แคร์สุขภาพ

ฝุ่น PM 2.5 ศัตรูตัวฉกาจระบบทางเดินหายใจ ภัยเงียบที่ต้องรีบหาทางป้องกัน

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว

close
Published January 05, 2023

ถึงแม้เราจะเข้าสู่ปีพุทธศักราชใหม่กันมาได้สักพักหนึ่งแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่กับเราไม่ว่าจะปีไหน ๆ ก็คือ ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เจ้าฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีฤทธิ์ไม่เบากับร่างกายของเรา ที่ทำให้ใครหลาย ๆ คนเป็นกังวลเรื่องปัญหาด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการสูดรับเอาฝุ่น PM 2.5 เข้าร่างกายเป็นอย่างมาก วันนี้น้องแคร์จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับค่าฝุ่น PM 2.5 ให้ดีมากขึ้น เพื่อเตรียมตัววางแผนรับมือให้อยู่หมัด!

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    PM 2.5 คืออะไร? 

    ฝุ่น PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองอนุภาคขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและมีขนาดเล็กมากจนขนในรูจมูกของคนเราไม่สามารถที่จะทำหน้าที่กรองฝุ่นได้เลย ฝุ่นที่เราสูดเข้าจมูกจึงสามารถที่จะแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ และกระแสเลือดได้ทันที โดยที่เราไม่สามารถรู้ตัวได้เลย เป็นพาหะนำสารอื่น ๆ อย่างเช่น สารปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ เข้ามาสู่ร่างกายของเราได้ ซึ่งหากวันไหนที่มีปริมาณฝุ่นสะสมในอากาศปริมาณสูงมาก ๆ สภาพอากาศในวันนั้นก็จะดูคล้ายท้องฟ้ามีหมอกหรือมีควัน ก็อาจทำให้ไม่สามารถแยกออกได้ว่าสภาพอากาศนั้นเป็นฝุ่นหรือหมอก ควันกันแน่

    คำว่า PM นั้น ย่อมาจากคำว่า Particulate Matters ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้สำหรับการตรวจวัดคุณภาพอากาศ และสำหรับตัวเลข 2.5 ก็คือ ค่าอนุภาคของฝุ่นละอองในอากาศที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของฝุ่นที่วัดได้หน่วยเป็นไมครอน และเป็นฝุ่นละอองประเภทละเอียด (Final Particles) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่านั่นเอง

    ฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

    สำหรับสาเหตุของการเกิดปัญหาค่าฝุ่น PM 2.5 นั้น หลัก ๆ แล้วจะมาจากแหล่งกำเนิดใหญ่ ๆ 2 แหล่ง คือ

    • แหล่งกำเนิดโดยตรง อย่างเช่น
      • การเผาในที่โล่ง ไม่ว่าจะเป็นการเผาขยะ หรือการเผาไร่ เผาวัชพืชทางการเกษตรต่าง ๆ การเกิดไฟป่า 
      • การขนส่งและคมนาคม ทั้งควันจากท่อไอเสีย และการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์
      • การผลิตไฟฟ้า การเผาปิโตรเลียมและถ่านหิน
      • อุตสาหกรรมการผลิต ควันที่เกิดจากการทำอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงฝุ่นจากการก่อสร้าง
      • พฤติกรรมหรือกิจวัตรต่าง ๆ ของมนุษย์ อย่างเช่น การสูบบุหรี่ การจุดธูปเทียน การใช้เครื่องถ่ายเอกสาร
    • การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน และสารพิษอื่นๆ เช่น สารปรอท 

    ค่าฝุ่น PM 2.5 มีผลกระทบอะไรบ้างกับร่างกายของเรา?

    ต้องบอกว่าสำหรับใครที่สุขภาพร่างกายของคุณค่อนข้างที่จะเป็นคนแข็งแรง การได้รับฝุ่นละอองในระยะแรก ๆ ก็อาจจะยังไม่มีผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนกับร่างกายของคุณมากนัก อาการจำพวกแสบตา แสบจมูก เจ็บคอ อาจจะไม่เกิดขึ้นกับคุณมากเท่ากับคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ในระยะยาวหากคุณได้รับฝุ่นติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ สะสมในร่างกายทุก ๆ วัน ท้ายที่สุดก็อาจจะก่อให้เกิดอาการผิดปกติกับร่างกายของคุณภายหลังได้

    ซึ่งระบบร่างกายที่จะมีโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด ก็คือ ระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในช่วงที่สภาพอากาศเลวร้ายมีฝุ่นละอองในอากาศปริมาณสูง การหายใจเอาฝุ่น PM 2.5 เข้าไปในร่างกายสิ่งแรกที่จะรู้สึกได้ทันที คือ อาการแสบจมูก เจ็บคอ ร่วมกับอาการไอและมีเสมหะ และสำหรับใครที่มีโรคประจำตัว อย่าง โรคภูมิแพ้ โรคเกี่ยวกับปอด ก็จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากค่าฝุ่น PM 2.5 นี้ สามารถทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นมาได้ง่าย และเมื่อสะสมในร่างกายเป็นเวลานาน ระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วยได้เช่นกัน

    นอกจากนี้ฝุ่นละอองขนาดเล็กแบบนี้ยังมีผลกระทบกับผิวหนังได้อีกด้วย เนื่องจากขนาดที่เล็กมาก ๆ เล็กมากกว่ารูขุมขน ฝุ่น PM 2.5 จึงสามารถแทรกซึมผ่านเข้าสู่ชั้นผิวหนังของเราได้โดยง่าย ทำให้เกิดอาการแพ้ เกิดผื่นคันบนผิวหนัง ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง รวมไปถึงการเกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ในบุคคลที่มีปัญหาผิวแพ้ง่าย

    ระดับความรุนแรงของค่าฝุ่น PM 2.5

    เบื้องต้นเราสามารถรับรู้ถึงระดับความุรนแรงของค่าฝุ่น PM 2.5 ได้จากการวัด ค่า AQI (Air Quality Index) หรือดัชนีคุณภาพอากาศ ช่วยคำนวณสภาพอากาศโดยเทียบจากมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปของสารมลพิษทางอากาศ ได้แก่ PM 1.0  PM 2.5 ก๊าซโอโซน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

    โดยเกณฑ์การวัดระดับความรุนแรงของค่าฝุ่น PM 2.5 โดยค่าดัชนีคุณภาพอากาศหรือ AQI มีดังนี้

    • ค่า AQI 0 – 25
      • คุณภาพอากาศจัดอยู่ใน ระดับดีมาก 
      • สีที่ใช้ในการแสดงผล คือ สีฟ้า 
      • เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
    • ค่า AQI 26 – 50
      • คุณภาพอากาศจัดอยู่ใน ระดับดี
      • สีที่ใช้ในการแสดงผล คือ สีเขียว 
      • สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ
    • ค่า AQI 51 – 100
      • คุณภาพอากาศจัดอยู่ใน ระดับปานกลาง
      • สีที่ใช้ในการแสดงผล คือ สีเหลือง 
      • ยังสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ แต่หากมีอาการระคายเคืองตา หรืออาการทางระบบทางเดินหายใจ ไม่ควรทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน
    • ค่า AQI 101 – 200
      • คุณภาพอากาศจัดอยู่ในระดับ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
      • สีที่ใช้ในการแสดงผล คือ สีส้ม 
      • หากมีอาการระคายเคืองตา หรืออาการทางระบบทางเดินหายใจ ไม่ควรทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน ควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน อย่าง หน้ากากป้องกันฝุ่น หากมีอาการรุนแรง เช่น ไอหนัก หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน และอื่น ๆ ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน
    • ค่า AQI 201 ขึ้นไป
      • คุณภาพอากาศจัดอยู่ใน ระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ
      • สีที่ใช้ในการแสดงผล คือ สีแดง 
      • ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด สวมอุปกรณ์ป้องกัน อย่างเช่น หน้ากากป้องกันฝุ่น หากมีอาการทางสุขภาพระดับรุนแรงให้รีบพบแพทย์

    อาการแบบไหน? ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังโดนค่าฝุ่น PM 2.5 เล่นงานอยู่

    ผลข้างเคียงของการได้รับค่าฝุ่น PM 2.5 เป็นระยะเวลานานอาจไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป เพราะการที่ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถเข้าสู่ระบบต่าง ๆ ของร่างกายของเราได้อย่างง่ายดายไม่สามารถป้องกันได้ตลอดเวลานั้น แน่นอนว่านำมาซึ่งผลกระทบกับร่างกายของเราอย่างแน่นอน และอาการเบื้องต้นที่เราจะสามารถจับสังเกตความผิดปกติของตนเองได้ หลังจากรับฝุ่นสะสมเป็นเวลานาน ก็จะมีอาการจากความรุนแรงขั้นต้นไปจนถึงความรุนแรงขั้นสูง ดังต่อไปนี้

    • ตาแดง เปลือกตาบวมช้ำ มีน้ำตาไหลบ่อย 
    • ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคัน นูนแดงกระจายไปทั่วผิวหนัง
    • รู้สึกคัน แสบในโพรงจมูก มีน้ำมูกแบบใสไหลตลอด
    • ไอ จาม แน่นหน้าอก
    • มีอาการไข้หวัด ตัวร้อน 
    • ในระยะยาว อาจส่งผลต่อระบบสมอง ทำให้สมองมีพัฒนาการช้า สมาธิสั้น
    • เกิดเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด และในผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวอยู่แล้ว จะยิ่งถูกกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น
    • อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายแรง อย่าง โรคมะเร็งปอด หัวใจขาดเลือด โรคปอด
    • สำหรับสตรีมีครรภ์หากสูดดมฝุ่น PM 2.5 เป็นเวลานาน อาจจะส่งผลกระทบกับทารกในครรภ์ได้

    ฝุ่น PM 2.5 จะมาช่วงไหนบ้าง?

    ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจกันก่อนว่าเจ้าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 นี้ ไม่ได้เพิ่งจะเกิดขึ้นมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่มีการเกิดปัญหาฝุ่นมาเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว แต่มนุษย์เราอาจจะไม่รู้ตัวมาก่อน ดำเนินชีวิตกันตามปกติจนไม่ทันได้สังเกตและตระหนักถึง จนวันหนึ่งมีความรุนแรงมากขึ้นเป็นเรื่องที่มีการนำมาพูดถึงปัญหากันอย่างจริง ๆ จัง ๆ มากขึ้น ก็เลยทำให้เกิดการตระหนักกับปัญหานี้มากขึ้นนั่นเอง

    โดยช่วงระยะเวลาที่ค่าฝุ่นจะเพิ่มสูงมากขึ้นกว่าปกติเป็นพิเศษ ส่วนมากก็จะเป็นช่วงฤดูหนาว ที่ประเทศไทยได้รับอิทธิพลความกดอากาศสูงมาจากทางตอนเหนือ ส่งผลให้พื้นดินมีการคายความร้อนออกมาอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นช่วงว่างให้อากาศร้อนและฝุ่นต่าง ๆ สะสมตัวอยู่ในอากาศมากขึ้น เนื่องจากไม่สามารถไหลผ่านอากาศไปได้ ช่วงฤดูหนาวจึงเป็นช่วงที่จะมีการสะสมของฝุ่นเยอะมากเป็นพิเศษนั่นเอง และก็จะค่อย ๆ เบาบางลงเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนที่ท้องฟ้าโปร่งมรน้ำฝนมาช่วยในการชะล้างปริมาณฝุ่นในอากาศนั่นเอง

    ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องของสภาพอากาศแล้ว การเกิดฝุ่น PM 2.5 ของแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามา กระทบด้วย โดยสามารถแบ่งช่วงเวลาในการเกิดฝุ่นได้คร่าว ๆ ดังนี้

    • ภาคเหนือและภาคกลาง มักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนมกราคม – เดือนเมษายน จากความกดอากาศต่ำจากกรุงเทพมหานครที่แผ่ขึ้นไปยังภาคเหนือ
    • กรุงเทพมหานคร มักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนตุลาคมของแต่ละปี ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป 
    • ภาคตะวันออกและตะวันตก มักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของแต่ละปี ไปจนถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป เนื่องจากจะเป็นช่วงการเผาพื้นที่การเกษตรของเกษตรกร อย่างเช่น การเผาไร่อ้อย
    • ภาคใต้ มักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนสิงหาคม – เดือนตุลาคม จากการเผาพื้นที่ทางการเกษตรและหมอกควันจากประเทศเพื่อนบ้านที่พัดมา

    วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5 ด้วยตนเอง

    สิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวช่วยในการป้องกันตัวเองจากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ได้เป็นอย่างดีก็คือ การสวมอุปกรณ์ป้องกันฝุ่น อย่างเช่น หน้ากาก N95 ซึ่งควรจะสวมเป็นประจำเมื่อจะต้องออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ กลางแจ้งหรือในที่ที่มีมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้เรายังสามารถป้องกันตนเองจากฝุ่น ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

    • อยู่ในสถานที่ที่มีการฟอกอากาศหรือใช้เครื่องฟอกอากาศ
    • ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบา ๆ ในที่ปิด รับประทานอาหารให้ครบ5หมู่ และดื่มน้ำสะอาดเพื่อช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกาย
    • ทำความสะอาดผิวหนัง ล้างหน้าอาบน้ำให้สะอาดทันทีหลังจากสัมผัสฝุ่นมลพิษ
    • ใส่เสื้อผ้าแขนยาว เมื่อต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อปกป้องผิวไม่ให้ระคายเคือง แสบคันจากฝุ่น
    • ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าบ้าน
    • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกบ้าน 
    • งดสูบบุหรี่ และไม่เผาขยะ เพื่อลดปริมาณฝุ่นควัน
    • ลดการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ใช้บริการรถสาธารณะ เพื่อจำกัดปริมาณฝุ่นควันที่เกิดจากท่อไอเสีย

    และทั้งหมดนี้ก็คือวิธีการเบื้องต้นในการดูแลตนเองให้พ้นจากการถูกฝุ่น PM 2.5 เล่นงาน ที่น้องแคร์นำมาฝากกัน แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ทุก ๆ คน สามารถนำไปปฏิบัติตามได้สบาย ๆ ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องของฝุ่นจะไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป 

    สมัยนี้อะไร ๆ ก็มีผลกระทบกับสุขภาพของคนเราไปซะหมด ดังนั้นนอกจากการวางแผนรับมือสถานการณ์ฝุ่นแล้ว การวางแผนทำประกันสุขภาพร่วมด้วย ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะโรคร้ายมักจะชอบมาเคาะประตูหน้าบ้านเราแบบไม่ทันให้เราได้ตั้งเนื้อตั้งตัวอยู่เสมอ ใครที่มีประกันสุขภาพที่มีค่ารักษาพยาบาลมากเพียงพอก็จะได้เปรียบมากกว่า ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลให้หนักใจ ใครที่กำลังมองหาประกันสุขภาพอยู่ตอนนี้ก็คลิกเข้ามาหาซื้อที่แรบบิท แคร์ได้เลย ไม่ต้องลังเล!

    คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ

      

    บทความแคร์สุขภาพ

    แคร์สุขภาพ

    โยคะ (Yoga) มีประโยชน์อย่างไร สามารถบำบัดทั้งร่างกายและจิตใจได้จริงหรือไม่ ?

    โยคะ หนึ่งในศาสตร์การออกกำลังกายที่แน่นอนว่าหลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดีและทราบกันถึงประโยชน์หลาย ๆ อย่างที่โยคะมีต่อร่างกายของคนเรา
    Nok Srihong
    11/04/2024

    แคร์สุขภาพ

    ดนตรีบำบัด คืออะไร ? ดนตรีสามารถบำบัดจิตใจและความเครียดได้จริงหรือไม่ ?

    เราต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเสียงดนตรีสามารถช่วยให้เกิดความผ่อนคลายของร่างกายและจิตได้
    Nok Srihong
    11/04/2024