แคร์สุขภาพ

ฝุ่น PM 2.5 ศัตรูตัวฉกาจระบบทางเดินหายใจ ภัยเงียบที่ต้องรีบหาทางป้องกัน

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
 
Published: January 5,2023
ค่าฝุ่น pm 2.5 สถานการณ์ฝุ่น

ถึงแม้เราจะเข้าสู่ปีพุทธศักราชใหม่กันมาได้สักพักหนึ่งแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่กับเราไม่ว่าจะปีไหน ๆ ก็คือ ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เจ้าฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีฤทธิ์ไม่เบากับร่างกายของเรา ที่ทำให้ใครหลาย ๆ คนเป็นกังวลเรื่องปัญหาด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการสูดรับเอาฝุ่น PM 2.5 เข้าร่างกายเป็นอย่างมาก วันนี้น้องแคร์จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับค่าฝุ่น PM 2.5 ให้ดีมากขึ้น เพื่อเตรียมตัววางแผนรับมือให้อยู่หมัด!

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    PM 2.5 คืออะไร? 

    ฝุ่น PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองอนุภาคขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและมีขนาดเล็กมากจนขนในรูจมูกของคนเราไม่สามารถที่จะทำหน้าที่กรองฝุ่นได้เลย ฝุ่นที่เราสูดเข้าจมูกจึงสามารถที่จะแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ และกระแสเลือดได้ทันที โดยที่เราไม่สามารถรู้ตัวได้เลย เป็นพาหะนำสารอื่น ๆ อย่างเช่น สารปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ เข้ามาสู่ร่างกายของเราได้ ซึ่งหากวันไหนที่มีปริมาณฝุ่นสะสมในอากาศปริมาณสูงมาก ๆ สภาพอากาศในวันนั้นก็จะดูคล้ายท้องฟ้ามีหมอกหรือมีควัน ก็อาจทำให้ไม่สามารถแยกออกได้ว่าสภาพอากาศนั้นเป็นฝุ่นหรือหมอก ควันกันแน่

    คำว่า PM นั้น ย่อมาจากคำว่า Particulate Matters ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้สำหรับการตรวจวัดคุณภาพอากาศ และสำหรับตัวเลข 2.5 ก็คือ ค่าอนุภาคของฝุ่นละอองในอากาศที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของฝุ่นที่วัดได้หน่วยเป็นไมครอน และเป็นฝุ่นละอองประเภทละเอียด (Final Particles) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่านั่นเอง

    ฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

    สำหรับสาเหตุของการเกิดปัญหาค่าฝุ่น PM 2.5 นั้น หลัก ๆ แล้วจะมาจากแหล่งกำเนิดใหญ่ ๆ 2 แหล่ง คือ

    • แหล่งกำเนิดโดยตรง อย่างเช่น
      • การเผาในที่โล่ง ไม่ว่าจะเป็นการเผาขยะ หรือการเผาไร่ เผาวัชพืชทางการเกษตรต่าง ๆ การเกิดไฟป่า 
      • การขนส่งและคมนาคม ทั้งควันจากท่อไอเสีย และการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์
      • การผลิตไฟฟ้า การเผาปิโตรเลียมและถ่านหิน
      • อุตสาหกรรมการผลิต ควันที่เกิดจากการทำอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงฝุ่นจากการก่อสร้าง
      • พฤติกรรมหรือกิจวัตรต่าง ๆ ของมนุษย์ อย่างเช่น การสูบบุหรี่ การจุดธูปเทียน การใช้เครื่องถ่ายเอกสาร
    • การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน และสารพิษอื่นๆ เช่น สารปรอท 
    ค่าฝุ่น pm 2.5, pm 2.5

    ค่าฝุ่น PM 2.5 มีผลกระทบอะไรบ้างกับร่างกายของเรา?

    ต้องบอกว่าสำหรับใครที่สุขภาพร่างกายของคุณค่อนข้างที่จะเป็นคนแข็งแรง การได้รับฝุ่นละอองในระยะแรก ๆ ก็อาจจะยังไม่มีผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนกับร่างกายของคุณมากนัก อาการจำพวกแสบตา แสบจมูก เจ็บคอ อาจจะไม่เกิดขึ้นกับคุณมากเท่ากับคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ในระยะยาวหากคุณได้รับฝุ่นติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ สะสมในร่างกายทุก ๆ วัน ท้ายที่สุดก็อาจจะก่อให้เกิดอาการผิดปกติกับร่างกายของคุณภายหลังได้

    ซึ่งระบบร่างกายที่จะมีโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด ก็คือ ระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในช่วงที่สภาพอากาศเลวร้ายมีฝุ่นละอองในอากาศปริมาณสูง การหายใจเอาฝุ่น PM 2.5 เข้าไปในร่างกายสิ่งแรกที่จะรู้สึกได้ทันที คือ อาการแสบจมูก เจ็บคอ ร่วมกับอาการไอและมีเสมหะ และสำหรับใครที่มีโรคประจำตัว อย่าง โรคภูมิแพ้ โรคเกี่ยวกับปอด ก็จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากค่าฝุ่น PM 2.5 นี้ สามารถทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นมาได้ง่าย และเมื่อสะสมในร่างกายเป็นเวลานาน ระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วยได้เช่นกัน

    นอกจากนี้ฝุ่นละอองขนาดเล็กแบบนี้ยังมีผลกระทบกับผิวหนังได้อีกด้วย เนื่องจากขนาดที่เล็กมาก ๆ เล็กมากกว่ารูขุมขน ฝุ่น PM 2.5 จึงสามารถแทรกซึมผ่านเข้าสู่ชั้นผิวหนังของเราได้โดยง่าย ทำให้เกิดอาการแพ้ เกิดผื่นคันบนผิวหนัง ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง รวมไปถึงการเกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ในบุคคลที่มีปัญหาผิวแพ้ง่าย

    ระดับความรุนแรงของค่าฝุ่น PM 2.5

    เบื้องต้นเราสามารถรับรู้ถึงระดับความุรนแรงของค่าฝุ่น PM 2.5 ได้จากการวัด ค่า AQI (Air Quality Index) หรือดัชนีคุณภาพอากาศ ช่วยคำนวณสภาพอากาศโดยเทียบจากมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปของสารมลพิษทางอากาศ ได้แก่ PM 1.0  PM 2.5 ก๊าซโอโซน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

    โดยเกณฑ์การวัดระดับความรุนแรงของค่าฝุ่น PM 2.5 โดยค่าดัชนีคุณภาพอากาศหรือ AQI มีดังนี้

    • ค่า AQI 0 – 25
      • คุณภาพอากาศจัดอยู่ใน ระดับดีมาก 
      • สีที่ใช้ในการแสดงผล คือ สีฟ้า 
      • เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง
    • ค่า AQI 26 – 50
      • คุณภาพอากาศจัดอยู่ใน ระดับดี
      • สีที่ใช้ในการแสดงผล คือ สีเขียว 
      • สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ
    • ค่า AQI 51 – 100
      • คุณภาพอากาศจัดอยู่ใน ระดับปานกลาง
      • สีที่ใช้ในการแสดงผล คือ สีเหลือง 
      • ยังสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ แต่หากมีอาการระคายเคืองตา หรืออาการทางระบบทางเดินหายใจ ไม่ควรทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน
    • ค่า AQI 101 – 200
      • คุณภาพอากาศจัดอยู่ในระดับ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
      • สีที่ใช้ในการแสดงผล คือ สีส้ม 
      • หากมีอาการระคายเคืองตา หรืออาการทางระบบทางเดินหายใจ ไม่ควรทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน ควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน อย่าง หน้ากากป้องกันฝุ่น หากมีอาการรุนแรง เช่น ไอหนัก หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน และอื่น ๆ ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน
    • ค่า AQI 201 ขึ้นไป
      • คุณภาพอากาศจัดอยู่ใน ระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ
      • สีที่ใช้ในการแสดงผล คือ สีแดง 
      • ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด สวมอุปกรณ์ป้องกัน อย่างเช่น หน้ากากป้องกันฝุ่น หากมีอาการทางสุขภาพระดับรุนแรงให้รีบพบแพทย์
    ระดับความรุนแรง PM 2.5, AQI, ฝุ่น PM 2.5

    อาการแบบไหน? ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังโดนค่าฝุ่น PM 2.5 เล่นงานอยู่

    ผลข้างเคียงของการได้รับค่าฝุ่น PM 2.5 เป็นระยะเวลานานอาจไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป เพราะการที่ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถเข้าสู่ระบบต่าง ๆ ของร่างกายของเราได้อย่างง่ายดายไม่สามารถป้องกันได้ตลอดเวลานั้น แน่นอนว่านำมาซึ่งผลกระทบกับร่างกายของเราอย่างแน่นอน และอาการเบื้องต้นที่เราจะสามารถจับสังเกตความผิดปกติของตนเองได้ หลังจากรับฝุ่นสะสมเป็นเวลานาน ก็จะมีอาการจากความรุนแรงขั้นต้นไปจนถึงความรุนแรงขั้นสูง ดังต่อไปนี้

    • ตาแดง เปลือกตาบวมช้ำ มีน้ำตาไหลบ่อย 
    • ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคัน นูนแดงกระจายไปทั่วผิวหนัง
    • รู้สึกคัน แสบในโพรงจมูก มีน้ำมูกแบบใสไหลตลอด
    • ไอ จาม แน่นหน้าอก
    • มีอาการไข้หวัด ตัวร้อน 
    • ในระยะยาว อาจส่งผลต่อระบบสมอง ทำให้สมองมีพัฒนาการช้า สมาธิสั้น
    • เกิดเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด และในผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวอยู่แล้ว จะยิ่งถูกกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น
    • อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายแรง อย่าง โรคมะเร็งปอด หัวใจขาดเลือด โรคปอด
    • สำหรับสตรีมีครรภ์หากสูดดมฝุ่น PM 2.5 เป็นเวลานาน อาจจะส่งผลกระทบกับทารกในครรภ์ได้
    แพ้ฝุ่น PM 2.5, ฝุ่น PM 2.5, อาการแพ้ฝุ่น

    ฝุ่น PM 2.5 จะมาช่วงไหนบ้าง?

    ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจกันก่อนว่าเจ้าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 นี้ ไม่ได้เพิ่งจะเกิดขึ้นมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่มีการเกิดปัญหาฝุ่นมาเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว แต่มนุษย์เราอาจจะไม่รู้ตัวมาก่อน ดำเนินชีวิตกันตามปกติจนไม่ทันได้สังเกตและตระหนักถึง จนวันหนึ่งมีความรุนแรงมากขึ้นเป็นเรื่องที่มีการนำมาพูดถึงปัญหากันอย่างจริง ๆ จัง ๆ มากขึ้น ก็เลยทำให้เกิดการตระหนักกับปัญหานี้มากขึ้นนั่นเอง

    โดยช่วงระยะเวลาที่ค่าฝุ่นจะเพิ่มสูงมากขึ้นกว่าปกติเป็นพิเศษ ส่วนมากก็จะเป็นช่วงฤดูหนาว ที่ประเทศไทยได้รับอิทธิพลความกดอากาศสูงมาจากทางตอนเหนือ ส่งผลให้พื้นดินมีการคายความร้อนออกมาอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นช่วงว่างให้อากาศร้อนและฝุ่นต่าง ๆ สะสมตัวอยู่ในอากาศมากขึ้น เนื่องจากไม่สามารถไหลผ่านอากาศไปได้ ช่วงฤดูหนาวจึงเป็นช่วงที่จะมีการสะสมของฝุ่นเยอะมากเป็นพิเศษนั่นเอง และก็จะค่อย ๆ เบาบางลงเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนที่ท้องฟ้าโปร่งมรน้ำฝนมาช่วยในการชะล้างปริมาณฝุ่นในอากาศนั่นเอง

    ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องของสภาพอากาศแล้ว การเกิดฝุ่น PM 2.5 ของแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามา กระทบด้วย โดยสามารถแบ่งช่วงเวลาในการเกิดฝุ่นได้คร่าว ๆ ดังนี้

    • ภาคเหนือและภาคกลาง มักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนมกราคม – เดือนเมษายน จากความกดอากาศต่ำจากกรุงเทพมหานครที่แผ่ขึ้นไปยังภาคเหนือ
    • กรุงเทพมหานคร มักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนตุลาคมของแต่ละปี ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป 
    • ภาคตะวันออกและตะวันตก มักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของแต่ละปี ไปจนถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป เนื่องจากจะเป็นช่วงการเผาพื้นที่การเกษตรของเกษตรกร อย่างเช่น การเผาไร่อ้อย
    • ภาคใต้ มักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนสิงหาคม – เดือนตุลาคม จากการเผาพื้นที่ทางการเกษตรและหมอกควันจากประเทศเพื่อนบ้านที่พัดมา

    วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5 ด้วยตนเอง

    สิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวช่วยในการป้องกันตัวเองจากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ได้เป็นอย่างดีก็คือ การสวมอุปกรณ์ป้องกันฝุ่น อย่างเช่น หน้ากาก N95 ซึ่งควรจะสวมเป็นประจำเมื่อจะต้องออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ กลางแจ้งหรือในที่ที่มีมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้เรายังสามารถป้องกันตนเองจากฝุ่น ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

    • อยู่ในสถานที่ที่มีการฟอกอากาศหรือใช้เครื่องฟอกอากาศ
    • ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบา ๆ ในที่ปิด รับประทานอาหารให้ครบ5หมู่ และดื่มน้ำสะอาดเพื่อช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกาย
    • ทำความสะอาดผิวหนัง ล้างหน้าอาบน้ำให้สะอาดทันทีหลังจากสัมผัสฝุ่นมลพิษ
    • ใส่เสื้อผ้าแขนยาว เมื่อต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อปกป้องผิวไม่ให้ระคายเคือง แสบคันจากฝุ่น
    • ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าบ้าน
    • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกบ้าน 
    • งดสูบบุหรี่ และไม่เผาขยะ เพื่อลดปริมาณฝุ่นควัน
    • ลดการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ใช้บริการรถสาธารณะ เพื่อจำกัดปริมาณฝุ่นควันที่เกิดจากท่อไอเสีย
    หน้ากากอนามัย, หน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5, ฝุ่น PM 2.5, หน้ากาก N95

    และทั้งหมดนี้ก็คือวิธีการเบื้องต้นในการดูแลตนเองให้พ้นจากการถูกฝุ่น PM 2.5 เล่นงาน ที่น้องแคร์นำมาฝากกัน แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ทุก ๆ คน สามารถนำไปปฏิบัติตามได้สบาย ๆ ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องของฝุ่นจะไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป 

    สมัยนี้อะไร ๆ ก็มีผลกระทบกับสุขภาพของคนเราไปซะหมด ดังนั้นนอกจากการวางแผนรับมือสถานการณ์ฝุ่นแล้ว การวางแผนทำประกันสุขภาพร่วมด้วย ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะโรคร้ายมักจะชอบมาเคาะประตูหน้าบ้านเราแบบไม่ทันให้เราได้ตั้งเนื้อตั้งตัวอยู่เสมอ ใครที่มีประกันสุขภาพที่มีค่ารักษาพยาบาลมากเพียงพอก็จะได้เปรียบมากกว่า ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลให้หนักใจ ใครที่กำลังมองหาประกันสุขภาพอยู่ตอนนี้ก็คลิกเข้ามาหาซื้อที่แรบบิท แคร์ได้เลย ไม่ต้องลังเล!

    ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ

      

     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024