Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เลือกประกันสุขภาพที่ใช่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา

เปรียบเทียบแผนง่าย
ไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายประกัน

ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครองมีอะไรบ้าง
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: May 08, 2024

ยาปฏิชีวนะคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง?

ยาปฏิชีวนะ คืออะไร?

ในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้ให้ข้อมูลเรื่อง “ยาปฏิชีวนะ” ไว้ว่า ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic หรือ Antibacterial) เป็นยาที่ใช้ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย โดยจะไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อไวรัส ลดการอักเสบ ลดไข้ และแก้ปวด ซึ่งยาปฏิชีวนะนั้นจะมาจากสารเคมีที่ได้จากเชื้อจุลชีพชนิดหนึ่งตามธรรมชาติ หรือว่ามาจากการสังเคราะห์ ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้รักษาเฉพาะโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ยกตัวอย่างเช่น โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) วัณโรคปอด (Tuberculosis) การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ (Urinary tract infections) ต่อมทอนซิลอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacteria Tonsillitis) เป็นต้น ตัวอย่างยาปฏิชีวนะ ได้แก่ เพนิซิลลิน (Penicillin) อะม็อกซีซิลลิน (Amoxycillin) แอมพิซิลลิน (Ampicillin) อิริโทรไมซิน (Erythromycin) เตตร้าไซคลิน (Tetracycline) คลินด้าไมซิน (Clindamycin) นอร์ฟรอกซาซิน (Norfloxacin) เป็นต้น

ยาปฏิชีวนะ รักษาอะไรได้บ้าง?

สำหรับยาปฏิชีวนะนั้นควรจะต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของเภสัชกรหรือแพทย์เท่านั้น เนื่องจากว่าการใช้ยาในกลุ่มนี้จำเป็นมากที่จะต้องได้รับการวินิจฉัยที่แน่ชัดแล้วว่ามีสาเหตุของอาการเจ็บป่วยมาจากเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นวิธีการทานยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะนั้นจำเป็นมากที่จะต้องกินหลังอาหาร เพื่อป้องกันการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร และนอกจากนี้ควรกินยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องจนหมด เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย และอาจจะส่งผลเสียตามมาได้ในอนาคต

ยาปฏิชีวนะ ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง?

  • เป็นผื่นคัน
  • วิงเวียนศีรษะ
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • มีการติดเชื้อรา
  • มีอาการท้องเสีย
  • อาจเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงจากการติดเชื้อ Clostridium difficile ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย และอาจก่อให้เกิดการทำลายลำไส้จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้
  • ผู้ป่วยที่แพ้ยาปฏิชีวนะขั้นรุนแรง อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ยาปฏิชีวนะ มีกี่ประเภท?

1. ยากลุ่ม Penicillin

จะมีหลายชนิดที่เป็นสูตรผสม เพื่อให้สามารถฆ่าเชื้อที่ดื้อยาได้ เช่น Amoxy – Clavulanic ที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อได้ตั้งแต่ทางเดินหายใจ หนองใน ทางเดินปัสสาวะ ผิวหนัง ปอด รวมไปถึงจนถึงสมองด้วย ซึ่งเป็นยาที่ใช้กันโดยทั่วไปและมีสถิติในการแพ้ยาสูง นอกจากนี้ยังถูกแบ่งตามประเภทของการใช้งาน ได้แก่

1.1 ยากิน เช่น Penicillin V, Amoxicillin, Cloxacillin, Dicloxacillin เป็นต้น
1.2 ยาฉีด เช่น Penicillin G, Ampicillin, Benzathine Penicillin เป็นต้น

2. ยากลุ่ม Carbapenem

ได้แก่ Imipenem และ Meropenem ที่จะใช้รักษาการติดเชื้อในปอด ช่องท้อง กระดูกและข้อ เป็นต้น โดยจะมีเฉพาะแบบยาฉีด และมักใช้ในโรงพยาบาลเท่านั้น

3. ยากลุ่ม Cephalosporin ได้แก่

3.1 Cephalosporin รุ่นที่ 1 ได้แก่ Cephalexin, Cefazolin, Cefaclor เป็นต้น
3.2 Cephalosporin รุ่นที่ 2 ได้แก่ Cefuroxime, Cefprozil, Cefoxitin, Cefamandol เป็นต้น
3.3 Cephalosporin รุ่นที่ 3 ได้แก่ Cefotaxime, Ceftriaxone, Ceftazidime, Cefdinir, Cefoperazone, Ceftibuten, Cefixime, Cefditoren เป็นต้น
3.4 Cephalosporin รุ่นที่ 4 ได้แก่ Cefepime, Cefpirome เป็นต้น โดยจะใช้รักษาการติดเชื้อได้อย่างกว้างขวางเช่นเดียวกับในกลุ่ม Penicillin ซึ่งคนที่แพ้ยา Penicillin ควรระมัดระวังการแพ้ยาในกลุ่มนี้ด้วย

4. ยากลุ่ม Macrolide

ได้แก่ Roxithromycin, Clarithromycin, Azithromycin, Medicamycin เป็นต้น ซึ่งส่วนมากจะใช้รักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยจะใช้ในคนไข้ที่มีการแพ้ยาในกลุ่ม Penicillin

5. ยากลุ่ม Fluoroquinolone

ได้แก่ Norfloxacin, Ofloxacin, Ciprofloxacin, Levofloxacin, Moxifloxacin เป็นต้น โดยจะใช้รักษาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือระบบทางเดินหายใจ

6. ยากลุ่ม Sulfonamide

ได้แก่ Sulfadiazine, Sulfasalazin, Co-trimoxazole เป็นต้น โดยจะใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ครอบคลุมมากกว่า

7. ยากลุ่ม Tetracycline

ได้แก่ Tetracycline, Doxycycline, Minocycline, Oxytetracycline เป็นต้น โดยส่วนมากจะใช้รักษาอาการอักเสบที่ผิวหนัง

8. ยากลุ่ม Chloramphenicol

ในปัจจุบันจะมีเฉพาะในยาหยอดตาและยาหยอดหู

9. ยากลุ่ม Aminoglycoside

ได้แก่ Amikacin, Gentamycin, Streptomycin, Kanamycin เป็นต้น โดยจะใช้เฉพาะในยาฉีดและยาทาภายนอก เพราะว่าสามารถฆ่าเชื้อได้ครอบคลุมมากกว่า

10.ยากลุ่ม Lincosamide

ได้แก่ Lincomycin, Clindamycin เป็นต้น

11.ยากลุ่ม Polypeptide

ได้แก่ Bacitracin, Colistin, Polymyxin B เป็นต้น

12.ยากลุ่ม Glycopeptides

ได้แก่ Vancomycin, Bleomycin เป็นต้น

13.ยาอื่น ๆ

ได้แก่ Metronidazole เป็นต้น

ยาปฏิชีวนะ ซื้อเองได้ไหม?

ถึงแม้ว่ายาปฏิชีวนะนั้นจะมีอยู่หลายชนิด แต่อย่างไรแล้วในแต่ละชนิดนั้นก็จะมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไปตามโรคนั้น ๆ รวมไปถึงชนิดของเชื้อและสภาพร่างกายของคนไข้ด้วย และนอกจากนี้การกินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ การกินยาเกินความจำเป็น การกินยาไม่ตรงกับโรคที่เป็น หรือการกินยาที่ไม่ครบขนาด ก็อาจจะทำให้เกิดการดื้อยาได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงมีคนไข้จำนวนมากที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต เนื่องจากว่าไม่มียาตัวใดเลยที่จะสามารถฆ่าเชื้อจากการดื้อยานั้นได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ควรหาซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง โดยที่ไม่มีการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรมาก่อน

ยาปฏิชีวนะ กินกี่วันถึงจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย?

การกินยาปฏิชีวนะที่ถูกวิธีจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย นั่นก็คือการกินยาให้ถูกขนาดตามที่แพทย์สั่ง การกินยาให้ตรงตามเวลาที่กำหนด การกินยาจนครบจำนวนและครบระยะการรักษา หรือไม่ควรหยุดกินยาไปก่อนนั่นเอง ดังนั้นหากกินยาปฏิชีวนะไม่ถูกวิธีหรือใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ ก็อาจจะทำให้ปริมาณยานั้นไม่เพียงพอที่จะฆ่าเชื้อให้ตายได้ แต่เพียงพอที่จะไปกระตุ้นให้เชื้อนั้นพัฒนาตัวเอง และเกิดเป็นการดื้อยาขึ้นมาในที่สุด ซึ่งวงการสาธารสุขทั้งในประเทศไทยและองค์การอนามัยโลก (WHO) ต่างให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากการดื้อยานั้นถือว่าเป็นปัญหาระดับโลกเลยทีเดียว และอาจจะทำให้ในอนาคตนั้นเกิดปัญหายาปฏิชีวนะ แบคทีเรียดื้อยาทุกชนิด และไม่สามารถทำการรักษาได้นั่นเอง

ควรเลือกทำประกันสุขภาพแบบไหนดี เพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม?

การเจ็บป่วยทางด้านร่างกายย่อมเป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่มักจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเรียน การดำเนินชีวิตปกติในแต่ละวัน เป็นต้น ดังนั้นเรื่องสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งที่เราไม่ควรปล่อยปละละเลยไปโดยไม่ดูแลหรือรักษาให้ดี ดังนั้นการวางแผนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่ออนาคตจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การเลือกทำ ประกันสุขภาพ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมและให้ประโยชน์กับเราอยู่มาก เช่น การให้ความคุ้มครองในกรณีเจ็บป่วย ค่ารักษาพยาบาลที่ครอบคลุมดูแล อีกทั้งเรายังไม่ต้องมานั่งวิตกกังวลให้เสียเวลาอีกด้วย โดยสามารถเลือกได้ตามความต้องการ เช่น ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD) ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) หรือประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (Critical illness Insurance) เป็นต้น

ซื้อประกันสุขภาพผ่านแรบบิท แคร์ จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

ใครที่กำลังมองหาประกันสุขภาพอยู่ แรบบิท แคร์ ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยให้คุณนั้นเลือกแผนประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์และเหมาะสมได้มากที่สุด ด้วยบริการเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพจากบริษัทชั้นนำทั่วประเทศ และยังสามารถมั่นใจในความปลอดภัยได้ 100% เพราะแรบบิท แคร์ นั้นมีการปกป้องข้อมูลของคุณอย่างปลอดภัย จึงมั่นใจได้ในทุกขั้นตอน อีกทั้งยังสามารถเลือกแผนประกันสุขภาพที่ชอบได้อย่างง่ายดาย เช่น ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี ประกันสุขภาพรายปี ประกันสุขภาพรายเดือน และประกันสุขภาพแบบไม่ต้องสำรองจ่าย โดยชำระเงินผ่านระบบออนไลน์ได้หลากหลายช่องทาง เพื่ออำนวยความสะดวกสบาย และความรวดเร็วให้ลูกค้าได้ทันที โดยที่ไม่ต้องไปเสียเวลาติดต่อตัวแทนขายประกันภัยของในแต่ละบริษัทแต่อย่างใด เพราะแรบบิท แคร์ จัดการให้คุณแล้วเรียบร้อย

ประกันสุขภาพที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

Generali Health Lump Sum Plus ประกันสุขภาพเหมาจ่ายGenerali Health Lump Sum Plus

เหมาจ่าย

  • สมัครง่าย เบี้ยถูก คุ้มครอง IPD/OPD
  • ค่ารักษาเหมาจ่าย สูงสุด 1 ล้านบาท
  • ค่าห้อง รพ. ดูแลให้สูงสุด 8,000 บาท/วัน
  • ดูแลค่าพยาบาลพิเศษ สูงสุด 1,000 บาท/วัน
  • รับค่าทันตกรรม 1,000 บาท/ปี ไม่จำกัดครั้ง
  • รับค่ารักษา OPD สูงสุด 1,500 บาท/ครั้ง
  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 25,000 บาท
เติมเงินยามป่วย ประกันสุขภาพเหมาจ่ายเติมเงินยามป่วย

เหมาจ่าย

  • เบี้ยประกันเริ่มต้น เพียง 4 บาท/วัน
  • ชดเชยรายได้ 1,500 บาท/วัน นาน 365 วัน
  • ชดเชยค่าห้อง ICU สูงสุด 3,000 บาท/วัน
  • เบี้ยสั้น 5 ปี อายุรับประกัน 16 - 60 ปี
  • ผ่าตัดใหญ่ รับเงินก้อน 30,000 บาท/ครั้ง
  • เสียชีวิตรับเงินก้อน สูงสุด 300,000 บาท
  • รับเงินปลอบขวัญ 1,500 บาท หลังออก รพ.
วิริยะ โกลด์ บาย บีดีเอ็มเอสวิริยะ โกลด์ บาย บีดีเอ็มเอส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • เบี้ยฯเริ่มต้น 46 บาท/วัน ไม่ต้องสำรองจ่าย
  • แคร์ค่ารักษา คุ้มครองสูงสุด 5 ล้าน/ครั้ง
  • ค่าห้องผู้ป่วย คุ้มครองสูงสุด 15,000 บาท/วัน
  • สมัครได้ทุกวัย ตั้งแต่ 15 วัน - 65 ปี
  • คุ้มครองเคมีบำบัดมะเร็ง สูงสุด 100,000 บาท/ปี
  • แคร์ผู้ป่วยนอก สูงสุด 2,500 บาท/วัน
  • ไม่ต้องจ่ายก่อน รักษา รพ.ในเครือ BDMS
ยูนิเวอร์แซลพลัสยูนิเวอร์แซลพลัส

สุขภาพและอุบัติเหตุ

  • เริ่มต้นเบาๆ เพียง 19 บาท/วัน
  • วัยเกษียณก็สมัครได้ เบี้ยเริ่มต้นไม่แพง
  • เกิดอุบัติเหตุ คุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท
  • ค่าผ่าตัด-หัตถการ คุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท
  • นอนรพ. คุ้มครองค่าห้อง-ค่าอาหาร 8,000 บาท
  • เหมาจ่ายค่ารักษา สูงสุด 2 ล้าน ไม่จำกัดครั้ง
  • บริการฉุกเฉิน 24 ชม. รถพยาบาลพร้อมดูแล

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา