียนไว้ เป็นอีกจังหวัดหนึ่งตามทะเบียนบ้านใหม่ของเจ้าของรถ หรือตามทะเบียนบ้านของผู้อื่นที่เจ้าของรถขออนุญาตใช้ โดยสามารถทำได้ด้วยการแจ้งย้ายทะเบียนรถต้นทางหรือปลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งย้ายรถออก หรือแจ้งย้ายรถเข้า
หากต้องการเปลี่ยนทะเบียนรถตามจังหวัดที่อยู่สำหรับรถซื้อสด หรือรถมือสองที่ผ่อนหมดแล้ว สามารถติดต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดปลายทางได้โดยไม่ต้องแจ้งย้ายออกจากจังหวัดตามป้ายทะเบียนเดิม โดยหากโอนรถที่จังหวัดไหน จะได้ทะเบียนรถ ณ จังหวัดนั้นๆ หรือหากโอนภายในจังหวัดเดิม จะต้องทำเรื่องโอน ณ สำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียนอยู่ โดยดูข้อมูลการจดทะเบียนได้จากหน้า 18 ของคู่มือจดทะเบียนของรถ
หากไม่มีข้อมูลสำนักงานขนส่งที่จดทะเบียนไว้ ให้ดูตามที่อยู่ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในขณะที่หากต้องโอนย้ายทะเบียนรถข้ามจังหวัดซึ่งต่างจากจังหวัดในทะเบียนเดิม จะต้องแจ้งย้ายก่อนถึงจะแจ้งย้ายเข้าได้ และต้องทำที่สำนักงานขนส่งประจำจังหวัด/พื้นที่เท่านั้น มีตัวอย่างการโอนทะเบียนระหว่างป้ายทะเบียนต่างจังหวัดและป้ายทะเบียนกรุงเทพฯ ดังนี้
1) เปลี่ยนทะเบียนรถต่างจังหวัดเป็นทะเบียนรถกรุงเทพ
กรณีรถยนต์ใช้ป้ายทะเบียนรถต่างจังหวัดอยู่ แต่อยากเปลี่ยนเป็นทะเบียนกรุงเทพฯ สามารถแจ้งย้ายรถได้ 2 วิธีตามความสะดวกความสะดวก ดังนี้
แจ้งย้ายรถออกปลายทาง (กรุงเทพฯ) และย้ายรถเข้าปลายทาง (กรุงเทพฯ)
การแจ้งย้ายทะเบียนรถทั้งการแจ้งรถออกและแจ้งรถเข้าที่กรุงเทพฯ เหมาะกับผู้ที่ย้ายมาอยู่ ณ กรุงเทพฯ แล้ว และไม่สะดวกกลับไปทำเรื่องเปลี่ยนทะเบียนรถต่างจังหวัดเป็นกรุงเทพ ณ สำนักงานขนส่งพื้นที่ต้นทาง
แจ้งย้ายรถออกต้นทาง (ต่างจังหวัด) และแจ้งย้ายรถเข้าปลายทาง (กรุงเทพฯ)
การย้ายทะเบียนรถจากจังหวัดต้นทางก่อนแจ้งย้ายปลายทางที่กรุงเทพฯ จะรวดเร็วกว่า เนื่องจากการแจ้งย้ายปลายทางที่กรุงเทพฯ (สำนักงานขนส่งจตุจักร) เจ้าหน้าที่จะต้องติดต่อกลับไปยังสำนักขนส่ง ณ จังหวัดต้นทางเพื่อทำเรื่องย้ายรถออก จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการย้ายทะเบียนรถเข้ากรุงเทพได้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน และอาจต้องมาดำเนินการ ณ สำนักงานขนส่ง จตุจักร 2 รอบด้วยกัน คือ รอบการทำเรื่องย้ายออกปลายทาง ซึ่งต้องรอต้นทางอนุมัติประมาณแจ้งย้ายรถปลายทาง 3-4 วัน และรอบตรวจสภาพรถพร้อมจดทะเบียนใหม่
2) เปลี่ยนทะเบียนรถกรุงเทพเป็นทะเบียนต่างจังหวัด
การย้ายทะเบียนข้ามจังหวัดจากทะเบียนรถกรุงเทพฯ เป็นทะเบียนต่างจังหวัด ทำได้ 2 วิธีเช่นกัน โดยหากเปลี่ยนใจย้ายทะเบียนรถต่างจังหวัดและต้องการยกเลิกแจ้งย้ายรถ สามารถแจ้งยกเลิกแจ้งย้ายรถออกได้ภายใน 15 วันทำการหากเกิด 15 วัน จะมีค่าปรับแจ้งย้ายรถเข้าเกิน 15 วัน อยู่ที่ 200-2,000 บาท ตาม บทกำหนดโทษมาตรา 60
แจ้งย้ายรถออกต้นทาง (กรุงเทพฯ) และแจ้งย้ายรถเข้าปลายทาง (ต่างจังหวัด)
สามารถแจ้งย้ายรถออกต้นทาง ณ สำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียนต้นทางที่กรุงเทพฯ จากนั้นแจ้งย้ายรถเข้า ณ สำนักงานขนส่งในพื่นที่ที่จะใช้งานรถเพื่อทำเรื่องจดทะเบียนใหม่
แจ้งย้ายรถออกปลายทาง (ต่างจังหวัด) และแจ้งย้ายรถเข้าปลายทาง (ต่างจังหวัด)
กรณีรถผ่อนหมดแล้วและต้องการย้ายทะเบียนไปต่างจังหวัด สามารถทำเรื่องขอป้ายทะเบียนใหม่ได้ ณ สำนักงานขนส่งประจำจังหวัดที่จะย้ายหรือย้ายทะเบียนรถปลายทางได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งย้ายรถออกที่กรุงเทพฯ ก่อน แต่ต้องไปดำเนินการ 2 รอบเช่นกัน คือ การแจ้งย้ายออกปลายทาง หลังจากนั้นประมาณอาทิตย์นึงแต่ไม่เกิน 15 วัน กลับไปทำเรื่องแจ้งย้ายเข้า พร้อมนำรถไปตรวจสภาพด้วย
2. เปลี่ยนทะเบียนรถต้องทำอย่างไรบ้าง?
2.1 สถานที่ติดต่อแจ้งย้ายทะเบียนรถ
สามารถยื่นเรื่องขอเปลี่ยนเลขทะเบียนรถ สลับป้ายทะเบียนรถ หรือย้ายทะเบียนรถข้ามจังหวัดได้ที่ส่วนทะเบียนรถยนต์ สำนักงานขนส่งในเขตพื้นที่รับผิดชอบที่รถได้จดทะเบียนไว้ โดยดูข้อมูลได้จากสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ ติดต่อเปลี่ยนทะเบียนรถได้ที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (จตุจักร) กรมการขนส่งทางบอก ในขณะที่พื้นที่ต่างจังหวัด สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานขนส่งในพื้นที่ทั่วประเทศ หากไม่ทราบว่ารถของตนอยู่ในเขตความรับผิดชอบของสำนักงานขนส่งพื้นที่ใด สามารถขอตรวจสอบข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมการขนส่งทางบก โทร.1584
2.2 ราคาค่าธรรมเนียมเปลี่ยนเลขทะเบียนรถ
กรณีต้องการเปลี่ยนทะเบียนรถ สลับป้ายทะเบียน แจ้งย้ายรถเข้าหรือออก หรือโอนทะเบียนรถต่างจังหวัดเป็นกรุงเทพจะมีค่าใช้จ่ายในการแจ้งขอเปลี่ยนเลขทะเบียนรถที่ใกล้เคียงกัน โดยราคาค่าธรรมเนียมด้านทะเบียนรถจะแตกต่างตามรายการเปลี่ยนแปลงทะเบียนรถที่ต้องการทำ รวมถึงประเภทป้ายทะเบียนที่ต้องการใช้ มีรายการค่าใช้จ่ายย้ายทะเบียนรถราคาดังดังต่อไปนี้
- ค่าคำขอ ฉบับละ 5 บาท
- ค่าใบคู่มือจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
- ค่าแผ่นป้ายทะเบียน แบ่งเป็นป้ายทะเบียนปกติ แผ่นละ 100 บาท และป้ายกราฟฟิค (ป้ายประมูล) แผ่นละ 600 บาท
- ค่าขอค้นทะเบียนรถหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนรถและใบคู่มือจดทะเบียน แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์ ครั้งละ 10 บาท และรถอื่นๆ นอกเหนือจากรถจักรยานยนต์ ครั้งละ 50 บาท
- ค่าโอนทะเบียนรถ ครั้งละ 100 บาท
- ค่าย้ายรถ แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์ ครั้งละ 50 บาท และรถอื่นๆ นอกเหนือจากรถจักรยานยนต์ ครั้งละ 20 บาท
- ค่าตรวจสภาพรถ แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์ ครั้งละ 10 บาท และรถอื่นๆ นอกเหนือจากรถจักรยานยนต์ ครั้งละ 50 บาท
- ค่าขอใช้หรือเปลี่ยนหมายเลขทะเบียนรถ แบ่งเป็นทะเบียนรถปกติ ครั้งละ 500 บาท และทะเบียนรถจากการประมูล 1,500 บาท
- ค่ารับรองหลักฐานการส่งบัญชีรถและเครื่องยนต์ไปต่างจังหวัด ฉบับละ 5 บาท
- ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ครั้งละ 20 บาท
- ค่ารับรองสำเนาเอกสาร แผ่นละ 20 บาท
2.3 เอกสารที่ต้องใช้ในการขอเปลี่ยนทะเบียนรถ
การเปลี่ยนเลขทะเบียนรถใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายทะเบียนรถข้ามจังหวัด หรือย้ายทะเบียนรถคันเก่าไปคันใหม่ด้วยเลขทะเบียนประมูล หรือเลขทะเบียนรถจองออนไลน์ จะใช้เอกสารและหลักฐานสำหรับใช้ยื่นต่อสำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียนไว้คล้ายกันดังนี้
1) เอกสารแจ้งเปลี่ยนทะเบียนรถยนต์ด้วยการแจ้งย้ายรถเข้า และแจ้งย้ายรถออกทั้งต้นทางและปลายทาง หรือด้วยเลขทะเบียนที่จองออนไลน์
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถ (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
- บัตรประจำประชาชน (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
- หนังสือยินยอม กรณีไม่ใช่เจ้าของรถคนเดียวกัน
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลไม่เกิน 1 ปี กรณีเป็นนิติบุคคล
- สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการที่มีอำนาจลงนาม กรณีเป็นนิติบุคคล
- หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท กรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกไปดำเนินการด้วยตัวเอง
- หนังสือแจ้งจากนายทะเบียนนขนส่งแจ้งให้ไปดำเนินการแจ้งย้ายรถเข้า กรณีแจ้งย้ายรถออกที่จังหวัดปลายทาง
- เอกสารหลักฐานการให้แจ้งรถออก กรณีแจ้งย้ายรถเข้า
- หมายเลขทะเบียนรถที่จองหรือผลการจองเลข กรณีขอเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่
2) เอกสารสลับทะเบียนรถระหว่างรถยนต์ 2 คัน หรือเปลี่ยนเลขทะเบียนรถด้วยทะเบียนประมูล
- ใบจองหรือใบเสร็จรับเงินลงทะเบียนตัวจริง อายุไม่เกิน 60 วัน กรณีใช้เลขทะเบียนประมูล
- หนังสือโอนสิทธิเลขประมูล กรณีผู้จองเลขไม่ใช่ผู้เช่าซื้อในกรณีสลับเลขทะเบียนใหม่
- เอกสารสงวนเลขทะเบียน
- เล่มทะเบียนประจำรถของบุคคลภายนอก กรณีสลับเลขทะเบียนระหว่างผู้เช่าซื้อกับบุคคลภายนอก
- หนังสือยินยอมสลับทะเบียน ทั้ง 2 คัน กรณีสลับเลขทะเบียนระหว่างรถ
- สำเนาป้ายภาษีประจำปี ปีปัจจุบัน (ไม่หมดอายุ)
3. เปลี่ยนทะเบียนรถต้องแจ้งใครบ้าง?
3.1 บริษัทประกันภัย
เมื่อทำเรื่องเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่ที่กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งในพื้นที่ที่รถจดทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้ว ควรต้องแจ้งบริษัทประกันรถยนต์ที่ทำประกันรถไว้ทั้งประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ เช่น ประกันรถชั้น 1, หรือประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนทะเบียนรถระหว่างประกัน หรือการเปลี่ยนทะเบียนภายในบริษัทประกันเดียวกัน
เมื่อนำส่งเอกสารสำเนาเล่มทะเบียนรถที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเลขทะเบียนรถเรียบร้อยแล้วให้กับบริษัทฯ บริษัทประกันภัยจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลทะเบียนรถให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน พร้อมออกเอกสารสลักหลังกรมธรรม์เพื่อความสะดวกเมื่อต้องแจ้งเคลมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด ซึ่งจะสามารถใช้คู่กับกรมธรรม์เดิมได้จนกว่าจะครบอายุความคุ้มครองตามที่ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์ ในขณะที่จะได้รับป้ายภาษีใหม่พร่้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนใหม่นั่นเอง
3.2 Easy Pass และ M-Flow
สำหรับการแจ้งเปลี่ยนทะเบียนรถ Easy Pass สามารถยื่นแบบฟอร์มใบคำขอเปลี่ยนข้อมูล (ใบคำร้องล้างข้อมูล) เพื่อขอเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่ พร้อมแนบสำเนาทะเบียนรถใหม่ได้ที่ทุกด่านของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือศูนย์ One-Stop Service หรือสอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (Exat Call Center) โทร. 1543 (ตลอด 24 ชั่วโมง) หรือศูนย์บริการลูกค้าบัตรอัตโนมัติ (Easy Pass Fast Service) โทร. 0-2558-9710, 0-2558-9711 (09.30-15.30 น.) ในขณะที่การเปลี่ยนทะเบียนรถ M-Flow สามารถแจ้งขอเปลี่ยนทะเบียนรถ สำหรับเข้าใช้ระบบ M-Flow หรือยกเลิกทะเบียนรถที่ผูกกับ M-Flow ได้ที่ Call Center สายด่วนกรมทางหลวง (โครงการ M-Flow) โทร. 1586 กด 1 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
เปลี่ยนทะเบียนรถ ประกันแต่ละชั้นยังคุ้มครองหรือไม่
การเปลี่ยนทะเบียนรถไม่ส่งผลต่อความคุ้มครองของประกันรถยนต์ หากทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องและแจ้งบริษัทประกันให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งหมายความว่าประกันรถยนต์ของคุณยังคงมีผลคุ้มครองอยู่ อย่างไรก็ตาม การแจ้งให้บริษัทประกันทราบเป็นสิ่งสำคัญ เพราะข้อมูลทะเบียนรถเป็นหนึ่งในข้อมูลที่ประกันต้องใช้ในการระบุความคุ้มครอง ต่อไปนี้คือรายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนทะเบียนรถและผลต่อประกันในแต่ละประเภท
1. ประกันชั้น 1
- ความคุ้มครอง: ประกันชั้น 1 ยังคงคุ้มครองเหมือนเดิม หากคุณแจ้งบริษัทประกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทะเบียนรถ การคุ้มครองครอบคลุมทั้งความเสียหายต่อรถของคุณและคู่กรณี รวมถึงกรณีรถหาย ไฟไหม้ และภัยธรรมชาติ
- การแจ้งข้อมูล: สิ่งสำคัญคือคุณต้องแจ้งการเปลี่ยนทะเบียนรถให้บริษัทประกันทราบอย่างถูกต้อง เพื่อให้กรมธรรม์ปรับข้อมูลให้สอดคล้องกับทะเบียนรถใหม่
2. ประกันชั้น 2+
- ความคุ้มครอง: การเปลี่ยนทะเบียนรถไม่กระทบต่อความคุ้มครองของประกันชั้น 2+ เช่นเดียวกับชั้น 1 แต่ต้องแจ้งบริษัทประกันให้ทราบเช่นกัน ความคุ้มครองครอบคลุมการชนกันกับยานพาหนะอื่น รวมถึงกรณีรถหายและไฟไหม้
- การแจ้งข้อมูล: ต้องแจ้งข้อมูลทะเบียนรถใหม่ให้บริษัทประกัน เพื่ออัพเดตกรมธรรม์อย่างถูกต้อง
- ความคุ้มครอง: ประกันชั้น 3+ ยังคงคุ้มครองตามปกติในกรณีที่มีการเปลี่ยนทะเบียนรถ โดยครอบคลุมเฉพาะการชนกันกับยานพาหนะอื่น แต่ไม่รวมความเสียหายที่ไม่มีคู่กรณี หรือความเสียหายจากภัยพิบัติ
- การแจ้งข้อมูล: เช่นเดียวกับประกันชั้นอื่น ๆ การแจ้งให้บริษัทประกันทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนทะเบียนรถเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ข้อมูลสอดคล้องกับกรมธรรม์
4. ประกันรถยนต์ชั้น 2 และประกันรถยนต์ชั้น 3
- ความคุ้มครอง: ประกันชั้น 2 และประกันชั้น 3 ยังคงคุ้มครองตามปกติหากมีการเปลี่ยนทะเบียนรถ โดยคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคู่กรณี และไม่ครอบคลุมความเสียหายต่อรถของคุณเอง
- การแจ้งข้อมูล: การแจ้งบริษัทประกันเกี่ยวกับทะเบียนรถใหม่เป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้กรมธรรม์มีความถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมาย
การเปลี่ยนทะเบียนรถไม่ได้ทำให้ประกันรถยนต์สิ้นสุดหรือเปลี่ยนแปลงความคุ้มครองตราบใดที่คุณแจ้งบริษัทประกันให้ทราบและปรับปรุงข้อมูลในกรมธรรม์อย่างถูกต้อง การแจ้งข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลาเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้คุณยังคงได้รับความคุ้มครองตามปกติ
ไม่ว่าจะเปลี่ยนทะเบียนรถแบบไหน จะสลับป้ายทะเบียนรถติดไฟแนนซ์ หรือเปลี่ยนป้ายทะเบียนจังหวัด แรบบิท แคร์ พร้อมช่วยดูแลด้วยประกันรถยนต์ส่วนลดพิเศษสูงสุด 70% เปรียบเทียบประกันออนไลน์ได้ทันทีจากทุกบริษัทประกันชั้นนำ พร้อมรับส่วนลดและสิทธิประโยชน์ที่คุ้มกว่าซื้อตรงกับบริษัทประกันเพิ่มทันที ไม่ว่าจะเป็นบริการแจ้งเหตุฉุกเฉินทางถนนและบริการโทรประสานงานแจ้งเหตุฉุกเฉินกับหน่วนงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านทั้งทางโทรศัพท์และ Line Official Account (@rabbitcare) รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของ แรบบิท แคร์ ได้ฟรีตั้งแต่วันนี้ โทรเลย.1438 หรือ rabbitcare.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- เรื่องต้องรู้! ก่อนเลือกจองทะเบียนรถ (รถยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์) ออนไลน์
- เช็คตารางประมูลเลขทะเบียนรถมงคล พร้อมความหมายตัวอักษรทะเบียนรถ ก-ฮ
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต