แคร์สุขภาพ

Palliative Care การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อบั้นปลายชีวิตที่สง่างาม

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Thirakan T
Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
Published: May 19,2023
  
Last edited: January 21, 2024
Palliative Care

เมื่อประเทศไทย ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ การดูแลรักษาผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยติดเตียง กลายเป็นสิ่งสำคัญที่เรา ๆ ทั้งหลายควรจะทำความคุ้นเคยให้มากขึ้น โดยเฉพาะแนวคิดของ ‘การรักษาแบบประคับประคอง’ หรือ ‘Palliative Care’ วิถีโอบอุ้ม ชูเกียรติ ชีวิตบั้นปลายของผู้ป่วย ให้การตายจากเป็นเสี้ยวส่วนของวัฏจักรธรรมชาติ และไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไป

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    Palliative Care คือ ?

    Palliative Care (การรักษาแบบประคับประคอง) คือการแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับมือกับโรค หรืออาการป่วยระยะสุดท้าย โดยมีเป้าหมายคือการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยสบายตัวที่สุด ไม่เครียด ไม่หวาดกลัว โดย Palliative Care ใส่ใจทั้งผู้ป่วย และครอบครัวของผู้ป่วย โดยการรักษาสามารถเป็นแนวทางการแนะนำ ประคับประคองผู้ป่วยและครอบครัวไปสู่หนทางการรักษาที่ดีที่สุด

    โดยกลุ่มอาการป่วยที่ได้รับการรักษาแบบ Palliative Care แบ่งได้เป็นอาการป่วย 6 กลุ่ม อ้างอิงจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) ดังนี้ :

    • โรคหัวใจและหลอดเลือด 38.5%
    • โรคมะเร็ง 34%
    • โรคด้านระบบทางเดินหายใจ 10.3%
    • AIDS 5%
    • โรคเบาหวาน 4.6%
    • โรคอื่น ๆ 7.6%

    Palliative Care ≠ การยอมแพ้

    หนึ่งในจุดที่คนเข้าใจผิดเยอะที่สุด คือคิดว่าแนวทาง Palliative Care คือการยอมแพ้ต่อโรคภัย ปล่อยให้ผู้ป่วยตาย แต่แท้จริงแล้ว Palliative Care สามารถทำได้ควบคู่กับการรักษาทั่วไป แต่จะไม่พลักดันการรักษาที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยง เช่น ไม่รักษาด้วยเคมีบำบัดหลาย ๆ รอบ ไม่ผ่าตัดในจุดที่มีความเสี่ยง โดยทุกการตัดสินใจจะทำร่วมกันระหว่างตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว และคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ ดูแลใส่ใจผู้ป่วย ในขณะเดียวกันก็เตรียมความพร้อมผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้เผชิญหน้ากับสิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

    palliative care

    เวลาไหนจึงควรเริ่มกระบวนการ Palliative Care ?

    ไม่มีข้อบังคับที่ชัดเจนว่าควรจะเริ่มระบบการ Palliative Care หรือการรักษาแบบประคับประคองเมื่อไหร่ หากแต่ทางการแพทย์ระบุว่ายิ่งเข้าถึงการ Palliative Care เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี โดยเฉพาะสำหรับกรณีที่ผู้ป่วยยังสามารถสื่อสารเจตนาของตนเองได้อยู่ จะยิ่งทำให้ประสิทธิภาพของ Palliative Care ดีขึ้นยิ่งกว่าเดิม 

    เช่นผู้ป่วยมีอาการของโรคเรื้อรัง (โรคมะเร็ง / โรคหัวใจ) และเป็นผู้มีอายุ (60 – 70 ปีขึ้นไป) หากเข้าข่ายเช่นนี้ก็อาจเริ่มทำการรักษาแนวทาง Palliative Care ควบคู่ไปด้วยกับการรักษาปกติได้เลย

    5 ระยะของ Palliative Care

    ใจความสำคัญของการ Palliative Care ก็ไม่ต่างอะไรกับการรักษาอื่น ๆ ทั่วไป นั่นคือตลอดระยะเวลาการรักษา กำลังใจจากคนรอบข้างสำคัญเสียยิ่งกว่ากำลังกายเสียอีก ฉะนั้นทุกขั้นตอนของ Palliative Care จึงมีความสำคัญ และต้องอาศัยการร่วมมือของผู้ป่วย ครอบครัว และทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

    ระยะที่ 1 : การวางแผน (Creating a plan)

    เป็นขั้นตอนสำคัญของ Palliative Care ที่ครอบครัวต้องนั่งคุยกับผู้ป่วย พร้อมกับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเตรียมตัวตั้งรับการรักษาที่จะเกิดขึ้น โดยสิ่งที่ควรจะวางแผนไว้ก็จะมีดังนี้ :

    • แผนการ และแนวทางการรักษาของปัจจุบัน ไปจนถึงอนาคต โดยจะต้องถามถึงการรักษาหลัก และทางเลือกต่าง ๆ ที่ผู้ป่วย และครอบครัวสามารถเลือกได้
    • อาการของโรคปัจจุบัน และในอนาคต โรคอาจมีการทำให้เกิดอาการไม่สบายตรงไหนได้บ้าง ?
    • ยาที่จำเป็นในการรักษา ผลข้างเคียงของยานั้น ๆ หรือสิ่งของอื่น ๆ ที่จะช่วยผ่อนคลายอาการเจ็บปวด ไม่สบายกาย หรือไม่สบายใจของผู้ป่วยระยะสุดท้าย
    • ผู้ป่วยต้องการรักษาตัวอยู่บ้าน โรงพยาบาล หรือศูนย์ Palliative Care โดยเฉพาะ โดยจะต้องมาดูกันว่าข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละตัวเลือกคืออะไร ?

    ทั้งนี้ทั้งนั้น หากกังวลว่าผู้ป่วยฟังเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้แล้วอาจกังวลใจ หรือหมดกำลังใจในการรักษาต่อ คุณหมอกับครอบครัวอาจจะต้องคุยกันก่อน สร้างความเข้าใจร่วมกัน ก่อนที่จะค่อยบอกผู้ป่วย หรืออาจคุยแยก อย่างเช่นเรื่องของอาการ อายุขัย (Life Expectancy) การดูแลต่าง ๆ คุณหมออาจคุยแยกกับครอบครัวโดยไม่มีผู้ป่วยก็ได้ 

    หนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วย

    นอกจากการวางแผนเรื่องการรักษา Palliative Care (การรักษาแบบประคับประคอง) ยังให้ความสำคัญกับเจตนารมณ์ของผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพราะหากผู้ป่วยยังมีอะไรติดค้างในใจ อาจทำให้เกิดความเครียดและตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี ฉะนั้นการพูดคุยกับผู้ป่วย โดยทำให้บรรยากาศไม่ตึงเครียด กดดัน เบาสบาย ครั้นถามว่ายังมีสิ่งไหนไม่ได้ทำ เช่น ต้องการเจอใครบ้าง ? มีเรื่องใดบ้างที่ยังคงติดใจอยู่ ? อยากไปสถานที่ไหนบ้าง ? รวมไปถึงห่วงเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ลูกหลาน ครอบครัวควรค่อย ๆ ลิสต์ออกมา แล้วจัดการทำให้สำเร็จ พร้อมทั้งย้ำผู้ป่วยด้วยว่าเรื่องราวต่าง ๆ จัดการเสร็จสิ้นเรียบร้อย ไม่ต้องกังวลใด ๆ แล้ว

    palliative care

    ระยะที่ 2 : เตรียมใจ (Preparing emotionally)

    แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้าน Palliative Care (การรักษาแบบประคับประคอง) จะสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทั้งที่บ้าน และผู้ป่วยได้คุย และสร้างความเข้าใจร่วมกัน บ่อยครั้งความกลัวที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย นอกเหนือจากอาการเจ็บปวดจากโรคภัยโดยตรง คือความกลัวการถูกทอดทิ้ง ไม่มีคนดูแล ไปจนถึงกลัวที่จะต้องตกเป็นภาระของผู้อื่น ๆ ครอบครัวจะต้องแสดงความเข้มแข็ง และเต็มใจในการดูแลผู้ป่วย

    นอกจากการเตรียมใจทางการแพทย์แล้ว Palliative Care ยังสามารถผสมผสานหลักการของศาสตร์อื่น ๆ เข้ามาตระเตรียมสภาพจิตใจของผู้ป่วยให้มีความพร้อม เช่นใช้หลักศาสนาพุทธในการหายใจ ฝึกสมาธิ เวลาเริ่มไม่สบายตัวจะได้มีเครื่องอยู่ที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ไปจับจดกับความไม่สบายกาย ความคับคั่งกายที่เกิดขึ้น

    ระยะที่ 3 : การรักษาระยะต้น (Early stage care)

    ในขั้นตอนนี้ ผู้ป่วยจะต้องเดินทางจากบ้าน ไปโรงพยาบาลบ่อยครั้ง ฉะนั้นทางครอบครัวจึงควรทำให้ผู้ป่วยสบายตัวมากที่สุด มี Accessibility สูง โดยรับคำปรึกษากับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน Palliative Care ว่าจะต้องจัดการบ้านให้มีความเหมาะสมกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เช่นการติดตั้งราวจับบริเวณห้องนอน และห้องน้ำ ติดตั้งทางเข็นรถเข็น ไปจนถึงห้องนอน ควรจะอย่างไร ? ย้ายห้องนอนมาอยู่ชั้น 1 อย่างไร ? ติดตั้งระบบระบายอากาศภายในห้องนอนของผู้ป่วยอย่างไร ? หรือเปลี่ยนจากเตียงปกติเป็นเตียงทางการแพทย์ ที่สามารถปรับเบาะขึ้นลง เอียงซ้ายขวาได้

    ควบคู่กันนั้นการรักษา Palliative Care ก็จะต้องรักษาตามอาการ พยุงสภาพกาย และสภาพจิตใจของผู้ป่วยไปเรื่อย ๆ ซึ่งหากผู้ป่วยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น สามารถเข้ารักษาด้วยวิธีการที่รุนแรง แต่แก้ที่ต้นตอปัญหาได้ เช่นการทำเคมีบำบัด หรือการผ่าตัดเป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็จะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ ท่าน พร้อมทั้งความต้องการของผู้ป่วยด้วย ครอบครัวควรคำนึงถึงหลาย ๆ ด้าน เพราะทุกการรักษามีความเสี่ยง 

    ครอบครัวทำอะไรได้บ้าง ? : ค่อยอุ้มชูสภาพจิตใจของผู้ป่วย พูดคุยกับเขาบ่อย ๆ และ Palliative Care เน้นให้ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนกับคุณควบรวมเขาไว้ในชีวิตประจำวันของคุณ เช่นเล่าว่าวันนี้ได้ทำอะไร หากิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันเช่นวาดรูป ทำอาหาร เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยไม่เครียด ไม่กังวล

    ระยะที่ 4 : การรักษาระยะปลาย (Late stage care)

    ขั้นตอนสุดท้ายของการ Palliative Care (การรักษาแบบประคับประคอง) ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำให้นำผู้ป่วยระยะสุดท้ายมาดูแลรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล หรือดูแลอยู่ที่บ้าน ซึ่งการตัดสินใจ ณ จุดนี้ ครอบครัวจะต้องตัดสินใจ ด้วยข้อตกลงที่เคยตกลงกันไว้ในขั้นตอนการวางแผน (Creating a plan) โดยไม่ว่าจะเลือกทางไหนจะต้องมีผู้ดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ดูแลผู้ป่วยด้วยความรัก ความห่วงใย เป็นขั้นตอนที่จะต้องตามใจผู้ป่วย ไม่ขัดใจเขา ให้ความสำคัญกับทุกการสื่อสารของผู้ป่วย เช่นหากผู้ป่วยชูมือ อาจหมายความว่าผู้ป่วยต้องการให้ยกตัวขึ้นเพราะการนอนราบนาน ๆ จะทำให้เขาหายใจไม่สะดวก เราก็จะต้องปรับเตียง ยกตัวของผู้ป่วยระยะสุดท้ายขึ้นมาซักระยะหนึ่ง

    โดยการรักษาในขั้นตอนนี้ ตามหลัก Palliative Care อาจไม่แนะนำให้รักษาด้วยวิธีการรุนแรง ที่รุกล้ำมากจนเกินไปแล้ว หากแต่เป็นการรักษาแบบประคับประคอง บรรเทาความเจ็บปวด เช่นการให้ยาแก้ปวด ทาโลชั่นในบริเวณที่ผิวแห้งแตก พลิกตัวผู้ป่วยไม่ให้เกิดแผลกดทับ

    ครอบครัวทำอะไรได้บ้าง ? : ตามหลัก Palliative Care ครอบครัวสามารถช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยได้ตลอด แม้จะไม่ได้เป็นแพทย์ หรือพยาบาล โดยเฉพาะในแง่ของการให้ความรัก ความห่วงใย ถึงแม้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจสื่อสารไม่ได้มาก เพียงแค่เราอยู่ในห้องด้วยกันกับเขา คอยกระซิบคำให้กำลังใจ คำหวาน จะทำให้ ‘ความตาย’ ดูไม่น่ากลัว และว้าเหว่ หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่ทุกคนพร้อมเผชิญไปด้วยกัน

    palliative care

    ระยะที่ 5 : เคียงข้างคนรัก (Supporting your loved ones)

    Palliative Care จะยังไม่จบสิ้นเพียงแค่ผู้ป่วย หากแต่ Palliative Care ที่ดีจะมีการโอบอุ้มผู้สูญเสีย ด้วยช่องทางต่าง ๆ เช่นการแนะนำการเข้าถึงจิตแพทย์ นักจิตบำบัด Counseling ต่าง ๆ หรือช่วยเหลือให้คำแนะนำการรับมือจากการสูญเสียที่อาจทำให้ครอบครัว และผู้ดูแลรู้สึกว่างเปล่า ดิ่งลึกไปในความเศร้าที่เกิดขึ้น ให้สามารถก้าวต่อไป

    ช่องทางการเข้าถึง Palliative Care ในประเทศไทย

    ทางองค์กรองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กล่าวว่ามีผู้ป่วยระยะสุดท้าย และผู้ป่วยติดเตียง มีประมาณ 40 ล้านคนทั่วโลกที่ต้องการการเข้าถึง Palliative Care แต่มีเพียง 14% ของผู้ป่วยระยะสุดทาง ผู้ป่วยติดเตียง เท่านั้นที่จะเข้าถึงการรักษาแบบ Palliative Care ซึ่งแน่นอนว่าประเทศไทยก็ประสบกับปัญหานี้ โดยเฉพาะในเรื่องค่าใช้จ่ายของ Palliative ที่ค่อนข้างสูง และต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญมาก ๆ หากแต่ก็มีทั้งภาคส่วนเอกชน และวิสาหกิจที่เห็นความสำคัญของ Palliative จัดหน่วยงาน หรือโรงพยาบาลขึ้นมาเพื่ออุทิศให้บั้นปลายของชีวิตผู้ป่วย

    โรงพยาบาลคูน (Koon Hospital)

    โรงพยาบาลคูน คือโรงพยาบาลแห่งแรกในไทยที่อุทิศให้สำหรับ Palliative Care (การรักษาแบบประคับประคอง) อย่างเต็มรูปแบบ ทำให้โรงพยาบาล รู้สึกเหมือนบ้านอันอบอุ่น สวยงาม ร่มรื่น ครบครันด้วยคุณหมอ และพยาบาลผู้มีความชำนาญด้าน Palliative Care โดยเฉพาะ ดูแลใกล้ชิด 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังมีห้องสันทนาการต่าง ๆ สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย สุดแสนครบครันไม่ว่าจะเป็น Aroma Lab, House Of Plant , ห้องสมาธิ, ศิลปะบำบัด และดนตรีบำบัด เป็นต้น 

    ช่องทางการติดต่อ : 

    • เว็บไซต์ : https://www.koonhospital.com/
    • อีเมล : [email protected]
    • เบอร์โทร : 02-405-3899
    • เฟซบุ๊ก : Facebook.com/koonhospitall
    • ไลน์ : @koonhospital

    เยือนเย็น

    เยือนเย็น คือ วิสาหกิจเพื่อสังคม องค์กรไม่แสวงหากำไร ที่จัดตั้งขึ้นโดย ดร. นพ.อิศรางค์ นุชประยูร และคณะแพทย์รักษาโรคมะเร็งจากสถาบันการแพทย์ชั้นนำของประเทศ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่อาจกำลังกลัดกลุ้ม เจ็บปวด และไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอในการเข้าถึง Palliative Care (การรักษาแบบประคับประคอง) หรือยาบางตัวที่ใช้สำหรับการบรรเทาอาการเจ็บปวด เยือนเย็น คือหน่วยงานที่สามารถช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ไปจนถึงสามารถมาตรวจสอบ ให้คำแนะนำผู้ป่วยถึงบ้าน ช่วยจัดห้องผู้ป่วย จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่อยากรักษาตัวที่บ้าน และอาจไม่มีต้นทุนการเงินเยอะ

    โดยบริการพื้นฐาน Palliative Care ของเยือนเย็น ไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นองค์กรที่รับเพียงเงินบริจาค โดยมีคติในการปฎิบัติงานคือการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เหมือนกับการรักษาญาติผู้ใหญ่ของตนเอง จึงถือว่าเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่มีคุณภาพ และมีเป้าหมายในการช่วยเยียวยาอันชัดเจน

    ช่องทางการติดต่อ : 

    • เว็บไซต์ : https://yuenyen-se.com/
    • อีเมล : [email protected]
    • เบอร์โทร : 080 776 6712
    • เฟซบุ๊ก : https://www.facebook.com/yuenyenSE/?locale=th_TH
    • ไลน์ : @yuenyen

    palliative care

    สุดท้ายจะเห็นว่า Palliative Care ไม่ใช่วิธีการรักษาที่พึ่งพาแต่เงินเท่านั้น แต่ส่วนผสมที่สำคัญที่สุด ในบั้นปลายชีวิตของทุก ๆ คน ก็คือความรัก ความใส่ใจจากคนรอบข้าง ที่ส่งผ่านมาถึงผู้ป่วย ให้สุดท้ายสามารถยอมรับความตาย โอบกอดการลาจากได้อย่างสง่างาม ไร้ห่วงใด ๆ และตัวช่วยที่จะช่วยให้คุณอุ่นใจกับชีวิตที่โรยรา แรบบิท แคร์ ขอแนะนำ ประกันชีวิตจากบริษัทชั้นนำในไทย แคร์ยาว ๆ จนถึง 90 ปี เสียชีวิตก็มีเงินให้ลูก ๆ หลาน ๆ คลิกอ่านดูรายละเอียดเลย


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024