Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบประกันสะสมทรัพย์ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

2023_Feb_118.jpg

นโยบายการเงินคืออะไร? ส่งผลอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจ?

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “นโยบายการเงิน” กันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจรายละเอียดว่า นโยบายการเงินคืออะไร แตกต่างจากนโยบายการคลังอย่างไร มีนโยบายการเงินแบบไหนบ้าง และนโยบายแต่ละแบบส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร วันนี้ แรบบิท แคร์ จะมาอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ เอง

นโยบายการเงินคืออะไร

นโยบายการเงินคือนโยบายที่ธนาคารกลางของประเทศหนึ่ง ๆ กำหนดขึ้นเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา รักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน และส่งเสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยธนาคารกลางของประเทศส่วนใหญ่จะใช้อัตราดอกเบี้ยนโบยบายเป็นเครื่องมือทางการเงินหลักที่ใช้ในการดำเนินนโยบายการเงิน แต่ในบางประเทศอาจมีการใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ อย่างอัตราแลกเปลี่ยนและการซื้อ/ขายพันธบัตรและตราสารหนี้ ในการกำหนดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ

สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายการเงิน

นโยบายการเงินแตกต่างจากนโยบายการคลังอย่างไร?

หลายคนอาจสับสนระหว่างนโยบายการเงินกับนโยบายการคลังว่าแตกต่างกันอย่างไร ถึงแม้ว่านโยบายการเงินและนโยบายการคลังจะเป็นนโยบายที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกัน ดังนี้

นโยบายการเงินจะเป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปรับลดเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเป็นหลักเพื่อรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงหรือต่ำจนเกินไป ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน นโยบายการเงินมีธนาคารกลางเป็นผู้ออกนโยบาย โดยใช้เครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ ในการดำเนินการตามนโยบาย

ส่วนนโยบายการคลังเป็นนโยบายการใช้งบประมาณของรัฐเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เช่น กระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจหรือรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในประเทศ นโยบายการคลังมีรัฐบาลเป็นผู้ออกนโยบาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการหารายได้และรายจ่ายของรัฐบาล เช่น การเก็บภาษีประเภทต่าง ๆ การจัดสรรงบประมาณ

จึงเห็นได้ว่านโยบายการเงินและนโยบายการคลังมีความแตกต่างกันและไม่ได้ออกโดยหน่วยงานเดียวกันอย่างที่มักจะเข้าใจผิด

นโยบายการเงินมีอะไรบ้าง

นโยบายการเงินสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายและนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ซึ่งนโยบายทั้ง 2 รูปแบบจะช่วยรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีกลไกดังนี้


นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย


นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายหรือนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนคือนโยบายการเงินที่ธนาคารกลางใช้เมื่อต้องการให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวในกรณีที่เศรษฐกิจซบเซา เช่น เมื่อได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หรือเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่างวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์

เครื่องมือทางการเงินหลักที่ธนาคารส่วนใหญ่ใช้ในการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายคือการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากปรับตัวลง ผู้คนสนใจกู้ยืมเงินมาใช้จ่าย/ลงทุนกันมากขึ้น รวมถึงฝากเงินไว้กับธนาคารน้อยลง ทำให้เกิดเงินหวุนเวียนในระบบมากขึ้นและเศรษฐกิจขยายตัว ตัวอย่างของการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศไทยคือเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำสุดถึง 0.5% ในปี 2564 เพื่อลดผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายการเงิน แต่ในบางประเทศก็มีการใช้เครื่องมืออื่น ๆ เพิ่มเติมเมื่อการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียงอย่างเดียวไม่ได้ผล เช่น มาตรการ Quantitative Easing (QE) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการกว้านซื้อตราสารทางการเงินระยะกลาง - ยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้เอกชน เพื่อทำให้ตราสารเหล่านั้นมีราคาสูงขึ้น และมีอัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรต่ำลง รวมถึงตราสารเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดให้ธนาคารเอกชนเตรียมปล่อยสินเชื่อให้นักธุรกิจได้ทันที จึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง


นโยบายการเงินแบบเข้มงวด


ส่วนนโยบายการเงินแบบเข้มงวดคือนโยบายการเงินที่ธนาคารกลางใช้เพื่อชะลอการเติบโตของระบบเศรษฐกิจเมื่อเศรษฐกิจมีความร้อนแรงจนทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาว โดยธนาคารกลางจะดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดในทิศทางตรงกันข้ามกับนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย

ยกตัวอย่างเช่น แทนที่จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารกลางก็จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นให้คนฝากเงินไว้กับธนาคารมากขึ้น มีการจับจ่ายใช้สอยน้อยลง และเมื่อดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินสูงขึ้น ก็จะทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ชะลอการกู้เงินเพื่อลงทุนเพิ่มเช่นกัน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ แก้ปัญหาเงินเฟ้อสูงเกินไป เช่น ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนยบายจาก 1.25% ต่อปีเป็น 1.50% ต่อปี เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูง

ส่วนมาตรการที่ตรงข้ามกับมาตรการ Quantitative Easing (QE) คือมาตรการ Quantitative Tightening (QT) ซึ่งเป็นการขายตราสารทางการเงินที่เคยซื้อไว้คืนให้ตลาดการเงินหรือปล่อยพันธบัตรรัฐบาลที่ซื้อจากธนาคารพาณิชย์หมดอายุ ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วจะส่งผลให้ราคาตราสารปรับตัวลงและส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้นในที่สุด

นโยบายการเงินส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร

จะเห็นว่านโยบายการเงินส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด โดยนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในเวลาที่เศรษฐกิจซบเซาและนโยบายการเงินแบบเข้มงวดจะช่วยชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและส่งเสริมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

นโยบายการเงินส่งผลต่อการวางแผนการเงินของคุณอย่างไร

อันที่จริงแล้ว นโยบายการเงินไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับคนทั่วไปขนาดนั้น เนื่องจากนโนบายเหล่านี้สามารถส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและผลตอบแทนจากการลงทุนได้ จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนวางแผนการเงิน

เช่น ในช่วงที่ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ส่งผลให้ดอกเบี้ยสูง การฝากเงินไว้ในธนาคารก็จะได้ผลตอบแทนมากขึ้น แต่การกู้เงินมาซื้อบ้านก็จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น การวางแผนการเงินในช่วงนั้นอาจจะเน้นไปที่การฝากเงินมากกว่าการกู้เงินมาจับจ่ายใช้สอย

หรือในช่วงที่ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เราอาจจะเลือกฝากเงินในธนาคารน้อยลง แล้วลองศึกษาตัวเลือกการลงทุนอื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น การซื้อประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ซึ่งเป็นประกันชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ความคุ้มครองชีวิตควบคู่ไปกับการเก็บออมเงิน โดยจะได้รับผลตอบแทนเป็นทุนประกันคืนพร้อมเงินปันผลเมื่อส่งเบี้ยประกันครบตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งเป็นอีกวิธีการออมเงินระยะยาวที่ช่วยให้เงินที่มีอยู่งอกเงยได้อีกวิธีหนึ่ง แถมยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

ประกันออมทรัพย์ที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

ไทยประกันชีวิต “แฮปปี้มีเงินใช้”

ประกันชีวิต

  • จ่ายเบี้ย 5 ปี คุ้มครองนาน 15 ปี
  • รับเงินคืนทุกปีตลอดสัญญารับเงินคืน 521%
  • การันตีเงินคืน 3% ทุก 2 ปี
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุดปีละ 1 แสนบาท
  • สมัครได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือน - 65 ปี
  • เลือกชำระเบี้ยได้ รายเดือน, 3 เดือน และรายปี
ไทยประกันชีวิต ทรัพย์ปันผล

ประกันชีวิต

  • ชำระเบี้ยแค่ 10 ปี คุ้มครองถึงอายุ 85 ปี
  • รับเงินปันผลทุกปี ปีละ 1%
  • ครบสัญญารับเงินก้อนคืน 110%
  • ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 1 แสนบาท
  • สมัครได้ตั้งแต่ อายุ 1 เดือน - 60 ปี
ประกันชีวิต “ไทยประกันชีวิต”

ประกันชีวิต

  • คุ้มครองจากอุบัติเหตุ เพิ่มสูงสุด 1 แสนบาท
  • กรณีนอน รพ. รับเงินชดเชย 500 บาท/วัน
  • รับเงินคืนตลอด สัญญารวม 174%
  • เบี้ยเริ่มต้นวันละ 16 บาท
  • สมัครได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือน - 55 ปี
  • ลดหย่อนภาษี ได้สูงสุด 1 แสนบาท
ประกันชีวิตสะสมทรัพย์

ประกันชีวิต

  • การันตีรับเงินคืน 3% ทุกปี
  • กรณีมีชีวิตอยู่รับเงิน สูงสุด 310%
  • จ่ายค่า เบี้ยคงที่ ไม่ปรับเพิ่มตามอายุ
  • จ่ายค่าเบี้ย 10 ปี คุ้มครองนาน 20 ปี
  • รับสิทธิลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา