แคร์สุขภาพ

ส่องแนวโน้มบริการ Telemedicine ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ เทรนด์ฮิตยุค Internet of things

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Tawan
Tawan

Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต

close
linkedin icon
 
Published: September 22,2022
  
Last edited: September 24, 2022
Telemedicine

ในยุคที่อะไร ๆ ก็สามารถถูกเชื่อมต่อเข้าหากันได้ง่ายไปซะหมดแบบนี้ ตัวการสำคัญที่ทำให้เรื่องที่ไม่เคยเป็นไปได้มาก่อนบนโลกใบนี้ สามารถเป็นไปได้เพียงปลายนิ้ว ก็คือ “อินเตอร์เน็ต” เวทมนต์วิเศษทางเทคโนโลยี ที่สามารถเสกวิธีการเชื่อมต่อผู้คนจากคนละฟากฝั่งของโลก ให้สามารถติดต่อพูดคุยกันได้เสมือนยืนอยู่ต่อหน้ากันได้ และยังคงถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของแนวคิด Internet of things ที่นอกจากจะทำให้มนุษย์สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันทางไกลได้แล้ว ยังทำให้มนุษย์สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกับสิ่งของเครื่องใช้ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า และอื่นๆอีกมากมายได้อีกด้วย นำมาซึ่งความสะดวกสบายและรวดเร็ว แนวคิดนี้จึงถูกนำมาใช้กับงานบริการต่างๆอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงการบริการทางการแพทย์ ที่ถูกพัฒนาให้มีการใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อกลางในการดูแลรักษาผู้ป่วย เรียกบริการนี้ว่า Telemedicine 

สำหรับวงการแพทย์แล้ว บริการ Telemedicine หรือการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ดูเหมือนจะเป็นมาตรฐานใหม่ของการบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลไปแล้ว โดยเปลี่ยนกระบวนการในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบเดิม ๆ ไปสู่การบริการผ่านระบบออนไลน์ ที่ช่วยยกระดับการดูแลสุขภาพผู้ป่วยไปอีกขั้น ซึ่งในปัจจุบันสถานพยาบาลได้มีการนำบริการนี้มาใช้กันอย่างเป็นวงกว้าง หลังจากเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ผ่านมา ไม่เพียงเฉพาะในวงการการแพทย์เท่านั้น แต่ยังกระจายความนิยมของบริการนี้ไปสู่ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์โดยตรง อย่างธุรกิจประกันและThird Party ต่างๆที่ให้บริการด้านสุขภาพด้วย

Telemedicine มาตรฐานใหม่ในการบริการผู้ป่วย

Telemedicine คืออะไร? แตกต่างจาก Telehealth ไม๊นะ?

Telemedicine หรือ ชื่อเรียกภาษาไทยว่า ระบบโทรเวชกรรม คือ การบริการทางการแพทย์รูปแบบหนึ่งที่นำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ Video Conference ที่ทำงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่น มือถือ แท็บเล็ต มาใช้ในการปรึกษาปัญหาสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นตัวกลางที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ สามารถพูดคุยปรึกษาปัญหาสุขภาพได้แบบ Real-time ไม่ต้องมีข้อจำกัดเรื่องเวลาและการเดินทาง และบุคลากรทางการแพทย์ยังคงช่วยทำการรักษาและวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้เช่นเดิม

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    หากเทียบกับบริการ Telehealth ที่เคยคุ้นหูกันเมื่อหลายปีก่อน อันที่จริงแล้วบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ หรือ Telemedicine ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงมากนัก เนื่องจากทั้ง Telemedicine และ Telehealth ก็ล้วนเป็นแนวคิดในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยด้านสุขภาพทางไกลเช่นเดียวกัน อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนารูปแบบการบริการให้ดียิ่งขึ้น ทันสมัยมากขึ้นทั้งด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาทางการแพทย์ โดยรวมแล้ว ที่ผ่านมาบริการ Telehealth จากผู้ให้บริการหลายราย อาจจะเป็นการบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่ไม่ใช่แพทย์เฉพาะทาง เป็นลักษณะการถาม-ตอบปัญหาสุขภาพเบื้องต้น อาจไม่ใช่การวิเคราะห์อาการเพื่อการวางแผนการรักษาเชิงลึก Telemedicine จึงเป็นเสมือนอีกขั้นของการพัฒนาการบริการการปรึกษาแพทย์แบบออนไลน์ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการเข้าถึงการด้านดูแลรักษาสุขภาพของผู้ป่วยในทุกสถานการณ์มากขึ้น ซึ่งบริการทางการแพทย์ที่นิยมใช้ผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่

    • การติดตามผลการรักษาของผู้ป่วย

    โดยเฉพาะการใช้บริการนี้ในผู้ป่วยที่ต้องมีการติดตามอาการของโรคอย่างต่อเนื่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยโรคประจำตัวอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งในผู้ป่วยบางโรคจะสามารถส่งผลตรวจ และค่าต่างๆที่ได้จากการตรวจวัดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างนาฬิกาSmart Watch ที่สามารถใช้ตรวจวัดในทางการแพทย์ได้ผ่านการเชื่อมต่อกับ Application บนมือถือ มายังแพทย์เพื่อติดตามอาการเบื้องต้นได้ หรือส่งบันทึกอาการเจ็บป่วย รวมไปถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยาเพิ่มเติมได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางมาที่สถานพยาบาล และแพทย์เองก็สามารถที่จะติดตามอาการพร้อมให้คำปรึกษาได้ทันที รวมถึงสามารถวางแผนการรักษาตามอาการของผู้ป่วยในครั้งต่อไปได้ง่ายขึ้น

    • การพูดคุยปรึกษาโดยตรงระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย

    ทั้งผู้ป่วยและแพทย์จะมีการสนทนากันแบบ Real-time ผ่านการ Video Conference อย่างเช่น การสอบถามอาการเจ็บป่วยทั่วไป รวมไปถึงการปรึกษาด้านจิตเวช ที่ค่อนข้างจะเป็นส่วนตัว โดยการสนทนาส่วนใหญ่ก็จะเป็นการซักถามประวัติสุขภาพ อาการของโรค หรือการตรวจร่างกาย เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นได้ หรืออาจจะเป็นการสนทนาเกี่ยวกับแนวทางการรักษาหรือคำแนะนำวิธีการรักษา และในกรณีที่ต้องการแพทย์ในการวิเคราะห์การรักษาเพิ่มเติมมากกว่า 1 คน ก็สามารถให้คำปรึกษาไปพร้อมๆกันได้เลย นอกจากนี้ในกรณีที่ต้องมีการรับยาสำหรับการรักษาอาการป่วย การใช้บริการนี้ ผู้ป่วยสามารถที่จะรอรับยาอยู่ทางบ้านโดยไม่ต้องเดินทางมายังสถานพยาบาลเลย

    แนวโน้ม บริการ Telemedicine ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ในอนาคต

    ตามรายงานผลการสำรวจของ McKinsey บริษัทให้คำปรึกษา Top 3 ของโลกด้าน Management Consulting รายงานว่า ในช่วงปี 2020 ซึ่งเป็นปีแรก ๆ ของการระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ประชากรชาวจีนมีการใช้บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า ตั้งแต่เดือนมีนาคม ขณะที่ชาวอเมริกันกว่า 1 ใน 4 ของประเทศก็เลือกใช้บริการนี้เช่นกัน ในช่วงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และในช่วงเดือนเมษายน ปีเดียวกัน สถิติการใช้บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ที่แคนาดามีอัตราการเติบโตมากถึง 240% และกว่า 45% ของแพทย์ เลือกที่จะใช้บริการนี้กับผู้ป่วยที่อยู่ทางไกลเช่นเดียวกัน โดยปัจจัยหลักๆที่ขับเคลื่อนให้เกิดความนิยมใช้บริการ Telemedicine และมีแนวโน้มจะพุ่งสูงมากขึ้นไปอีกในอนาคต ก็มาจาก

    • ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

    ปัจจัยดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำให้บริการนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยลดต้นทุนค่ารักษาพยาบาลแล้ว ยังช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้ป่วยได้อีกด้วย เนื่องจากสามารถเข้าถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเดินทาง ในอนาคตก็จะยิ่งมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการไปอีกขั้น จากแนวคิด Internet of things สู่แนวคิด Internet of Medical Things ที่จะช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดตามผลการรักษาผู้ป่วยทางไกลได้ด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย นำไปใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ทางบ้าน อย่างเช่น เตียงพักฟื้นอัจฉริยะ เครื่องช่วยหายใจ เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ และอื่น ๆ ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน ระหว่าง Application และบริการ Telemedicineได้แบบ Real-time ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายของผู้ป่วยและลดภาระในสถานพยาบาลได้

    • การพัฒนาทางการแพทย์

    ปัจจุบันอุตสาหกรรมด้านการแพทย์และสุขภาพ ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด จากปัจจัยต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย หรือการเกิดโรคอุบัติใหม่ ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้วงการการแพทย์ต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้วิธีการรักษาหรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วย สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน บริการTelemedicine จึงถือเป็นการพัฒนาทางการแพทย์อีกหนึ่งวิธี ที่ช่วยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น เหมาะสมกับสถานการณ์ฉุกเฉินคาดไม่ถึงอย่างการเกิดโรคระบาดต่าง ๆ ช่วยลดการพบเจอกันในพื้นที่เสี่ยงและยังมีส่วนช่วยในการลดจำนวนผู้ป่วยที่เกิดจากการเป็นโรคติดต่อได้ด้วย

    Telemedicine ในธุรกิจประกันและThird Party ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ

    อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า นอกจากวงการการแพทย์ที่มีการให้บริการ Telemedicine แล้ว ธุรกิจประกันและThrid Party ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ก็ได้มีการนำบริการนี้มาเป็นจุดขาย จุดแข็งในการเสนอขายสินค้าประกัน อย่างประกันสุขภาพด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการบริการด้านประกันของบริษัทประกันให้กับลูกค้า เรียกได้ว่าเป็นตัวชูโรงอย่างดี ที่ช่วยโน้มน้าวให้เกิดการตัดสินใจมาเป็นลูกค้าได้จากความพิเศษของการบริการทางการแพทย์ที่จะได้รับ ซึ่งปัจจุบันบริษัทประกันเกือบทุกเจ้าก็มีการเปิดใช้บริการ Telemedicineแล้ว บางบริษัทก็ให้บริการผ่านแพลตฟอร์มของตนเองโดยตรง และหลายบริษัทก็มีการร่วมมือกันให้บริการผ่าน Third Party ผู้ให้บริการด้านสุขภาพในรูปแบบ Application ที่สามารถกรอกข้อมูลกรมธรรม์และเลือกใช้บริการด้านสุขภาพกับแพทย์ผู้เชียวชาญตามสิทธิ์ของบริษัทประกันที่ถือกรมธรรม์ได้ผ่าน Application โดยตรง

    นอกจากจะเป็นการยกระดับมาตรฐานการบริการแล้ว ในแง่ของการเก็บข้อมูลการรักษาของลูกค้า บริษัทประกันก็สามารถที่จะรวบรวมผลการรักษาของลูกค้าแต่ละราย ผ่านแพลตฟอร์มการให้บริการของแต่ละบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นข้อมูลการรักษาของลูกค้าที่ได้รับ จึงช่วยทำให้การพิจารณาการเบิกเคลมประกันทำได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้บริษัทประกันยังสามารถที่จะมอบสิทธิประโยชน์ต่างๆสำหรับลูกค้าเพิ่มเติม เพื่อให้เกิด Brand Loyalty ได้ด้วย อย่างเช่น การให้สิทธิประโยชน์และส่วนลดต่างๆเมื่อใช้บริการในครั้งถัดไป หรือการอัพเดตสุขภาพและอาการของโรค เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามอาการเพื่อรักษาต่อ

    และสำหรับบริการดีๆ เป็นประโยชน์สูงสุดกับลูกค้าแบบนี้ แรบบิท แคร์ ก็ไม่พลาดที่จะมอบให้กับลูกค้าคนสำคัญ เพื่อช่วยดูแลสุขภาพของคุณ ด้วยประกันสุขภาพจากบริษัทชั้นนำ ที่มีให้เลือกแบบครบ ๆ จบในที่เดียว มาพร้อมกับบริการขอรับคำปรึกษาแบบออนไลน์กับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแพลตฟอร์ม Chiiwii โดยไม่มีค่าใช้จ่าย (ไม่รวมค่ายา) คุณสามารถรับสิทธิพิเศษแบบนี้ได้ง่าย ๆ เพียงเลือกซื้อประกันสุขภาพกับแรบบิท แคร์ และ Add LINE Official Account @rabbitcare เพื่อรับบริการได้เลย หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ Rabbit Care หรือ โทร.1438 น้องแคร์พร้อมบริการเต็มที่!

      

    ห้ามพลาด! ประกันรถชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 1,000.-/เดือน

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ

      

     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024