Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบบัตรเครดิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

Deflation _DESKTOP.png
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Mar 29, 2023

ภาวะเงินฝืดจะทำให้เงินในกระเป๋าเราฝืดไปด้วยหรือเปล่านะ?

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่าเงินเฟ้อกันค่อนข้างเยอะ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศไทยจะอยู่ในสภาวะเงินเฟ้อเป็นส่วนใหญ่ แต่ภาวะเงินฝืด คือสิ่งที่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกันกับทุกประเทศทั่วโลกและประชาชนทุกคนควรจะมีความรู้เบื้องต้นไว้ว่า เงินฝืดหมายถึงเศรษฐกิจแบบไหน? สาเหตุ เงินฝืด คืออะไร? เงินฝืด ผลกระทบเป็นอย่างไร? เงินฝืด แก้ไขอย่างไร? รวมถึงจะรับมือกับเงินฝืดได้อย่างไรไรบ้าง ทั้งเรื่องการลงทุนและการเก็บออมให้เหมาะสมและชาญฉลาด

เงินฝืด คือ อะไร? รู้ได้อย่างไรว่าภาวะเงินฝืดกำลังมา?

ภาวะเงินฝืด (Deflation)

คือ ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจมหภาคที่เกิดขึ้นด้วยหลายสาเหตุ เงินฝืดจะเกิดเมื่อระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนทำให้อำนาจซื้อของเงินเพิ่มขึ้น หรือหมหมายความว่าเงินฝืด คือ ภาวะที่จำนวนเท่าเดิมจะสามารถซื้อสินค้าและบริการได้มากขึ้น เช่น ปกติถ้าเงิน 40 บาทสามารถซื้อข้าวผัดได้ 1 จาน เงินจำนวนนั้นจะสามารถซื้อข้าวผัด 1 จานและซื้อขนมหรือน้ำปั่นเพิ่มได้อีกในสภาวะเงินฝืด หมายถึงแม้ว่าอาจดูเหมือนเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้บริโภค แต่สิ่งนี้จะส่งผลร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะเมื่อเงินฝืด ขายของได้เงินน้อยลงผู้ผลิตก็จะลดกำลังการผลิตรวมถึงลดการจ้างงาน และในระยะยาวจะส่งผลให้การเติบโตของ GDP ในประเทศจะติดลบอย่างต่อเนื่องจนเกิด ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่กระทบต่อเงินในกระเป๋าและความมั่นคงทางการเงินของประชาชนในที่สุด โดยวิธีสังเกตว่าประเทศกำลังเข้าสู่สภาวะเงินฝืดหรือไม่จะต้องเข้าเงื่อนไข 4 อย่างตามนิยามของธนาคารกลางยุโรป (EBC) คือ อัตราเงินเฟ้อติดลบเป็นเวลานานพอสมควร (Prolonged Period) , อัตราเงินเฟ้อติดลบกระจายในหลายหมวดสินค้าและบริการ, การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาว (5 ปี) ต่ำกว่าเป้าหมาย และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบทำให้อัตราว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้น

ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)

แตกต่างจากเงินฝืด คือ ปรากฏการณ์ที่ราคาสินค้าและบริการทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในขณะที่รายได้เท่าเดิม เมื่อข้าวของแพงขึ้น เงินก็จะถูกลดค่าลงเรื่อย ๆ หรือก็คือเงินจำนวนเท่าเดิมจะสามารถซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง จากที่เงิน 40 บาทเคยซื้อข้าวผัดได้ 1 จาน เมื่อเงินเฟ้อก็อาจจะต้องใช้เงินถึง 50 - 60 บาทเลยทีเดียวจึงจะได้ข้าวผัดจานนั้นมารับประทาน ในขณะที่เงินฝืด คือภาวะที่ตรงข้ามกัน

ภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด

คือ การเคลื่อนไหวขึ้นลงของเศรษฐกิจตามวัฏจักร ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และการมีอัตราเงินเฟ้อหรือเงินฝืด หมายถึงการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเกิดในระดับที่เหมาะสมและไม่ผันผวน แต่ถ้าหากเงินฝืดและเงินเฟ้อมีความรุนแรงและยืดเยื้อก็จะส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและประชาชนอย่างพวกเราแน่นอน

สาเหตุ เงินฝืด เกิดจากอะไรได้บ้าง?

1. เงินฝืดเกิดจากสถานการณ์โลก

เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดเงินฝืดได้บ่อยครั้งที่สุด อาทิ สถานการณ์สงครามระหว่างประเทศ หรือ สถานการณ์โรคระบาด เช่น COVID 19 ที่ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงักลงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในช่วงปี ค.ศ. 2019 - 2021 เป็นเงินฝืด ผลกระทบแบบโดมิโน่ที่ส่งผลให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว และหวั่นวิตกเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของตนเองจนเลือกที่จะไม่นำเงินออกมาจับจ่ายใช้สอย ทำให้เงินฝืด ผลกระทบ คือ ทำให้สินค้าและบริการขายได้น้อยลงจนผู้ผลิตหลายฝ่ายเมื่อเจอเงินฝืด แก้ไขเบื้องต้นโดยมีมาตรการลดแลกแจกแถมเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาซื้อกันทั้งนั้น อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยของประเทศจึงติดลบอย่างต่อเนื่องจนเงินฝืด และเมื่อราคาสินค้าสำหรับอุปโภคและบริโภคปรับตัวลดลงจนเงินฝืด หมายถึงขายในจำนวนเท่าเดิมแต่ได้กำไรน้อยลงจนเริ่มไม่คุ้มทุน ก็จะทำให้ผู้ผลิตก็จะพิจารณาลดจำนวนการผลิตลง รวมถึงลดการจ้างงาน เพื่อประหยัดงบประมาณป้องกันการขาดทุน

2. เศรษฐกิจผันผวนทำให้ความต้องการอุปโภคบริโภคลดลง

สาเหตุ เงินฝืดด้วยเหตุการณ์นี้มักเกิดขึ้นจาก ภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน (Stagnation) ที่สถานการณ์เงินเฟ้อและเงินฝืดเกิดขึ้นพร้อมกันได้ จากการที่เงินเฟ้อรุนแรงจนคนมีกำลังซื้อต่ำลงและมีเงินไม่เพียงพอสำหรับการจับจ่ายใช้สอย และเงินฝืดที่ผู้ผลิตต้องปรับลดราคาลงเรื่อย ๆ เหลือแค่ให้พอขายได้ ด้วยเหตุนี้กำลังการผลิตและการลงทุนในประเทศก็จะลดลงทำให้การจ้างงานต่ำลง เมื่อคนก็ยิ่งมีกำลังซื้อต่ำลงอีกก็จะทำให้ระดับราคาลดลงเรื่อย ๆ จนเกิด วัฏจักรเงินฝืดขั้นรุนแรง (Deflationary Spiral) ที่ต่อให้ลดราคาอีกเท่าไรคนก็ยังไม่มีปัญญาซื้ออยู่ดีเพราะการลงทุนและการจ้างงานในประเทศลดลงอย่างรุนแรง

3. สถานการณ์ในประเทศที่ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น

เช่น สงครามกลางเมือง, การเมืองภายในประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพ หรือไม่สามารถควบคุมโรคระบาดได้ ก็จะทำให้เงินฝืด หมายถึงนักลงทุนชะลอการลงทุนในประเทศลง และอาจนำเงินไปลงทุนในประเทศอื่นที่มีความมั่นคงกว่าแทน

4. ราคาสินค้าลดลงจากต้นทุนการผลิตสินค้าโดยตรง

อาจเป็นสาเหตุ เงินฝืด เนื่องจากคุณภาพแรงงานหรือเทคโนโลยีการผลิตดีขึ้น หรือต้นทุนวัตถุดิบถูกลง ทำให้สินค้าและบริการปรับราคาลดลง ซึ่งเงินฝืดในรูปแบบนี้จะอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมเพราะผู้ผลิตย่อมจะไม่ปรับราคาลงเรื่อย ๆ จนตัวเองขาดทุนอย่างแน่นอน เป็นผลดีที่ทำให้คนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นแม้จะมีรายได้เท่าเดิม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้เป็นอย่างดี

5. การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของค่าเงินต่างประเทศ

คือ สาเหตุ เงินฝืด เกิดจากนักลงทุนเลือกนำเงินกลับประเทศตัวเองแทน เพราะอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าและรู้สึกว่าการลงทุนในประเทศที่ขึ้นดอกเบี้ยจะได้ผลกำไรจะไม่คุ้มกับค่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย

เงินฝืด ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเงินในกระเป๋าของเรา

ในภาพรวมของภาวะเงินฝืด ส่งผลต่อประชาชนแต่ละอาชีพจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป มีทั้งฝ่ายที่ได้เปรียบและเสียเปรียบที่ต้องรอไปจนกว่าเงินฝืด แก้ไขเรียบร้อย ดังนี้

  • เกษตรกร อยู่ในฐานะเสียเปรียบ เพราะผลของภาวะเงินฝืด คือจะทำให้ราคาสินค้าเกษตรกรรมลดลงอย่างรวดเร็ว
  • พ่อค้าและนักธุรกิจ อยู่ในฐานะเสียเปรียบ เพราะเมื่อเงินฝืด หมายถึงประชาชนมีอำนาจซื้อต่ำลงจนทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) หรือสินค้าที่ผลิตมาแล้วขายไม่ออก ผู้จัดจำหน่ายก็จะต้องลดราคาสินค้าให้ต่ำลง ในขณะที่ต้นทุนการผลิตยังคงเท่าเดิม
  • ผู้มีรายได้ประจำ อยู่ในฐานะได้เปรียบ เพราะเมื่อเงินฝืด เงินเดือนในปริมาณเท่าเดิมสามารถใช้ซื้อสินค้าได้ในปริมาณที่มากขึ้น แต่ก็จะพบกับความเสี่ยงถูกลดเงินเดือน หรือ เลิกจ้าง เพราะเงินฝืด หมายถึงมีการปรับลดการลงทุนและการผลิตของภาคธุรกิจ ทำให้อาชีพข้าราชการอาจจะมีความมั่นคงมากกว่าพนักงานบริษัทในกรณีนี้
  • ผู้ทำอาชีพอิสระ อยู่ในฐานะเสียเปรียบ เพราะเมื่อเงินฝืด คือ การจ้างงานก็ยิ่งลดลง หรือเงินค่าจ้างก็จะลดลงตามกำลังของผู้ว่าจ้าง เมื่อเงินฝืด แก้ไขแล้ว ก็จะเริ่มกลับมาปกติขึ้น
  • ลูกหนี้และเจ้าหนี้ ลูกหนี้อยู่ในฐานะเสียเปรียบและเจ้าหนี้อยู่ในฐานะได้เปรียบ เพราะเงินฝืด หมายถึงค่าของเงินที่จะต้องนำมาชำระคืนสูงขึ้น ตัวอย่างคือ บริษัทแห่งหนึ่งได้ทำการกู้เงินจากธนาคารมาลงทุนเป็นจำนวนเงิน 1 ล้านบาท ในช่วงเศรษฐกิจปกติ แต่เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด กำไรของบริษัทลดลงหรืออาจจะกลายเป็นขาดทุน แต่ภาระหนี้และดอกเบี้ยก็ยังคงเท่าเดิม สถานการณ์นี้อาจจะยิ่งซ้ำเติมภาวะเงินฝืดด้วยหนี้เสียของลูกหนี้ที่ไม่มีกำลังใช้หนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นไปอีก

เงินฝืด แก้ไขและรับมือได้อย่างไรบ้าง?

ภาวะเงินฝืด แก้ไขได้ด้วยนโยบายการเงินจากธนาคารกลาง


เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. จะใช้ [นโยบายการเงิน](https://rabbitcare.com/monetary-policy-what-is-it-and-does-it-affect-economy.financial-guide)แบบขยายตัว หรือ นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อกระตุ้นในเศรษฐกิจให้ขยายตัว เงินฝืด แก้ได้ด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้

#### • รับซื้อพันธบัตรและตราสารหนี้จากรัฐบาลหรือเอกชน
เมื่อปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีน้อย หรือ เงินฝืด ธนาคารกลางก็ต้องนำเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มผ่านการซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล ทำให้เอกชนหรือรัฐบาลที่ได้รับเงินจากการขายพันธบัตรนั้นสามารถนำเงินมาใช้สนับสนุนการลงทุนและบริโภคเพิ่มขึ้นได้

#### • ลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานให้ธนาคารปล่อยกู้มากขึ้น
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากจะดึงดูดให้ผู้คนเก็บเงินไว้ในบัญชีน้อยลงและการปล่อยกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำจะกระตุ้นให้ประชาชนมีการลงทุนและใช้จ่ายมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น เงินฝืดลดลง

#### • กำหนดเงินสดสำรองในอัตราลดลง
ทำให้ธนาคารทุกแห่งมีเงินสดสำรองส่วนเกินมากขึ้น และสามารถปล่อยกู้ได้มากขึ้น

#### • กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ
เพื่อให้เศรษฐกิจเปลี่ยนจากเงินฝืดกลับเข้าสู่สภาวะมีเสถียรภาพอย่างมีแบบแผน

เงินฝืด หมายถึงประชาชนควรรับมืออย่างไรดี?

1. เก็บเงินสดไว้ก่อน

เพราะในช่วงเงินฝืด คือ เงินจะมีมูลค่าสูงได้ขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต แม้อาจจะไม่เป็นผลดีกับเศรษฐกิจโดยรวมแต่ก็ควรเก็บเงินสดไว้เผื่อหลายสาเหตุ เงินฝืด ผลกระทบซาลงเมื่อไหร่จะได้มีเงินไว้สำหรับการลงทุนต่อไป

2. ลงทุนในตราสารหนี้รัฐบาล หรือ หุ้นกู้บริษัทเอกชน

ในช่วงเงินฝืดการลงทุนกับหน่วยงานหรือบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือสูงจะลดความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้และได้รับอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง ช่วยสร้างรายได้ให้อย่างสม่ำเสมอในช่วงเงินฝืด แก้ไขความขัดสนได้ และเมื่อธนาคารกลางปรับลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มูลค่าของตราสารหนี้จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

3. ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือ ทองคำ

ในภาวะที่เงินฝืด คือ ผู้ที่มีกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือทองคำก็จะมีจำนวนน้อยลง ส่งผลให้ราคาของทรัพย์สินเหล่านั้นอาจจะปรับตัวลดลงด้วย ผู้ลงทุนก็จะมีโอกาสซื้อได้ในราคาถูกเพื่อเก็บไว้รอเก็งกำไรในช่วงที่เงินฝืด ผลกระทบน้อยลง หรือ เงินฝืด แก้ได้แล้ว ในขณะเดียวกันอสังหาริมทรัพย์ก็มีความเสี่ยงสูงดังนั้นเงินที่ซื้อควรเป็นเงินเย็นที่ไม่ต้องรีบใช้ รวมถึงสำหรับทองคำก็ควรศึกษาข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและภาวะเศรษฐกิจโลกร่วมด้วย เพราะราคามักอ้างอิงจากตลาดโลกเป็นหลัก

เรื่องเศรษฐกิจทั้งเงินเฟ้อเงินฝืด หมายถึงสิ่งที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด ทั้งสาเหตุ เงินฝืด และ เงินฝืด แก้ไขอย่างไร ถ้าเราศึกษาเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะเงินเฟ้อหรือเงินฝืด ผลกระทบต่าง ๆ เราก็จะมีช่องทางในการรับมือได้อย่างดี รวมทั้งสามารถสร้างผลกำไรให้กับตัวเองในเศรษฐกิจทุกรูปแบบ แต่ถ้าหากตอนนี้ที่เศรษฐกิจยังไม่ฝืดแต่เงินในกระเป๋าของใครเริ่มจะฝืดแล้ว แรบบิท แคร์ ขอแนะนำ สินเชื่อส่วนบุคคล ที่วงเงินสูง อนุมัติไว ปรับเลือกได้เองให้ตรงใจให้ชีวิตไปต่อได้แบบไม่สะดุด

สินเชื่อที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา