แคร์สุขภาพ

เช็กลิสต์..พฤติกรรมแบบไหนสุ่มเสี่ยงเป็นโรคคลั่งผอม (Anorexia)

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Published August 05, 2022

สไตล์คนยุคใหม่ใคร ๆ ก็ล้วนอยากผอม โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่อยากมีหุ่นดีเพื่อที่จะได้ใส่เสื้อผ้าสวย ๆ ไว้อวดกับผองเพื่อน แต่การผอมหุ่นดีนั้นก็ต้องแลกมาด้วยความพยายามและแรงใจมากมายทั้งการออกกำลังกายไปจนถึงการคุมอาหาร แม้ว่าการผอมจะเป็นเรื่องดีแต่ผู้ที่อยากผอมมาก ๆ ลดน้ำหนักเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตนเอง หรือน้ำหนักขึ้นมาเพียงไม่กี่กรัมก็เข้าขั้นเครียดแล้ว แบบนี้อาจเรียกว่าโรคคลั่งผอมหรือ Anorexia ได้ ซึ่งบทความนี้เราจะมาอธิบายสาเหตุของโรคคลั่งผอมให้ได้ทราบ การเช็กอาการ รวมถึงวิธีดูแลรักษาสุขภาพกายและใจของตนเองให้หุ่นดีอย่างมีคุณภาพ

โรคคลั่งผอม (Anorexia Nervosa) คืออะไร?

หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อของโรคคลั่งผอมมาอยู่มาบ้าง ซึ่งต้องบอกเลยว่าโรคนี้มีอยู่จริง โดยโรคคลั่งผอมนั้นมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Anorexia Nervosa ผู้ที่เป็นโรคดั่งกล่าวนี้จะมีความวิตกกังวลว่าตนเองจะอ้วนจนเกินไป แม้ว่าตนเองจะหุ่นดีและผอมเป็นทุนเดิมอยู่แล้วก็จะยังคงพยายามทำให้น้ำหนักของตนเองลดลงไปอีกจนผอมเกินมาตรฐาน ทั้งการควบคุมอาหารตลอดจนออกกำลังกายอย่างหนัก เพราะกลัวว่าตนเองจะอ้วนจนเกินไปหรืออาจวิตกว่าตนเองจะอ้วนกว่าคนอื่น ผู้ป่วยบางรายอาจใช้ยาลดความอ้วนเพื่อช่วยลดน้ำหนัก หรือบางรายก็ล้วงคออาเจียนหลังรับประทานเสร็จ ซึ่งถ้าปล่อยไว้ต่อไปอาจขาดสารอาหารจนเกิดอันตรายต่อร่างกายและชีวิตได้

สาเหตุของโรคคลั่งผอมมาจากอะไร?

Anorexia Nervosa หรือโรคคลั่งผอมนับเป็นอาการทางสุขภาพจิต ซึ่งผู้ป่วยจะไม่พอใจในรูปลักษณ์ของตนเอง คิดว่าตนเองยังมีรูปร่างไม่ดีเพียงพอ มีความคาดหวังในตนเองสูงอยากให้ตนเองดูสมบูรณ์แบบสำหรับคนอื่น ผู้ป่วยบางคนอาจมีหน้าตาในสังคมหรือเป็นคนที่มีการเรียนหรือการทำงานที่ดีอยู่แล้วจึงต้องการให้ตนเองมีรูปร่างดีเข้ามาประกอบ หากมีคนรอบข้างทักว่าอ้วนไปก็จะส่งผลต่อสภาพจิตใจจนทำให้ตนเองอยากลดน้ำหนักให้มากขึ้น และเมื่อน้ำหนักลดลงจากการอดอาหารก็จะรู้สึกภูมิใจมากขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานจนทำให้สุขภาพทรุดโทรมได้ 

มีข้อสันนิษฐานทางการแพทย์ระบุว่าโรคคลั่งผอมอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมได้เช่นกัน ซึ่งมีรายงานว่าพี่น้องที่เป็นแฝดจากไข่ใบเดียวกัน หากคนใดคนหนึ่งเป็นโรคดังกล่าวแฝดอีกคนก็จะมีแนวโน้มเป็นโรคนี้ด้วย รวมถึงโรคนี้อาจเกิดจากความผิดปกติทางสมองในส่วนของการควบคุมเรื่องการกินได้เช่นกัน ทั้งนี้ผู้ป่วยเป็นโรคคลั่งผอมมักป่วยเป็นโรคจิตเวชอื่น ๆ ด้วย อย่างโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า เป็นต้น

นอกจากนี้สภาพแวดล้อมและค่านิยมทางสังคมยังส่งผลให้เป็นโรคคลั่งผอมได้เช่นกัน เมื่อร่างกายเข้าสู่วัยรุ่นย่อมมีการพบปะสังคมรอบด้านมากขึ้น เมื่อมีแรงกดดันจากคนอื่น ๆ ก็อาจทำให้อยากผอม หรืออาชีพที่ต้องพึ่งพาความงามและรูปร่างอย่างเช่น ดารา นางแบบ นักร้อย พริตตี้ แอร์โฮสเตส ก็สร้างบรรทัดฐานให้ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ต้องผอมหุ่นดีเท่านั้น ซึ่งส่งผลต่อความคิดและทัศนคติของผู้ป่วยโดยตรง

อาการของโรคคลั่งผอมมีอะไรบ้าง

ผู้ป่วยมักจะมีสภาพเช่นเดียวกับผู้ที่อดอาหาร ได้แก่ ร่างกายผอมซูบโทรมไม่มีกล้ามเนื้อ มวลน้ำหนักน้อยผิดปกติกว่าคนมาตรฐานทั่วไป ร่างกายอ่อนเพลียง่าย รู้สึกเมื่อยล้าไปทั้งตัว มีอาการวิงเวียนศรีษะบ่อยครั้ง จำนวนเม็ดเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ผิวแห้งซีดเหี่ยวเฉา ผมร่วง ประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา

ส่วนอาการทางสุขภาพจิตของโรคคลั่งผอมนั้น ผู้ป่วยจะวิตกกังวลหักโหมออกกำลังกายอย่างหนักหรือพยายามลดน้ำหนักอย่างเข้มงวด จะทานอาหารแต่ละครั้งจิตใจจะจดจ่อเรื่องปริมาณแคลลอรี่ของอาหาร มีความกังวลอย่างมากเมื่อชั่งน้ำหนักแล้วพบว่าตนเองมีน้ำหนักเพิ่มแม้จะเพียงน้อยนิดก็ตาม แต่ถ้าน้ำหนักลดลงจะมีความภาคภูมิใจ จิตใจฟุ่งซ่านจดจ่อกับเรื่องรูปร่างของตนเอง มีอารมหงุดหงิดโมโหง่ายเพราะท้องหิวแต่ต้องหักห้ามใจ มีอาการซึมเศร้าเข้ามาประกอบ รู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว 

ผู้ป่วยโรคคลั่งผอมสุ่มเสี่ยงเป็นโรคร้ายอะไรบ้าง

อย่างที่อธิบายไปก่อนหน้าว่าโรคนี้อันตรายแค่ไหน หากคลั่งผอมมากและละเลยย่อมส่งผลต่อโรคภัยอื่น ๆ มาแน่นอน หลัก ๆ เลยก็คือโรคขาดสารอาหารเนื่องจากการกินที่น้อยกว่าปกติทำให้ไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอต่อการสร้างกล้ามเนื้อ และขาดโปรตีนที่จะทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีโรคอันตรายอื่น ๆ อีกคือโรคกระดูกพรุน โรคโลหิตจาง โรคหัวใจ โรคไตวาย โรคกระเพาะ โรคในระบบทางเดินอาหาร โรคสมองและประสาท เป็นต้น ส่วนโรคสภาวะทางจิตก้ส่งผลด้วยเช่นกันอย่างโรคซึมเศร้า โรคอารมณ์แปรปรวน ตลอดจนสุ่มเสียงที่จะใช้สารเสพติด

จะเห็นได้ว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคคลั่งผอมนั้นเป็นอันตรายทั้งสุขภาพกายและใจ หากปล่อยไว้เป็นแบบนี้จะสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคภัยต่าง ๆ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยต้องหมั่นคอยสังเกตอาการ คอยช่วยตักเตือนและให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม หากผู้ป่วยมีอาการขาดสารอาหารหนักเช่น อ่อนเพลียทั้งวัน กล้ามเนื้อไม่มีแรง ความดันโลหิตต่ำก็ต้องส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษากับแพทย์อย่างใกล้ชิด

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคคลั่งผอม

หากเป็นการตรวจ Anorexia เบื้องต้น แพทย์จะดำเนินการใช้แบบสอบถามและให้ผู้สุ่มเสี่ยงตอบ โดยจะเป็นชุดคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมส่วนตัว สภาวะทางร่างกาย การรับประทานอาหาร แต่ก็มีวิธีการตรวจอย่างละเอียดคือ

  1. การตรวจทางร่างกาย เช่น ตรวจค่า BMI หรือวัดดัชนีมวลกาย หากน้อยกว่า 18.5 จะถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานและเสี่ยงเป็นโรคคลั่งผอม, การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ, การตรวจตามผิวรวมถึงลักษณะภายนอกทางร่างกาย
  2. การตรวจในห้องปฎิบัติการ เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด, ตรวจอิเล็กโทรไลต์หาสารอาหารในร่างกาย, การตรวจหาโปรตีนในเลือด, การตรวจการทำงานของตับ ไต และต่อมไทรอยด์
  3. การตรวจด้านจิตวิทยา เป็นการตรวจโดยจิตแพทย์เพื่อประเมินสภาวะทางจิตใจ ว่าคนไข้มีความวิตกกังวลเรื่องการบริโภคอาหารในระดับใด
  4. การตรวจด้วยวิธีการอื่น เช่น การเอกซเรย์กระดูก, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นต้น

แนวทางการรักษาโรคคลั่งผอม

การรักษาโรค  Anorexia ต้องบำบัดทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ เริ่มแรกต้องแก้ไขที่ปัญหาทางความคิดของผู้ป่วยเพราะโรคนี้มักเกิดจากทัศนคติของผู้ป่วยเอง ซึ่งผู้ส่วนใหญ่มักจะมองว่าตนเองใช้ชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไป หากตนเองเข้ารับการรักษาจะต้องกลับมาอ้วนแน่ ๆ เบื้องต้นจึงต้องบำบัดด้วยจิตแพทย์เสียก่อนเพื่อปรับความคิดของผู้ป่วยใหม่ รวมถึงคนรอบข้างผู้ป่วยต้องช่วยเหลือและคอยให้กำลังใจให้ผู้ป่วยอยู่เสมอ เมื่อปรับสภาพจิตใจได้แล้วก็ถึงเวลาเพิ่มน้ำหนัก ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำในการรับประทานอาหารโดยเริ่มรับประทานเพื่อเพิ่มน้ำหนักตัวทีละนิด จนกลับมาทานอาหารครบ 3 มื้ออย่างปกติ ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอและยาโอแลนซาปีนช่วยรักษาควบคู่กันไป ซึ่งจะคอยรักษาสภาวะทางจิตอื่น ๆ อย่างโรคซึมเศร้า เป็นต้น

จะเห็นได้ว่านอกจากจะอ้วนเกินไปแล้ว การที่ร่างกายผอมเกินไปก็เป็นสาเหตุที่ทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอด้วย แม้ว่าอาการป่วยจะเกิดจากสภาวะทางจิตเป็นหลักแต่พฤติกรรมเหล่านั้นก็เป็นสาเหตุของโรคภัยต่าง ๆ ตามมา ทั้งโรคกระเพาะ โรคขาดสารอาการ และอาจมีโรคร้ายแรงอย่างโรคหัวใจ โรคตับ โรคไตเข้าแทรกซึมมาด้วย สุดท้ายนี้น้องแคร์ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคคลั่งผอมทุกคน ถ้าหากคุณล้มป่วยหรือเป็นโรคร้ายขึ้นมาไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด น้องแคร์ก็มีข้อเสนอความคุ้มครองเรื่องสุขภาพให้กับคุณด้วยประกันสุขภาพและประกันภัยโรคร้ายแรง ซึ่งจะช่วยค่ารักษาพยาบาลให้กับคุณหากเจ็บป่วยขึ้นมานั่นเอง อยากได้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพหรืออยากได้ความคุ้มครองดีดี สามารถปรึกษาน้องแคร์ได้ที่เบอร์ 1438


สรุป

สรุปบทความ

โรคคลั่งผอม (Anorexia Nervosa) เป็นโรคการกินผิดปกติชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะมีความกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวและรูปร่างของตนเองอย่างมาก จนมีพฤติกรรมการกินผิดปกติ เช่น ควบคุมอาหารอย่างเข้มงวด ออกกำลังกายอย่างหักโหม ล้วงคอ อาเจียน หรือใช้ยาระบาย เป็นต้น ผู้ป่วยโรคคลั่งผอมมักมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างมาก ส่งผลให้มีภาวะขาดสารอาหารและเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาได้

อาการของโรคคลั่งผอม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ อาการทางกายภาพและอาการทางจิตใจ

จบสรุปบทความ

บทความแคร์สุขภาพ

แคร์สุขภาพ

โยคะ (Yoga) มีประโยชน์อย่างไร สามารถบำบัดทั้งร่างกายและจิตใจได้จริงหรือไม่ ?

โยคะ หนึ่งในศาสตร์การออกกำลังกายที่แน่นอนว่าหลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดีและทราบกันถึงประโยชน์หลาย ๆ อย่างที่โยคะมีต่อร่างกายของคนเรา
Nok Srihong
11/04/2024

แคร์สุขภาพ

ดนตรีบำบัด คืออะไร ? ดนตรีสามารถบำบัดจิตใจและความเครียดได้จริงหรือไม่ ?

เราต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเสียงดนตรีสามารถช่วยให้เกิดความผ่อนคลายของร่างกายและจิตได้
Nok Srihong
11/04/2024