ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ มีขั้นตอนอย่างไร?
เบื้องต้น ทางกรมขนส่งได้เปิดโอกาสให้เจ้าของรถสามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ ซึ่งเพิ่มความสะดวกสบาย ลดปัญหาเจ้าของรถไม่มีเวลาไปติดต่อเดินเรื่องภาษีรถยนต์ตามสถานที่อื่น ๆ ได้ โดยการจะต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้นั้น จะมีเงื่อนไข ดังนี้
- ต้องชำระก่อนวันที่ภาษีหมดอายุ
- ประเภทของรถที่สามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ หากเป็นรถยนต์จะต้องมีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี และรถยนต์ยนต์ไม่เกิน 5 ปี
- ในกรณีที่อายุรถเกินกำหนด หรือรถค้างค่าภาษีรถยนต์เกิน 1 ปี จะสามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ ก็ต่อเมื่อผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อน
สำหรับการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ สามารถเสียภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่ชำระเงินค่าภาษีสำเร็จ จนถึงวันที่ได้รับเอกสารจากไปรษณีย์ รวมทั้งสิ้นประมาณ 5 วันทำการ และมีอยู่ 2 ช่องทางในการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ดังนี้
- เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก ซึ่งสามารถเลือกช่องทางชำระเงิน โดยสามารถเลือกเสียภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ผ่านการหักบัญชีเงินฝาก, บัตรเครดิต, บัตรเดบิต, เคาน์เตอร์บริการต่าง ๆ หรือตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
- แอปพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax สามารถดาวน์โหลดทั้ง Google Play Store และ Apple Store และสามารถเลือกช่องทางการเสียภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ SCB Easy App และ QR ชำระเงิน
หากต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนี้
- ค่าจัดส่งเอกสาร รายการละ 32 บาท
- ค่าธรรมเนียมธนาคาร รายการละ 20 บาท
- ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) ร้อยละ 2 รวม VAT 7% ของค่าธรรมเนียม
และนอกจากการต่อภาษีออนไลน์แล้ว ยังมีช่องทางอื่น ๆ เปิดบริการให้เข้าต่อภาษีรถยนต์ได้ ดังนี้
- สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ (ไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนที่จังหวัดใดก็ตาม)
- ที่ทำการไปรษณีย์
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ "ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)"
- จุดบริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
- เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีช่องทางมากมายให้ ทั้งการเสียภาษีรถยนต์ออนไลน์หรือการเดินทางไปติดต่อหน่วยงาน นอกจากนี้ยังสามารถทำได้ล่วงหน้าก่อนหมดอายุมากถึง 90 วัน ดังนั้น เพื่อป้องกันค่าปรับภาษีรถยนต์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
อัตราภาษีรถยนต์คิดอย่างไร?
เบื้องต้น อัตราการคิดภาษีรถยนต์นั้น สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ 4 ประตู, รถเก๋ง เป็นต้น โดยการคำนวณภาษีรถจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (cc) โดยรายละเอียดมีดังนี้
- ตั้งแต่1 - 600 cc คิดอัตราภาษี cc ละ 50 สตางค์
- ตั้งแต่ 601 - 1,800 cc คิดอัตราภาษี cc ละ 50 บาท
- ตั้งแต่ 1,801 cc ขึ้นไป คิดอัตราภาษี cc ละ 4 บาท
ส่วนรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปก็จะมีส่วนลดค่าภาษีดังนี้
- อายุการใช้งานเกิน 6 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%
- อายุการใช้งานเกิน 7 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 20%
- อายุการใช้งานเกิน 8 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%
- อายุการใช้งานเกิน 9 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 40%
- อายุการใช้งานเกิน 10 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว คือ รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- น้ำหนักรถ 501- 750 ก.ก. คิดอัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751 - 1,000 ก.ก. คิดอัตราภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001 - 1,250 ก.ก. คิดอัตราภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251 - 1,500 ก.ก. คิดอัตราภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501 - 1,750 ก.ก. คิดอัตราภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751 - 2,000 ก.ก. คิดอัตราภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001 - 2,500 ก.ก. คิดอัตราภาษี 1,650 บาท
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน คือ รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง โดยการคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจากแบบรถบรรทุก ดังนี้
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 ก.ก. คิดอัตราภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1,800 ก.ก. คิดอัตราภาษี 1,600 บาท
อัตราภาษีจัดเก็บเป็นรายคัน ประกอบด้วย
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
- รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
- รถพ่วงนอกจากรถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถบดถนน คันละ 200 บาท
- รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท
อัตราภาษีรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
ถ้าลืมจ่ายภาษีรถยนต์จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
โดยทั่วไป รถยนต์ที่ขาดการจ่ายภาษีรถยนต์เกิน 1 แต่ไม่เกิน 3 ปี สามารถทำเรื่องจ่ายภาษีรถยนต์ย้อนหลัง และต่อทะเบียนรถยนต์ได้เลย เพราะทะเบียนรถยนต์ยังไม่ถูกระงับการใช้งาน ส่วนราคาภาษีรถยนต์ก็จะคิดราคาตามปกติ แต่จะมีค่าปรับภาษีรถยนต์ในการชำระภาษีย้อนหลังเดือนละ 1%
แต่ถ้าเกิดรถขาดจ่ายภาษีรถยนต์รถยนต์เกิน 3 ปีขึ้นไป จะต้องทำการจดทะเบียนใหม่ เพราะทะเบียนรถยนต์ที่เคยใช้ได้ถูกระงับการใช้งานไปแล้ว โดยเจ้าของรถจะต้องคืนแผ่นป้ายทะเบียนรถ พร้อมเล่มทะเบียนรถ มาให้ทางราชการบันทึกการระงับทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนระงับการดำเนินการ หากไม่ทำตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท จากนั้นจึงสามารถยื่นขอจดทะเบียนใหม่ พร้อมกับชำระภาษีที่ค้าง 3 ปี และค่าปรับภาษีรถยนต์ เดือนละ 1% จนถึงวันชำระ
แต่ในกรณีที่รถขาดต่อภาษีไม่เกิน 3 ปี สามารถซื้อขายได้ตามปกติ ไม่ถือว่าผิดกฎหมายแต่อย่างใด แต่ผู้ที่ซื้อรถต่อ จะต้องเอาไปต่อทะเบียนรถเอง และสำหรับธุรกรรมประเภทอื่น เช่น เข้าไฟแนนซ์ จะไม่สามารถทำได้ หาก พ.ร.บ. ขาด 3 ปี
ดังนั้น สำหรับผู้ที่ซื้อรถยนต์มือสองมา อาจจะต้องตรวจเช็กให้ดีว่า รถยนต์ที่ตนซื้อมานั้นขาดการต่อภาษีหรือไม่ หากมีการขาดภาษี ไม่ได้ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ก็สามารถทำก่อนได้
ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง หากต้องจ่ายภาษีรถยนต์เกินระยะเวลา
สำหรับเอกสารที่ใช้จ่ายภาษีรถยนต์เกินระยะเวลา จะมีการเพิ่มเติมเอกสาร ดังนี้
- เล่มทะเบียนรถ (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
- พ.ร.บ. รถยนต์
- บัตรประชาชนของเจ้าของรถ (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
- ถ้ารถยนต์มีอายุเกิน 7 ปี ต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถจากรมขนส่ง (ตรอ.)
ถ้าขาดการจ่ายภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี ต้องเพิ่มเอกสารเหล่านี้ด้วย
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีรถเป็นนามนิติบุคคล)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีรถเป็นนามนิติบุคคล)
- หลักฐานการได้มาของรถ เช่น สัญญาซื้อขาย (กรณีไม่ได้จดทะเบียนในชื่อเจ้าของเดิม)
นอกจากนี้ ผู้ใดนำรถไม่มีภาษีหรือรถยนต์ทะเบียนขาดมาใช้ จะมีโทษค่าปรับภาษีรถยนต์ไม่เกิน 2,000 บาท โดยทั่วไป เจ้าของรถสามารถต่อล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือน ก่อนวันหมดอายุ และเมื่อต่อภาษีรถยนต์เรียบร้อย ก็จะได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว ฉะนั้นมาเพิ่มความอุ่นใจด้วยการเลือกประกันรถยนต์ที่เหมาะสมกับคุณ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้ง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์ของแรบบิท แคร์ได้โดยตรง