Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

🎵 เดือน 10 นี้!! Rabbit Care แจกลำโพง Marshall Emberton 2 และ Rabbit Voucher มูลค่ารวม 13,490 บาท แค่สมัครบัตรฯ UOB ผ่าน Rabbit Care คลิก! 💳

user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Oct 27, 2023

ไขข้อสงสัยว่าแท้ที่จริงแล้ว PE คืออะไรกันแน่ ?

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ยังสงสัยอยู่ว่า PE คืออะไร ? บทความนี้ก็คงจะกลายเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้ความสงสัยของคุณหายไปอย่างแน่นอน เพราะว่าในวันนี้เราจะมากล่าวถึงรายละเอียดของ PE กัน ว่าแท้ที่จริงแล้วมันคืออะไร ? ทำไมผู้คนในวงการตลาดหุ้นมักจะกล่าวถึงคำๆ นี้กันอยู่เป็นประจำ เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปพบกับข้อมูลพร้อมๆ กันเลย

PE คืออะไร?

PE คือ อัตราส่วนทางการเงินที่เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง “ราคาหุ้นต่อหุ้น (Price)” เทียบกับ “กำไรต่อหุ้น (EPS)” หรือหากจะอธิบายให้เห็นภาพชัดๆ ก็คือ PE จะเป็นตัวเปรียบเทียบระหว่าง “ราคาตลาดต่อหุ้น” ต่อ “กำไรสุทธิต่อหุ้น” ที่บริษัทนั้นๆ ทำได้ในรอบระยะเวลา 12 เดือนล่าสุดว่าเป็นกี่เท่าของกันและกัน อีกทั้ง PE มีหน่วยเป็นเท่า ที่จะสามารถบอกได้ว่าถ้าเราซื้อหุ้นที่ราคาเท่านี้ เราจะได้ทุนคืนในอีกกี่ปี(หากบริษัทยังทำกำไรได้เท่าเดิมในทุกๆ ปี) อีกด้วย ทั้งนี้ PE ย่อมาจากคำว่า “Price to Earnings Ratio” หรือที่เรามักจะพบเห็นกันอยู่บ่อยๆ ก็คือ “P/E Ratio” นั่นเอง

PE มีความสำคัญอย่างไร?

เมื่อเราทราบว่า PE คืออะไร ไปแล้ว หลายคนคงสงสัยว่ามันมีความสำคัญอย่างไร ? เราก็ได้สรุปออกมาเป็นข้อๆ ดังนี้

  • 1. สามารถใช้ในการประเมินจุดคุ้มทุนให้กับนักลงทุนได้
  • 2. ช่วยให้นักลงทุนมีข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนในหุ้นได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
  • 3. สามารถประเมินความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของบริษัทที่สนใจลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับราคาหุ้นที่ซื้อ
  • 4. ใช้หามูลค่าที่เหมาะสมของราคาหุ้นได้
  • 5. ใช้ค่า PE ในการเปรียบเทียบแต่ละธุรกิจได้
  • 6. ใช้บอกความถูก/แพงของหุ้นได้

หลักการคำนวณแบบง่ายๆ

สำหรับนักลงทุนที่ต้องการคำนวณคุณสามารถคำนวณได้จาก…

PE = ราคาตลาดต่อหุ้น/ กำไรสุทธิต่อหุ้นประจำงวด 12 เดือนของหุ้น

การแบ่งหมวดหมู่หุ้นตามลักษณะ PE

สำหรับการแบ่งหมวดหมู่หุ้นตามลักษณะ PE โดยทั่วไปแล้วจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งประกอบไปด้วย…

1. หุ้นมูลค่า (Value Stocks)

หุ้นมูลค่าหรือ Value Stocks ในวงการหุ้นมักจะเรียกว่า “หุ้นดี ราคาถูก” โดยมีลักษณะเด่นก็คือ อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น(ค่า Price to Earnings Ratio) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือกลุ่มธุรกิจเดียวกัน และหุ้นมูลค่าหรือ Value Stocks ยังจะมีผลการดำเนินงานต่ำกว่าหุ้นในกลุ่มเดียวกันหรือต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้อีกด้วย

2. หุ้นเติบโต (Growth Stocks)

หุ้นเติบโต หรือ Growth Stocks ในวงการหุ้นมักจะเรียกว่า “หุ้นดี ราคาแพง” โดยมีลักษณะเด่นก็คือ มีอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น(ค่า Price to Earnings Ratio) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือของกลุ่มธุรกิจเดียวกัน เนื่องจากมียอดขายและความสามารถในการทำกำไรที่ดี ทำให้นักลงทุนยินดีที่จะควักเงินซื้อหุ้นตัวนี้ หากจะให้สรุปเลยก็คือ หุ้นมูลค่า (Value Stock) ส่วนใหญ่มักจะมีค่า Price to Earnings Ratio ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือธุรกิจเดียวกัน ส่วนหุ้นเติบโต (Growth Stock) จะมีค่า Price to Earnings Ratio สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือของกลุ่ม PE เดียวกัน เนื่องจากมียอดขายและความสามารถในการทำกำไรที่ดีกว่า ซึ่งนั่นก็ทำให้นักลงทุนหลายๆ คน เทคะแนนในการซื้อหุ้นเติบโต (Growth Stock) มากกว่า หุ้นมูลค่า (Value Stock) นั่นเอง

สิ่งที่ต้องระวังหากจะใช้ค่า PE ในการตัดสินใจซื้อหุ้น

สิ่งที่เราอยากจะให้คุณจำให้ขึ้นใจเลยก็คือ การซื้อหุ้นตัวใดสักตัวหนึ่ง คุณไม่ควรที่จะนำค่า PE ไปเป็นหลักในการตัดสินใจ เพราะ ค่า PE ที่ต่ำไม่ได้หมายความว่าหุ้นนั้นราคาถูกเสมอไปและค่า PE ที่สูงก็ไม่ได้แปลกว่าจะสร้างกำไรให้กับคุณ ดังนั้นคุณจึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆ ประกอบร่วมด้วย

เรียกได้ว่าข้อมูลทั้งหมดทั้งมวลที่เราได้กล่าวไปเมื่อข้างต้น คงพอจะทำให้คุณรู้แล้วใช่ไหมล่ะว่า “PE” คืออะไร ? และมีความสำคัญอย่างไรต่อนักลงทุน ทั้งนี้เมื่อคุณอ่านค่า PE เป็นแล้ว ก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกๆ ครั้ง คุณก็อย่าลืมนำค่า Price to Earnings Ratio ที่ได้รับไปปรับใช้ในการประกอบการตัดสินใจ เพื่อที่ว่าการลงทุนของคุณจะได้เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ ความแม่นยำและผลกำไรตามที่คุณตั้งใจไว้นั่นเอง

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

UOB Xpress สินเชื่อส่วนบุคคลUOB Xpress

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ดอกเบี้ยต่ำ 9.99% ต่อปี ตลอดสัญญา
  • วงเงิน 2,000,000 บาท
  • รวมหนี้ บัตรเครดิต ผ่อน 60 เดือน
  • รายได้ 25,000 บาท อายุงาน 4 เดือนขึ้นไป
  • เจ้าของกิจการ 25,000 บาท อายุ 3 ปี
  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ผ่อนถึง 60 ปี
KKP Personal LoanKKP Personal Loan

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • ไม่ต้องมีคนค้ำ
  • รับเงินทันที หลังอนุมัติ 1 วัน
  • ผ่อนชำระ 12-72 เดือน
  • ผ่อนแสนละ 80 บาทต่อวัน
  • ต้องผ่านทดลองงานและมีอายุงาน 4 เดือน
  • รายได้ประจำ 30,000 บาท/เดือน
สินเชื่อส่วนบุคคลพรอมิสพรอมิส

สินเชื่อส่วนบุคคล

  • รายได้ 30,000 บาทขึ้นไป อนุมัติสูงสุด 5 เท่า
  • อนุมัติสูงสุด 5 เท่าของรายได้ ไม่เกิน 300,000 บาท
  • ดอกเบี้ย 15-25%, ค่าธรรมเนียม 0-10% ต่อปี
  • อนุมัติภายใน 1 ชั่วโมง เอกสารครบ
  • รายได้ 8,000 บาท ก็สมัครได้
  • ชำระขั้นต่ำ 3% ของยอดคงเหลือ หรือ 300 บาท
สินเชื่อเงินสด MoneyThunderMoneyThunder

สินเชื่อเงินสด

  • วงเงินสูงสุด 1 ล้าน
  • อนุมัติไวสุดใน 10 นาที
  • ดอกเบี้ยเบา 2.08% ต่อเดือน
  • รับวงเงินหมุนเวียน ผ่อนเริ่มต้น 200 บาท
  • รับเงินก้อนเดียว แบ่งจ่ายสูงสุด 60 เดือน
  • ไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือผู้ค้ำ

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา