Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบประกันชีวิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

2023_APR_21_DESKTOP.png

ทำความรู้จัก! ทายาทโดยธรรม 6 ลำดับ ได้แก่บุคคลใดบ้าง?

หลายคนที่ต้องการจะทำประกันชีวิตหรือประกันประเภทอื่น ๆ เพื่อบริหารความเสี่ยงทางด้านการเงิน เมื่อต้องระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์อาจมีข้อสงสัยว่า ผู้รับผลประโยชน์ ทายาทโดยธรรม คืออะไร แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลทายาทโดยธรรมที่คุณต้องรู้ก่อนซื้อประกันว่าจะต้องเป็นบุคคลใดบ้าง ติดตามได้เลย!

ทายาทโดยธรรม คือใคร?

คำว่าทายาท ตามกฎหมายประเทศไทยจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทายาทโดยธรรม หรือทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย และทายาทโดยธรรมพินัยกรรม หรือทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม โดย

1. ทายาทโดยธรรม คือ บุคคลที่มีสิทธิ์ในการรับมรดกหรือทรัพย์สินของบุคคลที่ถึงแก่กรรม เป็นทายาทประเภทคู่สมรสและญาติ บุคคลเหล่านี้จะมีสิทธิในมรดกเป็นลำดับแรกทันที
2. ทายาทโดยพินัยกรรม คือ ทายาทที่มีสิทธิ์ในการรับมรดกหรือทรัพย์สินของบุคคลที่ถึงแก่กรรมตามที่ผู้ถึงแก่กรรมกำหนดไว้ในพินัยกรรม ซึ่งทายาทโดยพินัยกรรมจะเป็นบิดามารดา บุตร ญาติพี่น้องหรือบุคคลที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องก็ได้ เรียกทายาทประเภทนี้ว่าผู้รับพินัยกรรม

ทายาทโดยธรรมแตกต่างจากทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรมไหม

อ้างอิงจากข้อมูลของสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ระบุไว้ว่า ทายาทได้มีการแบ่งประเภทของทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกไว้ 2 ประเภท ได้แก่ ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย หรือ ทายาทโดยธรรม และทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม หรือผู้รับพินัยกรรม โดยทายาทโดยธรรม หมายถึง ทายาทที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ให้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกตาย ถือว่าเป็นการรับมรดกโดยผลของกฎหมาย แม้ว่าตนเองจะไม่ประสงค์รับมรดกก็ตาม ทายาทโดยธรรมยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทายาทโดยธรรมประเภทญาติ และทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส

ทายาทโดยธรรมประเภทญาติ

ตามมาตรา 1629 ระบุถึงทายาทโดยธรรมประเภทญาติไว้ว่า “ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ 1) ผู้สืบสันดาน 2) บิดามารดา 3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน 5) ปู่ ย่า ตา ยาย 6) ลุง ป้า น้า อา คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม…” โดยที่ลำดับแรก นั่นคือ ผู้สืบสันดาน หมายถึงบุตรของเจ้าของมรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้น มากไปกว่านั้น บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และบุตรบุญธรรมก็ถือให้เป็นผู้สืบสันดานเช่นเดียวกัน

สำหรับบิดามารดา จะต้องเป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเท่านั้น อีกทั้ง ผู้รับบุตรธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายที่เป็นบุตรบุญธรรม สำหรับพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก ให้ถือตามความเป็นจริง ไม่ได้ถือตามกฎหมาย สำหรับพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ให้ถือตามความเป็นจริง ไม่ได้ถือตามกฎหมาย และสำหรับปู่ ย่า ตา ยาย จะต้องเป็นปู่ ย่า ตา ยาย ที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเท่านั้น

ส่วนทายาทประเภทที่ 2 นั่นคือทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม หรือผู้รับพินัยกรรม หมายถึงบุคคลซึ่งผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินอันเป็นมรดกให้ ผู้รับพินัยกรรมอาจเป็นญาติพี่น้องของเจ้าของมรดกหรือบุคคลภายนอกก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ โดยสำหรับผู้รับพินัยกรรมแล้ว มีกลุ่มบุคคลที่ไม่สามารถเป็นผู้รับพินัยกรรมได้อยู่ 4 ประเภท ได้แก่ 1) ผู้เขียนพินัยกรรมและคู่สมรสของผู้เขียนพินัยกรรม 2) พยานในพินัยกรรมและคู่สมรสของพยานในพินัยกรรม 3) พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้จดแจ้งข้อความแห่งพินัยกรรมแบบทำด้วยวาจาและคู่สมรสของพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น และ 4) ในกรณีที่ผู้เยาว์ทำพินัยกรรม ผู้ปกครองของผู้เยาว์รวมไปถึงคู่สมรส บุพการี หรือผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องของผู้ปกครองจะเป็นผู้รับพินัยกรรมไม่ได้ เว้นแต่ผู้ปกครองได้ทำแถลงการณ์ปกครองแล้ว

ทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส

สำหรับทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส หมายถึง สามีหรือภรรยาของเจ้ามรดกที่เป็นสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกในเวลาตาย โดยการเป็นสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องมีการจดทะเบียนสมรส เวลาของการอยู่ร่วมกันไม่เป็นผลต่อการบ่งบอกว่าสามีภรรยาคู่นั้น ๆ เป็นสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือคู่สามีภรรยาที่แยกกันอยู่ แต่ไม่มีการจดทะเบียนหย่า ก็ถือว่ายังเป็นสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย และถือว่ายังเป็นทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรสอยู่ จึงมีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกันได้ คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกเสมอ แต่จะต้องพิจารณาด้วยว่าต้องรับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมในประเภทญาติในลำดับใดบ้าง หากทายาทโดยธรรมประเภทญาติของเจ้ามรดกอยู่ในลำดับต้น ๆ คู่สมรสก็จะได้รับส่วนแบ่งมรดกมากขึ้น

ตามกฎหมายทายาทโดยธรรม มีกี่ลำดับ?

ตามกฎหมายแล้วทายาทโดยธรรมจะถูกแบ่งออกเป็น 6 ลำดับ ซึ่งทายาทโดยธรรม 6 ลำดับประกอบไปด้วย ผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด ได้แก่

  1. ผู้สืบสันดาน
  2. บิดามารดา
  3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  4. พี่น้องร่วมบิดาเดียวกันหรือร่วมมารดาเดียวกัน
  5. ปู่ ย่า ตา ยาย
  6. ลุง ป้า น้า อา

แม้ว่าทายาทโดยธรรม 6 ลำดับ จะมีสิทธิ์ได้รับมรดกหรือทรัพย์สินของผู้ถึงแก่กรรม แต่ไม่ใช่ว่าทายาททุกลำดับจะมีสิทธิ์ได้รับมรดกพร้อมกันทั้งหมด การรับมรดกจะต้องเป็นไปตามลำดับก่อนหลัง ทายาทโดยธรรมในลำดับต้นจะมีสิทธิ์ได้รับมรดกก่อนและทายาทที่อยู่ในลำดับถัดไปจะมีสิทธิ์ได้รับมรดกก็ต่อเมื่อไม่มีทายาทลำดับก่อนหน้ารับมรดก เช่น ทายาทโดยโดยธรรมลำดับที่ 3 จะได้รับมรดกของผู้ถึงแก่กรรมก็ต่อเมื่อไม่มีทายาโดยธรรมลำดับที่ 1และลำดับที่ 2 รับมรดก เป็นต้น การรับมรดกจึงเข้าตามหลักเกณฑ์ที่ว่าญาติสนิทตัดญาติห่าง แต่จะมีการยกเว้นในกรณีที่ทายาทลำดับที่ 1 (ผู้สืบสันดาน) จะไม่มีการตัดทายาทลำดับที่ 2 (บิดามารดา) กล่าวคือ บิดามารดานั้นจะมีสิทธิ์ในการได้รับมรดกพร้อมกับผู้สืบสันดานนั่นเอง

ทายาทโดยธรรมที่เป็นผู้สืบดันดาน คือใคร?

ผู้สืบสันดาน คือ บุคคลที่มีสิทธิ์รับมรดกจากเจ้าของมรดกและมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมซึ่งได้รับการยอมรับตามกฎหมาย โดยผู้สืบสันดานทายาทชั้นบุตรสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. บุตรชอบด้วยกฎหมาย : บุตรที่เกิดโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นบุตรที่ชัดเจนตามกฎหมายว่าเป็นบุตรของมารดาและบิดา ไม่ว่ามารดาจะมีสถานะสมรสหรือไม่ก็ตาม ในกรณีที่เจ้ามรดกเป็นชาย ต้องพิจารณาว่าผู้สืบสันดานเป็นบุตรที่เกิดโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกชายหรือไม่ บิดาและมารดาได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากจดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้สืบสันดานจะเป็นบุตรที่เกิดโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกชายและจะถือว่าเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่หากไม่มีการลงทะเบียนสมรส ผู้สืบสันดานจะไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นบุตรที่ถือเป็นชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นบุตรนอกกฎหมายของเจ้ามรดกชายและจะไม่มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย

ในขณะเดียวกัน บุตรที่เกิดนอกกฎหมายคือบุตรที่เกิดโดยไม่มีการจดทะเบียนสมรสของบิดาและมารดา ก็ไม่ต้องกังวลเนื่องจากกฎหมายยังมีบทบัญญัติที่ให้บุตรประเภทนี้สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้ 3 วิธี ดังนี้

  • เมื่อบิดาและมารดาได้จดทะเบียนสมรสหลังจากที่มีบุตรเกิดขึ้นแล้ว บุตรที่เกิดนอกกฎหมายก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
  • หากบิดาไม่ต้องการจดทะเบียนสมรสกับมารดาแต่ต้องการให้บุตรที่เกิดนอกกฎหมายเปลี่ยนสถานะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บิดาสามารถไปจดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้
  • หากบิดาไม่ยอมรับว่าเป็นบุตร บุตรสามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรได้ โดยบุตรนอกกฎหมายสามารถเปลี่ยนสถานะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษา

2. บุตรที่เกิดนอกกฎหมายแต่ได้รับการรับรองจากบิดา : บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง ตามกฎหมายจะถือเป็นบุตรเหมือนกับประเภทแรก แต่บิดาและมารดาไม่ได้สมรสกัน มีสิทธิ์รับมรดกเช่นกันแม้ว่าสถานะในขณะนั้นจะเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองตามเงื่อนไขครบถ้วน หากบิดารับรองเพียงพฤตินัยสถานะของบุตรจะยังคงเป็นบุตรนอกกฎหมายอยู่

3. บุตรบุญธรรม : ผู้สืบสันดานประเภทที่ 3 คือ บุตรบุญธรรม บุตรประเภทนี้ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางกายภาพกับเจ้ามรดก ในบางกรณี บุตรบุญธรรมอาจได้รับสิทธิ์ในการสืบสันดาน แต่อย่างไรก็ตามสิทธิ์ในการสืบสันดานและรับมรดกจะขึ้นอยู่กับกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่มีผลบังคับใช้ในที่นั้น ๆ

การแบ่งมรดกของทายาทโดยธรรม

จากที่กล่าวไว้ข้างต้น กฎหมายมรดกระบุไว้ว่าการคิดส่วนแบ่งของคู่สมรสจะต้องพิจารณาถึงทายาทโดยธรรมประเภทญาติและทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส โดยสามารถสรุปได้คือ หากผู้สืบสันดานซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมประเภทญาติลำดับแรก ยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ คู่สมรสมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนบุตร นั่นคือ ได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่ากัน หากเจ้ามรดกมีพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือไม่มีผู้สืบสันดาน แต่มีบิดามารดา โดยที่ทายาทดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่ คู่สมรสจะได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง หากเจ้ามรดกมีพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือมีลุง ป้า น้า อา ที่ยังมีชีวิตอยู่ คู่สมรสจะมีสิทธิได้รับมรดก 2 ใน 3 ส่วน และหากเจ้ามรดกไม่มีทายาทโดยธรรมประเภทญาติอยู่เลย และคู่สมรสยังมีชีวิตอยู่ คู่สมรสจะมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด

รายละเอียดของกฎหมายมรดกที่ควรทราบ

แน่นอนว่าเมื่อเจ้ามรดกเสียชีวิต กฎหมายมรดกระบุไว้ว่ามรดกจะตกทอดไปยังทายาททันที โดยสาเหตุการเสียชีวิตของเจ้ามรดกอาจเป็นการเสียชีวิตโดยธรรมชาติ หรือการเสียชีวิตโดยผลของกฎหมาย เช่น การสูญหาย อย่างไรก็ตาม เจ้ามรดกจะต้องเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคลไม่สามารถเป็นเจ้ามรดกได้ โดยการรับมรดกนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ระบุถึงการแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรมไว้ว่า หากเจ้ามรดกมีการทำพินัยกรรมไว้ ต้องให้มรดกแก่ผู้รับพินัยกรรมตามที่พินัยกรรมระบุไว้ก่อน หากมีทรัพย์สินหลงเหลือหลังจากมอบให้ผู้รับพินัยกรรม ทายาทโดยธรรมจึงจะได้รับมรดกต่อไป โดยจะมีผู้จัดการมรดกเข้ามาช่วยเหลือในการแบ่งมรดกต่อไป ซึ่งหัวข้อถัดไปจะกล่าวถึงว่าผู้จัดการมรดกคือใคร ผู้จัดการมรดก มีอายุกี่ปี

ผู้จัดการมรดกคือใคร ผู้จัดการมรดก มีอายุกี่ปี

สำหรับการจัดการมรดกแล้ว กฎหมายมรดกระบุไว้ว่าบุคคลหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมรดกที่สำคัญนั่นคือ ผู้จัดการมรดก จากข้อมูลของกระทรวงยุติธรรม ระบุถึงข้อมูลของผู้จัดการมรดกว่า ผู้จัดการมรดก คือบุคคลที่มีหน้าที่รวบรวม ทำบัญชี และแบ่งปันทรัพย์สินซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย อีกทั้ง ผู้จัดการมรดกจะต้องเป็นผู้ที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก ในการจัดการมรดกของผู้ตาย ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการมรดกและรวบรวมทรัพย์สินเพื่อแบ่งให้ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม ตลอดจนชำระหนี้สินของเจ้าของมรดกแก่เจ้าหนี้ ทำบัญชีและรายการแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งมรดก โดยจะต้องจัดการไปในทางที่เป็นประโยชน์ ไม่สามารถทำนิติกรรมที่เป็นปรปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้

ส่วนคำถามที่ว่าผู้จัดการมรดก มีอายุกี่ปี ในด้านของอายุความ คำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกไม่มีอายุความ แต่จะสิ้นสุดด้วยหากมีการจัดการทรัพย์มรดกเสร็จสิ้น ผู้จัดการทรัพย์สินลาออกโดยได้รับอนุญาตจากศาล ผู้จัดการมรดกเสียชีวิต หรือผู้จัดการทรัพย์สินตกเป็นผู้ต้องห้ามตามกฎหมาย นั่นคือ เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลล้มละลาย โดยคำถามเกี่ยวกับว่าผู้จัดการมรดก มีอายุกี่ปี คุณสมบัติของผู้จัดการมรดกระบุไว้ว่าผู้จัดการมรดกจะต้องมีอายุเกิน 20 ปีบริบูรณ์ และบรรลุนิติภาวะ รวมถึงต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลล้มละลาย

สำหรับความรู้เรื่องทายาทโดยธรรมประเภทต่าง ๆ ว่าทายาทโดยธรรม คือใครรวมไปถึงความรู้เรื่องผู้รับพินัยกรรม ทำให้เราทราบถึงลำดับขั้นของทายาทโดยธรรมในการแบ่งกองมรดกจากเจ้ามรดก รายละเอียดของกฎหมายมรดกที่ควรทราบ รวมไปถึงความรู้เรื่องผู้จัดการมรดกว่า ผู้จัดการมรดก มีอายุกี่ปี นอกจากเรื่องการแบ่งมรดกแล้ว สำหรับผู้ที่ทำประกันชีวิตยังถือว่าเป็นผู้ที่เตรียมพร้อมเพื่อส่งต่อมรดกให้กับครอบครัวของเราอีกด้วย โดยประกันชีวิตจะให้ผลประโยชน์สูงสุดเมื่อผู้ทำประกันอยู่ครับสัญญา หรือเสียชีวิต และสามารถรับเงินได้หากเสียชีวิตทุกกรณี ดังนั้น หากตัดสินใจจัดการเรื่องมรดกเพื่อคนที่เรารักก็สามารถพิจารณาการทำประกันชีวิตเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกได้ ซึ่งควรศึกษาและทำความเข้าใจถึงรายละเอียดของกรมธรรม์ของบริษัทประกันแต่ละบริษัท สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกคนนึกถึงครอบครัวและบุคคลที่เรารัก เพื่อความสุขของครอบครัวของตัวเอง

ผู้รับผลประโยชน์ ทายาทโดยธรรม คืออะไร?

สำหรับการซื้อประกันภัยทุกประเภท บริษัทประกันภัยจะมีการให้ผู้เอาประกันภัยระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ลงในกรมธรรม์ เพื่อระบุตัวผู้รับทุนประกันที่ผู้เอาประกันภัยได้ทำไว้เมื่อเกิดกรณีเสียชีวิตขึ้น โดยส่วนมากบริษัทประกันจะให้ผู้เอาประกันภัยระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ เป็นทายาทโดยธรรมหรือบุคคลที่อยู่ในวงความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น สามี ภรรยา บุตร พ่อ แม่ ของผู้เอาประกันภัย ประกันมรดก เป็นลำดับแรก ดังนั้นผู้รับผลประโยชน์ ทายาทโดยธรรม จึงหมายถึง ทายาทที่มีสิทธิ์ได้รับทุนประกันชีวิตของผู้เอาประกันเมื่อถึงแก่ความตาย ประกอบไปด้วย บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วและบุตรบุญธรรม, บิดามารดา, พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน, พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันและปู่ย่าตายาย นั่นเอง

วางแผนทำประกันชีวิต แบ่งมรดกให้ทายาทโดยธรรมได้อย่างยุติธรรมที่สุด!

การวางแผนทำประกันชีวิตนั้นถือเป็นเครื่องมือทางการเงินในการบริหารความเสี่ยงและส่งต่อความมั่นคงมั่งคั่งให้กับทายาทได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการทำประกันชีวิตนั้นผู้เอาประกันจะสามารถเลือกระบุทุนประกันที่ต้องการทำให้กับคนข้างหลังที่รักได้ตามความต้องการ และยังสามารถเลือกระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้เอาประกันได้โดยตรง รวมถึงสามารถกำหนดเปอร์เซ็นต์ในการรับผลประโยชน์ทุนประกันชีวิตในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตได้ด้วยว่าต้องการให้ใครในสัดส่วนเท่าไหร่บ้างจากทุนประกันทั้งหมด นั่นหมายความว่าเมื่อมีกรณีการเสียชีวิตเกิดขึ้นบริษัทประกันก็จะดำเนินการจ่ายเงินทุนประกันให้กับบุคคลที่ถูกระบุเป็นชื่อผู้รับผลประโยชน์ตามสัดส่วนที่ผู้เอาประกันกำหนดไว้เท่านั้น จะไม่มีปัญหาการแบ่งมรดกไม่ลงตัวอย่างแน่นอน เพราะการทำประกันชีวิตจะมีการระบุทั้งทุนประกันและสัดส่วนทุนประกันที่ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับอย่างชัดเจนตั้งแต่วันแรกที่มีการทำประกัน นอกจากนี้ผู้เอาประกันยังสามารถแจ้งบริษัทประกันเพื่อปรับเปลี่ยนรายชื่อผู้เอาประกันและสัดส่วนการรับทุนประกันของผู้รับผลประโยชน์ได้ตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมความเหมาะสมและความยุติธรรมตามความต้องการของผู้เอาประกันมากที่สุดนั่นเอง

หากคุณต้องการวางแผนมรดกด้วยการทำประกันชีวิตจากแรบบิท แคร์ คุณสามารถเลือกดูแผนประกันชีวิตได้ง่าย ๆ ผ่านหน้าเว็บไซต์ของเรา เรามีบริการผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตจากหลากหลายบริษัทประกันชั้นนำของประเทศไทยเพื่ออำนวยความสะดวกคุณ หรือโทรที่เบอร์ 1438 Call Center เพื่อขอรับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันชีวิตตลอด 24 ชั่วโมง

ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

ไทยประกันชีวิต แฮปปี้มีเงินใช้

ประกันชีวิต

  • จ่ายเบี้ย 5 ปี คุ้มครองนาน 15 ปี
  • รับเงินคืนทุกปีตลอดสัญญารับเงินคืน 521%
  • การันตีเงินคืน 3% ทุก 2 ปี
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุดปีละ 1 แสนบาท
  • สมัครได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือน - 65 ปี
  • เลือกชำระเบี้ยได้ รายเดือน, 3 เดือน และรายปี
ทรัพย์ปันผล 85/10

ประกันชีวิต

  • ชำระเบี้ยแค่ 10 ปี คุ้มครองถึงอายุ 85 ปี
  • รับเงินปันผลทุกปี ปีละ 1%
  • ครบสัญญารับเงินก้อนคืน 110%
  • ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 1 แสนบาท
  • สมัครได้ตั้งแต่ อายุ 1 เดือน - 60 ปี
ไทยประกันชีวิต ทวี พลัส 20/20

ประกันชีวิต

  • คุ้มครองจากอุบัติเหตุ เพิ่มสูงสุด 1 แสนบาท
  • กรณีนอน รพ. รับเงินชดเชย 500 บาท/วัน
  • รับเงินคืนตลอด สัญญารวม 174%
  • เบี้ยเริ่มต้นวันละ 16 บาท
  • สมัครได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือน - 55 ปี
  • ลดหย่อนภาษี ได้สูงสุด 1 แสนบาท
ประกันชีวิต บุพการี มีเงินใช้  ไทยประกันชีวิต

ประกันชีวิต

  • ผลประโยชน์ตลอดสัญญา สูงสุด 8 แสนบาท
  • ครบกำหนดสัญญา รับเงินคืนสูงสุด 6 แสนบาท
  • อายุ 75 ปี มีเงินคืน สูงสุด 2 แสนบาท
  • คุ้มครองนาน ถึงอายุ 90 ปี
  • สมัครได้ตั้งแต่ อายุ 50 - 70 ปี

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา